เปรียญ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
พ้นทุกข์ / ความดับทุกข์ | |
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · เบญจธรรม · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
|
สถานีย่อย |
---|
เปรียญ (อ่านว่า ปะเรียน) บาเรียน ก็เรียก เป็นคำใช้เรียกภิกษุสามเณรผู้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีและสอบไล่ได้ตามหลักสูตรตั้งแต่ 3 ประโยคขึ้นไปจนถึง 9 ประโยค เรียกว่า พระเปรียญ หรือ พระเปรียญธรรม สามเณรเปรียญ หรือ สามเณรเปรียญธรรม มีอักษรย่อว่า ป. หรือ ป.ธ. สันนิษฐานว่ามาจากการผสมคำว่า บาลี + เรียน = บาเรียน[1] หมายถึง “พระที่ได้ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมบาลี” หรือ “พระนักเรียนบาลี” นั่นเอง ต่อมา สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเปลี่ยนคำว่า บาเรียน เป็น เปรียญ[2] ปัจจุบันจึงใช้เรียกหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทยว่า "หลักสูตรเปรียญ" [3]
การเป็นเปรียญนั้นพระเจ้าแผ่นดินทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดแต่งตั้ง จึงเรียกพระเปรียญอีกอย่างหนึ่งว่า พระมหา โบราณเรียกว่า พระมหาเปรียญ คำว่า มหา ใช้เรียกเฉพาะภิกษุเท่านั้น มิได้ใช้เรียกสามเณรเปรียญด้วย
ปัจจุบันเรียกพระภิกษุสามเณรที่สอบได้พระปริยัติธรรมตั้งแต่ เปรียญธรรม 3 ประโยคขึ้นไปว่า "พระมหาเปรียญ" หรือ "สามเณรเปรียญ" [4] ภิกษุสามเณรเปรียญมีสิทธิใส่วุฒิการศึกษาต่อท้ายชื่อได้ เช่น พระมหาวุฒิ ป.6 หรือ ป.ธ.6 (อ่านเต็มว่า เปรียญ 6 หระโยคหรือเปรียญธรรม 6 ประโยค)
ศาลาที่ใช้สำหรับทำการเรียนการสอนว่า ศาลาการเปรียญ คือศาลาหรืออาคารที่พระภิกษุใช้เป็นที่เล่าเรียน
[แก้] อ้างอิง
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548
- ^ เทวประภาส มากคล้าย เปรียญ.. เอกสาร : เอกสารแนะนำวัดคุ้งตะเภา . อุตรดิตถ์ : วัดคุ้งตะเภา , 2549.
- ^ ประวัติการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในประเทศไทย
- ^ หลักสูตรการศึกษา"บาลีสนามหลวง"
- ^ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน บาเรียน หมายถึง ผู้เล่าเรียน,ผู้รู้ธรรม,ผู้คงแก่เรียน,เปรียญ, เปรียญ หมายถึง ผู้สอบความรู้พระปริยัติธรรมสายบาลีได้ตามหลักสูตรตั้งแต่3ประโยคขึ้นไป