มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การศึกษาคือความเจริญงอกงาม | ||
อักษรย่อ | มศว / SWU |
ชื่อภาษาอังกฤษ | Srinakharinwirot University |
วันสถาปนา | 29 มิถุนายน 2517
(ได้รับการยกฐานะจากวิทยาลัยวิชาการศึกษา) |
ประเภท | รัฐ |
นายกสภาฯ | ศ.ดร.เกษม สุวรรณกุล |
อธิการบดี | ศ. ดร. วิรุณ ตั้งเจริญ |
มศว ประสานมิตร ซอยสุขุมวิท 23 ถนนสุขุมวิท เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร มศว องครักษ์ |
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (อังกฤษ: Srinakharinwirot University) พัฒนาจาก โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2492 และต่อมาพัฒนาเป็น วิทยาลัยวิชาการศึกษา เมื่อ พ.ศ. 2497 และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อ พ.ศ. 2517
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
เมื่อปี พ.ศ. 2492 ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ได้ผลักดันให้มีการสถาปนา “โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง” สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อผลิตวิชาชีพครูซึ่งกำลังประสบปัญหาขาดแคลนเป็นจำนวนมากในขณะนั้น นับว่าเป็นการเริ่มต้นการศึกษาในระดับวุฒิประกาศนียบัตรครูประถมศึกษา และประกาศนียบัตรครูมัธยมศึกษา โดยมีหลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง
ต่อมา พ.ศ. 2496 ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ได้เสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการให้ก่อตั้ง "วิทยาลัยวิชาการศึกษา " (College of Education) ขึ้น เพื่อพัฒนาความรู้ทางด้านการศึกษาให้เป็นวิชาชีพที่มีระบบแบบแผนมากขึ้น พร้อมทั้งได้เปิดการเรียนการสอนครอบครุมทั้งในระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต โดยมี ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ดำรงตำแหน่งอธิการบดี และศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชาการศึกษา หลังจากนั้น จึงได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีวิทยาลัยวิชาการศึกษา ในระยะนี้ได้มีการตั้งโรงเรียนสาธิต (Demonstration School) เพื่อให้เป็นแปลงทดลองค้นคว้า ในระบบการศึกษาพื้นฐานสมัยใหม่
วิทยาลัยวิชาการศึกษา ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ" เมื่อ พ.ศ. 2517[1] โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร เป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยมีระบบบริหารจัดการในรูปวิทยาเขตเป็นเวลา 16 ปี วิทยาเขตจึงเริ่มแยกออกไปเป็นมหาวิทยาลัยอิสระ ดังนี้
- พ.ศ. 2533 วิทยาเขตบางแสน ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยบูรพา และ วิทยาเขตพิษณุโลก ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยนเรศวร
- พ.ศ. 2536 ยุบรวมวิทยาเขตปทุมวัน บางเขน และประสานมิตรเข้าเป็นวิทยาเขตกลาง
- พ.ศ. 2537 วิทยาเขตมหาสารคาม ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- พ.ศ. 2539 วิทยาเขตสงขลา ยกฐานะเป็น มหาวิทยาลัยทักษิณ
หลังจากนั้น มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขยายพื้นที่ไปที่อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539
[แก้] สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
- ชื่อมหาวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีความหมายว่า "มหาวิทยาลัยที่เจริญเป็นศรีสง่าแก่มหานคร" "วิโรฒ" มาจากคำว่า "วิโรฒ" ในภาษาสันสกฤต แปลว่า ความงอกงามหรือเจริญ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (อ่านว่า สี-นะ-คะ-ริน-วิ-โรด) มีชื่อย่อ ว่า "มศว" (ไม่มีจุด) เขียนเป็นภาษาอังกฤษว่า "Srinakharinwirot University"
- ตราสัญลักษณ์
ได้มาจากกราฟที่เขียนแทนสมการทางคณิตศาสตร์ Y = ex หมายถึง การเพิ่มหรือการงอกงาม ซึ่งตรงกับปรัชญาของมหาวิทยาลัยที่ว่า การศึกษาคือความเจริญงอกงาม (สิกขา วิรุฬ หิ สมปตตา)
- สีประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่ สีเทา - แดง
- สีเทา คือ สีของสมอง หมายถึง ความคิดหรือสติปัญญา
- สีแดง คือ สีของเลือด หมายถึง ความกล้าหาญ
สีเทาแดง จึงหมายถึง มีความกล้าหาญที่จะคิด และมีความคิดอย่างกล้าหาญ
- เพลงประจำมหาวิทยาลัย ได้แก่
1. เพลงศรีนครินทรวิโรฒ
- ศรีนครินทรวิโรฒ นี้ นามอุโฆษระบือ
- ชื่อเสียงไกล หาใครเปรียบปาน
- องค์พระเจ้าอยู่หัว ธ ทรงประทาน
- นามนี้มา เป็นมิ่งขวัญให้
- พวกเรารักบูชาเหมือนดังชีวา ดวงใจ
- จะคุ้มครองปวงภัยด้วยใจมั่นคง
- ทุกคนเทิดเกียรติวินัย และศักดิ์ศรีให้ดำรง
- แหล่งศึกษายืนยง เจริญสุขสันต์
- ศรีนครินทรวิโรฒ ของเรารุ่งโรจน์ทุกครา
- สามัคคี ไมตรีทั่วกัน
- ต้นหลิวทิวสนเหมือนสัญญาผูกพันให้รักกันสัมพันธ์สายใจ
- ด้วยใจรักผูกพันเป็นสถาบันเกรียงไกร
- ชื่อเสียงงามอำไพ สดใสน่ามอง
- รวมกันเราอยู่เป็นศรีนครินทรวิโรฒเรืองรอง
- คู่เมืองไทยแดนทองของเราเผ่าไทย
2. เพลงมาร์ชศรีนครินทร
- เนื้อร้อง รองศาสตราจารย์อัครา บุญทิพย์
- ทำนอง ชัชวาล เมืองทอง
- ธงเทาแดงโบกสะบัดลมพัดพลิ้ว
- คือธงทิวแทนกมลของคนกล้า
- เข้มแข็งอาจหาญชาญวิชา
- จรรยามารยาทพิลาสลักษณ์
- ยามเรียนเราเรียนเพียรยิ่ง
- ยามเล่น เล่นจริงแจ้งประจักษ์
- กองเชียร์ลั่นล้อมพร้อมพรัก
- น้ำใจนักกีฬาสง่างาม
- เรามีหน้าที่เพื่อชาติ
- ศึกษาศิลป์ศาสตร์รับใช้สยาม
- สร้างเกียรติเลื่องชื่อลือนาม
- คุณงามความดีศรีนครินทร
- ธงเทาแดงโบกสะบัดลมพัดพลิ้ว เป็นธงทิวคนดีไม่มีสิ้น
- ให้ล้ำชื่อลือชาศรีนครินทร วิโรฒทั่วผืนถิ่นแผ่นดินไทย
3. เพลงศรีนครินทรศรีไทย
- ศรีนครินทรวิโรฒ
- นามที่อุโฆษก้องระบือไปทั่วในสยาม
- เป็นศรีไทย ไทยทุกคนยินและยลงามสมนาม
- สถาบันได้พระนามประทานมา
- สมเป็นมหาวิทยาลัย
- คงอยู่คู่ไทยในแหลมทองไม่มีโรยรา
- เรานิสิต เราพร้อมใจ เกียรติวินัยและวิชา
- สามัคคีและเมตตากันและกัน
- ทิวสนแลลิ่วหลิวงามเคียงคู่
- รวมน้ำใจเราอยู่ไว้ให้คงมั่น
- ไม่ลืมไมตรีเรานี้ผูกพัน
- ต่อกันด้วยสายใจ
- ศรีนครินทรวิโรฒ
- จะต้องรุ่งโรจน์ส่องแสงประเทืองรุ่งเรืองต่อไป
- เราทุกคนจะเทิดทูนและเกื้อกูลให้วิไล
- สถาบันคงคู่ไทยไปชั่วกาล
4. เพลงศาสตราจารย์สาโรช บัวศรี
- เนื้อร้อง / ทำนอง อาจารย์สนั่น มีขันหมาก
- ศาสตราจารย์สาโรช บัวศรี
- บุพจารี ผู้มีศีลวิไล
- สร้างฐาน วิชาชีพของครูไทย
- ศึกษาศาสตร์สร้างไว้ให้เจริญงอกงาม
- ศาสตราจารย์สาโรช บัวศรี
- คุรุเมธี ที่ควรก้าวตาม
- สร้างสรรค์ วิธีวิถีงดงาม
- ศึกษาศาสตร์สู่นาม แหล่งค้ำคุณครู
- สิกฺขา วิรุฬฺหิ สมฺปตฺตา
- การศึกษา คือความเจริญงอกงาม
- คือ ปรัชญา ที่ยึดมั่นอยู่ทุกยาม
- ดั่งมงคลนาม “ศรีนครินทรวิโรฒ”
- ศึกษา วิชาเช่นปราชญ์เมธี
- ประพฤติดี มีธรรมค้ำจินต์ปราโมทย์
- ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช ฯ
- ครูผู้ชูโชติส่องชี้นำชัย
- ศาสตราจารย์สาโรช บัวศรี
- ศิษย์สรรค์ความดี ด้วยกตเวทิตา
- สืบศรี วิธีวิถีวิชชา
- ความรู้ดุจปราชญาผู้ทรงศีลธรรม
- เชิดชูบูชา คุณค่า ครูทุกคน
- มุ่งมั่นฝึกตนฝึกฝนความเฟื่องฟู
- สร้างความรุ่งเรืองเป็นเครื่องเคารพครู
- ยึดมั่นกตัญญู มุ่งเชิดชูวิชา
- ปรัชญามหาวิทยาลัย การศึกษาคือความเจริญงอกงาม (Education is Growth) เจริญงอกงามด้วยอารยวัฒิ 5 ประการ ดังนี้
- 1.งอกงามด้วยปรัชญา
- 2.งอกงามด้วยศีล
- 3.งอกงามด้วยสุตะ
- 4.งอกงามด้วยจาคะ
- 5.งอกงามด้วยปัญญา
- อัตลักษณ์นิสิต มศว มี 8 ประการดังนี้
- 1.คิดเป็น ทำเป็น
- 2.หนักเอาเบาสู้
- 3.รู้กาลเทศะ
- 4.เปี่ยมจิตสำนึกสาธารณะ
- 5.มีทักษะสื่อสาร
- 6.อ่อนน้อมถ่อมตน
- 7.งามด้วยบุคลิก
- 8.พร้อมด้วยศาสตร์และศิลป์
[แก้] วันสำคัญของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- วันศรีนครินทรวิโรฒ
วันที่ 28 เมษายน 2492 เป็นวันที่กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ที่ถนนประสานมิตร อำเภอพระโขนง จังหวัดพระนคร
- วันที่ 28 เมษายน จึงเป็นวันมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และชาวศรีนครินทรวิโรฒ ควรจะรำลึกถึงปูชนียบุคคลที่ สำคัญ 2 ท่าน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อตั้งสถาน ศึกษาแห่งนี้ คือ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ผู้ดำเนินการซื้อที่ดิน วางผัง บุกเบิกงาน และอีกท่านหนึ่ง ที่ได้ดำเนินการบริหารการศึกษาได้ ดำเนินการบริหารการศึกษาแห่งนี้คู่กันตลอดมาก็คือ หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ ผู้อำนวยการคนแรกของ โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง
- วันสาโรช บัวศรี
วันที่ 16 กันยายน 2497เป็นวันที่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติวิทยาลัยวิชาการศึกษา พ.ศ. 2497 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 71 ตอนที่ 61) ถือเป็นวันยกฐานะโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา และเป็นวันที่ตรงกับ วันเกิดของศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรีด้วย เพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์ ดร สาโรช บัวศรี
- จึงเรียกวันที่ 16 กันยายน เป็นวัน สาโรช บัวศรี
- วันสุดใจ เหล่าสุนทร
วันที่ 29 มิถุนายน 2517 เป็นวันยกฐานะ วิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ตามราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2517 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 91 ตอนที่ 112 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ 29 มิถุนายน 2517 มหาวิทยาลัยจึงถือเอา วันที่ 29 มิถุนายน เป็นวันยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษา เป็นมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการยกฐานะวิทยาลัยวิชาการศึกษาเป็นมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ คือ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร และเพื่อเป็นเกียรติแก่ ศาสตราจารย์ ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร
- จึงเรียกวันที่ 29 มิถุนายน เป็น วันสุดใจ เหล่าสุนทร
[แก้] ทำเนียบผู้บริหารและอธิการบดี
โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ถนนประสานมิตร | |
รายนามผู้บริหาร | วาระการดำรงตำแหน่ง |
---|---|
1. หลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ | 21 เมษายน พ.ศ. 2492 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2496 |
2. ศ.ดร.สาโรช บัวศรี | 1 เมษายน พ.ศ. 2496 - 30 กันยายน พ.ศ. 2496 |
วิทยาลัยวิชาการศึกษา | |
3. ศ.ดร.สาโรช บัวศรี (ผู้อำนวยการ) | 1 ตุลาคม พ.ศ. 2496 - 29 กันยายน พ.ศ. 2497 |
3. ศ.ดร.สาโรช บัวศรี (อธิการบดี) | 1 เมษายน พ.ศ. 2496 - 30 กันยายน พ.ศ. 2496 |
4. ศ.ดร.หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (รักษาการอธิการบดี) | 30 กันยายน พ.ศ. 2497 - 6 มิถุนายน พ.ศ. 2499 |
5. ศ.ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร | 2 มกราคม พ.ศ. 2512 - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517 |
มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ | |
5. ศ.ดร.สุดใจ เหล่าสุนทร | 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 - 25 มกราคม พ.ศ. 2522 |
6. ศ.ดร.นิพนธ์ ศศิธร | 26 มกราคม พ.ศ. 2522 - 25 มกราคม พ.ศ. 2526 |
7. รศ. ดร.ทรงศักดิ์ ศรีกาฬสินธุ์ | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 |
8. รศ. ดร.ชาตรี เมืองนาโพธิ์ | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2530 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 |
9. รศ. ดร.พจน์ สะเพียรชัย | 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 |
10. รศ. ดร.คุณหญิงสุมณทา พรหมบุญ | 8 มิถุนายน พ.ศ. 2540 - 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 |
11. ศ.ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ | 28 มิถุนายน พ.ศ. 2546 - ปัจจุบัน |
[แก้] อาคารและสถานที่
- มศว ประสานมิตร
- มศว องครักษ์
[แก้] คณะ
|
[แก้] สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย
|
|
[แก้] สถานที่ตั้งมี 2 แห่ง คือ
[แก้] มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร)
|
[แก้] มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (องครักษ์)
|
[แก้] ศิษย์เก่า
- สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสำเร็จปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต(กศ.ด.) สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ เมื่อ พ.ศ. 2529
- อ.ยิ่งศักดิ์ จงเลิศเจษฎาวงศ์ นักทำอาหารชื่อดังของไทย
- สุชน ชาลีเครือ อดีตประธานวุฒิสภา
- สมบัติ เมทนี
ดูเพิ่ม รายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
[แก้] อ้างอิง
- ^ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๑๗, เล่ม ๙๑, ตอน ๑๑๒ ก ฉบับพิเศษ, ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๗, หน้า ๑
พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
||
---|---|---|
คณะ | แพทยศาสตร์ • ทันตแพทยศาสตร์ • เภสัชศาสตร์ • สหเวชศาสตร์ • พยาบาลศาสตร์ • วิศวกรรมศาสตร์ • วิทยาศาสตร์ • ศึกษาศาสตร์ • มนุษยศาสตร์ • สังคมศาสตร์ • ศิลปกรรมศาสตร์ • พลศึกษา | |
วิทยาลัย | วิทยาลัยนานาชาติเพื่อศึกษาความยั่งยืน | |
โรงเรียนสาธิต | โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน • โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร | |
หมวดหมู่ • โครงการ • สถานีย่อย |