See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
การประชุมสภาบาทหลวง - วิกิพีเดีย

การประชุมสภาบาทหลวง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ส่วนหนึ่งของ
คริสต์ศาสนา


ประวัติคริสต์ศาสนา
พระเจ้า
พระเยโฮวาห์
ศาสดา
พระเยซู
ความเชื่อและการปฏิบัติ
ปรัชญา · เทวดา · พิธีสำคัญ
คัมภีร์และหนังสือ
ไบเบิล · พันธสัญญาเดิม ·
พันธสัญญาใหม่ · พระวรสาร
นิกาย
โรมันคาทอลิก ·
อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ ·
โอเรียนทัลออร์โธด็อกซ์ ·
อังกลิคัน · โปรเตสแตนต์
สังคมคริสต์ศาสนา
เมือง · คริสตกาล · คริสต์ศักราช ·
สถาปัตยกรรม · ศิลปะ · บุคคล ·
นักบุญ
ดูเพิ่มเติม
กฏบัตร ·
ศัพท์เกี่ยวกับคริสต์ศาสนา ·
หมวดหมู่คริสต์ศาสนา
จัดการ: แม่แบบ  พูดคุย  แก้ไข

สภาบาทหลวง หรือ การประชุมสภาบาทหลวง (ภาษาอังกฤษ: Ecumenical council หรือ oecumenical council หรือ general council) คือองค์บาทหลวงของสถาบันคริสต์ศาสนาทั้งหมดที่มาประชุมกันเพื่อสังคายนาหรือตกลงกันในหัวข้อที่มีความขัดแย้งทางปรัชญาหรือการปฏิบัติทางศาสนา

คำว่า “Οικουμένη” เป็นภาษากรีกแปลว่า “ผู้อยู่อาศัย” ซึ่งเป็นความหมายทึ่หมายถึงบริเวณที่เป็นอาณานิคมของจักรวรรดิโรมันเพราะการประชุม “สภาบาทหลวง” ในสมัยแรกๆ เริ่มโดยจักรพรรดิโรมัน แต่ต่อมาคำนี้ก็นำมาใช้กันโดยทั่วไปที่หมายถึง “คริสต์ศาสนจักร” หรือบริเวณที่มีการนับถือศาสนาคริสต์ซึ่งก็คือ “ทั่วโลก” หรือบริเวณทั่วไป การยอมรับผลจากการประชุมของสภาบาทหลวงมากน้อยแต่ละครั้งก็ขึ้นอยู่กับนิกายของคริสต์ศาสนาแต่ละนิกาย

“สถาบันคริสต์ศาสนา” ก่อตั้งโดยนิกายโรมันคาทอลิกหมายถึงสภาทึ่ขึ้นตรงต่อบาทหลวงแห่งโรมซึ่งก็คือพระสันตะปาปาโดยตรงเท่านั้น ทางนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ก็เช่นกัน “สถาบันคริสต์ศาสนา” จะหมายถึงผู้ที่ขึ้นตรงต่อกันภายในกลุ่มอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ด้วยกันซึ่งไม่รวมนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายคาทอลิกตะวันออก หรือนิกายโอเรียนทัลออร์โธด็อกซ์ สภาสุดท้ายที่เป็นที่ยอมรับกันโดยทั้งสองกลุ่มนี้คือ การประชุมสังคายนานิเซีย เมื่อปี ค.ศ. 787 (Second Council of Nicaea) ฉะนั้นการประชุมสภาบาทหลวง 7 ครั้งก่อนหน้านั้นจึงมีความสำคัญ ซึ่งผลจากการประชุมทั้ง 7 ครั้งนี้ก็ที่เป็นที่ยอมรับโดยลัทธิหลายลัทธิในนิกายโปรเตสแตนต์ด้วย ฉะนั้นตามความคิดเห็นสมัยใหม่การประชุมสภาบาทหลวง หรือ “Ecumenical council” ที่แท้จริงก็คือการประชุมทั้ง 7 ครั้งที่กล่าวนี้เท่านั้น “สภาบาทหลวงควินิเซ็กซท์” (Quinisext Council) ไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็น “การประชุมสภาบาทหลวง” โดยโรมันคาทอลิกแต่อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ถือว่าเป็น “การประชุมสภาบาทหลวง” หรือที่เรียกว่า การประชุมสังคายคอนสแตนติโนเปิล เมื่อปี ค.ศ. 680 (Third Council of Constantinople)

ถ้าการประชุมเป็นการประชุมท้องถิ่นก็จะเรียกว่า “การประชุมสภาสงฆ์” (synod) คำว่า “σύνοδος” มาจากคำว่า “syn” และ “odos” ในภาษากรีก “σύν” และ “οδος” ซึ่งแปลว่า “ทาง” หรือ “ถนน” ฉะนั้นจึงหมายถึงผู้ที่มาพบปะกันระหว่างผู้ที่มีพื้นฐานอย่างเดียวกัน, ในกรณีนี้คือบาทหลวงคริสต์ศาสนา

[แก้] เอกสารจากการประชุม

เอกสารจากการประชุมสภาบาทหลวงก็คล้ายคลึงกับระบบงานในสำนักงาน ระหว่างการประชุมก็จะออกเอกสารเวียน, กล่าวและโต้สุนทรพจน์, ออกเสียง, และในที่สุดก็ออกบัญญัติและแจกจ่ายเอกสารให้แก่ผู้เหมาะสม เช่นที่สิ่งที่ทราบเกี่ยวกับการปฏิบัตินอกรีต (Christian heresy) ก็มาจากเอกสารจากประชุมสภาบาทหลวง

กฏบัตรที่ออกโดยสภาบาทหลวง หรือ “Canon” มาจากคำว่าในภาษากรีก “κανονες” - “kanones” ซึ่งแปลว่า “กฏ” หรือ “การดำเนินตามกฏ” ที่พิมพ์ขึ้นก็ยังมีหลักฐานอยู่จนถึงปัจจุบัน ในบางกรณีก็พร้อมด้วยเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การศึกษาเกี่ยวกับกฏบัตรจากการประชุมสภาบาทหลวงเป็นรากฐานของการวิวัฒนาการของ “คริสต์ศาสนกฏบัตร” (Canon law) โดยเฉพาะการวิจัยกฏบัตรบางข้อที่ขัดแย้งกันเองหรือการจัดแบ่งความสำคัญของกฏบัตรแต่ละข้อ กฎบัตรจะประกอบด้วยคำแถลงการณ์และบทลงโทษทางวินัยถ้ากฏถูกละเมิด — สภาบาทหลวงหรือสภาสงฆ์มักจะทำการลงโทษทางวินัยในทันที่ที่มีการละเมิดกฏ ทางนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ถือว่ากฏบัตรที่ออกโดยสภาบาทหลวงเป็นกฏบัตรตายตัวและครอบคลุมวัดทุกวัดที่อยู่ในเครือข่ายในขณะที่การลงโทษจะขึ้นอยู่กับเวลาและสถานที่ซึ่งกฏบัตรอาจจะมีหรือไม่มีความหมายต่อสถานะการณ์ก็ได้

[แก้] ดูเพิ่ม

การประชุมสภาบาทหลวง เป็นบทความเกี่ยวกับ ศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ การประชุมสภาบาทหลวง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ศาสนา


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -