ธนาคารออมสิน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนาคารออมสิน (อังกฤษ: Government Savings Bank GSB) เป็นธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย จะเน้นให้สินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบท พัฒนาผู้ประกอบการรายย่อย โดยจะมีรูปแบบของสินเชื่อและชนิดการฝากเงินรายย่อยมากมาย อีกทั้งยังสร้างเงินทุนหมุนเวียนในกลุ่มชุมชน โครงการธนาคารเพื่อประชาชนโดยให้สิ้นเชื่อระยะสั้นแก่ผู้ประกอบการรายย่อย (ให้ประชาชนมาเป็นหนี้ในระบบ ที่สามารถตรวจสอบได้ และการเก็บดอกเบี้ยตามความเป็นจริง)
เป็นช่องทางการรับ-จ่ายเงินกู้จากโครงการกองทุนหมู่บ่นและชุมชนเมือง อีกทั้งยังลงทุนในการพัฒนาประเทศของหน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ให้บริการรูปแบบเงินฝากที่หลายหลายรูปแบบที่เหมาะกับแต่ละช่วงวัย และมีการให้บริการตามหลักศาสนาอิสลาม สลากออมสินสลากออมสินเป็นรูปแบบหนึ่งของการออมทรัพย์ที่มีลักษณะพิเศษ สร้างความมั่นคงในอนาคตให้กับผู้ฝากเท่านั้น ผลตอบแทนที่ผู้ฝากได้รับนอกจาก ดอกเบี้ยแล้วยังสามารถทวีเงินออมโดยผู้ฝากมีสิทธิ ถูกรางวัลตามที่ธนาคารกำหนด โดยทั้งดอกเบี้ย และเงินรางวัลที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
[แก้] ประวัติ
ธนาคารออมสิน กำเนิดขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงริเริ่มนำกิจการด้านการออมสินมาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2450 โดยได้ทดลองตั้งธนาคารรับฝากเงินขึ้นเรียกว่า "แบงก์ลีฟอเทีย" ณ พระตำหนักสวนจิตรลดา (ในบริเวณวังปารุสกวัน) สำหรับให้มหาดเล็กและข้าราชบริพารของพระองค์ได้เรียนรู้วิธีการดำเนินงานของธนาคาร และส่งเสริมนิสัยรักการออม
ในปี พ.ศ. 2456 ได้ทรงโปรดให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสิน พ.ศ. 2456 ขึ้นและประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2456 เป็นต้นมา เรียกว่า "คลังออมสิน" สังกัดกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริจะขยายกิจการคลังออมสินให้กว้างขวางขึ้นจึงโอนกิจการคลังออมสินจากกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ไปสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข กระทรวงพาณิชย์และคมนาคม มีฐานะเป็นแผนกคลังออมสินในกองบัญชี
กระทั่งปี พ.ศ. 2489 รัฐบาลในสมัยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ได้สนับสนุนให้คลังออมสินเปลี่ยนฐานะเป็น "ธนาคารออมสิน" เพื่อทำหน้าที่การธนาคารและเป็นสถาบันการออมทรัพย์ที่สมบูรณ์แบบเช่นเดียวกับธนาคารนานาประเทศ ปัจจุบันธนาคารออมสินมีฐานะเป็นนิติบุคคล เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง มีสาขา 588 สาขาทั่วประเทศ (ปี 2549)
[แก้] ตราสัญลักษณ์ธนาคาร
วัชร ฉัตร ต้นไทร
วัชร หมายถึง เครื่องหมายประจำพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานกำเนิดคลังออมสินขึ้นในประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2456
ฉัตร หมายถึง เครื่องหมายประจำพระองค์ นายพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงวางรากฐานและทำนุบำรุงกิจการของธนาคารออมสินให้มีความเจริญก้าวหน้าสืบไป
ต้นไทร หมายถึง ความร่มเย็น ความมั่นคง และ ความเจริญงอกงามตลอดกาล
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
|
---|---|
ธนาคารกลาง | ธนาคารแห่งประเทศไทย |
ธ.พาณิชย์ไทย | กรุงเทพ • กรุงไทย • กรุงศรีอยุธยา • กสิกรไทย • เกียรตินาคิน • จีอี มันนี่ • ทหารไทย • ทิสโก้ • ไทยธนาคาร • ไทยพาณิชย์ • ไทยเครดิต • ธนชาต • นครหลวงไทย • ยูโอบี • แลนด์ แอนด์ เฮาส์ • สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) • เมกะ สากลพาณิชย์ • สินเอเชีย • เอ ไอ จี |
ธ.พาณิชย์ต่างประเทศ | แห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ • ซิตี้แบงก์ • ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอร์เรชั่น • เอช เอส บี ซี • ดอยซ์แบงก์ • เจพีมอร์แกน เชส • คาลิยง • แห่งอเมริกาเนชั่นแนลแอสโซซิเอชั่น • อินเดียนโอเวอร์ซีส์ • เอบีเอ็น แอมโร เอ็น.วี. • อาร์ เอช บี • โอเวอร์ซี-ไชนิสแบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น • แห่งประเทศจีน • มิซูโฮ คอร์ปอเรต • แห่งโนวาสโกเทีย • บีเอ็นพี พารีบาส์ • โซซิเยเต้ เจเนราล |
ธนาคารรัฐบาล | พัฒนาวิสาหกิจ (เอสเอ็มอี) • เพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส) • เพื่อการส่งออกและนำเข้า (เอ็กซิม) • ออมสิน • อาคารสงเคราะห์ • อิสลามแห่งประเทศไทย |
|
|
ธนาคารในอดีต | แหลมทอง • ศรีนคร • เอเชีย • รัตนสิน • ยูโอบีรัตนสิน • นครธน • สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน • ไทยทนุ • ดีบีเอสไทยทนุ • สหธนาคาร • มหานคร • กรุงเทพพาณิชยการ |
ดูเพิ่ม | ธนาคารโลก • ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย • กองทุนการเงินระหว่างประเทศ |