See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
อมเรศ ภูมิรัตน - วิกิพีเดีย

อมเรศ ภูมิรัตน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาสตราจารย์ ดร. อมเรศ ภูมิรัตน
ศาสตราจารย์ ดร. อมเรศ ภูมิรัตน

ศาสตราจารย์ ดร.อมเรศ ภูมิรัตน (24 กรกฎาคม 2491 - ) เกิดที่อำเภอพระโขนง กรุงเทพมหานคร เป็นนักวิจัยไทยที่มีผลงานดีเด่นในสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ เชี่ยวชาญด้านการสอน การวิจัย รวมทั้งการประยุกต์และถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภาคอุตสาหกรรม มาตลอดระยะเวลากว่า 30 ปี เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อปี พ.ศ. 2532 และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในวงการเทคโนโลยีชีวภาพระดับประเทศ โดยริเริ่มให้มีการรวมตัวของนักวิชาการด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ทำให้มีการก่อตั้ง ชมรมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2533 และเป็นประธานคนแรกของชมรมนี้ ซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย ศาสตราจารย์ ดร. อมเรศ ภูมิรัตน เป็นบุตรคนที่ 3 ในจำนวน 5 คน ของ ศาสตราจารย์อมร และคุณหญิงระเบียบ ภูมิรัตน สมรสกับนางนิตยาภรณ์ (สุมาวงศ์) มีธิดา 1 คน คือ พ.ญ. นภัทร ภูมิรัตน

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

[แก้] การศึกษา

  • พ.ศ. 2497 - 2500 - ประถมศึกษา โรงเรียนปวโรฬารวิทยา กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2501 - 2506 - มัธยมศึกษา โรงเรียนมัธยมสาธิต มศว. ประสานมิตร กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2507 - โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา พญาไท กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2507 - 2509 - โรงเรียนมัธยมแห่งเมืองเชาว์ซิวล่า มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2509 - 2513 - ปริญญาตรี (เกียรตินิยม) สาขาแบคทีเรียวิทยา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียแห่งเมืองเดวิส มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2513 - 2517 - ปริญญาเอก สาขาจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยมิชิแกนสเตท รัฐมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา

[แก้] ประวัติการทำงาน

ตำแหน่งวิชาการ

ตำแหน่งบริหาร


ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่างๆ

  • - สมาชิกสมาคม Sigma XI
  • - สมาชิกสมาคม American Society for Microbiology
  • - สมาชิกสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย
  • - สมาชิกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • - ภาคีสมาชิก ราชบัณฑิตยสถาน สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • - บรรณาธิการวารสารเทคโนโลยีชีวภาพ (Thai Journal of Biotechnology)
  • - คณะบรรณาธิการ (Editorial Board) ของ ASEAN Food Journal
  • - คณะบรรณาธิการ (Editorial Board) ของ Journal of Fermentation and Bioengineering
  • - คณะบรรณาธิการ (Editorial Board) ของ Journal of Microbiology and Biotechnology
  • - WHO Short-term temporary consultant
  • - คณะอนุกรรมการโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทย-ญี่ปุ่น สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ของ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • - ที่ปรึกษารับเชิญของ International Foundation for Science
  • - สมาชิก SAC-Food Science International Foundation for Science
  • - ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (2549-ปัจจุบัน)

[แก้] เกียรติคุณและรางวัล

  • พ.ศ. 2530 - รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ จาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ โดยได้รับรางวัลดีเยี่ยม จากผลงานวิจัยเรื่อง "การปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตซีอิ๊ว"
  • พ.ศ. 2534 - รางวัลของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี 2534 สาขาทั่วไป จากมหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2535 - รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ ประจำปี 2535 จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พ.ศ. 2540 - ทุนวิจัยเมธีวิจัยอาวุโส สกว. ประจำปีพ.ศ. 2540 จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้] ผลงานด้านการวิจัย

ศาสตราจารย์ ดร. อมเรศ ภูมิรัตน และคณะ ได้ทำงานวิจัยทางด้านจุลชีววิทยา เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการอาหารอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ จำนวนกว่า 70 เรื่อง ผลงานวิจัยโดยสรุปมีดังนี้

  • งานวิจัยด้านการใช้ประโยชน์จากแบคทีเรีย ได้แก่ การศึกษาแบคทีเรียที่มีฤทธิ์ฆ่าแมลง โดยเฉพาะสายพันธุ์ซึ่งฆ่าหนอนแมลงศัตรูพืช และสายพันธุ์ซึ่งสามารถฆ่าแมลงพาหะนำโรค อาทิ Bacillus thuringiensis ศึกษาคุณสมบัติของผลึกสารพิษ ความสามารถที่แบคทีเรียจะยังคงฤทธิ์อยู่ได้ในสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ การผลิตแบคทีเรียเหล่านี้ในระดับอุตสาหกรรม และพัฒนาให้มีศักยภาพในเชิงพาณิชย์ การถ่ายทอดยีนสารพิษระหว่างแบคทีเรียเหล่านี้ ทั้งในระหว่างสายพันธุ์เดียวกันและสายพันธุ์ต่างกัน ทำให้สามารถสร้างแบคทีเรียสายพันธุ์ใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ศึกษาขบวนการควบคุมการแสดงออกของยีนโดยใช้เทคนิคทางด้านพันธุวิศวกรรม เพื่อนำไปพัฒนาสายพันธุ์แบคทีเรียที่เหมาะสมต่อไปได้ในอนาคต
  • งานวิจัยด้านการใช้ประโยชน์จากเชื้อรา ที่สำคัญได้แก่ การแยกวิเคราะห์เชื้อราต่างๆ จากหัวเชื้อซีอิ้วในประเทศไทย และการผลิตเอนไซม์ต่างๆ จากเชื้อรา การถ่ายทอดเทคโนโลยีในการผลิตอาหารหมักจากถั่วเหลือง ไปยังอุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยขบวนการฝึกอบรมและการบริการทางเทคนิคอื่นๆ การผลิตเอ็นไซม์กลูโคอะมัยเลสในระดับอุตสาหกรรม การใช้เชื้อรา Nomuraea rileyi เพื่อควบคุมหนอนแมลงศัตรูพืช ในกลุ่ม Lepidoptera ซึ่งเป็นหนอนที่ทำลายพืชเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทั้งพืชผัก ผลไม้และพืชเศรษฐกิจอื่นๆ หนอนกลุ่มนี้ได้แก่ หนอนกระทู้ผัก หนอนกระทู้หอม และหนอนเจาะสมอฝ้าย โดยได้พัฒนางานวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไปสู่ภาคเอกชน เพื่อที่จะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่อไป

[แก้] อ้างอิง

  • รางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นประจำปี 2535 : ศาสตราจารย์ ดร. อมเรศ ภูมิรัตน. [กรุงเทพฯ] : มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2535. [ISBN 974-7576-65-1]
  • เมธีวิจัยอาวุโส สกว. 2540. TRF Senior Research Scholar 1997. [กรุงเทพฯ] : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, 2540.

[แก้] ดูเพิ่ม


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -