See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ภาษาพิศนุปริยะ มณีปุรี - วิกิพีเดีย

ภาษาพิศนุปริยะ มณีปุรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาษาพิศนุปริยะ มณีปุรี
ইমার ঠার/বিষ্ণুপ্রিয়া মণিপুরী Imarthar อิมัรธาร
พูดใน: ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย, บังคลาเทศ และพม่า
จำนวนผู้พูด: 450,000
ตระกูลภาษา: อินโด-ยูโรเปียน
 อินโด-อิเรเนียน
  อินโด-อารยัน
   ตะวันออก
    เบงกาลี-อัสสัม
     ภาษาพิศนุปริยะ มณีปุรี
รหัสภาษา
ISO 639-1: ไม่มี
ISO 639-2: inc
ISO 639-3: bpy
Indic script
บทความนี้มีอักษรในตระกูลอักษรพราหมีปรากฏอยู่ คุณอาจเห็นสัญลักษณ์อื่นแทนตัวอักษร หรือมองเห็นสระวางผิดตำแหน่ง หากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่สามารถแสดงผลได้อย่างถูกต้อง
สารานุกรมภาษา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา

ภาษาพิศนุปริยะ มณีปุรี (ইমার ঠার/বিষ্ণুপ্রিয়া মণিপুরী) เป็นภาษาในกลุ่มอินโด-อารยัน พูดในบางส่วนของแคว้นอัสสัม, ตรีปุระ, มณีปุระในประเทศอินเดีย และบางส่วนของบังคลาเทศ และพม่าต่างจากภาษามณีปุรีหรือภาษาเมยเทยที่เป็นภาษากลุ่มทิเบต-พม่า

เนื้อหา

[แก้] ประวัติและพัฒนาการ

ภาษาพิศนุปริยะ มณีปุรี มีผู้พูดในบางส่วนของรัฐอัสสัม ตรีปุระและมณีปุระในอินเดีย เช่นเดียวกับในบังกลาเทศ พม่า และ ประเทศอื่นๆ ภาษานี้ต่างจากภาษากลุ่มอินโด-อารยันอื่นๆ เช่น ภาษาเบงกาลี ภาษาโอริยา ภาษาอัสสัม โดยภาษานี้มีถิ่นกำเนิดและพัฒนาขึ้นในรัฐมณีปุระ โดยเกิดขึ้นครั้งแรกรอบๆทะเลสาบโลกตัก หลักฐานรุ่นแรกๆที่กล่าวถึงภาษานี้เป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ในพุทธศตวรรษที่ 23 ชื่อ ขุมัล ปุรณะ เขียนโดย บัณฑิต นวเขนทรา ศรมะ หลักฐานอื่นๆแสดงให้เห็นว่าภาษานี้เกิดในรัฐมณีปุระก่อนพุทธศตวรรษที่ 24 G.A. Grierson เรียกภาษานี้ว่า ภาษาพิศนุปริยะ มณีปุรี แต่บางคนเรียกเพียงภาษาพิศนุปริยะ

ผู้พูดภาษานี้ส่วนใหญ่ย้ายออกจากรัฐมณีปุระเข้าสู่รัฐอัสสัม ตรีปุระ สิลเหติและจาชัร ในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 23 เนื่องจากความขัดแย้งภายในระหว่างเจ้าชายในมณีปุระและการรุกรานของพม่า เป็นการยากที่ผู้พูดภาษาพิศนุปริยะ มณีปุรีจะรักษาภาษาของตนไว้ ภายใต้อิทธิพลของภาษาเมยเทย

แม้ว่าใน พ.ศ. 2434 Grierson พบผู้พูดภาษานี้ 2-3 หมู่บ้านใกล้พิศนุปุระ แต่ภาษานี้เริ่มสูญสลายอย่างช้าๆภายในมณีปุระซึ่งคนส่วนใหญ่พูดภาษาเมยเทย และเริ่มสูญหายในบังกลาเทศและจาชัรซึ่งคนส่วนใหญ่พูดภาษาเบงกาลี ภาษานี้ยังเหลือผู้พูดอยู่ในชิริบัม (ส่วนย่อยในมณีปุระ) ตำบลจาชัรในอัสสัม และกลุ่มเล็กๆในบังกลาเทศและมณีปุระ

[แก้] จุดเริ่มต้น

ผู้พูดภาษานี้เรียกภาษาของตนว่า อิมัร ทาร์ หมายถึงภาษาของแม่ เขาเรียกตนเองว่ามณีปุรี และใช้คำว่า พิศนุปริยะ เพื่อแยกตนเองออกจากกลุ่มอื่นๆในมณีปุระ คำว่าพิศนุปริยะอาจมาจากคำว่าพิศนุปุระ โดยเติมปัจจัย –อิยะ เพื่อให้หมายความว่าประชาชนของพิศนุปุระ ชาวพิศนุปุระดั้งเดิมเชื่อว่าพวกเขาเข้าสู่มณีปุระโดยอพยพมาจากทวารกะและหัสตินาปุระ หลังจากเกิดสงครามมหาภารตะ มีการกล่าวกันว่าการอพยพครั้งนี้นำโดยพภรุวาหนะ บุตรของอรชุนกับจิตรางคทา นักวิชาการและนักประวัติศาสตร์บางคนสนับสนุนทฤษฎีนี้ จากการสังเกตลักษณะของภาษา ภาษานี้ได้รับอิทธิพลจากภาษาสันสกฤตและภาษามหาราษฏรี เช่นเดียวกับภาษาปรากฤต เช่น ภาษาเสาราเสนี ภาษาเสาราเสนีนี้เป็นภาษาของทหารและประชาชนในทุ่งกุรุเกษตร มัธยเทศ อินทรปรัศถ์และหัสตินาปุระ อย่างไรก็ตาม K.P. Sinha ไม่เห็นด้วยกับทฤษฎีนี้และเห็นว่าภาษาพิศนุปริยะ มณีปุรีมาจากภาษามคธี

ภาษาพิศนุปริยะ มณีปุรีไม่ใช่ภาษากลุ่มทิเบต-พม่า แต่ใกล้เคียงกับภาษากลุ่มอินโด-อารยัน โดยได้รับอิทธิพลจากภาษาเมยเทยทั้งทางด้านไวยากรณ์และการออกเสียง ในแต่ละช่วงของพัฒนาการ ภาษาเสาราเสนี ภาษามคธี ภาษามหาราษฏรีและภาษากลุ่มทิเบต-พม่าเข้ามามีอิทธิพลมาก ภาษานี้อาจจะพัฒนามาจากภาษาสันสกฤต ภาษาเสาราเสนี และภาษามหาราษฏรีเช่นเดียวกับภาษาฮินดี ภาษาอัสสัม ภาษาเบงกาลี และภาษาโอริยา อิทธิพลจากภาษาเสาราเสนีและภาษามหาราษฏรีเห็นได้จากคำสรรพนาม การเชื่อมต่อ และการลงท้ายการก และมีลักษณะบางอย่างจากภาษามคธีปนอยู่ด้วย ภาษานี้คำศัพท์จากภาษาเมยเทยที่ออกเสียงแบบเก่าในช่วงพ.ศ. 2000 – 2200 ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้พูดส่วนใหญ่อพยพออกจากมณีปุระในพุทธศตวรรษที่ 24

[แก้] สำเนียง

ภาษานี้มสองสำเนียงคือ ราชัร คัง (หมู่บ้านพระราชา) และมาไท คัง (หมู่บ้านราชินี) ในทาสัทศาสตร์ สำเนียงราชัร คัง เกี่ยวข้องกับภาษาอัสสัมและเมยเทย ส่วนสำเนียงมาไท คัง เกี่ยวข้องกับภาษาเบงกาลี แต่ในทางคำศัพท์ สำเนียงมาไท คัง ได้รับอิทธิพลจากภาษาเมยเทยมาก ส่วนราชัร คัง ใกล้เคียงกับภาษาอัสสัมและภาษาเบงกาลีมากกว่า นอกจากนี้แล้ว ทั้งสองสำเนียงไม่ต่างกัน

[แก้] ระบบการเขียน

ชาวพิศนุปุระดั้งเดิมกล่าวว่าพวกเขามีระบบการเขียนเป็นของตนเองคืออักษรเทวนาครีที่เคยใช้เขียนภาษาพิศนุปริยะมาก่อนหน้านี้ ในยุคการศึกษาสมัยใหม่ภายใต้การปกครองของอังกฤษโดยผ่านทางภาษาเบงกาลี ผู้พูดภาษานี้เริ่มเปลี่ยนมาใช้อักษรเบงกาลี

[แก้] แหล่งที่มีการใช้และจำนวน

ในมณีปุระยังมีผู้พูดในเขตชิริบัมราว 5,000 คน ในรัฐอัสสัมมีในตำบลจาชัร การิมคัณฑ์ และ ไฮลากันทีราว 300,000 คน โดยเป็นชนกลุ่มใหญ่ในพื้นที่นั้น ในรัฐตรีปุระมี 60,000 คน ในบังกลาเทศมีผู้พูดในเขตสิลเหติและอื่นๆราว 60,000 คน ในรัฐเมฆาลัยมี 2,000 คน ในรัฐอรุณาจัลประเทศมี 1,000 คน ในพม่ามี 1,000 คน ในรัฐนาคาแลนด์มี 250 คน ในรัฐไมโซรัมมี 100 คน ในนิวเดลลีมี 100 คน ในออสเตรเลียมี 7 คน และมีในสหรัฐ อังกฤษ แคนาดา และตะวันออกกลางอีกราว 2,000 คน

[แก้] อ้างอิง

  • Vasatatvar Ruprekha/ Dr. K.P. Sinha, Silchar, 1977
  • Manipuri jaatisotta bitorko: ekti niropekkho paath /Ashim Kumar Singha, Sylhet,2001
  • G.K. Ghose / Tribals and Their Culture in Manipur and Nagaland, 1982
  • Raj Mohan Nath / The Background of Assamese Culture, 2nd edn, 1978
  • Sir G. A. Grierson / Linguistic Survey of India, Vol-5,1903
  • Dr. K.P. Sinha / An Etymological Dictionary of Bishnupriya Manipuri, 1982
  • Dr. M. Kirti Singh / Religious developments in Manipur in the 18th and 19th centuuy, Imphal, 1980
  • Singha, Jagat Mohan & Singha, Birendra / The Bishnupriya Manipuris & Their Language, silchar, 1976



aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -