เปรียญธรรม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เปรียญธรรม หรือ ประโยค หมายถึงระดับชั้นการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีของคณะสงฆ์ไทย มี 9 ชั้น 8 ระดับ [1] แบ่งเป็นชั้นประโยค 1-2 (ระดับที่ 1 ใช้เวลาเรียน 1-2 ปี) และระดับเปรียญ (ป.ธ. 3-9) (7 ระดับ) รวม 8 ระดับ
เนื้อหา |
[แก้] เปรียญตรี
ผู้สอบชั้นที่ 2 (เปรียญธรรม 3 ประโยค) จะได้รับการเทียบเท่าวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ถ้าเป็นพระภิกษุจะมีคำนำหน้าชื่อว่า พระมหา ถ้าเป็นสามเณรจะมีคำว่า เปรียญ ต่อท้ายนามสกุล
ผู้สอบชั้นที่ 4 (เปรียญธรรม 5 ประโยค) สามารถนำมาขอใบเทียบวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้ ถ้าผู้ที่สอบได้ชั้นนี้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นครูสอน 1 ปี และทำการสอนมาแล้วไม่ต่ำกว่า 300 ชั่วโมง [2]
[แก้] เปรียญโท
ผู้สอบชั้นที่ 5 (เปรียญธรรม 6 ประโยค) จะได้รับการเทียบเท่าวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (โดยไม่ต้องมีใบเทียบวุฒิ)
[แก้] เปรียญเอก
ผู้สอบชั้นที่ 8 (เปรียญธรรม 9 ประโยค) จะได้รับการเทียบเท่าวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี ตามพระราชบัญญัติผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2527 และพระราชบัญญัติผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 [2]
|
หลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี |
สนามหลวงแผนกบาลี | เปรียญธรรม |
---|---|
|
|
|
เปรียญธรรม ๔ ประโยค · เปรียญธรรม ๕ ประโยค · เปรียญธรรม ๖ ประโยค · |
|
เปรียญธรรม ๗ ประโยค · เปรียญธรรม ๘ ประโยค · เปรียญธรรม ๙ ประโยค · |
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
- ^ แบ่งระดับตามการสอบ
- ^ 2.0 2.1 พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗
เปรียญธรรม เป็นบทความเกี่ยวกับ ศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ เปรียญธรรม ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ศาสนา |