วันพระ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
พ้นทุกข์ / ความดับทุกข์ | |
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · เบญจธรรม · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
|
สถานีย่อย |
---|
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หมายถึง วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ 4 วัน ได้แก่
- วันขึ้น 8 ค่ำ
- วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
- วันแรม 8 ค่ำ
- วันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
ในวันพระ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ การทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น
อนึ่ง สำนวน "วันพระไม่มีหนเดียว" หมายถึง โอกาสหน้ายังมีอีก เป็นคำพูดแสดงความอาฆาต จะแก้แค้นเอาคืน
วันโกน เป็นภาษาพูด หมายถึง วันก่อนวันพระ 1 วัน เพราะพระจะโกนผมกันในวันโกน
[แก้] ประวัติ
ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสาร ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลว่า นักบวชศาสนาอื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชน ในวัน 8 ค่ำ และ 14 หรือ 15 ค่ำ พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็น วันธรรมสวนะ (สำหรับวันธรรมสวนะนี้ เมืองไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย)