สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชื่อเต็ม | Manchester United Football Club | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ฉายา | ปีศาจแดง | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1878 | ||||||||||||||||||||||||||||||||
สนาม | โอลด์แทรฟฟอร์ด แมนเชสเตอร์ |
||||||||||||||||||||||||||||||||
ความจุ | 76,212 คน | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ประธาน | เดวิด กิลล์ โจเอล เกลเซอร์ |
||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้จัดการ | เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ลีก | เอฟเอ พรีเมียร์ลีก | ||||||||||||||||||||||||||||||||
2007-08 | ชนะเลิศ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
|
สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (Manchester United Football Club) เป็นสโมสรฟุตบอลที่มีชื่อเสียงของอังกฤษ มีสนามเหย้าคือโอลด์แทรฟฟอร์ดในเมืองแมนเชสเตอร์ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรที่ประสบความสำเร็จสูงสโมสรหนึ่ง โดยชนะเลิศแชมป์ลีก 17 ครั้ง (เอฟเอ พรีเมียร์ลีก/ดิวิชัน 1) ชนะเอฟเอคัพ 11 ครั้ง ลีกคัพ 2 ครั้ง ยูโรเปี้ยนคัพ/ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีก 3 ครั้ง และชนะ ยูฟ่า คัพ วินเนอร์สคัพ อินเตอร์เนชันแนลคัพ และ ยูโรเปียนซูเปอร์คัพ อย่างละ 1 ครั้ง แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรกีฬาที่ได้รับความนิยมสูง โดยมีผู้สนับสนุนถึง 50 ล้านคนทั่วโลก[1]โดยแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดมีสถิติผู้เข้าชมมากที่สุดในฟุตบอลอังกฤษตลอด 34 ฤดูกาล ยกเว้นในฤดูกาล 1987-89 ที่ปรับปรุงสนามโอลด์แทรฟฟอร์ด[2] แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดเป็นสโมสรหนึ่งในกลุ่มจี-14
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2534 สโมสรได้ดำเนินกิจการในรูปแบบบริษัทจำกัดมหาชน อย่างไรก็ตาม ในปีพ.ศ. 2548 มัลคอล์ม เกลเซอร์ได้เทคโอเวอร์แบบไม่เป็นมิตรเป็นผลสำเร็จ และนำสโมสรออกจากตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน[3]
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติศาสตร์สโมสร
อ้างอิงตามชื่อฤดูกาล ซึ่งเป็นปี ค.ศ.
[แก้] สโมสรในช่วงแรก (1878-1945)
สโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดก่อตั้งโดยกลุ่มพนักงานของสถานีรถไฟเมืองแมนเชสเตอร์ เมื่อปี 1878 ในชื่อ นิวตันฮีท (แลนแคเชียร์ แอนด์ ยอร์ดเชียร์เรลเวย์) ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเหลือเพียง นิวตันฮีท ได้เป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมฟุตบอลในตอนนั้น ในปี 1889 และยังได้เข้าเล่นในฟุตบอลลีก 1892
ในปี 1902 สโมสรได้ประสบปัญหาทางด้านการเงิน เจ.เอช.เดวีส์ ได้เข้ามาช่วยแก้ปัญหาการเงินให้แล้วเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด และยังเปลี่ยนสีประจำสโมสร จากสีเขียว-ทอง มาเป็นแดง-ขาว ซึ่งสีแดง-ขาวนี้ได้ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ภายใต้ความช่วยเหลือของเดวีส์นี้ สโมสรได้แชมป์ฟุตบอลลีกสมัยแรกในปี 1908 และได้ย้ายสนามจาก แบงก์ โร้ด ไปยังโอลด์ แทรฟฟอร์ด ในปี 1910 จนถึงปัจจุบัน
ทีมได้มีปัญหาอีกครั้งระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งถึงสงครามโลกครั้งที่สอง โดยช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นขึ้น สนามโอลด์ แทรฟฟอร์ดถูกทิ้งระเบิดจนใช้การไม่ได้ จึงต้องมีการไปขอเช่าสนาม เมนโรดของคู่ปรับร่วมเมือง แมนเชสเตอร์ซิตี้ โดยในช่วงนั้นทีมมีหนี้อยู่ 70000 ปอนด์
[แก้] ยุคของเซอร์ แมตต์ บัสบี้ (1945-1969)
แมตต์ บัสบี้ได้เข้ามาคุมทีมในปี 1945 เขาได้นำความสำเร็จมาสู่สโมสรได้อย่างรวดเร็ว โดยได้อันดับสองของฟุตบอลลีกในปี 1947 และเป็นชนะเลิศเอฟเอ คัพในปีต่อมา
บัสบี้เป็นคนที่ดึงนักเตะจากทีมเยาวชนขึ้นมาหลายคน จนได้แชมป์ลีกในปี 1956 ด้วยอายุเฉลี่ยของนักเตะเพียง 22 ปีเท่านั้น ในปีต่อมา เขาก็ได้พาทีมเป็นแชมป์ลีกอีกครั้ง และยังเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศเอฟเอ คัพ แต่ไปไม่ถึงดวงดาวโดยการแพ้ต่อแอสตัน วิลลา แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดเป็นทีมแรกของอังกฤษที่ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลยูโรเปี้ยนคัพ และยังได้เข้าถึงรอบรองชนะเลิศอีกด้วย
ในปี 1958 ได้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งยิ่งใหญ่ของสโมสร เมื่อเครื่องบินที่บรรทุกนักเตะและทีมงานของสโมสร ที่กลับจากการไปแข่งขันยูโรเปียนคัพรอบก่อนรองชนะเลิศกับทีมเรดสตาร์ เบลเกรด ซึ่งแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดสามารถผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศแล้วได้ประสบอุบัติเหตุที่สนามบินในเมืองมิวนิค หลังจากแวะพักเครื่องบินที่เมืองมิวนิค ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ เวลาประมาณบ่าย 3 โมง เหตุการณ์ครั้งนั้นได้คร่าชีวิตนักเตะของทีมไปถึง 8 คน รวมถึงทีมงานสต๊าฟโค้ชและผู้โดยสารคนอื่นอีก 15 คน รวมเป็น 23 คน หนึ่งในคนที่เสียชีวิตในครั้งนี้ คือ ดันแคน เอ็ดเวิร์ด นักเตะดาวรุ่งพรสวรรค์สูงสุดในขณะนั้น จากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีผู้คาดว่าจะเป็นจุดตกต่ำของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แต่จิมมี เมอร์ฟี ได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมในช่วงที่บัสบี้กำลังรักษาอาการบาดเจ็บ และใช้ตัวผู้เล่นแก้ขัดไปหลายตำแหน่ง แต่ทีมก็ยังสามารถเข้าชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพได้อีกครั้ง โดยครั้งนี้พ่ายต่อโบลตันทำให้ได้เพียงรองแชมป์เท่านั้น
หลังจากรักษาตัวเองแล้ว บัสบี้ได้ปรับปรุงทีมในช่วงต้นของทศวรรษ 60 โดยการเซ็นสัญญาคว้านักเตะอย่าง เดนิส ลอว์ กับ แพท ครีแลนด์มาเสริมทีม แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดก็ได้ชนะเลิศฟุตบอลเอฟเอ คัพในปี 1963 และได้แชมป์ฟุตบอลลีกในปี 1965 และ 1967 นอกจากนี้ ยังได้แชมป์ฟุตบอลยูโรเปียน คัพเป็นสโมสรแรกของอังกฤษในปี 1968 ซึ่งเป็นระยะเวลาเพียง 10 ปี เท่านั้นหลังจากเกิดเหตุโศกนาฏกรรมที่มิวนิค ที่ทำให้ทีมต้องสูญเสียผู้เล่นตัวหลักไปถึง 8 คน และจากความยอดเยี่ยมของทีมชุดนี้ ทำให้มีนักเตะ 3 คนด้วยกัน ที่สามารถคว้ารางวัลนักเตะยอดเยี่ยมของยุโรป (บัลลงค์ดอร์) ได้แก่เดนิส ลอว์ ได้รับรางวัลในปี 1964 คนที่สองคือบอบบี ชาร์ลตันได้รับในปี 1966 หลังจากพาทีมชาติอังกฤษคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกครั้งแรกและครั้งเดียวของพวกเค้า และ จอร์จ เบสต์ได้รับรางวัลในปี 1968 หลังจากโชว์ฟอร์มอันยอดเยี่ยมพาแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดคว้าแชมป์ฟุตบอลยูโรเปียน คัพเป็นครั้งแรกของสโมสรและครั้งแรกของอังกฤษ
บัสบีได้ลาออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในปี 1969 โดยมีวิฟ แมคกินเนสโค้ชทีมสำรองทำหน้าที่แทน
[แก้] 1969-1986
สโมสรได้พยายามหาตัวแทนที่เหมาะสมของบัสบี โดยใช้ผู้จัดการทีมไปหลายคน ได้แก่ วิฟ แมคกิวเนส แฟรงค์ โอนีล ก่อนที่ ทอมมี โดเคอร์ตี้เข้ามาคุมทีมในปี 1972 เขาได้ช่วยทีมให้รอดจากการตกชั้น แต่อย่างไรก็ดี ทีมก็ได้ตกชั้นลงไปในปี 1974 แต่สโมสรก็ได้เลื่อนชั้นขึ้นมาทันทีในปีถัดไป และยังได้เข้าชิงชนะเลิศ เอฟเอ คัพในปีต่อมาอีกด้วย จากนั้นก็ได้เข้าชิงชนะเลิศอีกครั้งในปี 1977 โดยครั้งนี้สามารถคว้าแชมป์ได้โดยการเอาชนะทีมลิเวอร์พูล เป็นการดับความหวังการคว้าสามแชมป์ในปีเดียวกันของหงส์แดงลงไป ถึงเขาจะทำหน้าที่ได้ดี แต่ก็ถูกไล่ออกหลังจากรอบชิงชนะเลิศปีนั้นเนื่องจากมีข่าวพัวพันกับภรรยาของนักกายภาพบำบัด
เดฟ เซกซ์ตันได้เข้ามาเป็นผู้จัดการทีมต่อในฤดูกาล 1977-1978 และเปลี่ยนระบบการเล่นของทีมให้เน้นเกมรับมากขึ้น ระบบนี้ทำให้แฟนบอลไม่ค่อยพอใจมากนัก หลังจากทำทีมไม่ประสบความสำเร็จ เขาถูกไล่ออกในปี 1981
รอน แอคคินสันได้เข้ามาทำหนาที่นี้แทน เมื่อเขาเข้ามาก็ได้ทำลายสถิติซื้อขายสูงสุดของอังกฤษโดยการคว้าตัวไบรอัน รอบสัน มาจากเวสต์บรอมวิช รวมถึง การคว้าตัว เจสเปอร์ โอลเซน และกอร์ดอน สตรัคคัน ในขณะที่มีนักเตะอย่างมาร์ค ฮิวจ์ และ นอร์แมน ไวท์ไซด์ ที่ขึ้นมาจากทีมเยาวชนของสโมสร แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดได้แชมป์เอฟเอ คัพในปี 1983
ปี 1985 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดทำผลงานได้ดีในช่วงเปิดฤดูกาลโดยการชนะ 10 นัดรวด ทำให้มีคะแนนนำทีมอื่นถึง 10 คะแนนตั้งแต่ต้นฤดูกาล แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นทีมทำผลงานได้ไม่ดีและจบฤดูกาลด้วยอันดับ 4 ของลีก ผลงานในปีต่อมาก็ไม่ได้ดีขึ้น ทีมต้องหนีการตกชั้น ทำให้รอน แอคคินสันถูกไล่ออกไป
[แก้] ยุคของ เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน (1986-ปัจจุบัน)
อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้เข้ามาคุมทีมต่อ โดยในฤดูกาลแรกสโมสรจบฤดูกาลด้วยอันดับ 11 แต่ในปีต่อมาก็ได้อันดับสองโดยไบรอัน แมคแคลร์ทำประตูได้ถึง 21 ประตู เป็นคนแรกของทีมหลังจากที่จอร์จ เบสต์เคยทำได้มาก่อนหน้านี้
ในปี 1989 เฟอร์กูสันเกิดความยากลำบากในการคุมทีมขึ้น เนื่องจากตัวผู้เล่นหลายตัวที่เขานำเข้ามาในทีมไม่เป็นที่พอใจของแฟนบอล มีข่าวออกมาว่าสโมสรจะปลดเฟอร์กี้ออกจากการเป็นผู้จัดการทีมในช่วงต้นปี 1990 แต่การชนะนอตติ้งแฮม ฟอเรสต์ในรอบสาม ของเอฟเอ คัพ ก็ทำให้เขาสามารถคุมทีมต่อไปได้ จนคว้าแชมป์เอฟเอ คัพได้ในปีนั้น เป็นแชมป์แรกให้กับเขาในการคุมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
ฤดูกาล 1990-91 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดคว้าแชมป์คัพ วินเนอร์ส คัพ โดยการเอาชนะบาร์เซโลนา จากสเปน ในนัดชิงชนะเลิศ แต่ปีต่อมาทีมทำผลงานไม่ดีนักในพรีเมียร์ลีก
สโมสรแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในลอนดอนเมื่อปี 1991 ด้วยมูลค่าทรัพย์สิน 18 ล้านปอนด์ จากนั้น สโมสรต้องเปิดเผยข้อมูลการเงินทั้งหมดสู่สาธารณะ
เอริค คันโตนาย้ายจากลีดส์ ยูไนเต็ดมาร่วมทีมเมื่อปี 1992 ส่งผลต่อความสำเร็จของทีมเป็นอย่างมาก ทำให้ทีมได้แชมป์พรีเมียร์ลีกในฤดูกาลนั้นทันที ซึ่งนับเป็นแชมป์ลีกหนแรกในรอบ 26 ปี นับจากที่ได้มาครั้งล่าสุดในปี 1967 ปีต่อมา ทีมได้ดับเบิลแชมป์เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สโมสร แต่ในปี 1994 นั้นเอง แมตต์ บัสบี ตำนานกุนซือของได้เสียชีวิตลงในวันที่ 20 มกราคม
ฤดูกาล 1994-95 คันโตนาถูกสมาคมฟุตบอลอังกฤษลงโทษห้ามแข่งถึง 8 เดือน หลังจากที่ไปกระโดดถีบใส่แฟนบอลคริสตัล พาเลซ ปีนั้น แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดได้รองแชมป์ทั้งพรีเมียร์ลีกและเอฟเอ คัพ เฟอร์กูสันได้กระทำสิ่งที่ขัดใจแฟนบอลของทีมอีกครั้ง ด้วยการขายนักเตะสำคัญของทีมและดันนักเตะจากทีมเยาวชนขึ้นมาเล่นแทน แต่ปีนั้น ทีมก็สามารถคว้าดับเบิลแชมป์ได้อย่างน่ายกย่อง โดยเป็นทีมแรกของเกาะอังกฤษ ที่สามารถคว้าดับเบิ้ลแชมป์ได้เป็นสมัยที่ สอง ซึ่งเว้นจากครั้งแรกที่ได้ดับเบิ้ลแชม์ในปี 1994 เพียงปีเดียว และสามารถที่จะลบคำสบประมาทที่ถูกปรามาสเอาไว้ว่าไม่สามารถที่จะประสบความสำเร็จใดๆได้ จากการผลักดันเด็กเยาวชนของทีมให้ขึ้นมาเล่นในทีมชุดใหญ่
สโมสรคว้าแชมป์ลีกอีกครั้งในปี 1997 จากนั้น เอริค คันโตนาได้ประกาศเลิกเล่นฟุตบอลด้วยวัยเพียง 30 ปีซึ่งเร็วกว่านักเตะคนอื่นๆ มาก ฤดูกาลทีมยังเริ่มต้นการแข่งขันได้ดี แต่มีปัญหาอาการบาดเจ็บรบกวนมามากจนทำให้จบฤดูกาลได้เพียงอันดับสองเท่านั้น
ปี 1998-99 ถือเป็นปีที่ประสบความสำเร็จมาที่สุดในประวัติศาสตร์สโมสร ด้วยการเป็นทีมแรกของอังกฤษที่คว้าทริปเปิลแชมป์ ซึ่งประกอบด้วยพรีเมียร์ลีก เอฟเอคัพ และยูฟา แชมเปียนส์ลีกได้ในฤดูกาลเดียวกันอย่างน่าประทับใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลยูฟา แชมเปียนส์ลีก โดยในนาทีสุดท้ายของเกมนั้น ทีมยังตามหลังบาเยิร์น มิวนิกอยู่ 1-0 แต่แล้วในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ 3 นาทีนั้น ทีมสามารถทำได้ถึงสองประตูพลิกกลับมาชนะ 2-1 ได้อย่างเหลือเชื่อ จาก เท็ดดี้ เชอริงแฮม และ "เพชรฆาตหน้าทารก" โอเล่ กุนนาร์ โซลชา
จากการคว้าสามแชมป์ ทำให้อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้รับการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จากสมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบถที่ 2 เป็นท่านเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน เพื่อตอบแทนผลงานที่สามารถสร้างชื่อเสียงและเกียรติประวัติให้แก่ประเทศ ซึ่งถือเป็นบุคคลที่ได้รับตำแหน่งท่านเซอร์คนที่ 3 ในประวัติศาสตร์ของสโมสร โดยผู้ที่ได้รับคนแรกคือ เซอร์แมตต์ บัสบี้ คนที่สองคือ เซอร์บอบบี้ ชาร์ลตัน ตำนานของสโมสรแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด
หลังจากคว้าแชมป์ลีกในฤดูกาลที่ผ่านมา ในฤดูกาล 1999-2000 ถึง 2000-2001 ยูไนเต็ดสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ในวงการฟุตบอลอังกฤษโดยการแชมป์ลีก 3 ครั้งติดต่อกัน ซึ่งเป็นทีมทึ่ 2 ที่ทำได้ (ทีมที่ทำได้ก่อนหน้าคือลิเวอร์พูล) และในช่วงนั้นยูไนเต็ดได้คว้าตัวนักเตะสำคัญคือ กองหน้าคนใหม่ รุด ฟาน นิสเตลรอย ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็น 1 ในตำนานสโมสรที่ลงสนาม 220 นัด และยิงได้ถึง 150 ประตู และริโอ เฟอร์ดินานด์ กองหลังที่มีค่าตัวสูงถึง 30 ล้านปอนด์
แต่อย่างไรก็ดี ในปี 2001-2006 ยูไนเต็ดได้ประสบปัญหาหลายอย่าง อย่างแรกคือสโมสรไม่สามารถหาผู้รักษาประตูที่เป็นตัวตายตัวแทนของ ปีเตอร์ ชไมเคิ่ล ได้ สโมสรได้เปลี่ยนผู้รักษาประตูมือ 1 หลายคน ไม่ว่าจะเป็นมาร์ค บอสนิช, ไรมอนด์ ฟาน เดอ ฮาว, มัสซิโม่ ตาอิบี้, พอล ราชุบก้า, แอนดี้ กอแร่ม, ฟาเบียง บาร์กเตซ, ทิม โฮเวิร์ด, รอย คาโรล, และ ริคาร์โด้ โลเปซ และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือมีผู้เล่นที่เป็นกำลังหลักจำนวนมากได้ออกจากสโมสรไม่ว่าจะเป็นยาป สตัม, เดวิด เบ็คแฮม, รอย คีน กัปตันทีม, หรือแม้กระทั่ง รุด ฟาน นิสเตลรอย โดยมีสาเหตุมาจากการมีปัญหากับเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ทั้งสิ้น ในช่วง 5 ปีนี้ ยูไนเต็ดคว้าแชมป์ลีกเพียงครั้งเดียว (ฤดูกาล 2002-2003) และได้ถ้วยรางวัลอื่นๆ อีก 2 รายการ คือ เอฟเอคัพ (2003-2004) และ ลีกคัพ (2005-2006) เท่านั้น โดยใน 2 ฤดูกาลหลัง เชลซีได้เข้ามามีบทบาทเด่นในฟุตบอลลีกเนื่องมาจากการเข้าเทคโอเวอร์สโมสรของ โรมัน อบราโมวิช มหาเศรษฐีชาวรัสเซีย ทำให้เชลซีมีงบประมาณซื้อตัวผู้เล่นไม่จำกัดและคว้าแชมป์ลีก 2 ปีติดต่อกัน
ต่อมาในปี 2006-2008 อเล็กซ์ เฟอร์กูสันได้ผ่าตัดทีมใหม่อีกครั้ง โดยมีแกรี่ เนวิลล์ เป็นกัปตันทีมคนใหม่ที่รับตำแหน่งกัปตันแทน รอย คีน 11 ผู้เล่นของยูไนเต็ดมีความลงตัวกว่าปีที่ผ่านๆ มา ผู้เล่นที่โดดเด่นมี เอ็ดวิน ฟาน เดอ ซาร์ ผู้รักษาประตูทีมชาติฮอลแลนด์ที่เป็นตัวแทนของ ปีเตอร์ ชไมเคิ่ล และกองหลังมีเนมานย่า วิดิช ผู้เล่นยอดเยี่ยมของเซอร์เบียแอนด์มอนเตเนโกรและริโอ เฟอร์ดินานด์กองหลังค่าตัว 30 ล้านปอนด์เป็นแกนกลาง, ปีกซ้ายขวามี คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ปีกดาวรุ่งโปรตุเกสที่สืบทอดเสื้อหมายเลข 7 ต่อจากเดวิด เบ็คแฮม และนานี่ ปีกดาวรุ่งผู้เป็นตัวแทนของไรอัน กิ๊กส์ และกองหน้ามี เวย์น รูนีย์ ดาวยิงประตูที่มีค่าตัวถึง 27 ล้านปอนด์เป็นกำลังหลัก อเล็กซ์เฟอร์กูสันได้กล่าวว่าทีมชุดนี้เป็นชุดที่ยอดเยี่ยมไม่แพ้ชุดปี 1999, ซึ่งทีมชุดนี้สามารถนำแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดไล่ล่าความสำเร็จอีกครั้ง โดยการคว้าแชมป์ลีก 2 ปีติดต่อกันในปี 2006-2008 และการคว้าแชมป์ยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ลีกอีกครั้งในฤดูกาล 2007-2008
[แก้] การเทคโอเวอร์ของมัลคอล์ม เกลเซอร์
ในวันที่12 พฤษภาคม พ.ศ. 2548 (2005) มัลคอล์ม เกลเซอร์ นักธุรกิจชาวสหรัฐอเมริกาสามารถครอบครองในสโมสรเกินร้อยละ 70 หลังจากบรรลุข้อตกลงซื้อหุ้นของผู้ถือหุ้นเจ. พี. แมกมานัส และจอห์น แมกเนียร์ ซึ่งถือหุ้นอยู่ร้อยละ 28.7 จาก และแฮร์รี่ ดอบสัน ผู้ถือหุ้นใหญ่ลำดับสามชาวสกอต[4][5] ในวันที่ 16 พฤษภาคม เกลเซอร์ครอบครองหุ้นเกินร้อยละ 75 ซึ่งทำให้เขาสามารถนำสโมสรออกจากตลาดหลักทรัพย์ได้[6] แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดถูกนำออกจากตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนในวันที่ 22 มิถุนายน[7] เกลเซอร์สามารถครอบครองหุ้นร้อยละ 98 เป็นผลสำเร็จในวันที่ 28 มิถุนายน ซึ่งเกินระดับที่กำหนดให้บังคับซื้อหุ้นส่วนที่เหลือ[3] มัลคอล์ม เกลเซอร์แต่งตั้งลูกชายสามคนของเขาเข้าในคณะกรรมการบริหาร ผู้สนับสนุนจำนวนมากไม่พอใจการเข้าครอบครองกิจการของเกลเซอร์[8]
[แก้] ทีมงานประจำสโมสร
- เจ้าของสโมสร – มัลคอล์ม เกลเซอร์
- ประธานสโมสรกิตติมศักดิ์ – มาร์ติน เอ็ดเวิร์ด
บริษัท แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จำกัด
- ประธานสโมสร – โจเอล เกลเซอร์ / อาฟราม เกลเซอร์
- ผู้อำนวยการ – ไบรอัน เกลเซอร์ / เควิน เกลเซอร์ / เอ็ดเวิร์ด เกลเซอร์ / แดร์ซี่ เกลเซอร์
- ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร – เดวิด กิลล์
- ผู้อำนวยการฝ่ายบุคคล - มิชาเอล บอลิ่งโบรค
- ผู้อำนวยการด้านการค้า – ริชาร์ด อาร์โนล์ด
สโมสรฟุตบอล แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด
- ผู้อำนวยการ – เดวิด กิลล์ / ไมเคิ่ล เอ็ดเดลสัน / เซอร์ บ็อบบี้ ชาร์ลตัน / มัวร์ริซ วัตกินส์
- เลขานุการสโมสร – เคน แรมสเดน
- ผู้ช่วยเลขานุการสโมสร – เคน เมอร์เรตต์
- ผู้จัดการทีม – เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน
- ผู้ช่วยผู้จัดการทีม – คาร์รอส เคยรอซ
- ผู้ฝึกสอนทีมชุดใหญ่ – ไมค์ ฟีแลน
- ผู้ฝึกสอนทีมชุดใหญ่ (กองหน้า) – โอเล่ กุนนาร์ โซลชาร์
- ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู – ริชาร์ด แฮร์ติส
- ผู้ฝึกสอนด้านฟิตเนส – โทนี่ สตรั๊ดวิค
- ผู้ฝึกสอนด้านพละกำลังและสุขภาพ – มิกก์ เคลกก์
- รักษาการผู้ฝึกสอนทีมสำรอง – ไบรอัน แมคแคลร์
- ผู้ฝึกสอนด้านการพัฒนาทักษะและเทคนิค – เรอเน่ มิวเลอสทีน
- หัวหน้าแมวมอง - จิม ลอว์เลอร์
- หัวหน้าแมวมองภาคพื้นยุโรป – มาร์ติน เฟอร์กูสัน
- ผู้อำนวยการศูนย์ฝึกเยาวชน – ไบรอัน แมคแคลร์
- ผู้อำนวยการฟุตบอลเยาวชน – จิมมี่ ไรอัน
- แพทย์ประจำสโมสร – ดร.สตีฟฟ์ แมคนัลลี่
- ผู้ช่วยแพทย์ประจำสโมสร – ดร.โทนี่ กิลล์
- นักกายภาพบำบัดทีมชุดใหญ่ – ร็อบ สไวร์
[แก้] ผู้เล่นชุดปัจจุบัน
|
|
[แก้] อดีตผู้เล่นที่โด่งดัง
|
|
|
[แก้] เกียรติประวัติ
ตัวเลขฤดูกาลตามปีค.ศ.
- ฟุตบอลลีกดิวิชั่นหนึ่ง/เอฟเอ พรีเมียร์ลีก: 17
-
- 1907-08, 1910-11, 1951-52, 1955-56, 1956-57, 1964-65, 1966-67, 1992-93, 1993-94, 1995-96, 1996-97, 1998-99, 1999-2000, 2000-01, 2002-03, 2006-07, 2007-08
- ฟุตบอลลีกดิวิชั่นสอง: 2
-
- 1935-36, 1974-75
- เอฟเอคัพ: 11
-
- 1909, 1948, 1963, 1977, 1983, 1985, 1990, 1994, 1996, 1999, 2004
- ลีกคัพ: 2
-
- 1992, 2006
- ยูโรเปี้ยนคัพ/ยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก: 3
-
- 1968, 1999, 2008
-
- 1991
- อินเตอร์คอนติเนนตัลคัพ: 1
-
- 1999
- ยูโรเปี้ยนซูเปอร์คัพ: 1
-
- 1991
- แชริตี้ชิลด์/คอมมูนิตี้ชิลด์: 16 (12 แชมป์เดี่ยว, 4 แชมป์ร่วม = *)
-
- 1908, 1911, 1952, 1956, 1957, 1965*, 1967*, 1977*, 1983, 1990*, 1993, 1994, 1996, 1997, 2003, 2007
- BBC Sports Personality of the Year Team Award
-
- 1968 & 1999
[แก้] สถิติที่สำคัญของสโมสร
(สถิติล่าสุดเมื่อ 11 พฤษภาคม 2551)
[แก้] สถิติลงเล่นมากที่สุด
(สัญลักษณ์ ↓ แสดงถึงกำลังเล่นอยู่ในสโมสร)
[แก้] สถิติทำประตูสูงสุด
อันดับ | รายชื่อ | ฤดูกาล | ลงเล่น | ประตู |
---|---|---|---|---|
1 | บ็อบบี้ ชาร์ลตัน | 1953 - 1973 | 758 | 249 |
2 | เดนิส ลอว์ | 1962 - 1973 | 404 | 237 |
3 | แจ็ก โรว์ลีย์ | 1937 - 1955 | 424 | 211 |
4= | เดนนิส ไวโอเล็ต | 1949 - 1962 | 293 | 179 |
4= | จอร์จ เบสต์ | 1963 - 1974 | 470 | 179 |
6 | Joe Spence | 1919 - 1933 | 510 | 168 |
7 | มาร์ก ฮิวจ์ส | 1980 - 1986, 1988 - 1995 | 467 | 163 |
8 | รุด ฟาน นิสเตลรอย | 2001 - 2006 | 219 | 150 |
9 | Stan Pearson | 1935 - 1954 | 343 | 148 |
10 | เดวิด เฮิร์ด | 1961 - 1968 | 265 | 145 |
[แก้] สถิติของสโมสร
- ชัยชนะฟุตบอลลีกสูงสุด - 10 - 1 - 15 ตุลาคม 1892 - ฟุตบอลดิวิชัน 1 แข่งกับ วูลฟ์
- ชัยชนะฟุตบอลพรีเมียร์สูงสุด - 9 - 0 - 4 มีนาคม 1995 - ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก แข่งกับ อิปสวิชทาวน์
- ชัยชนะฟุตบอลถ้วยสูงสุด - 10 - 0 - 26 กันยายน 1956 - ฟุตบอลยูโรเปียนส์คัพ แข่งกับ Anderlecht
- ชัยชนะในบ้านสูงสุด - 10 - 0 - 26 กันยายน 1956 - ฟุตบอลยูโรเปียนส์คัพ แข่งกับ Anderlecht
- ชัยชนะนอกบ้านสูงสุด - 8 - 1 - 6 กุมภาพันธ์ 1999 - ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก แข่งกับนอตติ้งแฮม ฟอเรสต์
- แพ้สูงสุด - 0 - 7 - ปี 1926 - ฟุตบอลดิวิชัน 1 แข่งกับ แข่งกับ แบล็กเบิร์น โรเวอร์ส
- แพ้สูงสุด - 0 - 7 - ปี 1930 - ฟุตบอลดิวิชัน 1 แข่งกับ แข่งกับ แอสตันวิลลา
- แพ้สูงสุด - 0 - 7 - ปี 1931 - ฟุตบอลดิวิชัน 2 แข่งกับ แข่งกับ วูลฟ์
- ผู้เข้าชมสูงสุด - 75,595 คน - 17 กันยายน 2006 - ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก แข่งกับอาร์เซนอล
- ยอดเงินค่าเข้าชมสูงสุด - 576,494 ปอนด์ - 11 มีนาคม 1996 - ฟุตบอลเอฟเอ คัพ รอบ 6 แข่งกับเซาท์แทมป์ตัน
- ชนะติดต่อกันนานสุด - 45 นัด จากวันที่ 24 ธันวาคม 1998 - 3 ตุลาคม 1999 โดยแพ้ให้กับ เชลซี
- แต้มสูงสุดในฤดูกาล - 92 แต้ม - 42 นัด ฤดูกาล 1993/94
- นักฟุตบอลที่ลงเล่นมากสุด - 754 นัด - บ็อบบี้ ชาร์ลตัน
- นักฟุตบอลที่ลงเล่นในบอลลีกมากที่สุด - 606 นัด - บ็อบบี้ ชาร์ลตัน
- ยิงประตูสูงสุด - 247 ประตู - บ็อบบี้ ชาร์ลตัน
- ยิงประตูในฟุตบอลลีกสูงสุด - 199 ประตู - บ็อบบี้ ชาร์ลตัน
- ยิงประตูสูงสุดในหนึ่งฤดูกาล - 46 ประตู - เดนิส ลอว์ ฤดูกาล 1963-64
- ยิงประตูสูงสุดในฟุตบอลลีกหนึ่งฤดูกาล - 32 ประตู - เดนนิส ไวโอเล็ต ฤดูกาล 1959-60
- ยิงประตูสูงสุดในหนึ่งนัด - 6 ประตู - 7 กุมภาพันธ์ 1970 - จอร์จ เบสต์ นัดแข่งกับ นอร์ทแธมป์ตันทาวน์
- ยิงประตูสูงสุดในการแข่งขันยูฟ่า - 38 ประตู - รุด ฟาน นิสเตลรอย
- ผู้เล่นที่ติดทีมชาติมากสุด - 129 นัด - ปีเตอร์ ชไมเคิ่ล - ทีมชาติเดนมาร์ก
- ทำประตูได้เร็วที่สุด - 15 วินาที - ไรอัน กิ๊กส์ - 18 พฤศจิกายน 1995 นัดที่แข่งกับ เซาท์แทมป์ตัน
- ผู้เล่นซื้อเข้ามายังสโมสรที่มีราคาสูงที่สุด - ริโอ เฟอร์ดินานด์ จากสโมสรลีดส์ ยูไนเต็ด (อังกฤษ) 30.1 ล้านปอนด์
- ผู้เล่นขายออกไปจากสโมสรที่มีราคาสูงที่สุด - เดวิด เบ็คแฮม ไปสโมสรเรอัล มาดริด (สเปน) 25 ล้านปอนด์
[แก้] อ้างอิง
- ^ WHO'S THE GREATEST?, 4thegame.com, 27 กรกฎาคม 2544 (อังกฤษ)
- ^ European Football Statistics (อังกฤษ)
- ^ 3.0 3.1 Glazer gets 98% of Man Utd shares บีบีซีนิวส์ 28 มิถุนายน 2548 เรียกข้อมูลวันที่ 23-05-2550 (อังกฤษ)
- ^ Glazer wins control of Man United บีบีซีนิวส์ 12 พฤษภาคม 2548 เรียกข้อมูลวันที่ 23-05-2550 (อังกฤษ)
- ^ Tycoon seizes control of Man Utd, ซีเอ็นเอ็น 12 พฤษภาคม 2548 เรียกข้อมูลวันที่ 23-05-2550 (อังกฤษ)
- ^ Glazer Man Utd stake exceeds 75% บีบีซีนิวส์ 16 พฤษภาคม 2548 เรียกข้อมูลวันที่ 23-05-2550 (อังกฤษ)
- ^ Man Utd shares leave stock market บีบีซีนิวส์ 22 มิถุนายน 2548 เรียกข้อมูลวันที่ 23-05-2550 (อังกฤษ)
- ^ Fans rage at Glazer takeover move บีบีซีนิวส์ 13 พฤษภาคม 2548 เรียกข้อมูลวันที่ 23-05-2550
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ManUtd.com เว็บไซต์สโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด อย่างเป็นทางการ (อังกฤษ)
- Red Army Fanclub ชมรม Red Army Fanclub
- Thaimanutd.com เว็บไซต์แฟนคลับแมนฯยูไนเต็ด
- Manuclub.com เว็บไซต์แฟนคลับแมนฯยูไนเต็ด
อังกฤษ พรีเมียร์ลีก (ฤดูกาล 2007-08) | |
อาร์เซนอล | แอสตันวิลลา| เบอร์มิงแฮมซิตี | แบล็คเบิร์น โรเวอร์ส | โบลตันวันเดอเรอร์ส | เชลซี | ดาร์บี้ เคาน์ตี้ | เอฟเวอร์ตัน | ฟูแลม | ลิเวอร์พูล | แมนเชสเตอร์ซิตี | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | มิดเดิลสโบรช์ | นิวคาสเซิลยูไนเต็ด | ปอร์ทสมัธ | เรดดิง | ซันเดอร์แลนด์ | ทอตแนมฮ็อตสเปอร์ | เวสต์แฮมยูไนเต็ด | วีแกนแอทเลติก | |
จี-14 | |
บาร์เซโลนา บาเยิร์นมิวนิก บาเลนเซีย โบรุสเซียดอร์ทมุนด์ |