See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ศันสนีย์ ไชยโรจน์ - วิกิพีเดีย

ศันสนีย์ ไชยโรจน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

รศ.ดร. ศันสนีย์ ไชยโรจน์
รศ.ดร. ศันสนีย์ ไชยโรจน์

รองศาสตราจารย์ ดร. ศันสนีย์ ไชยโรจน์ (29 เมษายน 2505 - ) เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาจุลชีววิทยา ประจำปี พ.ศ. 2538 และรางวัล L'OREAL-UNESCO Fellowship for Women in Science ประจำปี พ.ศ. 2546 เกิดที่อำเภอพญาไท กรุงเทพมหานคร เป็นนักวิจัยไทยสาขาวิทยาภูมิคุ้มกัน มาตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา และรองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นบุตรคนแรกในจำนวน 3 คนของนายศิววงศ์ จังคศิริ อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนางสมวงศ์ (ตามไท) สมรสกับ นพ.สุชาต ไชยโรจน์ มีบุตร 1 คน คือ นายศวิทร์ ไชยโรจน์

ในวัยเยาว์ รศ.ดร.ศันสนีย์ (จังคศิริ) ไชยโรจน์ เคยเป็นนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติ ลงแข่งขันในกีฬาเซียพเกมส์ (SEAP GAMES) ซีเกมส์ (SEA GAMES) เอเชียนเกมส์ (ASIAN GAMES) และกีฬาโอลิมปิค ที่เมืองมอนทรีล ประเทศแคนาดา ได้เหรียญทองจากกีฬาเซียพเกมส์ (SEAP GAMES) ครั้งที่ 7 ที่กรุงเทพฯ และซีเกมส์ ครั้งที่ 8 ที่ประเทศมาเลเซีย

เนื้อหา

[แก้] ประวัติการศึกษา


[แก้] ประวัติการทำงาน

  • พ.ศ. 2528-2529 - นักวิจัยของ Immunology and Biochemistry Unit สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหารสหรัฐ (AFRIMS) กรุงเทพมหานคร
  • พ.ศ. 2530-2531 - Visiting Scientist, Malaria Unit, National Institute of Allergy and Infectious Diseases (NIAID), National Institute of Health (NIH), Bathesda, Maryland
  • พ.ศ. 2531-2532 - Visiting Scientist, Biomedical Research Institute (BRI), Rockville, Maryland
  • พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน - อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2534-ปัจจุบัน - อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2540-2545 - ผู้ช่วยผู้อำนวยการ โครงการ Thailand Tropical Diseases Research Program (T-2) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

[แก้] ตำแหน่งวิชาการ

[แก้] ตำแหน่งบริหาร

[แก้] ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่างๆ

  • Council member, Federation of Immunological Society of Asia-Oceania (2543-2546)
  • เลขาธิการ(Secretary General), Federation of Immunological Societies of Asia-Oceania (FIMSA) (2545 – ปัจจุบัน)
  • สมาชิก American Society for Microbiology
  • สมาชิก American Society of Tropical Medicine and Hygiene
  • สมาชิก International Immunomics Society (2549 – ปัจจุบัน)
  • สมาชิกสมาคมโรคภูมิแพ้และวิทยาภูมิคุ้มกัน
    • กรรมการบริหาร (2539 – 2541 และ 2547-2549)
    • ประธานฝ่ายวิชาการสาขาอิมมูโนวิทยา (2541 – 2545)
    • อุปนายกสมาคม (2549 –ปัจจุบัน)
  • สมาชิกสมาคมปรสิตแห่งประเทศไทย
  • สมาชิกสมาคมเทคโนโลยีชีวภาพแห่งประเทศไทย
  • สมาชิกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์
  • สมาชิกมูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.)

[แก้] ผลงานวิจัย

รศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์และคณะ ได้ทำงานด้านวิทยาภูมิคุ้มกันเพื่อศึกษาเกี่ยวกับ การปฏิสัมพันธ์ระหว่าง Host และ Microbes มาอย่างต่อเนื่อง มีความเชี่ยวชาญในสาขาย่อยที่เกี่ยวกับการเกาะติดของ microbes โดยอาศัยโมเลกุลบนผิวเซลล์ของโฮสต์เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการอยู่รอด (immune evasion) มีผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติจำนวนกว่า 40 เรื่อง (ถึงปีพ.ศ. 2550) ผลงานวิจัยโดยสรุปมีดังนี้

  • งานวิจัยโรคมาลาเรีย ได้แก่ การศึกษาถึงพยาธิสภาพของโรคมาลาเรียชนิดพัลซิฟารัม ซึ่งก่อให้เกิดอาการรุนแรง ประเภทมาลาเรียขึ้นสมองและครรภ์เป็นพิษในหญิงมีครรภ์ที่ติดเชื้อ โดยศึกษาถึงกลไกการเกาะติดของเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อมาลาเรียตัวแก่กับโมเลกุลตัวรับบนผิวของโฮสต์ มีการค้นพบที่สำคัญ คือ พบว่าเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อสามารถเกาะติดกับโมเลกุลตัวรับ ได้หลายชนิดและค้นพบโมเลกุลตัวรับที่ชื่อ chondroitin sulfate A ซึ่งจำเพาะกับการเกาะติดของเม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อกับเซลล์ syncytiotrophoblast ในรก (Placenta) ทำให้ทราบถึงกลไกการเกิดพยาธิสภาพในโรคครรภ์เป็นพิษ งานวิจัยชิ้นนี้มีความสำคัญในแง่การออกแบบ adjunct therapy และการพัฒนายารักษาโรคมาลาเรีย นอกจากนี้ ยังศึกษาการตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนลักษณะแอนติเจนของเชื้อมาลาเรีย (antigenic variation) ศึกษาความหลากหลายของสายพันธุ์ของ Plasmodium falciparum ในภูมิภาคต่างๆ ซึ่งนำไปสู่ปัญหาของ antigenic diversity ซึ่งทั้งสองหัวข้อนี้เป็นรากฐานความรู้ที่สำคัญในการประกอบการออกแบบวัคซีนสำหรับโรคมาลาเรีย รวมถึงศึกษาการเหนี่ยวนำการหลั่ง cytokines และ chemokines ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิสัมพันธ์ของเม็ดเลือดขาวประเภทแมคโครฟาจและลิมโฟไซท์กับเชื้อมาลาเรีย
  • งานวิจัยโรคเพนนิซิลลิโอซิส งานวิจัยด้าน Cell and Molecular biology แบ่งออกเป็นงานวิจัย 2 หัวข้อ คือ หัวข้อแรกเกี่ยวข้องกับการศึกษากลไกการเปลี่ยนรูปร่างของเชื้อ Penicillium marneffei จากรูปสายราไปเป็นรูปยีสต์แบบ fission และปัจจัยทางชีวภาพ กายภาพ และ transcription factor ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเชื้อ Penicillium marneffei ส่วนหัวข้อที่สองเป็นการศึกษาโมเลกุลตัวรับบนผิวเซลล์ของโฮสต์ที่เชื้อราสามารถเกาะติดและทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรค ซึ่งได้พบว่า chondroitin sulfate B หรือ dermatan sulfate ซึ่งเป็น extracellular matrix component สำคัญของผิวหนัง รวมถึงโมเลกุลตัวรับที่มี Iduronic acid เป็นส่วนประกอบ เช่น heparin สามารถจับกับ conidia ของเชื้อราชนิดนี้ได้ ความรู้นี้อาจถูกนำไปพัฒนายาป้องกันการแพร่กระจายแบบ systemic infection ของเชื้อราชนิดนี้ได้ ส่วนงานวิจัยด้านวิทยาภูมิคุ้มกัน ได้แก่ การศึกษาภูมิคุ้มกันประเภท innate คือการศึกษาการปฏิสัมพันธ์ Toll–like receptor และ C–type lectin receptor ของโฮสต์และผลจากการปฏิสัมพันธ์นี้ เพื่อหาวิธีสร้างเสริมภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดพยาธิสภาพของโรคให้แก่ผู้ป่วยโรคเอดส์
  • งานวิจัยโรคเมลิออยโดซิส รศ.ดร.ศันสนีย์ มีงานวิจัยร่วมกับกลุ่มของ ศาสตราจารย์ สถิตย์ สิริสิงห ในด้านการศึกษาถึงความหลากหลายของยีโนไทป์ของเชื้อ Burkhoderia pseudomallei ในประเทศไทย โดยเทคนิค Pulsed-field gel electrophoresis และงานวิจัยเกี่ยวกับการตอบสนองทางอิมมูนประเภท innate กับเชื้อ B. pseudomallei นี้ โดยใช้เทคนิค Microarray, molecular biology และเทคนิคทางวิทยาภูมิคุ้มกัน

รศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ได้ผลิตนักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอกที่มีคุณภาพจำนวนไม่ต่ำกว่า 20 คน โดยที่นักศึกษาภายใต้การดูแลสามารถผลิตผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัลดีเด่นระดับชาติและระดับนานาชาติหลายชิ้น ได้แก่ รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่นของสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นจากโครงการกาญจนาภิเษก สกว. และจาก The American Society of Tropical Medicine and Hygiene ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

[แก้] เกียรติคุณและรางวัล

  • พ.ศ. 2527 - เหรียญทองผู้มีเกรดเฉลี่ยสูงสุดจาก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2530 - Student Presentation Award จาก The Helminthological Society ประเทศสหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2536 Travel Award จาก The American Society of Tropical Medicine and Hygiene
  • พ.ศ. 2537 - ทุนเมธีวิจัยรุ่นที่ 1 ของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
  • พ.ศ. 2537 - Fellowship, Winter Advanced Course for Immunology and Infectious Disease WACIID)
  • พ.ศ. 2537 - AMBO Fellowship, International Training Course on Glycobiology and Glycotechnology
  • พ.ศ. 2538 - รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ สาขาจุลชีววิทยา จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
  • พ.ศ. 2540 - รางวัลศิษย์เก่าดีเด่นจากคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2546 - AMBO Fellowship, International Training Course on Cell Adhesion, Recognition, Apoptosis and Oxidative Stress
  • พ.ศ. 2544 - รางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ (TWAS Prize for Young Scientists in Thailand) สาขาชีววิทยา จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2545 - ได้รับพระราชทานรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล สาขาการวิจัย
  • พ.ศ. 2546 - ได้รับทุน L'OREAL-UNESCO Fellowship for Women in Science Research Award
  • พ.ศ. 2547 - รางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลชมเชย สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ จากผลงานวิจัยเรื่อง “กลไกการปฏิสัมพันธ์ของ host กับปรสิตในหญิงมีครรภ์ที่เป็นโรคมาลาเรียชนิดฟัลซิพารั่ม”

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -