เนวิน ชิดชอบ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายเนวิน ชิดชอบ อดีตรัฐมนตรีและ ส.ส.บุรีรัมย์หลายสมัย อดีตแกนนำ ส.ส. กลุ่ม 16
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
นายเนวิน ชิดชอบ เกิดวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2501 เป็นบุตรของ กำนันชัย ชิดชอบ อดีต สส.บุรีรัมย์ และนางละออง ชิดชอบ เป็นลูกคนกลางในบรรดาพี่น้องชาย 5 หญิง 1 กำนันชัย ชิดชอบ บิดาของนายเนวิน ตั้งตัวมาจากธุรกิจโรงโม่หิน มีกิจการที่สำคัญคือ โรงโม่หินศิลาชัย
ชื่อ "เนวิน" ถูกตั้งขึ้นตามชื่อของ นายพลเนวิน ผู้นำรัฐบาลเผด็จการทหาร ที่ปกครองประเทศพม่าในขณะนั้น ซึ่งกำนันชัยประทับใจมาก
นายเนวินมีบุตรกับภรรยาเดิม 2 คน ก่อนจะมาสมรสกับ นางกรุณา ชิดชอบ (นามสกุลเดิม "สุภา" บุตรีของนายคะแนน สุภา เจ้าของ บริษัท เชียงใหม่ คอนสตรัคชั่น จำกัด)
นายเนวินจบชั้น ป.7 จากโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม และไปศึกษาระดับมัธยมศึกษาจนจบ ม.ศ.5 จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย เคยเรียน นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่ต้องออกกลางคันเพื่อไปดูแลกิจการทางบ้าน
ต่อมาได้ศึกษาต่อจนสำเร็จการศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาวิชาพัฒนาชุมชนภาคพิเศษ สถาบันราชภัฎบุรีรัมย์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2530 และต่อมาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์บัณฑิต จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
นอกจากนี้ได้รับปริญญา บริหารรัฐกิจ (B.S.) จาก Pacific Western University ประเทศสหรัฐอเมริกา
[แก้] ประวัติการทำงานการเมือง
- พ.ศ. 2529
- ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.บุรีรัมย์ สังกัดพรรคสหประชาธิปไตย ของ พ.อ.พล เริงประเสริฐวิทย์
- ได้เป็นหน้าห้องของ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสรอรรถ กลิ่นประทุม)
- พ.ศ. 2531
- ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.บุรีรัมย์ สังกัดพรรคเทิดไทย ของนายณรงค์ วงศ์วรรณ
- เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
- พ.ศ. 2534 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
- พ.ศ. 2535 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.บุรีรัมย์ สังกัดพรรคสามัคคีธรรม (การเลือกตั้ง 2535/1) ก่อนเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
- พ.ศ. 2535 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.บุรีรัมย์ โดยย้ายมาสังกัดพรรคชาติไทย (การเลือกตั้ง 2535/2)
- พ.ศ. 2538
- ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.บุรีรัมย์ สังกัดพรรคชาติไทย มี นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นหัวหน้าพรรค
- ได้เป็นรัฐมนตรีครั้งแรกในตำแหน่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
- พ.ศ. 2539 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.บุรีรัมย์ สังกัดพรรคเอกภาพ ของ นายอุทัย พิมพ์ใจชน
- พ.ศ. 2540 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จ.บุรีรัมย์ สังกัดพรรคชาติไทย
- พ.ศ. 2545 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (5 มีนาคม 2545)
- พ.ศ. 2547 ย้ายมาสังกัดพรรคไทยรักไทย
- พ.ศ. 2548
- 11 มีนาคม 48 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- 2 สิงหาคม 48 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
[แก้] การเมือง
ได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "ยี้ห้อย ร้อยยี่สิบ" จากการสงสัยว่าเป็นผู้ทุจริตซื้อเสียงในการเลือกตั้ง ปี พ.ศ. 2538 ที่ จ.บุรีรัมย์ เมื่อตำรวจจับธนบัตรใบละ 20 และ 100 เย็บติดกันเป็นปึกใหญ่มัดรวมกับใบแนะนำตัวของนายเนวิน แต่ไม่สามารถเอาผิดได้ นอกจากนี้นายเนวินยังมีอีกฉายาหนึ่งว่า "ชื่อพม่า หน้าลาว เว้าเขมร" ด้วย เนื่องจากชื่อเหมือนนายพลเน วิน อดีตผู้นำทหารพม่า แต่เมื่อเวลาหาเสียงจะพูดปราศรัยเป็นภาษาเขมรจนเป็นเอกลักษณ์
ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2548 ถูกนายถาวร เสนเนียมกล่าวหาว่าเป็นผู้พยายามเกลี้ยกล่อมให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา พัทลุง และสตูลให้ความช่วยเหลือพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้ง แต่ปรากฏว่าคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ชุด สามหนา ห้าห่วง อันประกอบด้วย พล.ต.อ.วาสนา เพิ่มลาภ, นายปริญญา นาคฉัตรีย์ และนายวีระชัย แนวบุญเนียร ลงความเห็นว่าหลักฐานที่นายถาวรใช้ยื่นฟ้องคือ เทปบันทึกเสียงของนายเนวินไม่ชัดเจนพอ[1]
หลังจากนั้นได้รับอีกฉายาหนึ่งว่า "หมอผีเขมร" เนื่องจากเชื่อว่าเป็นผู้แนะนำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ใช้ไสยศาสตร์ในการปกป้องคุ้มครองตัว ในวิกฤตการขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[2] และเชื่อว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการนำม็อบคาราวานคนจนมาปิดล้อมตึกของเครือเนชั่น ที่เขตบางนา เมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2549 [3] และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังของการจัดทำสื่อทางเลือก เช่น TTV MV1 และเว็บไซต์ รีพอตเตอร์ ออกมาตอบโต้กลุ่มผู้ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ด้วย [4] และเป็นหนึ่งในผู้ที่ถูกควบคุมตัวหลังรัฐประหาร 19 กันยายน พ.ศ. 2549 พร้อมกับนายยงยุทธ ติยะไพรัชด้วย อีกทั้งก็เป็นบุคคลต้องสงสัยว่าอยู่เบื้องหลังของการพยายามคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 ที่จะมีการรับร่างในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ในจังหวัดบุรีรัมย์ด้วย[5]
ในวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2550 ที่ จ.บุรีรัมย์ นายเนวินได้ขึ้นเวทีปราศรัยหาเสียงของพรรคพลังประชาชน ตอนหนึ่งนายเนวินได้บอกว่าระหว่างที่ถูกควบคุมตัวได้ถูกกระทำอย่างไม่ถูกต้องและถูกจับแก้ผ้าหมดทั้งตัว และถูกทิ้งไว้ข้างถนน แต่ทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริงและปฏิบัติต่อนายเนวินอย่างใด[6]
[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์
- พ.ศ. 2531 ตริตาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.)
- พ.ศ. 2533 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2535 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)
- พ.ศ. 2537 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)
- พ.ศ. 2538 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)
- พ.ศ. 2539 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)
- พ.ศ. 2540 มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)
- พ.ศ. 2541 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)
[แก้] อ้างอิง
- ^ http://www.thaipost.net/index.asp?bk=thaipost&post_date=17/Jan/2548&news_id=101075&cat_id=501
- ^ http://tnews.teenee.com/politic/684.html
- ^ http://tnews.teenee.com/politic/1101.html
- ^ http://www.thaiinsider.com/ShowNewsPost.php?Link=News/Political/2006-09-20/02-09.htm
- ^ http://news.sanook.com/politic/politic_166393.php
- ^ http://www.posttoday.com/topstories.php?id=194251