See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ - วิกิพีเดีย

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ภาพ:sc-psu_logo.gif

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นแหล่งบริการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่นักศึกษาและประชาชนทั่วไปในเขตภาคใต้ อีกทั้งยังเป็นคณะที่ได้รับความไว้วางใจในการเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ นอกจากนี้ คณะวิทยาศาสตร์ ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการใช้ชีวิต อันเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตเมื่อจบการศึกษา

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

คณะวิทยาศาสตร์ จัดตั้งขึ้นในปีเดียวกับการก่อตั้งมหาวิทยาลัย พร้อมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ในปี พ.ศ. 2510 เพื่อรับภาระงานสอนรายวิชาพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ให้แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเป็นการเตรียมรับการขยายงานเพื่อก่อตั้งคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์อื่นๆ ของมหาวิทยาลัยในอนาคต โดยมีสำนักงานชั่วคราวที่ตึกคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลในปัจจุบัน) อย่างไรก็ตามคณะวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ จนกระทั่งเมื่อมีพระบรมราชโองการประกาศใช้พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. 2511 เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2511 และมีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการแบ่งส่วนราชการภายในมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 8 เมษายน ปีเดียวกัน คณะวิทยาศาสตร์จึงถือวันดังกล่าวเป็นวันสถาปนาคณะอย่างเป็นทางการ และคณะได้จัดตั้งภาควิชาเคมี คณิตศาสตร์ และฟิสิกส์ ขึ้นเป็นสามภาควิชาแรก

พ.ศ. 2512 คณะได้เริ่มรับนักศึกษาของคณะฯเองในสาขาวิชาเคมีและคณิตศาสตร์เป็นรุ่นแรก ในการเรียนการสอนนอกจากจะสอนโดยอาจารย์ของคณะฯ แล้ว ยังได้รับความอนุเคราะห์จากอาจารย์จากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลอีกด้วย ในปีเดียวกันนั้นคณะได้ก่อตั้งภาควิชาชีววิทยาขึ้นเป็นภาควิชาที่สี่

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2515 คณะวิทยาศาสตร์ได้ย้ายจากที่ทำการชั่วคราว มาดำเนินการสอน ณ ศูนย์ศึกษาอรรถกระวีสุนทร ตำบลคอหงส์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และในปีถัดมาคณะได้จัดตั้งหน่วยงานรวมทางด้านพรีคลินิก 5 หน่วยวิชา ได้แก่ กายวิภาคศาสตร์ จุลชีววิทยา ชีวเคมี เภสัชวิทยา และสรีรวิทยา เพื่อบริการด้านการเรียนการสอนแก่นักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ซึ่งเพิ่งได้รับการจัดตั้ง ต่อมาในปี พ.ศ. 2518 คณะได้เปิดรับนักศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นรุ่นแรก ในปีต่อมา คณะได้อนุมัติในการตั้งหน่วยงานทางพรีคลินิกทั้ง 5 หน่วย ขึ้นเป็นภาควิชา พร้อมกันนั้นได้มีการจัดตั้งหน่วยวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไปขึ้น

ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในปี พ.ศ. 2529 คณะวิทยาศาสตร์จึงเปิดสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยในขณะนั้น ภาควิชาคณิตศาสตร์ เป็นผู้รับผิดชอบ และในอีกสองปีต่อมา ได้มีการการติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ต สำหรับมหาวิทยาลัย โดยใช้ห้อง M101 อาคารคณิตศาสตร์และสถิติ เป็นสถานที่ในการติดตั้งเครื่องแม่ข่าย นับว่าเป็นคณะแรกของประเทศไทยที่มีการติดตั้งระบบนี้ และในอีกห้าปีต่อมาคณะได้เปิดสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

เนื่องด้วยการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์จึงได้เปิดสอนหลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ ในปี พ.ศ. 2534 สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ ในปี พ.ศ. 2536 สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2543 และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในปี พ.ศ. 2548 นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2549 ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้เริ่มรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์) จากคณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม วิทยาเขตภูเก็ต มาศึกษาที่วิทยาเขตหาดใหญ่ในชั้นปีที่ 3 และ 4 ภาควิชาดังกล่าวจึงเป็นภาควิชาเดียวในมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาจาก 2 วิทยาเขต เรียนร่วมกัน

ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์เปิดสอนระดับปริญญาตรี 12 สาขาวิชา ปริญญาโท 20 สาขาวิชา และปริญญาเอก 9 สาขาวิชา มีจำนวนนักศึกษาระดับปริญญาตรี 2,951 คน ปริญญาโท 386 คน และปริญญาเอก 101 คน[1] อาจารย์และบุคคลากรรวม 552 คน (ข้อมูลภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2550)

คณะวิทยาศาสตร์ เป็นศูนย์กลางการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ของวิทยาเขตหาดใหญ่ นักศึกษาทุกคณะจะเรียนวิชาทางคณิตศาสตร์ที่อาคารของคณะ และนักศึกษาทุกคณะยกเว้นวิศวกรรมศาสตร์ จะเรียนวิชาพื้นฐานทางคอมพิวเตอร์ที่คณะเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ คณะยังให้บริการการเรียนการสอนในรายวิชาด้านวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์แก่นักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ แพทยศาสตร์ พยาบาลศาสตร์ เภสัชศาสตร์ ทันตแพทยศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ อุตสาหกรรมเกษตร และโครงการจัดตั้งคณะการแพทย์แผนไทยอีกด้วย

[แก้] สัญลักษณ์ประจำคณะ

  • สีเหลือง หมายถึง การเป็นผู้มีความเจริญรุ่งเรือง เพียบพร้อมทั้งความรู้และคุณธรรม
  • ดอกบานบุรี เป็นสัญลักษณ์แทนแสงแห่งความเจริญรุ่งเรืองที่แผ่กระจายไปตามที่ต่างๆ เนื่องจากพืชชนิดนี้ขยายพันธุ์ง่าย และเป็นไม้มงคล

[แก้] ทำเนียบคณบดี

ป้ายคณะและอาคารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
ป้ายคณะและอาคารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
คณบดี ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
รศ.รอ.ดร.ประดิษฐ์ เชยจิตร,รน. พ.ศ. 2510-2517
รศ.ดร.ศิริพงษ์ ศรีพิพัฒน์ พ.ศ. 2517-2522
ศ.ดร.บุญพฤกษ์ จาฏามระ,ราชบัณฑิต พ.ศ. 2522-2530
ผศ.ดร.เมธี สรรพานิช พ.ศ. 2530-2534
ผศ.จำนงค์ สุภัทราวิวัฒน์ พ.ศ. 2534-2538
ศ.พวงเพ็ญ ศิริรักษ์ พ.ศ. 2538-2542
รศ.ดร.ธวัช ชิตตระการ พ.ศ. 2542-2549
รศ.ดร.จุฑามาศ ศตสุข พ.ศ. 2549-ปัจจุบัน

[แก้] ภาควิชาและหลักสูตรการศึกษา

ภาควิชา ระดับปริญญาตรี
(วิทยาศาสตรบัณฑิต)
ระดับปริญญาโท
(วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต)
ระดับปริญญาเอก
(ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต)
กายวิภาคศาสตร์ -
  • กายวิภาคศาสตร์
-

คณิตศาสตร์

  • คณิตศาสตร์
  • สถิติ
  • คณิตศาสตร์และสถิติ
-
เคมี
  • เคมี
  • เคมีเชิงฟิสิกส์
  • เคมีวิเคราะห์
  • เคมีศึกษา
  • เคมีอนินทรีย์
  • เคมีอินทรีย์
  • เคมี
  • เคมีอินทรีย์

จุลชีววิทยา

  • จุลชีววิทยา
  • จุลชีววิทยา
  • จุลชีววิทยา
ชีวเคมี -
  • ชีวเคมี
  • ชีวเคมี

ชีววิทยา

  • ชีววิทยา
  • ชีวโมเลกุลและชีวสารสนเทศ
  • นิเวศวิทยา
  • พฤกษศาสตร์
  • สัตววิทยา
  • ชีวโมเลกุลและชีวสารสนเทศ
  • ชีววิทยา
เทคโนโลยีชีวภาพ
  • เทคโนโลยีชีวภาพ
- -

เทคโนโลยีสารสนเทศ

-


-
ฟิสิกส์
  • ฟิสิกส์
  • ฟิสิกส์
  • ธรณีวิทยา
  • ฟิสิกส์

เภสัชวิทยา

-
  • เภสัชวิทยา
  • เภสัชวิทยา
วัสดุศาสตร์
  • วัสดุศาสตร์
- -


วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์

  • วิทยาศาสตร์พอลิเมอร์
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพอลิเมอร์
วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
    มี 4 คู่วิชาเอก
    • คณิตศาสตร์-เคมี
    • คณิตศาสตร์-ฟิสิกส์
    • เคมี-ฟิสิกส์
    • เคมี-ชีววิทยา
-
วิทยาการคอมพิวเตอร์
  • วิทยาการคอมพิวเตอร์
  • วิทยาการคอมพิวเตอร์

-

สรีรวิทยา

-

  • สรีรวิทยา

-

[แก้] หน่วยวิจัยภายในคณะ

  • ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งคาบสมุทรไทย
  • สถานวิจัยจีโนมและชีวสารสนเทศ
  • สถานวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมมเบรน
  • หน่วยวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ

[แก้] สถานที่สำคัญภายในคณะ

  • สำนักงานบริหารคณะ เดิมอาคารดังกล่าวเป็นที่ตั้งของสำนักงานอธิการบดี แต่เมื่อมีการสร้างสำนักงานอธิการบดีบริเวณด้านหลังพระบรมรูปสมเด็จพระบรมราชชนก อาคารดังกล่าวจึงได้รับการโอนเป็นสมบัติของคณะวิทยาศาสตร์
ตึกฟักทอง
ตึกฟักทอง
  • ศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร (ตึกฟักทอง) เป็นสถาปัตยกรรมประธานของคณะ ออกแบบโดย ดร.รชฏ กาญจนวณิชย์[2] ภายในประกอบด้วยห้องบรรยาย 5 ห้อง คือห้องบรรยาย L1 ความจุ 500 ที่นั่ง และห้องบรรยาย L2-L5 ความจุห้องละ 300 ที่นั่ง ตึกฟักทองใช้เป็นสถานที่เรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของทุกคณะในวิทยาเขตหาดใหญ่ นอกจากนี้ บริเวณลานตึกฟักทอง ยังเป็นที่ตั้งของภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป หน่วยคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) และงานทะเบียนกลางอีกด้วย
  • อาคารวิทยาการคอมพิวเตอร์ เดิมอาคารดังกล่าวเป็นที่ตั้งภาควิชาภาษาและภาษาศาสตร์ แต่เมื่อภาควิชาดังกล่าวโอนไปสังกัดคณะศิลปศาสตร์ และย้ายสำนักงานของภาควิชาไปยังอาคารของคณะ อาคารดังกล่าวจึงได้รับการปรับปรุงเป็นอาคารของภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งย้ายมาจากอาคารคณิตศาสตร์ ภายในมีห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ซึ่งทันสมัย เพื่อรองรับการเรียนการสอนให้แก่นักศึกษาทั้งภายในคณะและต่างคณะ
  • อาคารคณิตศาสตร์ เป็นอาคาร 3 ชั้น ยกพื้นสูงจากระดับปกติ เป็นที่ตั้งของภาควิชาคณิตศาสตร์ หลักสูตรสาขาวิชาสถิติ และหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นอกจากนี้ บริเวณลานใต้อาคาร ยังเป็นที่ตั้งของชุมนุมวิชาการ ชุมนุมคอมพิวเตอร์ ชุมนุมคณิตศาสตร์และสถิติ ชุมนุมดนตรีสากล และสำนักงานสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์อีกด้วย
  • อาคารกิจกรรมนักศึกษา ตั้งอยู่ระหว่างอาคารคณิตศาสตร์และอาคารวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นที่ตั้งของชุมนุมสังกัดคณะ รวม 6 ชุมนุม ได้แก่ ชุมนุมนวัตกรรมและธุรกิจ ชุมนุมภาษาต่างประเทศ ชุมนุมกีฬา ชุมนุมเทคโนโลยีชีวภาพ ชุมนุมศิลปวัฒนธรรมและการดนตรี และชุมนุมโสตทัศนศึกษา
  • อาคารฟิสิกส์ เป็นอาคาร 4 ชั้น อยู่บริเวณเดียวกับอาคารคณิตศาสตร์ เป็นที่ตั้งของภาควิชาฟิสิกส์ นอกจากนี้ในบริเวณเดียวกันยังเป็นที่ตั้งของอาคารที่ทำการชุมนุมฟิสิกส์อีกด้วย
เวทีบริเวณลานบานบุรี
เวทีบริเวณลานบานบุรี
  • ลานบานบุรี อยู่ระหว่างอาคารฟิสิกส์กับอาคารคณิตศาสตร์ เดิมเรียกว่า ลานฟิสิกส์ เป็นที่จัดกิจกรรมภายในคณะ
  • อาคารเคมี เป็นอาคาร 4 ชั้น ทอดตัวยาวจากอาคารวิทยาการคอมพิวเตอร์จนถึงอาคารชีววิทยา เป็นที่ตั้งของภาควิชาเคมี นอกจากนี้บริเวณชั้น 1 ของอาคารยังเป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ของคณะ หน่วยคอมพิวเตอร์ และชุมนุมเคมีสัมพันธ์อีกด้วย
  • อาคารชีววิทยา เป็นที่ตั้งของภาควิชาชีววิทยา
  • สนามวิดยาดินแดง เป็นสนามฟุตบอลที่รายล้อมด้วยอาคาร 4 อาคาร ได้แก่ อาคารฟิสิกส์ อาคารเคมี อาคารชีววิทยา และอาคารคณิตศาสตร์ บริเวณกลางสนามมีต้นไม้ใหญ่ตั้งตระหง่านอยู่ เป็นที่จัดกิจกรรมของคณะ โดยเฉพาะกีฬาภายในภาควิชา
  • อาคารพรีคลินิก เป็นอาคารสูง 5 ชั้น อยู่บริเวณเดียวกับอาคารเคมี โดยมีทางเชื่อมระหว่างอาคาร เป็นที่ตั้งของภาควิชาทางพรีคลินิก
  • อาคารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เป็นอาคารสูง 6 ชั้น เชื่อมต่อกับอาคารพรีคลินิก เป็นที่ตั้งของสำนักงานหลักสูตรสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ ภาควิชาจุลชีววิทยา และภาควิชาชีวเคมี นอกจากนี้ บริเวณชั้น 5 ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานโครงการจัดตั้งคณะเทคนิคการแพทย์อีกด้วย
  • พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา ๕๐ พรรษา สยามบรมราชกุมารี เป็นอาคารเชื่อมระหว่างอาคารวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีกับอาคารปฏิบัติการรวมใหม่ ภายในจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับธรรมชาติ การกำเนิดของโลก พืช สัตว์ในประเทศไทย และกลไกการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ นอกจากนี้ บริเวณหน้าอาคาร ยังจัดแสดงหินชนิดต่างๆ และมีประติมากรรมไดโนเสาร์ 3 ตัว ยืนเป็นสง่าคอยต้อนรับผู้มาเยือน
  • อาคารปฏิบัติการรวม (ML) เป็นอาคาร 3 ชั้น ภายในมีห้องปฏิบัติการทางพรีคลินิกและวัสดุศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของหลักสูตรสาขาวิชาวัสดุศาสตร์อีกด้วย
  • อาคารปฏิบัติการรวมใหม่ (NML) ชั้น 1 เป็นที่ตั้งของห้องบรรยาย NML 1-3 ส่วนชั้น 2-5 เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการพรีคลินิก และห้องปฏิบัติการทางชีววิทยา โดยเฉพาะชั้น 2 เป็นที่ตั้งของห้องปฏิบัติการทางสรีรวิทยา ซึ่งนักศึกษาแพทย์และทันตแพทย์ จะมีโอกาสศึกษาอวัยวะส่วนต่างๆของผู้บริจาคร่างกายเพื่อการศึกษา (นักศึกษาจะเรียกผู้บริจาคเหล่านี้ว่า"อาจารย์ใหญ่") และคณะฯจะเปิดให้ผู้สนใจเข้าชมอาจารย์ใหญ่ ในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติทุกปี

[แก้] กิจกรรมที่สำคัญของคณะ

  • กิจกรรมประชุมเชียร์[3] จัดขึ้นในช่วงสองสัปดาห์แรกของภาคการศึกษาที่ 1 โดยให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ทำกิจกรรมที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ได้แก่
    • การทำความรู้จัก และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน
    • การปรับตัวเข้าหากันในสถานการณ์ และโอกาสที่ต่างกัน
    • การทำงานร่วมกันภายใต้อิทธิพลของกลุ่ม
    • การสร้างความคุ้นเคย และความไว้วางใจซึ่งกันและกันในหมู่นักศึกษา

โดยใช้อาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร ลานด้านล่างอาคารศูนย์ปาฐกถา และสนามวิดยาดินแดง ในการจัดกิจกรรม

  • สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ[4] จัดขึ้นในช่วงกลางเดือนสิงหาคม ซึ่งตรงกับวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ โดยคณะวิทยาศาสตร์เป็นศูนย์ในการจัดงานของภาคใต้ กิจกรรมภายในงาน ได้แก่
  • ค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อชนบท[5] เริ่มจัดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2522 โดยจัดขึ้นในช่วงปิดภาคการศึกษาที่ 1 มีวัตถุประสงค์ดังนี้
    • เพื่อให้นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ ฝึกการทำงานโดยการปฏิบัติจริง ทั้งในด้านวิชาและด้านการปฏิบัติ
    • สร้างค่านิยมด้านความร่วมมือ ความสามัคคีในหมู่คณะ รู้และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดจนรู้จักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้น
    • ฝึกให้นักศึกษาทำงานอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนและขั้นตอนในการทำงานตลอดจนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นในงานที่ทำร่วมกัน
    • เสริมสร้างพื้นฐานทางการศึกษาของชุมชนที่ห่างไกลความเจริญ ทั้งในด้านวิชาการและอุปกรณ์การเรียนการสอน

โดยกิจกรรมหลักของค่ายคือการสร้างสาธารณสมบัติ เช่น อาคาร สื่อการเรียนการสอน สำหรับโรงเรียนที่ขาดแคลน รวมถึงกิจกรรมสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านในชุมชนกับนักศึกษา

  • งานลอยกระทง[6] มหาวิทยาลัยกำหนดให้สระหน้าอาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร เป็นสถานที่ในการลอยกระทง
  • กีฬาประเพณีวิดยา-ศึกษา-วิดยา[7] เดิมเรียกว่า กีฬาสัมพันธ์ ม.อ.- มศว เป็นการแข่งขันกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สงขลา (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยทักษิณ) ต่อมาเมื่อ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้เข้าร่วมการแข่งขัน จึงมีการเปลี่ยนชื่อการแข่งขันเป็นชื่อที่ใช้อยู่ปัจจุบัน โดยทั้งสามคณะจะหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพทุกปี
  • งานเลี้ยงอำลาพี่ปี 4[8] จัดขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อแสดงความยินดีแก่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่กำลังจะสำเร็จการศึกษา โดยในระยะแรกใช้สถานที่บริเวณลานหินแตก (ลานด้านบนอาคารศูนย์ปาฐกถาประดิษฐ์ เชยจิตร ) บริเวณหน้าตึกเคมี สลับกับลานบานบุรี เป็นสถานที่จัดกิจกรรม ต่อมาเมื่อมีการสร้างเวทีถาวรที่ลานบานบุรี จึงใช้ลานดังกล่าวเป็นสถานที่จัดกิจกรรมจนถึงปัจจุบัน โดยในงานจะมีการแสดงจากนักศึกษาชั้นปีที่ 4 แต่ละภาควิชา การแสดงจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 รวมถึงการประกวดชุดแต่งกายสวยงามของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่เข้าร่วมงาน

[แก้] ผลงานวิจัยและประดิษฐ์ที่สำคัญ

[แก้] สาขาวิชาเคมี

  • ครีมผิวขาวจากน้ำยางพารา โดย รศ.ดร.รพีพรรณ วิทิตสุวรรณ ภาควิชาเคมี[9]

[แก้] สาขาวิชาชีวเคมี

  • การค้นพบสารเอสโตรเจน ในน้ำมะพร้าวอ่อน โดย ดร.นิซาอูดะห์ ระเด่นอาหมัด ภาควิชากายวิภาคศาสตร์[10]

[แก้] สาขาวิชาฟิสิกส์

  • หุ่นยนต์กู้ระเบิด โดย ดร.ภัทร อัยรักษ์ ภาควิชาฟิสิกส์[11]
  • งานวิจัยเรื่อง สมบัติให้ความร้อนเอ็นทีซี พีพีซี การเก็บประจุไฟฟ้าของอิเล็กทรอนิกส์เซรามิกส์และการประยุกต์ใช้ โดย รศ.ธงชัย พันธ์เมธาฤทธิ์ ภาควิชาฟิสิกส์ (รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2549[12])
  • การพัฒนาชุดตรวจน้ำปนเปื้อนด้วยเทคโนโลยีไบโอเซ็นเซอร์ โดย รศ.ดร.ปณต ถาวรังกูร ภาควิชาฟิสิกส์[13]

[แก้] ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

ดูเพิ่มที่ รายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ข้อมูลนักศึกษา จากงานทะเบียนกลาง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  2. ^ รำลึกอดีตใน มอ. จากเว็บคณะวิศวกรรมศาสตร์
  3. ^ ข่าวกิจกรรมประชุมเชียร์ ปีการศึกษา 2550 จากหน่วยกิจการนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์
  4. ^ เว็บไซต์งานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประจำปี 2548
  5. ^ ข่าวค่ายอาสาพัฒนาวิทยาศาสตร์เพื่อชนบท ปีการศึกษา 2549 รอบ 2
  6. ^ ข่าวงานประเพณีลอยกระทง ปีการศึกษา 2549
  7. ^ ข่าวกิจกรรมกีฬาประเพณีวิดยา-ศึกษา-วิดยา ปีการศึกษา 2549 จากหน่วยกิจการนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์
  8. ^ ข่าวงานเลี้ยงอำลาพี่ปี 4 ปีการศึกษา 2549
  9. ^ ครีมผิวขาวจากน้ำยางพารา
  10. ^ ค้นพบ เอสโตรเจนในน้ำมะพร้าวอ่อนชะลอ อัลไซเมอร์ จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก ฉบับวันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2549
  11. ^ มอ.สร้างหุ่นกู้ระเบิด 3 จว.ภาคใต้ จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
  12. ^ นักวิจัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รับรางวัลผลงานวิจัยจาก สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  13. ^ การพัฒนาชุดตรวจน้ำปนเปื้อนด้วยเทคโนโลยีไบโอเซ็นเซอร์
  • สมุดที่ระลึกเนื่องในงานปฐมนิเทศคณะวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2549
  • คู่มือการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ปีการศึกษา 2547

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -