See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
เฉลียง (วงดนตรี) - วิกิพีเดีย

เฉลียง (วงดนตรี)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เฉลียง

ข้อมูลพื้นฐาน
แหล่งกำเนิด Flag of ไทย กรุงเทพ ประเทศไทย
แนวเพลง ป็อป, แจ๊ส
ปี 2524 - 2534
2537-ปัจจุบัน
ค่าย อโซน่า
ครีเอเทีย อาร์ตติส
คีตา เร็คคอร์ด
สมาชิก
นิติพงษ์ ห่อนาค

วัชระ ปานเอี่ยม
สมชาย ศักดิกุล
เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์
ศุ บุญเลี้ยง
ภูษิต ไล้ทอง

ฉัตรชัย ดุริยประณีต

เฉลียง เป็นชื่อของวงดนตรีไทย ที่มีผลงานระหว่างปี พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2534 ทั้งหมด 6 ชุด เฉลียงเป็นวงดนตรีวงแรก ๆ ที่บุกเบิกเพลงแนวแปลกใหม่ ทั้งด้านเนื้อหาและท่วงทำนอง ให้กับวงการเพลงไทย ผู้ก่อตั้งและผู้แต่งเพลงส่วนใหญ่ของเฉลียงคือ ประภาส ชลศรานนท์

ภายหลังจากออกผลงานชุดสุดท้ายในปี พ.ศ. 2534 เฉลียงยังคงมีการรวมตัวกันเล่นคอนเสิร์ตและออกผลงานเพลงเฉพาะกิจเป็นครั้งคราว

เนื้อหา

[แก้] ที่มาของชื่อวงเฉลียง

ประภาส ชลศรานนท์มีความต้องการชื่อที่สื่อถึงมนุษย์ เป็นบ้าน เป็นจิตใจ และต้องการสื่อถึง ตรงกลาง ที่อยู่ระหว่างข้างนอกและข้างใน(จิตใจ) จึงนึกถึงชื่อเฉลียงที่เป็นส่วนที่เชื่อมต่อข้างนอกกับข้างในบ้าน ประกอบกับชื่อเฉลียงมีเสียงคล้ายกับ เฉียงๆ ไม่ค่อยตรง เป็นการสะท้อนภาพ แต่ไม่ใช่สะท้อนภาพสังคมแต่เป็นการสะท้อนภาพจิตใจ [1]

[แก้] สมาชิก

แบ่งออกเป็น 3 ยุค


[แก้] ประวัติ

[แก้] ยุคที่หนึ่ง

เฉลียงเกิดจากการรวมกันของกลุ่มนิสิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย ประภาส ชลศรานนท์ นิติพงษ์ ห่อนาค และวัชระ ปานเอี่ยม ทำเพลงตัวอย่าง นำไปขอให้ เรวัต พุทธินันทน์ อำนวยการผลิตให้

หลังจากเรวัตได้ฟังและพบว่านิติพงษ์ร้องเสียงเพี้ยนต่ำไม่เหมาะกับการเป็นนักร้องนำ จึงเสนอให้ สมชาย ศักดิกุล ที่ขณะนั้นเป็นนักดนตรีอาชีพอยู่มาเป็นนักร้องคู่กับวัชระ ในผลงานชุดแรก ในปี พ.ศ. 2525 ที่แท้จริงไม่มีชื่อชุด แต่เนื่องจากหน้าปกที่ออกแบบโดยประภาสมีรูปฝน จึงถูกเรียกว่าชุดปรากฏการณ์ฝน ตามชื่อเพลงหนึ่งในชุดนั้น หลังจากผลงานชุดแรกออกมาไม่ประสบความสำเร็จทั้งด้านรายได้และเสียงตอบรับ มียอดขายไม่เกิน 4000-5000 ม้วน [2] เฉลียงจึงไม่ได้ออกผลงานอีกเป็นระยะเวลา 4 ปี

[แก้] ยุคที่สอง

ในปี พ.ศ. 2529 ประภาสมีผลงานเพลงอยู่ชุดหนึ่งที่เคยมีความคิดให้ เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ รุ่นน้องที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ที่เคยร่วมร้องเพลงประกอบโฆษณาที่ประภาสแต่ง ออกผลงานเป็นศิลปินเดี่ยว แต่เนื่องจากอุปสรรคด้านผู้สนับสนุน จึงทำให้โครงการไม่เกิดขึ้น จนกระทั่งศุ บุญเลี้ยง หนึ่งในผู้ได้เป็นเจ้าของ ปรากฏการณ์ฝน และมีความประทับใจในเพลงเที่ยวละไม จึงติดต่อกับประภาสเพื่อนำผลงานเพลงของตัวเองไปให้พิจารณา จึงเกิดความคิดที่จะรวมตัวเป็นศิลปินคู่ในชื่อ ไปยาลใหญ่ แต่ประภาสยังไม่พอใจในผลงานบางเพลง จึงเสนอให้วัชระ และนิติพงษ์กลับมารวมตัวอีกครั้ง และเนื่องจากในหลายบทเพลงมีเสียงของแซกโซโฟน จึงชักชวนให้ ภูษิต ไล้ทอง นักดนตรีเครื่องเป่าที่เคยร่วมงานกันเมื่อครั้งยังเป็นนิสิตมาร่วมกันเป็นวงเฉลียงในยุคที่สอง ผลงานชุดแรกในยุคที่สองกับค่ายครีเอเทียคือ อื่นๆ อีกมากมาย อำนวยการดนตรีโดย ทรงวุฒิ จรูญเรืองฤทธิ์ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักฟังเพลงมีการออกแสดงคอนเสิร์ตและมิวสิกวีดีโอ

ต้นปี พ.ศ. 2530 เฉลียงออกผลงานเพลงชุดที่สามกับค่ายคีตาแผ่นเสียงและเทป(ชื่อขณะนั้น) ในชุด เอกเขนก มีเพลง เร่ขายฝัน ที่ถูกทำเป็นมิวสิควีดีโอยาว 9 นาที และได้รับรางวัลมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยมจากสมาคมผู้กำกับศิลป์กรุงเทพฯ (B.A.D. Awards) ประจำปี 2530 นอกจากผลงานบทเพลงแล้ว ชื่อเสียงของเฉลียงทำให้ได้เล่นโฆษณาของน้ำอัดลม เป๊ปซี่ ที่เพลงประกอบโฆษณาที่ดัดแปลงจากเพลง รู้สึกสบายดี ได้รับรางวัลจากสมาคมผู้กำกับศิลป์กรุงเทพฯเช่นเดียวกัน [3]

ปลายปี พ.ศ. 2530 เฉลียงออกผลงานเพลงชุดที่สี่คือ เฉลียงหลังบ้าน ที่ผลงานเพลงส่วนใหญ่เป็นบทเพลงประกอบละครเรื่องต่างๆ ที่ประภาสเป็นผู้แต่ง และแสดงคอนเสิร์ต หัวบันไดไม่แห้ง เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2531

[แก้] ยุคที่สาม

หลังจาก เฉลียงหลังบ้าน นิติพงษ์และศุ ที่งานส่วนตัวเริ่มรัดตัวได้ตัดสินใจของยุติบทบาทกับวง ประภาส จึงชักชวนให้ ฉัตรชัย ดุริยประณีต นักแต่งเพลงที่เคยส่งเพลงมาให้เขาพิจารณาเข้ามาเพิ่มเป็นสมาชิกอีกคนหนึ่งในเฉลียงยุคที่สาม ที่มีสมาชิก 4 คน ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2532 ผลงานชุดแรกในยุคที่สามคือ แบ-กบาล มิวสิกวีดีโอที่มีชื่อเสียงของชุดนี้คือ ใจเย็นน้องชาย ที่ได้รับรางวัลชมเชยประเภทมิวสิกวีดีโอดีเด่นของคณะกรรมการโทรทัศน์ทองคำ [4] เฉลียงมี คอนเสิร์ตปิดท้ายทอย ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2532

ผลงานชุดสุดท้ายของเฉลียงออกใน พ.ศ. 2534 คือ ตะไคร่น้ำสุดขอบฟ้า ที่มีเนื้อหาหลักเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ธรรมชาติ มีบทเพลงที่ได้รับรางวัลสีสันอวอร์ดสาขาเพลงยอดเยี่ยมคือ โลกาโคม่า และเฉลียงยังได้รับรางวัลศิลปินกลุ่มยอดเยี่ยมจากรางวัลสีสันอวอร์ดอีกด้วย เนื่องจากภาระและหน้าที่การงานส่วนตัวของสมาชิกแต่ละคนทำให้การทำการตลาดและการออกแสดงคอนเสิร์ตเป็นไปได้ยาก ทำให้เฉลียงยุติบทบาทลง [5]

[แก้] ผลงาน

[แก้] อัลบั้ม

[แก้] ปรากฏการณ์ฝน

ดูแลการผลิต : เรวัต พุทธินันทน์ ผสมเสียง : เรวัต พุทธินันทน์ บันทึกเสียง : ห้องอัดกมลสุโกศล บริษัทเทป : บริษัท เจเอสแอล ออกแบบปก : ประภาส ชลศรานนท์ ปีที่วางจำหน่าย : พ.ศ. 2525

  • เธอกับฉันกับคนอื่นๆ
  • อยากมีหมอน
  • เที่ยวละไม
  • หวาน
  • สะดุด
  • รถไฟ
  • หาฝัน
  • ใยแมงมุม
  • วณิพก
  • ปรากฏการณ์ฝน

[แก้] อื่น ๆ อีกมากมาย

ดูแลการผลิต : ประภาส ชลศรานนท์ ผสมเสียง : มิสเตอร์เมา ช่างเสียง : จักรี เปรมานนท์ บันทึกเสียง : ซาวด์ โปรดักชั่น บริษัทเทป : ครีเอเทีย อาร์ติสท์ ปีที่วางจำหน่าย : พ.ศ. 2529

  • อื่นๆอีกมากมาย
  • รู้สึกสบาย
  • เข้าใจ
  • ถ้าโลกนี้มีเราเพียงสองคน
  • กล้วยไข่
  • เที่ยวละไม
  • ถูกโฉลกเธอ
  • ต้นชบากับคนตาบอด
  • ดอกมะลิ
  • คนดนตรี

[แก้] เอกเขนก

ดูแลการผลิต : ประภาส ชลศรานนท์ ร่วมดูแลการผลิต : ทรงวุฒิ จรูญเรืองฤทธิ์ ผสมเสียง : โยธิน ชีรานนท์ และ จักรี เปรมานนท์ ช่างเสียง : ต่อพงศ์ สายศิลปี คอรัสรับเชิญ : กัลยารัตน์ วาระณวัฒน์ บันทึกเสียง : ห้องบันทึกเสียงบัตเตอร์ฟลาย บริษัทเทป : บริษัทคีตาแผ่นเสียง เทป จำกัด ออกแบบปก : พิเศษ ไทยานันท์, เติมพันธุ์ มัทวพันธุ์ และ เต๋า อิลลัสเตรชั่นเฮ้าส์ ปีที่วางจำหน่าย : พ.ศ. 2530

  • เร่ขายฝัน
  • นายไข่เจียว
  • ค่ำคืนฉันยืน
  • น้ำ
  • นิทานหิ่งห้อย
  • ไม่เข้าใจ
  • เพลงที่เหลือ
  • แค่มี
  • โลกยังสวย
  • ผึ่งพุง
  • พระจันทร์
  • เอกเขนก

[แก้] เฉลียงหลังบ้าน

ดูแลการผลิต : ประภาส ชลศรานนท์ และ ภูษิต ไล้ทอง ผสมเสียง : โยธิน ชีรานนท์ และ แมง ณ ลำพู บันทึกเสียง : ห้องบันทึกเสียงศรีสยาม (ธันวาคม 2530) บริษัทเทป : บริษัทคีตาแผ่นเสียง เทป จำกัด ออกแบบปก : เกียรติศักดิ์ เวทีวุฒาจารย์ ปีที่วางจำหน่าย : พ.ศ. 2530

  • คุณยายกายสิทธิ์
  • เก็บใจ
  • กล้วยไข่ภาค 3
  • เธอกับฉันกับคนอื่นๆ
  • หวาน
  • หาฝัน
  • รู้สึกสบาย (ฉบับเพิ่งตื่น)
  • อยากมีหมอน
  • ใยแมงมุม
  • นายแพทย์สนุกสนาน
  • เทวดาตกสวรรค์ (นำเรื่อง / สวรรค์ / วิกฤต / โลกมนุษย์ / อำลา)
  • ต่างกัน

[แก้] แบ-กบาล

ดูแลการผลิต : ประภาส ชลศรานนท์ ผสมเสียง : แกรี่ เอ็ดเวิร์ด ช่างเสียง : นายสุริยา และ นายนุ บันทึกเสียง : ห้องบันทึกเสียงศรีสยาม บริษัทเทป : บริษัทคีตาแผ่นเสียง เทป จำกัด ปีที่วางจำหน่าย : พ.ศ. 2532

  • แบกบาล
  • ง่ายๆ
  • ยังมี
  • กุ๊กไก่
  • รักออมชอม
  • ใจเย็นน้องชาย
  • โลกกลมๆ
  • ไม่คิดถาม
  • อยู่ที่ใคร
  • เรื่องตลก?

[แก้] ตะไคร่น้ำสุดขอบฟ้า

ดูแลการผลิต : ฉัตรชัย ดุริยประณีต อำนวยการผลิต : ประภาส ชลศรานนท์ ประสานงานการผลิต : เนตรดาว ปาวรีย์ ร่วมดูแลการผลิต : วีระพงศ์ ศุภรประเสริฐ ผสมเสียง : แมง ณ ลำพู ช่างเสียง : มนตรี, นุกูล และ แอ๊ด (ศรีสยามสตูดิโอ) ศิลปินรับเชิญ : นพ โสตถิพันธุ์ (ไวโอลิน) สนธยา วงษ์ทอง (หีบเพลงปาก) ปีที่วางจำหน่าย : พ.ศ. 2534

  • ตะไคร่น้ำสุดขอบฟ้า
  • กว่าจะถึงพรุ่งนี้
  • เขาบอก
  • ฝันให้ไกลไปให้ถึง
  • พ่อกล่อมลูก 1
  • ฝากเอาไว้
  • พ่อกล่อมลูก 2
  • พัดลม
  • แม่
  • โลกโคม่า
  • พ่อกล่อมลูก 3

[แก้] คอนเสิร์ต

หลังจากออกผลงานอัลบัมสุดท้ายคือตะไคร่น้ำสุดขอบฟ้า วงเฉลียงกลับมารวมตัวอีกครั้งหนึ่งใน คอนเสิร์ตแก้คิดถึง...ฉลองสิบกว่าปีเฉลียง นำรายได้เพื่อการกุศล แสดงในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2537 [6]ที่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นิติพงษ์ แต่งเพลงใหม่คือ ไม่รักแต่คิดถึง แสดงเป็นครั้งแรกในคอนเสิร์ตนี้

ต่อมาในวันที่ 2-3 ธันวาคม พ.ศ. 2543 [7] วงเฉลียงได้มารวมตัวกันจัดคอนเสิร์ตสั่งลาอีกครั้งในชื่อ คอนเสิร์ตเรื่องราวบนแผ่นไม้ แสดงที่หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ได้ออกผลงานอีกชุดเป็นชุดพิเศษที่มีจำหน่ายหน้าคอนเสิร์ต คือ ชุด นอกชาน และอำลาแฟนเพลงว่าจะไม่รวมตัวเล่นคอนเสิร์ตกันอีก การแสดงรอบสุดท้ายของคอนเสิร์ตนี้อาจเป็นประวัติศาสตร์ของวงการดนตรีว่าเป็นคอนเสิร์ตที่ใช้เวลาหลังจากจบการแสดงยาวนานที่สุด เนื่องจากภายหลังแสดงเพลงสุดท้ายไปเรียบร้อยแล้ว แฟนเพลงเฉลียงปรบมือต่อเนื่องเป็นเวลายาวนาน นิติพงษ์ ได้ออกมาประกาศว่าจะไม่ลงจากเวทีจนกว่าแฟนเพลงคนสุดท้ายที่ต้องการลายเซ็นจะเดินทางกลับ นอกจากนั้นวงยังออกมาแสดงเพลง เรื่องราวบนแผ่นไม้ เพลงประจำคอนเสิร์ตอีกครั้งหนึ่ง โดยมี ประภาส ผู้แต่งร่วมร้องด้วยเป็นครั้งแรก

พ.ศ. 2550 สมาชิกวงเฉลียงทั้ง 6 รวมตัวจัดคอนเสิร์ตอีกครั้งเพื่อจัดหารายได้ให้กับสมาคมนิสิตเก่าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสนับสนุนด้านการศึกษาของคณะ มีชื่อว่า เหตุเกิด...ที่เฉลียง และมีนิยามว่า "ดนตรีบำบัด ถาปัดจัด เฉลียงโชว์" ที่ ศุ เป็นผู้ตั้ง [8] แสดงที่ อิมแพ็ค อารีนา เมืองทองธานี สองรอบในวันเสาร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เวลา 13.00 น. และ 19.00 น. [9]


[แก้] เอกลักษณ์ของคอนเสิร์ตเฉลียง

คอนเสิร์ตเฉลียงมีรูปแบบพิเศษเฉพาะตัวคือมีการพูดคุยหลังจากจบเพลง เรื่องที่คุยมันจะเป็นเรื่องหยอกล้อกันระหว่างสมาชิกภายในวง หรือวิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์ในสังคมในมุมมองที่แตกต่างและขบขัน แฟนเพลงเฉลียงบางส่วนที่เข้าไปชมคอนเสิร์ตจึงให้ความสนใจส่วนพูดคุยมากพอๆ กับการฟังเพลง นอกไปจากนั้นระหว่างการแสดงบางบทเพลง เช่น นิทานหิ่งห้อย ร้องโดยศุ จะมีการเล่านิทานโดยวัชระสลับระหว่างท่อน

ในยุคก่อนหน้าคอนเสิร์ตแก้คิดถึง เฉลียงจะใช้บทเพลงอื่นๆ อีกมากมายเป็นเพลงปิดคอนเสิร์ต โดยบางครั้ง มีการแก้เนื้อเพลงสร้างความแปลกใจให้กับผู้ชม

[แก้] เฉลียงเฉพาะกิจ

นอกจากผลงานเพลงเฉลียง 6 ชุดแล้ว เฉลียงยังคงมีผลงานอื่นๆ ที่เฉลียงรวมตัวกันแม้จะไม่ครบวง เช่น งานเพลงประกอบภาพยนตร์ งานคอนเสิร์ต และ เพลงประกอบสารคดี


[แก้] ผลงานเพลง

ขอแค่คิดถึง รวมเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง วอนทั้งโลกโขกหัวเธอ ที่วัชระเป็นผู้กำกับ มีผู้ร่วมงานคือ ภูษิต เกียรติศักดิ์ วัชระ และ ศุ ประกอบด้วยเพลง

  • ขอแค่คิดถึง
  • ลุ้น
  • วอนทั้งโลกโขกหัวเธอ
  • ขอแค่คิดถึง (Acoustic Version)
  • วอนทั้งโลกโขกหัวเธอ (Acoustic Version)
  • ขอแค่คิดถึง (Saxophone Version)
  • ขอแค่คิดถึง (Orchestra Version)

เพลงประกอบสารคดีดนตรีเล่าเรื่อง "น้ำคือชีวิต" ตอน น้ำเป็นแหล่งกำเนิดชีวิต เฉลียงประกอบด้วย วัชระ นิติพงษ์ ภูษิต เกียรติศักดิ์ ศุ และ ฉัตรชัย

[แก้] งานคอนเสิร์ต

  • รวมมิตรให้มัน ที่หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2543 เฉลียงประกอบด้วย วัชระ นิติพงษ์ เกียรติศักดิ์ ภูษิต และแขกรับเชิญคือ "แว่น" จักราวุธ แสวงผล ศิษย์เก่าสถาปัตย์ จุฬาฯ ที่ทำงานแต่งเพลงร่วมกับนิติพงษ์
  • ครบเด็กสร้างบ้าน ที่หอประชุมใหญ่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในวันที่ 13-14 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เฉลียงประกอบด้วย วัชระ นิติพงษ์ และ เกียรติศักดิ์ มีแขกรับเชิญคือ ญานดนู ไล้ทอง (ต้นไม้)

[แก้] หนังสือ

ประคำลูกโอ๊ค แปลโดย มนันยา จัดพิมพ์โดย กองทุนเฉลียงเพื่อมอบรายได้ให้มูลนิธิเพื่อเด็กพิการ


[แก้] ทริบิวท์เฉลียง

เป็นอัลบัมรวมเพลงที่รวบรวมศิลปินมาร้องเพลงของเฉลียง มีชื่อว่า คนอื่นๆอีกมากมาย ต่างบ้าน ต่างคน บนเฉลียง อำนวยการผลิตโดย โรจน์ชนา วโรภาษ ตัวอย่างศิลปินที่ขับร้อง

  • บุ๋มบิ๋ม สามโทน ในเพลงเที่ยวละไม
  • มาม่า บลูส์ ในเพลง ถ้าโลกนี้มีเราเพียงสองคน
  • ระวิวรรณ จินดา ในเพลง เข้าใจ
  • วิยะดา โกมารกุล ณ นคร ในเพลง ฝากเอาไว้


[แก้] อ้างอิง

  1. ^ เพลงเขียนคน ดนตรีเขียนโลก หน้า 52
  2. ^ เฉลียงเรื่องราวบนแผ่นไม้ หน้า 65
  3. ^ เฉลียงเรื่องราวบนแผ่นไม้ หน้า 141-143
  4. ^ เฉลียงเรื่องราวบนแผ่นไม้ หน้า 175
  5. ^ เฉลียงเรื่องราวบนแผ่นไม้ หน้า 193
  6. ^ ปฏิทินเฉลียงเดือนเมษายน จากเว็บวงเฉลียง
  7. ^ ปฏิทินเฉลียงเดือนธันวาคม จากเว็บวงเฉลียง
  8. ^ เฉลียงกลืนน้ำลายตัวเอง ขึ้นเวทีอีกครั้งเพื่อ 'ถาปัด' ข่าวจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก
  9. ^ หน้างานคอนเสิร์ตจากเวบวงเฉลียง
  • เพลงเขียนคน ดนตรีเขียนโลก เรียบเรียงโดย สมชัยพหลกุลบุตร , ณ บ้านวรรณกรรม, ตุลาคม 2537
  • เฉลียงเรื่องราวบนแผ่นไม้, สำนักพิมพ์ แม่ขมองอิ่ม, ธันวาคม 2543

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

เฉลียง (วงดนตรี) เป็นบทความเกี่ยวกับ เพลง หรือ ดนตรี  ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ เฉลียง (วงดนตรี) ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ดนตรี


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -