ดราก้อนบอล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ ดราก้อนบอล (แก้ความกำกวม)
ดราก้อนบอล | |
---|---|
ชื่อไทย | ดราก้อนบอล |
ชื่อญี่ปุ่น | ドラゴンボール |
ชื่ออังกฤษ | Dragon Ball |
ประเภท | โชเน็น |
แนว | ต่อสู้ |
หนังสือการ์ตูน |
|
ผู้แต่ง | โทริยาม่า อากิระ |
สำนักพิมพ์ | สำนักพิมพ์ชูเอชะ สำนักพิมพ์เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ |
ตีพิมพ์เมื่อ | พ.ศ. 2527 – พ.ศ. 2538 |
จำนวนเล่ม | 42 เล่ม ; ภาคแรก 16 เล่ม ภาค Z 26 เล่ม |
ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์ |
|
ฉายทาง | ฟูจิทีวี, อนิแม็กซ์ สถานีโทรทัศน์โตเกียวมหานคร (เฉพาะ ดราก้อนบอล Z เท่านั้น) โมเดิร์นไนน์ ทีวี (ช่อง 9ในอดีต) (พ.ศ. 2531-2544) ทีไอทีวี (พ.ศ. 2548-2550) (ภาคแรก ภาคZ (ไม่จบ) และมูฟวี่ 4 ตอน) ช่อง 3 (พ.ศ. 2551 -) (ฉายต่อจากTITV) ทรูวิชั่นส์ (แอนิแม็กซ์เอเชีย) (เฉพาะ ดราก้อนบอล (การ์ตูนทีวี)และ ดราก้อนบอล Z เท่านั้น) การ์ตูนเน็ตเวิร์ก |
จำนวนตอน | 530 ตอน ดราก้อนบอล (ภาคแรก) 153 ดราก้อนบอล Z 291 ดราก้อนบอล GT 64 ฉบับภาพยนตร์ (ภาคแรก + Z) 16 (4+12) รายการพิเศษ 5 OVA 1 |
|
ดราก้อนบอล (「ドラゴンボール」 Doragon Bōru?, ทับศัพท์จาก Dragon Ball) เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น ผลงานของอากิระ โทริยามา ลงพิมพ์ในนิตยสารโชเนนจัมป์ตั้งแต่ พ.ศ. 2527 - พ.ศ. 2538 และรวมเป็นฉบับรวมเล่มได้ 42 เล่ม ในประเทศไทยเคยลงตีพิมพ์ใน ทาเล้นท์ และ ซีโร่ ในช่วงก่อนที่มีลิขสิทธิ์การ์ตูน และหลังจากนั้นได้ตีพิมพ์ในหนังสือการ์ตูนบูม ภายใต้ลิขสิทธิ์ของบริษัท เนชั่น เอ็ดดูเทนเมนท์ จำกัด
เนื้อเรื่องของดราก้อนบอลเกี่ยวกับการผจญภัยของ ซุน โกคู ในการรวบรวมดราก้อนบอลให้ครบ 7 ลูก เพื่อขอพรหนึ่งข้อจากเทพเจ้ามังกร โดยระหว่างการเดินทางโกคูต้องพบกับเพื่อนฝูงและอุปสรรคต่างๆ
ดราก้อนบอลมีสร้างมาหลายภาคทั้งในฉบับมังงะและอะนิเมะ และยังมีการนำไปทำเป็นวิดีโอเกมหลายภาค และภาพยนตร์ ดราก้อนบอล นำแสดงโดย จัสติน แชตวิน, เอ็มมี รอสซัม และ โจว เหวินฟะ
เนื้อหา |
[แก้] ความเกี่ยวข้องกับฉบับอะนิเมะ
ในฉบับหนังสือการ์ตูนนั้น ได้ใช้ชื่อ ดราก้อนบอล ตลอดทั้งเรื่อง แต่ฉบับภาพยนตร์การ์ตูนได้ใช้ชื่อแตกต่างกันดังนี้
- ดราก้อนบอล (ภาคแรก) (Dragon Ball) ดำเนินเรื่องตามฉบับหนังสือการ์ตูน นับตั้งแต่เริ่มเรื่องจนถึงการแต่งงานของโกคู
- ดราก้อนบอล Z (Dragon Ball Z) ดำเนินเรื่องตามฉบับหนังสือการ์ตูนต่อจนจบเล่ม 42 ในภาคจอมมารบู สำหรับภาคแอนิเมชัน ดราก้อนบอล Z ได้ถูกแบ่ง ออกเป็น 16 sagas
- 1. Saiyan Saga การต่อสู้กับชาวไซย่า
- 2. Namek Saga ตามหา ดราก้อนบอลของชาวนาเม๊ก เพื่อชุบชีวิตให้กับพิคโกโร่
- 3. Ginyu Saga ช่วงที่หน่วยรบพิเศษกินิว ปรากฏตัว
- 4. Freeza Saga การต่อสู้สุดมัน กับเจ้าจักรวาลอย่าง ฟรีเซอร์
- 5. Garlic Junior Saga การต่อสู้กับ Garlic Junior ปรากฏตัวครั้งแรกใน Dragonball Z The Movie 1 : The Dead Zone แต่ใน แอนิเมชัน มาในช่วงที่ โงกุน ยังไม่กลับจากการต่อสู้กับฟรีเซอร์ แล้วมีโกฮังเป็นคนส่ง Garlic Junior กลับไปยัง Dead Zone
- 6. Trunkz Saga หนุ่มที่มาจากอนาคต เป็นลูกชายของ เบจิต้า มาเพื่อ แจ้งข่าวเรื่อง มนุษย์ดัดแปลง แก่พวก Z-Warriors
- 7. Android Saga มนุษย์ดัดแปลง ออกอาละวาดโลกมนุษย์ เพื่อที่ต้องการ ฆ่า ซุน โงกุน ตามคำสั่งของ ดร.เกโร่ (หมายเลข 20) มีทั้งหมด 5 ตัว หมายเลข 16 17 18 19 20
- 8. Imperfect Cell Saga มนุษย์ดัดแปลงหมายเลข 21 หรือ เรียกอีกชื่อว่า เซลล์ เซลล์เป็นสิ่งมีชีวิตที่ถูกสร้างโดยคอมพิวเตอร์ของ ดร.เกโร่ เพื่อฆ่า ซุน โงกุน เซลล์จะมีร่างสมบูรณ์ได้นั้น ต้องรวมร่างกับ หมายเลข 17 และ 18
- 9. Perfect Cell Saga ร่าวสมบูรณ์ของเซลล์ ได้เสร็จสมบูรณ์จนไม่อาจมีใครต้านทานได้ (เบจิต้า กับ ทรังคซ์)
- 10.Cell Games Saga เป็นสมัยที่เป็นจุดจบของเซลล์ โดยมี ซุน โกฮัง เป็นผู้ทำลาย ใช้ท่าไม้ตาย Father&Son Kamehameha
- 11.Great Saiyan Man Saga โกฮัง ได้เข้า ร.ร. ที่เมือง ซาตาน ซิตี้ และเป็นผู้พิทักษ์ความยุติธรรม ภายใต้นามว่า เกรท ไซย่า แมน
- 12.World Tournament Saga เป็นสมัยที่ โงกุน ซึ่งตายในสมัย Cell Games Saga ได้กลับลงมายังโลกมนุษย์ 1 วัน เพื่อมาประลองศึกชิงเจ้ายุทธภพ
- 13.Babidi Saga พ่อมดลูกชายของพ่อมดบิบิดี้ ผู้สร้างจอมมารบู มีสมุนเอกชื่อ ดาบูร่า บาบีดี้ ต้องการ ปลดผนึก จอมมารบู เพื่อทำลายโลก
- 14.Majin Buu Saga จอมมารบูได้ออกจากไข่ผนึก เพราะการต่อสู้ของ โงกุน กับ เบจิต้า ในระดับพลังที่เหนือกว่า ซุเปอร์ไซย่า
- 15.Fusion Saga สมัยที่เกิดการรวมร่าง ให้กำเนิดยอดนักรบ เพื่อปราบจอมมารบู มี 2 คน 1.Gotenks หรือ โกเท็นคูส เกิดจากการ ฟิวชั่นระหว่าง โกเท็น กับ ทรังคซ์ 2. Vegitto หรือ เบจิตโต้ เกิดจากการ ใส่ โปตาร่า ระหว่าง โงกุน กับ เบจิต้า
- 16.Kid Buu Saga เป็นสมัยสุดท้ายของดราก้อนบอล z สมัยนี้เป็นการต่อสู้กับ จอมมารบู ตัวแรกสุดที่พ่อมดบิบิดี้ เป็นคนสร้าง และก็พระเอกของเรา ซุน โกคู เป็นผู้ปราบในที่สุด สถานที่ต่อสู้คือ ดาวมหาเทพ - Supreme Kai's Planet
- ดราก้อนบอล GT (Dragon Ball GT) ดำเนินเรื่องต่อจากภาค Z แต่เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาสำหรับอะนิเมะโดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวข้องกับฉบับหนังสือการ์ตูน
[แก้] ตัวละคร
ดูบทความหลักที่ ตัวละครในดราก้อนบอล |
[แก้] ซุน โงคู
ดูบทความหลักที่ ซุน โกคู |
ซุนโกคู (「孫悟空」 Son Gokū?) หรือซงโงกุนเป็นพระเอกของเรื่องเป็นชาวไซย่าที่เก่งที่สุด มีพ่อชื่อบาร์ด็อค gokuเป็นชาวไซย่าที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า คาคาล็อต โงกุนได้ช่วยปกป้องโลกเอาไว้หลายครั้งแล้วจากการทำลายโลกของฝ่ายร้าย เช่น ฟรีซเซอร์ เซล โงกุนชอบกินข้าวมาก ๆๆ และจะหิวบ่อยเป็นคนที่อารมณ์ดีไม่ชอบทะเลาะต่างกับเบจิต้ามากมาย และโงกุนได้ไปเรียนฝึกวิชากับผู้เฒ่าเต่าเป็นคนแรก
[แก้] เบจิต้า
เบจิต้า (ญี่ปุ่น: ベジータ; อังกฤษ: Vegeta) หรือ เบจีต้า เป็นเจ้าชายแห่งดาวเบจีต้า พ่อเป็นราชาแห่งดาวเบจีต้าจึงถูกเรียกว่าเจ้าชายเบจีต้า เบจีต้าได้รอดจากการระเบิดเพราะกำลังทำภารกิจและได้ทำงานอื่นรวมกับราดิซและนัปป้า เป็นคู่กัดของ"โกคู ต่อมาได้เข้าเป็นพวกเดียวกัน และร่วมต่อกันสู้
[แก้] พิคโกโร
ดูบทความหลักที่ พิคโกโร |
พิคโกโรเป็นปีศาจเผ่าอสูรตัวหนึ่งเมื่อในอดีตเคยคิดจะครองโลกซึ่งก็เคยพาลูก สมุนของตนไปอาละวาดเมืองมนุษย์มาแล้ว แต่ก็ถูกกักขังวิญญานลงในหม้อหุงข้าวใบหนึ่งโดยอาจารย์มุไทโตผู้ซึ่งเป็น อาจารย์ของผู้เฒ่าเต่าและผู้เฒ่านกกระเรียนซึ่งในตอนนั้นทั้งคู่ยังเป็นหนุ่มอยู่ แต่ต่อมาพิคโกโรก้ได้ถูกปลุกโดยจักรพรรดิปิลาฟ
[แก้] ฟรีเซอร์
ดูบทความหลักที่ ฟรีเซอร์ |
ฟรีเซอร์ (ญี่ปุ่น: フリーザ; อังกฤษ: Freeza) เป็นคนที่ระเบิดดาวเบจิต้าเพราะกลัวว่าจะมีคนที่เก่งอย่างเบจิต้ามา รวมตัวกันกำจัดตน เป็นผู้มีความทะเยอทะยานอยากจะเป็นอมตะและครองจักรวาล มีนิสัยชอบสะสมลูกน้องที่เก่งๆ และเป็นหัวหน้าเหล่าวายร้ายที่มีพลังร้ายกาจสุดจะหยั่งถึง ทั้งยังมีความสามารถในการแปลงร่างเพื่อเพิ่มพลังยุทธได้ถึง3ครั้ง
[แก้] การเล่นคำในชื่อตัวละคร
ดูบทความหลักที่ การเล่นคำในชื่อตัวละครดราก้อนบอล |
ชื่อตัวละครในเรื่องดราก้อนบอล มีการนำจากคำศัพท์ทั่วไปในชีวิตประจำวันมาใช้ คือชื่ออาหาร และชื่อเสื้อผ้า โดยคำที่มาจากภาษาญี่ปุ่น ใช้แทนบุคคลในโลก และ คำที่มาจากภาษาอังกฤษ ใช้แทนบุคคลที่มาจากต่างดาว เช่น โกฮัง (Gohan) แปลว่า ข้าว, เบจิต้า (Vegeta/Vegetable) แปลว่า ผัก, ฟรีเซอร (Freeza/Freezer) แปลว่า ช่องแช่แข็ง และ พิคโคโร่ (Piccolo) แปลว่า ขลุ่ยผิว เป็นต้น