See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
สนธิสัญญาโลคาร์โน - วิกิพีเดีย

สนธิสัญญาโลคาร์โน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สนธิสัญญาโลคาร์โน คือ ข้อตกลงเจ็ดประการซึ่งได้เจรจากันที่เมืองโลคาร์โน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม - 16 ตุลาคม 1925 และได้รับการลงนามอยากเป็นทางการที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะให้ประเทศฝ่ายพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในยุโรปตอนกลางและตะวันออกธำรงรักษาเขตแดนของประเทศเหล่านั้น รวมไปถึงการคืนความสัมพันธ์ทางการทูตกับเยอรมนี สนธิสัญญาดังกล่าวได้แบ่งทวีปยุโรปออกเป็นสองหมวด ก็คือ ยุโรปตะวันตก ซึ่งได้รับการรับรองจากสนธิสัญญาโลคาร์โน และยุโรปตะวันออกได้รับการพิจารณาใหม่อีกครั้ง[1]


เนื้อหา

[แก้] ภูมิหลัง

สนธิสัญญาโลคาร์โนเกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนหนังสือระหว่างประเทศระหว่างอังกฤษ ฝรั่งเศสและเยอรมนีในช่วงฤดูร้อนของปี 1925 หลังจากที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของเยอรมนี Gustav Stresemann ได้เสนอให้เกิดการปรับเปลี่ยนพรมแดนด้านตะวันตกของเยอรมนีให้เป็นประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย และเป็นการแก้ไขสนธิสัญญาแวร์ซายส์ที่ไม่เป็นธรรมต่อเยอรมนี และทำให้เยอรมนีสามารถกู้ฐานะของตนกับมหาอำนาจตะวันตก

[แก้] ข้อตกลง

ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดสนธิสัญญาโลคาร์โนนั้นก็คือ "สนธิสัญญาไรน์แลนด์" ระหว่าง เยอรมนี ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม อังกฤษและอิตาลี ซึ่งเยอรมนี ฝรั่งเศสและเบลเยี่ยมนั้นต่างก็ได้ลงนามในสนธิสัญญาไม่รุกรานระหว่งกัน และมีสักขีพยานคืออีกสองประเทศที่มีส่วนในสนธิสัญญาดังกล่าว และถ้าหากเกิดการรุกรานระหว่างกัน ประเทศที่เหลือจะเข้าช่วยประเทศที่ถูกโจมตีทันที

นอกจากนั้น เยอรมนียังได้เซ็นสนธิสัญญากับฝรั่งเศสและเบลเยี่ยมตามอำเภอใจ และสนธิสัญญาที่ไร้ความหมายกับโปแลนด์และเชโกสโลวะเกีย ด้านฝรั่งเศสนั้นได้เซ็นสนธิสัญญาเพิ่มเติมกับโปแลนด์และเชโกสโลวะเกีย ซึ่งสัญญาว่าจะช่วยเหลือกันในกรณีที่เกิดความขัดแย้งกับเยอรมนี จากสนธิสัญญาดังกล่าว อาจกล่าวได้ว่าฝรั่งเสสได้ลงนามเป็นพันธมิตรกับโปแลด์แล้วเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1921 และกับเชโกสโลวะเกียเมื่อวันที่ 25 มกราคม 1924

[แก้] ผลที่ตามมา

สนธิสัญญาโลคาร์โนนั้นถูกพิจารณาว่ามันจะเป็นหลักสำคัญที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศภายในทวีปยุโรป ซึ่งเริ่มต้นด้วยความหวังที่จะมีสันติภาพทั่วโลก เรียกว่า "จิตวิญญาณแห่งโลคาร์โน" ซึ่งปรากฏให้เห็นเมื่อเยอรมนีเข้าเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ และภายในเดือนมิถุนายน 1930 กองทัพพันธมิตรก็ถอนตัวออกจากแคว้นไรน์แลนด์ทั้งหมด

ตรงกันข้ามกับโปแลนด์ มหาชนชาวโปแลนด์ได้รับควมอับอายจากความล้มเหลวของทูตโปแลนด์และเป็นเหตุที่นำไปสู่การเปลี่ยนรัฐบาลของโปแลนด์ สนธิสัญญาโลคาร์โนนั้นก็ยังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างฝรั่งเศสกับโปลแนด์เลวร้ายลงไปอีก (แม้ว่าจะยังคงเป็นพันธมิตรระหว่างกัน) และเป็นจุดเริ่มต้นของความหวาดระแวงระหว่างโปแลนด์กับชาติตะวันตก[2] สนธิสัญญาโลคาร์โนได้แบ่งทวีปยุโรปออกเป็นสองส่วน ส่วนหนึ่งได้รับการรับรองจากสนธิสัญญาโลคาร์โน และส่วนที่เหลือไม่ได้รับการคุ้มครอง ดังคำของ Józef Beck กล่าวไว้ว่า "เยอรมนีได้ขออย่างเป็นทางการจะโจมตีทางตะวันออก เพื่อให้ทางตะวันตกเกิดสันติภาพ"[3] ความล้มเหลวในการเจรจาจากสนธิสัญญาโลคาร์โนนั้นเป็นตัวแปรหนึ่งที่ Józef Piłsudski ตัดสินใจที่จะล้มล้างรัฐสภาของโปแลนด์[4]

ข้อยกเว้นหนึ่งที่เกิดขึ้นหลังจากสนธิสัญญาโลคาร์โนก็คือ สหภาพโซเวียต ซึ่งได้มองตะวันตก (détente) นั้นได้พยายามเก็บตัวเองจากความขัดแย้งในทวีปยุโรปด้วยนโยบายโดดเดี่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยการถอดถอนเยอรมนีออกจากความสัมพันธ์กับตนภายใต้สนธิสัญญาลาพาลโลแห่งปี 1922 และความตึงเครียดก็ได้เริ่มขึ้นในช่วงยุโรปตะวันออก ด้วยเหตุนี้ เยอรมนีจึงจ่ายเงินราว 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกาให้กับสหภาพโซเวียต

จิตวิญญาณแห่งโลคาร์โนนั้นมิได้คงอยู่เมื่อแนวคิดชาตินิยมได้ถูกฟื้นฟูขึ้นในเยอรมนีตั้งแต่ปี 1930 ได้มีการเสนอในปี 1934 ให้มีการลงนามในสนธิสัญญา"โลคาร์โนตะวันออก" ซึ่งน่าจะรักษาเขตแดนด้านตะวันออกของเยอรมนีซึ่งมีท่าทีไม่สงบ และโปแลนด์ก็ยืนกรานให้ประเทศตะวันตกได้ให้คำรับรองแก่เขตแดนดังกล่าว ฮิตเลอร์นั้นได้ละเมิดสนธิสัญญาโลคาร์โนโดยตรงด้วยการส่งทหารเข้าไปยึดครองไรน์แลนด์ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 1936

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ "สำหรับข้าพเจ้าแล้ว สนธิสัญญาโลคาร์โนได้เปิดโอกาสให้เยอรมนีสามารถเอาดินแดนทางตะวันออกของตนคืนจากโปแลนด์" โดย Gustav Stresemann
  2. ^ Stanisław Sierpowski, "Polityka zagraniczna Polski międzywojennej", Warszawa 1994
  3. ^ Józef Beck, "Dernier rapport. Politique polonaise 1926 - 1939", 1951
  4. ^ Marian Eckert, "Historia polityczna Polski, lata 1918-1939". Warszawa 1989

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -