ดานัง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Provinces of Vietnam |
|
Administration | |
---|---|
People's Council Chair | Nguyễn Bá Thanh |
People's Committee Chair | Trần Văn Minh |
Geography | |
Capital | |
ภูมิภาค | South Central Coast |
พื้นที่ | 1,256 km² |
Demographics | |
ประชากร • ความหนาแน่น |
752.493(2547) 599/km² |
Ethnicities | Vietnamese, Chinese, Cờ-tu, Tày |
Calling code | 511 |
ISO 3166-2 | VN-60 |
Website | www.danang.gov.vn |
ดานัง (Da Nang) เป็นเมืองท่าสำคัญของเวียดนามกลางตอนใต้ ตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลจีนใต้ จัดเป็น 1 ใน 5 เขตการปกครองส่วนท้องถิ่นในเวียดนาม
เนื้อหา |
[แก้] สภาพทางภูมิศาสตร์
[แก้] ตำแหน่งที่ตั้ง
ดานังตั้งอยู่ที่ตำแหน่งละติจูดที่ 15°55' ถึง 16°14' องศาเหนือ และลองจิจูดที่ 107°18' ถึง 108°20' องศาตะวันออก ทิศเหนือติดกับเมืองเว้ ซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าของเวียดนาม ทิศตะวันตกและทิศใต้ติดกับจังหวัดกว่างนาม ทิศตะวันออกติดกับทะเลจีนใต้ ตั้งอยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางใต้ 764 กิโลเมตร และห่างจากโฮจิมินห์ซิตีไปทางเหนือ 964 กิโลเมตร
[แก้] ประวัติศาสตร์
ปี พ.ศ. 2390 เรือรบฝรั่งเศสได้ระดมยิงโจมตีเมืองดานังเพื่อตอบโต้ที่กลุ่มมิชชันนารีคาธอลิคถูกประหารชีวิต
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2401 กองทหารฝรั่งเศสยกพลขึ้นบกที่ดานัง ตามพระบัญชาของพระเจ้านโปเลียนที่ 3 เพื่อประกาศพื้นที่นี้เป็นอาณานิคมภายใต้อาณัติของฝรั่งเศส และถูกเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อภาษาฝรั่งเศสว่า Tourane ขณะนั้นถือว่าเป็น 1 ใน 5 เมืองสำคัญบนคาบสมุทรอินโดจีน ในระหว่างสงครามเวียดนาม เมืองนี้เป็นที่ตั้งฐานทัพอากาศหลักของกองทัพสหรัฐอเมริกา ครั้งนั้นจำนวนประชากรในเมืองได้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่า 1 ล้านคน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยสงคราม
ก่อนปี พ.ศ. 2540 ดานังยังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดกว่างนาม-ดานัง จนกระทั่งวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 ดานังได้ถูกแยกออกจากจังหวัดกว่างนาม และเป็นเขตการปกครองส่วนท้องถิ่นแห่งที่ 4 ของเวียดนาม
[แก้] การศึกษา
ดานังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย 2 แห่ง ได้แก่
- มหาวิทยาลัยดานัง
- มหาวิทยาลัย Duy Tan
[แก้] สภาพเศรษฐกิจ
ดานังจัดเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และมีท่าเรือที่รองรับการขนส่งสินค้า มีโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กตั้งอยู่ในเมืองจำนวนหนึ่ง สินค้าเศรษฐกิจของเมืองได้แก่
- อาหารทะเล
- เครื่องเรือนหวาย
- เครื่องใช้ภายในบ้านทั่วไป
- เครื่องนุ่งห่ม
ในดานังมีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งอยู่ราว 4,900 แห่ง ในปี พ.ศ. 2540 ดานังมีสินค้าส่งออกคิดเป็นมูลค่าราว 55 ล้านเหรียญสหรัฐ
[แก้] การเดินทาง
ดานังตั้งอยู่ที่ปลายสุดของแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างเวียดนาม ลาว ไทย และพม่า
[แก้] ทางอากาศ
ท่าอากาศยานนานาชาติดานังตั้งอยู่ใจกลางเมืองดานัง เป็นท่าอากาศยานนานาชาติลำดับที่สามของเวียดนาม เป็นช่องทางสำคัญในการเดินทางเข้าสู่เวียดนามตอนกลาง เมื่อก่อนปี พ.ศ. 2515 ที่นี่เคยเป็นท่าอากาศยานที่มีเครื่องบินขึ้นและลงมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เนื่องจากมีกิจกรรมทางทหารอยู่บ่อยครั้ง ปัจจุบันรองรับเที่ยวบินภายในประเทศระหว่างเมืองสำคัญต่างๆภายในเวียดนาม เช่น ฮานอย โฮจิมินห์ซิตี กุยเยิน และเที่ยวบินระหว่างประเทศไปยังกรุงเทพมหานครและสิงคโปร์
[แก้] ทางบก
- ทางหลวงหมายเลข 1
- ทางหลวงหมายเลข 14B
- ทางพิเศษดานัง-กว่างหงาย (กำลังก่อสร้าง)
- อุโมงค์ฮายวัน
- สะพานข้ามแม่น้ำฮัน
[แก้] ทางเรือ
- ท่าเรือเทียนซา