กะเหรี่ยง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับชาติพันธุ์ สำหรับเขตการปกครอง ดูที่ รัฐกะเหรี่ยง และความหมายอื่น ดูที่ กะเหรี่ยง (แก้ความกำกวม)
กะเหรี่ยง | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|
จำนวนประชากรทั้งหมด | ||||||
7,400,000 |
||||||
ดินแดนที่ให้การรับรองชาติพันธุ์ | ||||||
|
||||||
ภาษา | ||||||
ภาษากะเหรี่ยง, ภาษาพม่า, ภาษาไทย | ||||||
ศาสนา | ||||||
พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท, นับถือผี และ ศาสนาคริสต์ |
กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง เดิมอาศัยอยู่แถบบริเวณต้นแม่น้ำสาละวินของพม่า ต่อมาได้อพยพเข้าสู่ประเทศพม่าและไทย มีภาษาพูดเรียกว่าภาษากะเหรี่ยง จัดในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต
ชาวกะเหรี่ยงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหลายอย่าง นอกเหนือจากภาษาพูดแล้ว ยังมีการแต่งกาย ศิลปะการแสดง และประเพณีต่างๆ ปัจจุบันมีชาวกะเหรี่ยงในประเทศพม่าประมาณ 7 ล้านคน และในไทยประมาณ 4 แสนคน
อนึ่ง คำว่า "กะเหรี่ยง" นั้น บางท่านถือว่าเป็นคำไม่เหมาะสม เป็นการเรียกด้วยความดูถูก แต่ชาวกะเหรี่ยงในบางชุมชน ก็แนะนำตัวเองว่า กะเหรี่ยง มิได้เห็นเป็นคำไม่เหมาะสมหรือดูถูก ทั้งนี้ความรู้สึกดังกล่าวยังขึ้นอยู่กับทรรศนะของผู้เรียกด้วย
กลุ่มชาติพันธุ์ “กะเหรี่ยง” คนล้านนาและคนทางภาคตะวันตกมักเรียกกะเหรี่ยงว่า “ยาง” พม่าเรียกพวกนี้ว่า “กะยิ่น” ฝรั่งเรียกว่า “กะเรน” (บางที่เขียนว่า กะเร็น) แต่พม่าออกเสียง ร เป็น ย แต่คำว่า กะเหรี่ยง กะเรน หรือกะยิ่น ก็เป็นคำที่พวกเขาไม่ชอบนัก สังเกตได้จากเมื่อครั้งพม่าได้รับเอกราช พวกเขาได้ตั้งชื่อรัฐของตนเองว่า “กะยา” แปลว่า “คน” (จิตร ภูมิศักดิ์, 2544: 279-280) อย่างไรก็ตาม เรื่องของชื่อเรียก “กะเหรี่ยง” นี้ยังเป็นปัญหาไม่เป็นที่ยุติ หลายคนในปัจจุบันเข้าใจว่าชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ไม่สมควรจะเรียกว่า “กะเหรี่ยง” อีกต่อไป เพราะมีความหมายไปเชิงดูถูก โดยสมควรให้เรียกว่า “ปกาเกอะญอ” แทน แต่หากศึกษากันไปแล้วกลับพบว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงหลายกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “กะเหรี่ยง” และกลุ่มชาติพันธุ์ที่เดิมนักมานุษยวิทยาเห็นว่าควรจัดอยู่ในกลุ่มของกะเหรี่ยงกลับไม่ได้เรียกตัวเองว่ากะเหรี่ยงแต่อย่างใด กลับเรียกเป็นชื่ออื่น กลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกเรียกว่ากะเหรี่ยงมีหลายกลุ่มแตกต่างกันไป กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ๆ มี ปกาเกอะญอ (สกอว์) โพล่ง (โปว์) ตองสู้ (ปะโอ) และบะแก (บะเว)
เนื้อหา |
[แก้] กะเหรี่ยงในประเทศไทย
ในประเทศไทยมีชาวกะเหรี่ยง 1,993 หมู่บ้าน 69,353 หลังคาเรือน ประชากรทั้งสิ้นประมาณ 352,295 คน คิดเป็นร้อยละ 46.80 ของจำนวนประชากรชาวเขาในประเทศไทย อาศัยอยู่ใน 15 จังหวัด ของภาคเหนือและภาคตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, เชียงราย, เชียงใหม่, ตาก, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ราชบุรี, ลำปาง, ลำพูน, สุโขทัย, สุพรรณบุรี และอุทัยธานี
กะเหรี่ยงมีด้วยกันหลายกลุ่มย่อย และมีชื่อเรียกต่างๆ กัน ทั้งยังมีประเพณี ความเชื่อ ความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันด้วย กะเหรี่ยงในประเทศไทยมี มี 4 กลุ่มย่อยคือ
- สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด
- โป เรียกตัวเองว่า โพล่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน
- ปะโอ หรือ ตองสู อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
- บะเว หรือ คะยา อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮอน
[แก้] ถิ่นที่อยู่
แม้ว่าชาวกะเหรี่ยงจะได้ชื่อว่าเป็นชาวเขา แต่ก็ไม่ได้อาศัยอยู่บนที่สูงเสียทั้งหมด บางส่วนก็ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบเช่นเดียวกับชาวพื้นราบทั่วไป ในหมู่บ้านบางแห่งมีทั้งกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโป แต่ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ชาวกะเหรี่ยงนิยมตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร ไม่นิยมย้ายถิ่นบ่อยๆ และมีภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรดินและแหล่งน้ำเป็นอย่างดี และเป็นที่น่าสังเกตว่า ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำหรือต้นน้ำลำธาร
บ้านเรือนของชาวกะเหรี่ยงนิยมสร้างเป็นบ้านยกพื้น มีชานบ้าน หรือไม่ก็ใช้เสาสูง แม้ว่าอยู่บนที่สูงก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากชาวเขาเผ่าอื่นๆ ที่นิยมสร้างบ้านชั้นเดียว พื้นติดดิน เช่น ชาวม้ง หรือชาวเมี่ยน เป็นต้น
[แก้] ระบบครอบครัว
ระบบครอบครัวของกะเหรี่ยงเป็นแบบผัวเดียวเมียเดียว และไม่มีการอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงานเป็นอันขาดการหย่าร้างมีน้อยมาก ขณะที่การแต่งงานใหม่ก็ไม่ค่อยปรากฏ ส่วนการเลือกคู่ครองนั้น ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เลือกชายก่อน และบางครั้งฝ่ายหญิงก็ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการแต่งงาน
สังคมกะเหรี่ยงเป็นครอบครัวเดี่ยว เมื่อลูกแต่งงานก็จะแยกครอบครัวไปปลูกบ้านใหม่ ถ้าแต่งงานแล้ว ชายจะต้องมาอยู่กับบ้านพ่อแม่ภรรยาเป็นเวลา 1 ฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากนั้นจึงปลูกบ้านใกล้กับพ่อแม่ฝ่ายภรรยา
[แก้] ความเชื่อ
เดิมนั้นชาวกะเหรี่ยงนับถือผี มีการบวงสรวงและเซ่นสังเวยอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม ในภายหลังชาวกะเหรี่ยงในหลายชุมชนหันมานับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ก็ยังคงความเชื่อเดิมอยู่ไม่น้อย เช่น ความเชื่อเรื่องขวัญ
ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่าคนเรามีขวัญอยู่ทั้งหมด 37 ขวัญ เมื่อคนตายไป ขวัญจะละทิ้งหรือหายไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าขวัญจะหนีไปท่องเที่ยว และอาจถูกผีทำร้ายหรือกักขังไว้ ทำให้เจ้าของขวัญล้มป่วย การรักษาหรือช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยก็คือ ต้องล่อและเรียกขวัญให้กลับคืนมา
ส่วนค้าใช้จ่ายส่วนมากจะช่วยกันออก แต่ส่วนใหญผู้ชายจะเป็นฝ่ายออกมากกว่า ส่วนความนับถือบรรพบุรุษของเรานับถือศาสนาพุทธมายาวนานไม่ใช่นับถือผีแต่คนกะเเหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่รู้ข้อมูลในส่วนนี้โดยเฉพาะกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยฉันมีโอกาสไปพบปะคนกะเหรี่ยงในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี และอุทัยธานีส่วนใหญ่ไม่รู้ความเป็นมาของบรรพบุรุษบางคนไม่รู้แม้ภาษาเขียนของตนเอง
[แก้] การเลี้ยงชีพ
ชาวกะเหรี่ยงใช้ชีวิตในชนบท มีชุมชนขนาดเล็ก และทำมาหากินในลักษณะเพื่อการยังชีพ อาชีพส่วนใหญ่จึงเป็นการเกษตร ทั้งปลูกพืช ปลูกข้าวไร่ และเลี้ยงสัตว์
เดิมชาวกะเหรี่ยงปลูกฝิ่นเช่นเดียวกับชาวเขาเผ่าอื่นๆ แต่ปัจจุบันได้หันมาปลูกพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพืชเมืองหนาว โดยได้รับการสนับสนุนและให้ความรู้จากโครงการพัฒนาชนบทจากหลายๆ หน่วยงาน เช่น โครงการหลวง ทำให้ความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงในหลายชุมชนมีความผาสุก
กะเหรี่ยงได้ชื่อว่ารู้จักการใช้พื้นที่ทำกินแบบ "ไร่หมุนเวียน" นั่นคือ ทำครั้งหนึ่ง แล้วพักไว้ 3-5 ปี จึงกลับไปทำใหม่ วนเวียนไปโดยตลอด เพื่อป้องกันดินเสื่อมคุณภาพ มิได้ทำไร่เลื่อนลอยอันเป็นการตัดไม้ทำลายป่าอย่างที่เคยเข้าใจกัน
กะเหรี่ยงยังนิยมเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร ไก่ โดยเฉพาะสุกรและไก่และสุกร ที่เลี้ยงไว้ใต้ถุนบ้าน หรือใกล้บ้าน เพื่อใช้ในพิธีกรรม และบางชุมชนยังนิยมเลี้ยงช้าง ในอดีตเคยมีการใช้ช้างเพื่อทำนา และชักลากไม้ แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมาก และใช้เพียงเพื่อบริการนักท่องเที่ยว มากกว่าการใช้งานแบบอื่น
[แก้] ดูเพิ่ม
- กะเหรี่ยงเคเอ็นยู หรือ สหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
|
|
---|---|
ออสโตรเอเชียติก | กูย (ส่วย) • ขมุ • ข่าพร้าว • เขมร • ญัฮกุร (ชาวบน) • ชอง • ซาไก (เซนอย ชาวป่า) • เซมัง (เงาะ เงาะป่า) • ลัวะ (ถิ่น) • ปะหล่อง • มอญ • มลาบรี (ผีตองเหลือง) • ละว้า • โส้ • เญอ • บรู • ซำ • เร • โซ่ทะวืง • เวียดนาม (ญวน) |
ไท-กะได | ไทใหญ่ (ฉาน เงี้ยว) • ไทลื้อ • ไทขึน (ไทเขิน) • ไทยอง • ไทยวน • ไทดำ (ลาวโซ่ง) • ไทยสยาม • ผู้ไท (ญ้อ, โย้ย) • พวน • ลาว • ลาวแง้ว • แสก • ลาวครั่ง • ไทกลา • ไทหย่า • ลาวตี้ • ลาวเวียง • ลาวหล่ม • คำตี่ |
จีน-ทิเบต | ไทยเชื้อสายจีน (จีนโพ้นทะเล) • จีนฮ่อ • กะเหรี่ยง • ลีซอ • มูเซอ (ล่าหู่) • อาข่า (อีก้อ) • คะฉิ่น • ก๋อง • พม่า • อึมปี (เมปึ ก้อ ปะกอ) |
ออสโตรนีเซียน | มอเก็น (ชาวเล) • มอเกล็น • อูรักลาโว้ย • ไทยเชื้อสายจาม (จาม) • ไทยเชื้อสายมลายู (มลายู (มาเลย์)) • ออรังลาโวด |
ม้ง-เมี่ยน | ม้ง (แม้ว) • เมี่ยน (เย้า) |
|
|
---|---|
ชมกลุ่มหลัก | พม่า • ไทใหญ่ • มอญ • ยะไข่ • กะเหรี่ยง • คะฉิ่น • ไทย (ไทยโยเดีย, ไทยตะนาวศรี) • ชิน • คะย้า |
ชนกลุ่มน้อย | Anu • Anun • Asho • Atsi • Awa Khami • Beik • Bre (Ka-Yaw) • Bwe • Dai (Yindu) • Daingnet • Dalaung • Danaw (Danau) • Danu • ทวาย • Dim • Duleng • Eik-swair • Eng • Ganan • Gheko • Guari • Gunte (Lyente) • Gwete • Haulngo • Hkahku • ขึน • Hpon • Intha • Kadu (Kado) • Ka-Lin-Kaw (Lushay) • Kamein • Kaung Saing Chin • Kaungso • อาข่า • Kayinpyu (Geba Karen) • ปะด่อง หรือ คะยัน • Kebar • Khami • คำตี่ • ขมุ • Khawno • Kokang • Kwangli (Sim) • Kwelshin • Kwe Myi • Kwi • มูเซอ (ลาหู่) • Lai (Haka Chin) • Laizao • ลาติ • Lawhtu • Laymyo • Lhinbu • ลีซอ • Lushei (Lushay) • Lyente • Magun • Maingtha • Malin • Manu Manaw • Man Zi • Maramagyi • Maru (Lawgore) • Matu • Maw Shan • Meithei (Kathe) • Mgan • Mi-er • Miram (Mara) • มอเก็น • Monnepwa • Monpwa • Mon Kayin (Sarpyu) • Mro • นาคา • Ngorn • Oo-Pu • Paku • ปะหล่อง • Pale • Pa-Le-Chi • Panun • Pa-O • Pyin • คะฉิ่นราวาง • Rongtu • Saing Zan • Saline • Sentang • Sgaw • Shan Gale • Shan Gyi • Shu (Pwo) • Son • Tai-Loi • Tai-Lem • Tai-Lon • Tai-Lay • Taishon • Ta-Lay-Pwa • Tanghkul • Tapong • Taron • Taungyo • Tay-Zan • Thado • Thet • Tiddim (Hai-Dim) • Torr (Tawr) • ว้า • Wakim (Mro) • Yabein • เย้า • Yaw • Yin Baw • Yin Kya • Yin Net • Yin Talai • ยุน (ลาว) • Za-How • Zahnyet (Zanniet) • Zayein • Zizan • โส้ • Zo-Pe • Zotung |