สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชื่อเต็ม | Everton Football Club | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ฉายา | The Toffees, The Blues | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ก่อตั้ง | ค.ศ. 1878 | ||||||||||||||||||||||||||||||||
สนาม | กูดิสันพาร์ค ลิเวอร์พูล |
||||||||||||||||||||||||||||||||
ความจุ | 40,260 คน | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ประธาน | บิลล์ เคนไรต์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้จัดการ | เดวิด มอยส์ | ||||||||||||||||||||||||||||||||
ลีก | เอฟเอ พรีเมียร์ลีก | ||||||||||||||||||||||||||||||||
2006-07 | พรีเมียร์ลีก อันดับที่ 6 | ||||||||||||||||||||||||||||||||
|
สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตัน เป็นสโมสรฟุตบอลหนึ่งในเมืองลิเวอร์พูล ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. 1878 เป็นสโมสรที่มีประวัติอันยาวนานมากที่สุดสโมสรหนึ่งในอังกฤษ ลงเล่นลีกสูงสุดถึง 103 ฤดูกาล (จาก 107 ฤดูกาล) และเคยชนะด้วยคะแนนมากที่สุดในลีกสูงสุดของประเทศ
เอฟเวอร์ตันเป็นคู่ปรับร่วมเมืองของสโมสรฟุตบอลลิเวอร์พูล สนามประจำทีมเอฟเวอร์ตันชื่อ กูดิสัน พาร์ค ซึ่งห่างจากสนามของลิเวอร์พูลเพียงแค่สวนสาธารณะกั้น แฟนบอลชาวไทยตั้งฉายาให้ว่า ท็อฟฟี่สีน้ำเงิน ปัจจุบันอยู่ภายใต้การทำทีมของเดวิด มอยส์
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติสโมสร
สโมสรฟุตบอลเอฟเวอร์ตันเป็นสโมสรฟุตบอลที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของประเทศอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นในปี 1878 โดยใช้ชื่อว่า เซนต์โดมิงโก เอฟซี ตามชื่อโบสถ์แห่งหนึ่งในเมืองลิเวอร์พูล และเปลี่ยนชื่อเป็น เอฟเวอร์ตัน เอฟซี ในปี 1884 และใช้สนามแอนฟิลด์ โรด เป็นสนามเหย้า โดยมี จอห์น โฮลดิง ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองลิเวอร์พูลและสมาชิกสภาผู้แทนพรรคอนุรักษ์นิยม เป็นประธานสโมสร
เอฟเวอร์ตัน คว้าแชมป์แรกได้ในฤดูกาล 1890-1891 ซึ่งในปีนั้น "ทอฟฟี่สีน้ำเงิน" มีชุดทีมเป็นเสื้อสีชมพูอ่อน กางเกงสีฟ้า ถุงเท้าสีฟ้า และต่อมากลุ่มแฟนบอล เอฟเวอร์ตัน ได้เรียกร้องให้ใช้เสื้อสีน้ำเงิน กางเกงสีขาว ถุงเท้าสีขาว เป็นชุดประจำสโมสรมาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อวันที่ 15 มี.ค.1892 ผู้บริหารสโมสรได้ตัดสินใจปลด จอห์น โฮลดิง ออกจากตำแหน่งและได้ย้ายทีมเอฟเวอร์ตันไปยังฝั่งตะวันตกของ สแตนลีย์ ปาร์ค ซึ่งในสมัยนั้นเรียกพ้นที่บริเวณนั้นว่า กรีน เมอร์ ต่อมาสนามแห่งนั้นถูกเรียกชื่อตามถนน เป็น กูดิสัน ปาร์ค จนถึงปัจจุบัน
ในฤดูกาล 1893-1894 แจ็ค เซาธ์เวิร์ธ เป็นดาวยิงสูงสุดของลีกอังกฤษ ด้วยจำนวน 27 ประตู ซึ่งอดีตนักเตะ แบล็คเบิร์น โรเวอร์ รายนี้ถือเป็นดาวซัลโวสูงสุดรายแรกของเอฟเวอร์ตัน
ฤดูกาล 1927-1928 (หลังสงครามโลกครั้งที่ 1)เอฟเวอร์ตัน ได้สร้างสถิติที่ไม่มีใครลบได้จนถึงปัจจุบัน เมื่อ ดิกซี ดีน กองหน้าชาวอังกฤษ ผลิตสกอร์ให้กับสโมสรได้ถึง 60 ประตูในหนี่งฤดูกาล และเป็นสถิติการทำประตูในหนึ่งฤดูกาลที่มากที่สุดในลีกอังกฤษ
เอฟเวอร์ตัน เริ่มต้นยุคใหม่ในปี 1961 (หลังสงครามโลกครั้งที่ 2)เมื่อได้จอห์น มัวส์ มหาเศรษฐีชาวเมืองลิเวอร์พูล ที่เป็นเจ้าของกิจการลิต เติลวูด พูล และ ธุรกิจการส่งของทางอากาศ เป็นประธานสโมสร โดยมี แฮร์รี แคทเทอร์ริค เป็นผู้จัดการทีม ซึ่ง เอฟเวอร์ตัน ยุคนั้นมี โฮเวิร์ด เคนดัลล์, อลัน บอลล์ และ โคลิน ฮาร์วีย์ เป็นกำลังสำคัญซึ่งทั้ง 3 พาทีมครองแชมป์ลีกสูงสุดของอังกฤษได้อีกครั้งในฤดูกาล 1962-1963 ก่อนที่ แฮร์รี แคตเทอร์ริค จะลาออกจากตำแหน่งผู้จัดการทีมเนื่องจากมีปัญหาด้านสุขภาพ
หลังจากนั้น บิลลี บิงแฮม ได้ทำหน้าที่ผู้จัดการทีมแทน แคตเทอร์ริค แต่เอฟเวอร์ตัน ก็ไม่เคยคว้าแชมป์ได้เลยตลอดระยะเวลา 3 ปีที่คุมทีม จนในที่สุดบอร์ดบริหารได้ตัดสินใจปลด บิงแฮม ออกจากตำแหน่ง และแต่งตั้ง กอร์ดอน ลี มารับตำแหน่งแทน แต่ผลงานโดยรวมของ เอฟเวอร์ตัน ก็ไม่ดีขึ้นแต่งอย่างใด
ในช่วงทศวรรษที่ 1980-1990 เป็นการกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งของทีมสีน้ำเงิน เมื่อ ฟิลิป คาร์เตอร์ เข้ามารับตำแหน่งประธานสโมสร แทนที่จอห์น มัวร์ส และได้ดึง โฮเวิร์ด เคนดัลล์ เป็นผู้จัดการทีม โดยที่ เคนดัลล์ นำความสำเร็จมาสู่เอฟเวอร์ตันอีกครั้ง โดยพาทีมคว้าแชมป์ เอฟ เอ คัพ ในปี 1984 และสามารถเอาชนะลิเวอร์พูลในศึกแชริตี้ ชิลด์ ปีถัดมายังได้แชมป์ดิวิชั่น1 มาครอง ในปี 1984-1985 โดยทิ้งลิเวอร์พูลอันดับ 2 ถึง 13 แต้ม และคว้าแชมป์ยูโรเปี้ยนส์คัพวินเนอร์คัพมาครอง ด้วยการ ถล่มบาร์เยิร์น มิวนิค 3-1
ทศวรรษที่ 1990 เอฟเวอร์ตัน ได้มีการเปลี่ยนแปลงประธานสโมสรอีกครั้งโดยมี ปีเตอร์ จอห์นสัน เข้ามาบริหารงาน และได้มีการเปลี่ยนแปลงผู้จัดการทีมเป็น โจ รอยส์ , โคลิน ฮาร์วีย์ และ โฮเวิร์ด เคนดัลล์ ซึ่งทั้งหมดคือดีตนักเตะของทีมนั่นเอง แต่ผลงานของทีมก็ไม่ดีขึ้น ซึ่งตลอดระยะเวลาดังกล่าวทีมได้แชมป์ เอฟ เอ คัพ ในปี 1995 เท่านั้น
จนกระทั่งปี 1999 บิลล์ เคนไรท์ ได้เข้ามารับตำแหน่งประธานสโมสรและได้แต่งตั้ง วอลเตอร์ สมิธ เป็นผู้จัดการทีม จนถึงปี 2002 เอฟเวอร์ตัน ก็ได้ตัว เดวิด มอยส์ เป็นผู้จัดการทีมคนใหม่ โดยในฤดูกาลแรก เดวิดมอยส์ พาเอฟเวอร์ตัน หนีตกชั้นได้สำเร็จโดยจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 15 ฤดูกาลต่อมาก็พาทีม สร้างผลงานอันสุดยอดโดยการ จบฤดูกาลด้วยอันดับ 7 แม้ว่าฤดูกาลต่อมานักเตะจะเล่นด้วยความรู้สึกเหมือนไร้หัวใจ จนเกือบตกชั้นโดยมีคะแนนอยุ่เหนือโซนตกชั้น เพียง 3 คะแนน และเริ่มฤดูกาล 2003-2004 โดยการสูญเสียดาวยิงที่เป็นความหวังของทีม อย่าง เวน รูนี่ย์ ไปให้แก่แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด แต่เดวิดมอยส์กลับสร้าง เซอร์ไพร์ ด้วยการพาทีมจบฤดูกาล ด้วยอันดับที่ 4 คว้า ตั๋วใบสุดท้าย ไปเล่น แชมเปียนลีกรอบคัดเลือก และสร้างความหวังให้แก่สาวกของเอฟเวอร์โตเนี่ยนทั้งปวง แต่ต้องผิดหวัง เมื่อไม่ผ่านรอบคัดเลือก แถมยัง กระเด็นตกรอบยูฟ่าคัพอีกด้วย และเป็นฤดูกาลที่น่าเจ็บ ปวด เมื่อพบว่า ฤดูกาล 2004 - 2005 นั้นไม่เป็นอย่างที่หวัง เพราะเอฟเวอร์ตันออกตัวได้อย่างย่ำแย่ โดยไม่เหลือเค้าทีมที่เคยคว่าอันดับ 4 เมื่อฤดูกาลก่อน จนมีเสียงวิพากวิจารณ์การทำงานของเดวิดมอยส์ และเสียงเรียกร้องจากแฟนบอลทั่วโลกให้ปลดมอยส์ออก แต่อย่างไรก็ตาม บร์อดบริหาร ยังคงไว้ใจให้เขาทำหน้าที่ผู้จัดการทีมต่อไป และ เดวิดมอยส์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นความสามารถที่แท้จริงของเขา เมื่อสามารถทำให้เอฟเวอร์ตัน จบฤดูกาล ได้ด้วยอันดับที่ 11 ฤดูกาล 2006-2007 เอฟเวอร์ตัน ยังคงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตัวเองให้กลายเป็นทีมระดับต้นๆของอังกฤษ ภายใต้การทำทีมของเดวิดมอยส์ เขาเสาะหานักเตะฝีเท้าดีราคาถูกเข้ามาสู่ทีม อย่างไม่ขาดสาย และผลงานของเอฟเวอร์ตันดีวันดีคืน จนกระทั่ง สามารถ จบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 6 คว่าโควต้าไปเล่น ยูฟ่าคัพได้สำเร็จ และ และเริ่มต้นฤดูกาลด้วยความร้อนแรง จนสร้างความหวังให้แก่สาวกเอฟเวอร์โตเนี่ยน ว่า ความยิ่งใหญ่กำลังจะกลับมา และทำผลงานได้อย่างยอดเยี่ยม ใน ถ้วย ยูฟ่า คัพ ด้วยการผ่านรอบแบ่งกลุ่ม ด้วยการเก็บ 12 คะแนนเต็ม เดวิด มอยส์ทำหน้าที่ผู้จัดการทีมได้อย่างยอดเยี่ยมมาจนถึงปัจจุบัน และกล้าประกาศตัวที่จะคว้าโควต้า ไปเล่น ฟุตบอล ยูฟ่า แชมเปียน ลีก โดยการจบฤดูกาลด้วยอันดับที่ 4 เป็นอย่างน้อย ซึ่ง พัฒนาการของทีมที่เห็นเป็นรูปธรรมนั้น ทำให้แฟนบอลเชื่อมั่นว่า เอฟเวอร์ตันกำลังเข้าสู่ยุครุ่งเรือง เมื่อเดวิด มอยส์ ส่งสัญญาณการคุมทีมระยะยาว โดยการคัดเลือกดาวรุ่งฝีเท้าดีเข้ามาเติมเต็มถิ่นกูดิสัน ปาร์กอย่างต่อเนื่อง ภายใต้วิสัยทัศน์ และสติปัญญาของเดวิดมอยส์ ที่ เน้นคุณภาพ ในราคาประหยัด ตามลักษณะนิสัยโดยทั่วไปของชาวสก๊อต นั่นทำให้ เอฟเวอร์ตันเป็นอีกทีมหนึ่งที่มีอนาคตสดใสทีเดียว
[แก้] ผู้เล่นชุดใหญ่ของ Everton
(ข้อมูลเมื่อ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550)
|
|
[แก้] หมายเหตุ
ลูคัส ยุทเคียวิคซ์ เกิดที่เซาแธมป์ตัน จึงมีสัญชาติอังกฤษ แต่บรรพบุรุษมีเชื้อชาติโปแลนด์,ลิธัวเนียและสาธารณรัฐไอร์แลนด์ ทำให้สามารถเลือกที่จะลงเล่นให้กับทีมชาติตามบรรพบุรุษ และในปี 2007 ได้ลงสนามให้กับทีมชาติโปแลนด์ชุด U-19 ในเกมพบกับ สาธารณรัฐเช็กฯ จึงได้ใส่เชื้อชาติตามที่ได้เคยลงเตะให้กับทีมชาติที่ได้ลงเล่นด้วย
[แก้] สตาฟฟ์โค้ชประจำสโมสร
- ประธานสโมสร - Bill Kenwright
- รองประธานสโมสร - Jon Woods
- หัวหน้าผู้บริหาร - Keith Wyness
- ผู้จัดการทีม - David Moyes
- ผู้ช่วยผู้จัดการทีม - Alan Irvine
- ผู้ฝึกสอนทีมชุดใหญ่ - Jimmy Lumsden
- ผู้ฝึกสอนผู้รักษาประตู - Chris Woods
- สตาฟฟ์โค้ชผู้ฝึกสอน - Andy Holden
- แพทย์ประจำสโมสร - Ian Irving
- นักกายภาพบำบัด Mick Rathbone
- หมอนวด - Jimmy Comer
- เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลห้องแต่งตัว - Jimmy Martin
- เจ้าหน้าที่ประสานงานนักฟุตบอล - Bill Ellaby
[แก้] ทำเนียบผู้จัดการทีมเอฟเวอร์ตัน
อันดับ | ชื่อ | ฤดูกาล | จำนวนเกม | เปอร์เซ็นต์คุมทีมชนะ |
---|---|---|---|---|
1 | Theo Kelly | 1939 - 1948 | 102 | 47 |
2 | Cliff Briton | 1948 - 1956 | 339 | 50 |
3 | Ian Buchan | 1956 - 1958 | 99 | 43 |
4 | Johnny Carey | 1958 - 1961 | 122 | 51 |
5 | Harry Catterick | 1961 - 1973 | 594 | 60 |
6 | Billy Bingham | 1973 - 1977 | 172 | 53 |
7 | Steve Burtenshaw | 1977 - 1977 | 1 | 50 |
8 | Gordon Lee | 1977 - 1981 | 234 | 55 |
9 | Howard Kendall | 1981 - 1987 | 338 | 66 |
10 | Colin Harvey | 1987 - 1990 | 174 | 57 |
11 | Howard Kendall | 1990 - 1993 | 122 | 51 |
12 | Mike Walker | 1994 - 1994 | 34 | 32 |
13 | Joe Royle | 1994 - 1997 | 119 | 55 |
14 | Howard Kendall | 1997 - 1998 | 42 | 42 |
15 | Walter Smith | 1998 - 2002 | 168 | 46 |
16 | David Moyes | 2002 - present | 228 | 51 |
[แก้] นักเตะยอดเยี่ยมตลอดกาลของเอฟเวอร์ตัน
- ผู้รักษาประตู - Neville Southall (1981-1997)
- แบ็กซ้าย - Gary Stevens (1982-1989)
- เซ็นเตอร์ฮาล์ฟ - Brian Labone (1958-1971)
- เซ็นเตอร์ฮาล์ฟ - Kevin Ratcliffe (1980-1991)
- แบ็กขวา - Ray Wilson (1964-1969)
- ปีกขวา - Trevor Steven (1983-1990)
- มิดฟิลด์ - Alan Ball (1966-1971)
- มิดฟิลด์ - Peter Reid (1982-1989)
- ปีกซ้าย - Kevin Sheedy (1982-1992)
- กองหน้า William Ralph 'Dixie' Dean (1925-1937)
- กองหน้า - Graeme Sharp (1980-1991)
[แก้] ดาวซัลโวสูงสุดตลอดกาล
- William Ralph Dean ลงสนามฤดูกาล 1920 - 1929 ลงเล่น 433 แมตช์ ทำได้ 383 ประตู
[แก้] ทำเนียบนักเตะระดับตำนานของทีม
อันดับ | ชื่อ | ฤดูกาลที่ร่วมทีม | จำนวนเกม | ประตู | ตำแหน่ง |
---|---|---|---|---|---|
1 | Peter Reid | 1982 - 1989 | 234 | 13 | MF |
2 | Graeme Sharp | 1979 - 1991 | 447 | 159 | FW |
3 | Joe Royle | 1966 - 1974 | 275 | 119 | FW |
4 | Kevin Ratcliffe | 1980 - 1991 | 461 | 2 | CB |
5 | Ray Wilson | 1964 - 1969 | 116 | 0 | LB |
6 | Alan Ball | 1966 - 1971 | 208 | 66 | MF |
7 | Howard Kendall | 1967 - 1974 | 229 | 21 | MF |
8 | Dave Watson | 1990 - 1999 | 524 | 28 | CB |
9 | Neville Southall | 1980 - 1989 | 751 | 0 | GK |
10 | Bob Latchford | 1970 - 1979 | 289 | 138 | FW |
11 | Alex Young | 1960 - 1969 | 273 | 87 | FW |
12 | Dave Hickson | 1950 - 1959 | 243 | 111 | FW |
13 | Thomas George Jones | 1940 - 1949 | 178 | 5 | CB |
14 | Ted Sagar | 1930 - 1939 | 499 | 0 | GK |
15 | William Ralph Dean | 1920 - 1929 | 433 | 383 | FW |
16 | Sam Chedgzoy | 1910 - 1919 | 300 | 36 | MF |
17 | Jack Sharp | 1900 - 1909 | 342 | 80 | MF |
18 | Colin Harvey | 1963 - 1974 | 384 | 24 | MF |
[แก้] เกียรติประวัติ
- แชมป์ดิวิชั่นหนึ่ง (เดิม): 9 ครั้ง
-
- 1890–91, 1914–15, 1927–28, 1931–32, 1938–39, 1962–63, 1969–70, 1984–85, 1986–87
- แชมป์เอฟเอคัพ: 5 ครั้ง
-
- 1906, 1933, 1966, 1984, 1995
- แชมป์แชลิตี ชิลด์: 9 ครั้ง
-
- 1928, 1932, 1963, 1970, 1984, 1985, 1986 (shared), 1987, 1995
- แชมป์ยูโรเปี้ยน คัพ วินเนอร์สคัพ: 1 ครั้ง
-
- 1985
- แชมป์ดิวิชั่น 2(เดิม): 1 ครั้ง
-
- 1930–31
- แชมป์เอฟเอ ยูธ คัพ: 3 ครั้ง
-
- 1965, 1984, 1998
- แชมป์ลิเวอร์พูล ซีเนียร์ คัพ: 45 ครั้ง
-
- 1884, 1886, 1887, 1890, 1891, 1892, 1894, 1895, 1896, 1898, 1899, 1900, 1904, 1906, 1908, 1910 (shared), 1911, 1912 (shared), 1914, 1919, 1921, 1922, 1923, 1924, 1926, 1928, 1934 (shared), 1936 (shared), 1938, 1940, 1945, 1953, 1954, 1956, 1957, 1958 (shared), 1959, 1960, 1961, 1982 (shared), 1983, 1996, 2003, 2005, 2007.
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
อังกฤษ พรีเมียร์ลีก (ฤดูกาล 2007-08) | |
อาร์เซนอล | แอสตันวิลลา| เบอร์มิงแฮมซิตี | แบล็คเบิร์น โรเวอร์ส | โบลตันวันเดอเรอร์ส | เชลซี | ดาร์บี้ เคาน์ตี้ | เอฟเวอร์ตัน | ฟูแลม | ลิเวอร์พูล | แมนเชสเตอร์ซิตี | แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด | มิดเดิลสโบรช์ | นิวคาสเซิลยูไนเต็ด | ปอร์ทสมัธ | เรดดิง | ซันเดอร์แลนด์ | ทอตแนมฮ็อตสเปอร์ | เวสต์แฮมยูไนเต็ด | วีแกนแอทเลติก | |