มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เป็นเว็บไซต์ที่รวบรวมบทความทางวิชาการหลายสาขา ทั้ง วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ รวมทั้ง มีกระดานข่าวสาธารณะให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และส่วนสารานุกรมฟรี ในเรื่องเกี่ยวกับลัทธิหลังสมัยใหม่ การนำเสนอคำศัพท์ใหม่ ๆ พร้อมคำอธิบายเพื่อทำความเข้าใจโลก และความคิดร่วมสมัย ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงอุดมศึกษาได้โดยไม่จำกัดคุณวุฒิ เผยแพร่ครั้งแรกบนอินเทอร์เน็ต เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ไม่สงวนสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ทางวิชาการ (ลิขซ้าย) โดยระบุไว้ในหน้าแรกของเว็บไซต์ว่า "ผู้ที่นำข้อมูลสารานุกรมฟรีไปใช้ประโยชน์ทางวิชาการ เผยแพร่ หรืออ้างอิง โดยต้องไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ได้รับความยินยอมจากผู้เรียบเรียง สำหรับการนำไปใช้ประโยชน์ตามที่ระบุไว้ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาตามสมควร โดยระบุถึงเว็ปไซต์ และ URL มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน www.midnightuniv.org" ก่อตั้งและดูแลโดย รศ.สมเกียรติ ตั้งนโม นักวิชาการที่มีชื่อเสียงที่ร่วมกิจกรรมกับมหาวิทยาลัย เช่น นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์และอดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เนื้อหา |
[แก้] กรณีรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
ใน การรัฐประหารเมื่อ 19 กย. 49 มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนถูกนำเป็นประเด็นว่ามีการริดรอนสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพในการแสดงออก และควบคุมสื่ออินเทอร์เน็ต โดย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ออกคำสั่งให้ปิดเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เมื่อเวลา 20.00 น. วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า แต่ต่อมา เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549 นายสมเกียรติ ตั้งนโม เว็บมาสเตอร์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้ร้องต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยกล่าวว่าจากการหาข่าวในทางลับนั้น เรื่องการปิดเว็บไซต์ไม่เกี่ยวกับ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค. แต่อย่างใด การดำเนินการครั้งนี้เป็น "การจัดการนอกคำสั่ง" ของคนในกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งนายสมเกียรติล้วนทราบว่าเกี่ยวข้องกับกับฝ่ายใด "เพื่อเสี้ยมให้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไปชนกับ คปค." ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไม่ตกเป็นเหยื่อของแผนการดังกล่าว [1]
[แก้] การปิดกั้นข่าวสารในประเทศไทย
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ออกคำสั่งให้ปิดเว็บไซต์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนตั้งแต่เวลา 20.00 น. วันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549 โดยไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้า[2] แต่ต่อมา เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2549 นายสมเกียรติ ตั้งนโม เว็บมาสเตอร์ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ได้ร้องต่อกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) โดยกล่าวว่าจากการหาข่าวในทางลับนั้น เรื่องการปิดเว็บไซต์ไม่เกี่ยวกับคปค. แต่อย่างใด การดำเนินการครั้งนี้เป็นการจัดการนอกคำสั่งของคนในกระทรวงไอซีทีซึ่งนายสมเกียรติก็ทราบว่าเป็นลูกน้องใคร "เพื่อเสี้ยมให้มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไปชนกับ คปค." ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเที่ยงคืนไม่ตกเป็นเหยื่อของแผนการดังกล่าว [3] จนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ตัวแทนกระทรวงไอซีที ได้แถลงยอมรับต่อศาลว่า ออกคำสั่งให้บล็อกเว็บไซต์จริงตั้งแต่เวลา 19.00 น. ของวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2549 - เวลา 15.00 น. ของวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 แต่หลังจากนั้นได้ยกเลิกการบล็อกเว็บไซต์เนื่องจากสถานการณ์ยึดอำนาจได้คลี่คลาย แต่ไม่ทราบว่าการยกเลิกการบล็อกนั้นได้คลายการล็อก IP ทั้ง 30 เว็บไซต์ของบริษัทไทยอิสดอตคอมครบถ้วนหรือไม่ เมื่อศาลรับทราบข้อเท็จจริงจากกระทรวงไอซีทีแล้ว จึงออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวให้กระทรวงไอซีทียกเลิกการบล็อกของเว็บไซต์ ม.เที่ยงคืนแล้ว [4]
[แก้] อ้างอิง
- ^ เจ้าของเว็บ"ม.เที่ยงคืน"ร้อง"กสม." ชี้"ไอซีที"ปิดเครือข่ายไม่เกี่ยวคปค. มติชนรายวัน 10 ตค. 49
- ^ ห้ามเข้า ม.เที่ยงคืนแล้ว หลังท้าทายอำนาจฉีกร่างธรรมนูญ คปค. เว็บไซต์ประชาไท เรียกดู 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549
- ^ ข่าวมติชนรายวัน เจ้าของเว็บ"ม.เที่ยงคืน"ร้อง"กสม." ชี้"ไอซีที"ปิดเครือข่ายไม่เกี่ยวคปค.
- ^ ประชาไท, ศาลปกครองสั่งไอซีทีคลายบล็อก เว็บ ม.เที่ยงคืน เอกชนฟ้องแพ่งเรียกค่าเสียหายซ้ำ