See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ - วิกิพีเดีย

ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผศ.ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ
ผศ.ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ

ผศ.ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ (7 มกราคม 2511 -) เจ้าของรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2544 สาขาควอนตัมฟิสิกส์ มีความเชี่ยวชาญพิเศษในสาขา Nanoscale Theory, Modeling and Simulation ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง ในการก่อกำเนิดนาโนเทคโนโลยี ผศ.ดร. ธีรเกียรติ์ เป็นบุตรของ นายนอง และนางทวีวรรณ เกิดเจริญ สมรสกับ นางจุฑา เกิดเจริญ มีบุตรธิดา 2 คน

[แก้] การศึกษา

จบการศึกษาระดับมัธยมตอนต้นจากโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ฉะเชิงเทรา และได้เข้าศึกษาต่อระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นได้รับคัดเลือกให้เป็นนิสิตในโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พ.ส.ว.ท.) ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาเคมี และระดับปริญญาโท สาขาเคมีเชิงฟิสิกส์ จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2533 โดยได้รับทุนการศึกษาจากกระทรวงต่างประเทศออสเตรีย หลังจากสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2535 ได้รับทุนจากรัฐบาลออสเตรีย เพื่อไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอก สาขาเคมีเชิงฟิสิกส์และคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยอินน์สบรูค ประเทศออสเตรีย และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ. 2538

[แก้] การทำงาน

ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และหนึ่งในผู้ก่อตั้งหน่วยเสริมสร้างศักยภาพทางนาโนศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ตำแหน่งอื่นๆ

  • เลขานุการคณะทำงาน โครงการวิจัยและพัฒนาหน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ ในสถาบันอุดมศึกษา (UBI) (พ.ศ. 2548-2549)
  • คณะอนุกรรมการ ติดตามและประเมินผล ระบบวิจัย - สกอ. (พ.ศ. 2548-ปัจจุบัน)
  • ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ พิจารณาศึกษานาโนเทคโนโลยี - สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2548-2549)
  • รองประธาน คณะทำงานด้านนาโนเทคโนโลยีศึกษา - คณะอนุกรรมาธิการ พิจารณาศึกษานาโนเทคโนโลยี - สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2548-2549)
  • คณะกรรมการ เทคโนโลยีกริดแห่งชาติ - กระทรวงเทคโนโลยี สารสนเทศ และการสื่อสาร (พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน)
  • คณะทำงาน โครงการวิจัยการศึกษาสถานภาพด้านการวิจัย ทางวิทยาศาสตร์กายภาพและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ - สกอ. (พ.ศ. 2548-2549)
  • เลขานุการคณะทำงาน โครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์ เพื่อการพัฒนาบุคลากรอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา สู่การเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ - สกอ. (พ.ศ. 2547-2549)
  • เลขานุการคณะทำงาน โครงการวิจัยนำร่องการศึกษาสถานภาพด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ - สกว. (พ.ศ. 2546-2547)
  • เลขานุการคณะทำงาน ร่างแผนแม่บทนาโนวัสดุแห่งชาติ - สวทช. (พ.ศ. 2546-2547)


[แก้] งานวิจัย

ผศ.ดร. ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ มีความเชี่ยวชาญพิเศษในสาขา Nanoscale Theory, Modeling and Simulation (บางครั้งถูกอ้างถึงในชื่อของ Computational Nanotechnology) ซึ่งสาขาดังกล่าวกำลังจะกลายเป็นสาขาวิจัยเชิงกลยุทธ์ ที่เป็นที่สนใจของหลาย ๆ ประเทศ เนื่องจากเทคโนโลยีทางด้านนี้มีบทบาทสำคัญยิ่ง ในการก่อกำเนิดของนาโนเทคโนโลยี งานวิจัยครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาระเบียบวิธีเชิงคำนวณ การสร้างโค้ดคอมพิวเตอร์ ไปจนถึงการประยุกต์ใช้งานเทคโนโลยีเชิงคำนวณเหล่านี้ กับระบบที่นาโนเทคโนโลยีกำลังให้ความสนใจ งานประยุกต์ดังกล่าวนั้นก็มี จุดนาโนมิติศูนย์ (เช่น บัคกี้บอล) โครงสร้างนาโนหนึ่งมิติ (เช่น ท่อนาโนของคาร์บอน และโพลิเมอร์นำไฟฟ้า) อิเล็กทรอนิกส์เชิงโมเลกุล สสารสภาพควบแน่นแบบอ่อน และโมเดลของโปรตีน ระเบียบวิธีเชิงคำนวณอย่างหนึ่งที่ ดร. ธีรเกียรติ์ ได้คิดค้นและพัฒนาขึ้นเรียกว่า ระเบียบวิธีผสมกลศาสตร์ ควอนตัม/กลศาสตร์โมเลกุล หรือ QM/MM ทั้งนี้ได้พัฒนาเทคนิคนี้ ให้สามารถนำมาใช้กับระบบของสสารสภาพควบแน่นแบบอ่อน อย่างเช่นของเหลว และสารละลายได้เป็นครั้งแรก ซึ่งกลายมาเป็นต้นแบบของการใช้งานโดยกลุ่มวิจัยต่าง ๆ ในเวลาต่อมา เทคนิคนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า มีความแม่นยำสูง และได้รับการตอบรับให้เป็นแหล่งอ้างอิงที่เทียบเคียงได้ กับการทดลองโดยใช้รังสีเอ็กซ์และนิวตรอน ที่มีราคาแพงกว่ากันมาก ผศ.ดร. ธีรเกียรติ์ ยังคงพัฒนาเทคนิคนี้ต่อมา ร่วมกับศาสตราจารย์เคอิจิ โมโรคูมา ทำให้ระเบียบวิธีนี้มีความถูกต้อง และเป็นมาตรฐานมากขึ้นภายใต้ชื่อ ONIOM-XSOL เพื่อที่จะสามารถประยุกต์ใช้กับระบบที่ยุ่งยากกว่าเดิม และเป็นที่สนใจในทางชีววิทยา

ผลจากความสำเร็จในงานวิจัยที่ทำนั้นทำให้ ผศ.ดร. ธีรเกียรติ์ ได้รับคัดเลือกให้เป็นนักวิจัยระดับหลังปริญญาเอก ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งมิวนิก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน โดยการสนับสนุนจากสภาวิจัยเยอรมัน ให้ไปปฏิบัติงานที่มหาวิทยาลัยดังกล่าวเป็นเวลา 1 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2543 ในหัวข้อ "การพัฒนาระเบียบวิธี QM/MM เพื่อใช้ศึกษาระบบที่จัดเรียงตัวเองได้ (Self-Organized and Self-Assembly Nanostructures)" โดยขณะนี้เยอรมันและประเทศยุโรปอื่น ๆ กำลังให้ความสนใจเป็นอย่างสูง กับนาโนเทคโนโลยีของระบบที่จัดตัวเองได้นี้ หลังจากกลับมาจากประเทศเยอรมันแล้ว ผศ.ดร. ธีรเกียรติ์ ก็ได้รับคัดเลือกให้เป็น Cherry L. Emerson Visiting Fellow 2000 / 2001 ณ Emory University ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้ไปปฏิบัติงานเป็นเวลา 2 เดือน ในหัวข้อการพัฒนาระเบียบวิธี OMIOM-XSOL เพื่อศึกษาระบบสสารควบแน่นแบบอ่อน และงานประยุกต์ไปสู่โปรตีน และได้รับเชิญให้เป็นนักวิทยาศาสตร์เยี่ยมเยียน ณ University of Leipzig ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เพื่อศึกษาความร่วมมือในการวิจัยเรื่องท่อนาโนของคาร์บอน


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -