สันติสุข พรหมศิริ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สันติสุข พรหมศิริ | |
ชื่อจริง | สันติสุข พรหมศิริ |
เกิด | 6 สิงหาคม พ.ศ. 2506 (อายุ 44 ปี) สิงห์บุรี |
ผลงานเด่น | บุญชู จากภาพยนตร์ชุด บุญชู (2531-2538) จะเด็ด จากละครโทรทัศน์ช่อง 3 ผู้ชนะสิบทิศ (2532) นายริด จากภาพยนตร์ อำแดงเหมือนกับนายริด (2537) สมเด็จพระมหินทราธิราช จากภาพยนตร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช (2549) |
รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี | |
---|---|
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม พ.ศ. 2537 - อำแดงเหมือนกับนายริด |
|
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง | |
นักแสดงประกอบชายยอดเยี่ยม (เข้าชิง) พ.ศ. 2535 - บุญตั้งไข่ |
|
ข้อมูลบนเว็บ IMDb |
สันติสุข พรหมศิริ (6 สิงหาคม พ.ศ. 2506 -) มีชื่อเล่นว่า " หนุ่ม " เกิดที่ อ.เขาสมอ จ.สิงห์บุรี เข้าสู่วงการบันเทิงได้ด้วยการเป็นประธานชมรมการแสดงขณะเรียนอยู่ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้มีโอกาสแสดงภาพยนตร์และละครเวทีอยู่ 3 - 4 เรื่อง จนได้รับรางวัลตุ๊กตาเงินดาราดาวรุ่งยอดเยี่ยม แต่ไม่ประสบความสำเร็จในด้านชื่อเสียงเท่าไหร่นัก จนกระทั่งได้มาแสดงภาพยนตร์เรื่อง " บุญชูผู้น่ารัก " ในปี พ.ศ. 2531 คู่กับจินตหรา สุขพัฒน์ ภายใต้การกำกับของบัณฑิต ฤทธิ์ถกล ด้วยบทของ บุญชู เด็กหนุ่มใสซื่อจากสุพรรณบุรีที่เข้ากรุง ฯ มาเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย ก็ทำให้สันติสุขได้แจ้งเกิดในวงการบันเทิงทันที โดยเป็นดาราคู่ขวัญกับจินตรา สุขพัฒน์ ซึ่งต่อมาทั้งคู่ได้ร่วมแสดงกันอีกหลายต่อหลายเรื่องทั้งภาพยนตร์และละครโทรทัศน์ และกล่าวกันว่า สันติสุข เป็นดาราคู่บารมีของผู้กำกับบัณฑิต ฤทธิ์ถกล และจากความสำเร็จของบุญชู ผู้น่ารัก ทำให้มีภาคต่อของภาพยนตร์ชุดนี้ต่อมาอีก 5 ภาค [1] โดยในภาคสุดท้ายใช้ชื่อว่า บุญชูรักเธอเสมอ ในปี พ.ศ. 2538
แต่ผลงานทางด้านละครโทรทัศน์ กล่าวกันว่า ไม่ประสบความสำเร็จเท่าภาพยนตร์ จนกระทั่งได้มารับบท จะเด็ด ในเรื่อง " ผู้ชนะสิบทิศ " ทางช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2532 จากนั้นในปี พ.ศ. 2538 สันติสุขได้พลิกบทบาทมารับบทร้ายเป็นครั้งแรกจากละครเรื่อง " เลือดเข้าตา " ทางช่อง 5 ด้วยการรับบท สารวัตรก้อนเส้า ประกบคู่กับจักรกฤษณ์ อำมะรัตน์
ออกเคยอัลบั้มเพลงมาชุดหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2536 กับทางค่ายคีตา แต่ไม่ประสบความสำเร็จทางด้านยอดขาย
ผลงานในระยะหลัง มีผลงานเป็นพิธีกรในรายการ 07 โชว์, แข่งร้อยได้ล้าน ทางช่อง 7 และผลงานภาพยนตร์ รับบท คุณหลวง ในเรื่อง จันดารา ในปี พ.ศ. 2544 สารวัตรชาติ ในเรื่อง ซุ้มมือปืน ในปี พ.ศ. 2548 และ สมเด็จพระมหินทราธิราช ในภาพยนตร์ชุด ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในปี พ.ศ. 2549
[แก้] อ้างอิง
- ^ ภาพยนตร์เรื่องบุญชู มีภาค 1,2 แล้วข้ามไป 5,6,7,8 เลย เว้นภาค 3,4 ไว้ โดยระบุไว้ในภาค 5 ว่าทำไมจึงไม่มีภาค 3,4 [1]