See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
เจ้าพระยาอภัยราชา (โรลัง ยัคมินส์) - วิกิพีเดีย

เจ้าพระยาอภัยราชา (โรลัง ยัคมินส์)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ
เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ

เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ (31 มกราคม พ.ศ. 2378 - 9 มกราคม พ.ศ. 2445) มีนามเดิมว่า ดร.โรแลง ยัคแมงส์ (Gustave Rolin-Jaequemyns)เป็นชาวเบลเยี่ยม มีความชำนาญในด้านการปกครองเคยดำรงตำแหน่งเป็นเสนาบดี ในประเทศเบลเยี่ยม ได้เดินทางเข้ามารับราชการในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2435 สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะ ที่ปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วไป มีตำแหน่งเป็นอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มประจำกระทรวงการต่างประเทศ เนื่องจากขณะนั้นประเทศไทย กำลังมีข้อพิพาทกับฝรั่งเศสในเรื่องดินแดนเมืองขึ้น จึงว่าจ้าง ม.ร. คุสตาฟ โรลิน ยัคมินส์ เข้ามาช่วยราชการแก้ปัญหาสำคัญ ที่รัฐบาลไทยจะต้องปรับปรุงแก้ไข 3 ประการ คือ

1. ปรับปรุงการศาลยุติธรรมให้เป็นที่เชื่อถือของต่างประเทศ เพราะขณะนั้นอังกฤษและฝรั่งเศส เริ่มเข้ามาตั้งศาลกงสุลในประเทศไทย และไม่ยอมรับรองการอยู่ใต้กฎหมายไทย เพราะถือว่ากฎหมายไทยยังไม่มีระเบียบแบบแผนรัดกุมที่ดีพอ

2. ปรับปรุงการปกครองบ้านเมืองให้ทัดเทียมกับอารยประเทศ มีการร่างรัฐธรรมนูญ แบ่งแยกกระทรวง ทบวง กรม มีการจัดตั้งสภารัฐมนตรี ขึ้นเป็นครั้งแรก ในช่วงเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งให้เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค)นักเรียนไทย คนแรกที่กลับจากอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ภาษาอังกฤษดี มีตำแหน่งเป็นราชเลขาธิการในพระองค์ แปลเอกสารภาษาอังกฤษ เพื่อจะใช้เป็นหลักในการปรับปรุงการปกครองบ้านเมือง โดยมีกรมพระยาเทววงศ์วโรปการเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศเป็น ผู้ร่างรัฐธรรมนูญ ตามแนวที่พระยาภาสกรวงศ์เป็นผู้แปลและได้ร่างเสร็จเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2432 เรียกรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นนี้ว่า “พระราชประเพณี” ได้มีการจัดตั้งสภารัฐมนตรี และได้ประกาศตั้งเสนาบดี 12 กระทรวงใหม่ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435

3. ปรับปรุงปัญหาด้านการต่างประเทศ หลังจากที่ประเทศไทยได้เซ็นสัญญาทางพระราชไมตรีกับอังกฤษ อเมริกา ฝรั่งเศส ตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศยุโรปก็ได้ส่งกงสุลใหญ่เข้ามาดูแลด้านการค้า การปกครองคนของตนอย่างเป็นเอกเทศไม่ยอมให้คนในบังคับ ของตนมาขึ้นศาลไทย ซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยยังไม่มีกงสุลใหญ่หรือทูตไทยไปประจำในประเทศต่าง ๆ เหล่านั้น ทำให้เกิดปัญหา ความขัดแย้ง ความไม่พอใจระหว่างรัฐบาลไทยกับกงสุลของประเทศต่าง ๆ เหล่านั้นบ่อย ๆ เกิดข้อพิพาทบาดหมางกัน พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงต้องส่งทูตพิเศษออกไปติดต่อกับรัฐบาลในทวีปยุโรปเสมอ ๆ จึงจำเป็นต้องจ้าง ม.ร. โรลิน ยัคมินส์ เข้ามาเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วไปขึ้นเป็นครั้งแรก ซึ่งเป็นงานหนักในฐานะที่เป็นอัครราชทูตไทย ผู้มีอำนาจเต็มประจำ กระทรวงการต่างประเทศ บทบาทที่สำคัญอย่างหนึ่งของท่าน คือ การที่ช่วยรัฐบาลไทยเจรจาและทำความเข้าใจกับรัฐบาลฝรั่งเศส กรณีพิพาท ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) ซึ่งประเทศไทยถูกฝรั่งเศสยึดดินแดน ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบต่างชาติน้อยที่สุด และช่วยรักษาเอกราชของประเทศไทยไว้ได้อย่างปลอดภัย ด้วยการดำเนินรัฐประศาสโนบายในทางที่ควรจนรอดพ้นจากการสูญเสีย ประเทศมาได้

คุณความดีและความสามารถหลายด้านของ ม.ร. คุสตาฟ โรลิน ยัคมินส์ ที่มีต่อประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้ ม.ร. โรลิน ยัคมินส์ เป็นเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจฯ เป็นที่ปรึกษาราชการทั่วไป ถือศักดินา 10000 ในวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439 นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งฝรั่งเป็นเจ้าพระยาเทียบชั้นเสนาบดี ส่วนในด้านการศึกษาของเจ้าฟ้าชายผู้เป็นรัชทายาท และพระราชโอรสทุกพระองค์ เจ้าพระยาอภัยราชาได้เสนอความคิดว่าควรจะศึกษาวิชาใดในต่างประเทศ และควรจะเรียนในประเทศใด เพื่อนำความรู้มาพัฒนาประเทศชาติบ้านเมืองและเป็นการเชื่อมโยงสร้างสัมพันธไมตรีอันดีกับประเทศต่าง ๆ ด้วย และยังถวายคำแนะนำ ให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยือนประเทศต่าง ๆ ในยุโรปเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2441 ภายหลังที่มีกรณีพิพาท กับฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ. 2436 เพื่อบรรเทาความตึงเครียดในทางการเมือง และเพื่อให้ประเทศอื่น ๆ รู้จักประเทศไทยและหันมาสนับสนุน ประเทศไทยในทางการเมือง เพื่อเป็นการถ่วงดุลกับอิทธิพลของฝรั่งเศสในขณะนั้น

ในการเสด็จเยือนยุโรปเป็นครั้งแรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงตั้งสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตลอดเวลาที่ไม่ได้ประทับอยู่ในประเทศ เป็นเวลานาน 9 เดือน และได้แต่งตั้งองค์ที่ปรึกษาราชการ แผ่นดินขึ้น 5 นาย เพื่อถวายคำปรึกษาราชการแผ่นดินให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ ในจำนวนบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งมี เจ้าพระยาอภัยราชา ได้รับการไว้วางพระราชหฤทัยให้อยู่ในตำแหน่งที่ปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วไปด้วย

เจ้าพระยาอภัยราชามีส่วนช่วยสร้างและนำความเจริญก้าวหน้าให้ประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทำหน้าที่ติดต่อกับเสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ ช่วยเร่งรัดงานให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว มีระเบียบเรียบร้อยยิ่งขึ้น ภายหลังเจ้าพระยาอภัยราชาได้เดินทางกลับไปยังประเทศเบลเยี่ยม และถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 9 มกราคม ปีฉลู พ.ศ. 2444 อายุได้ 66 ปี

ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -