วันเพ็ญ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
- สำหรับ วันเพ็ญ ความหมายอื่น ดูได้ที่ วันเพ็ญ (แก้ความกำกวม)
วันเพ็ญ คือวันที่พระจันทร์เต็มดวง ตามปฏิทินจันทรคติไทย นับเป็นวัน "ขึ้น 15 ค่ำ" (หรือ วัน 15 ค่ำ ตามปฏิทินจันทรคติจีน) อันเป็นปรากฏการณ์ที่ดวงจันทร์อยู่ในตำแหน่งด้านตรงข้ามของโลก เมื่อพิจารณาจากตำแหน่งดวงอาทิตย์ ในโอกาสนี้ดวงจันทร์ที่เห็นจากพื้นผิวของโลกจะดูสว่างเต็มดวง เพราะรับแสงโดยตรงจากดวงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม ภาพดวงจันทร์ที่เราเห็นเต็มดวงนั้น เป็นเพียงครึ่งหนึ่งของพื้นผิวทั้งหมดของดวงจันทร์ที่ได้รับแสงสว่างจากดวงอาทิตย์
[แก้] อุปราคา
วันเพ็ญเป็นเพียงโอกาสเดียวที่จะเกิดจันทรุปราคาได้ ในเวลานี้ดวงจันทร์อาจเคลื่อนผ่านเงาของโลกที่ทาบลงมา อย่างไรก็ตาม เนื่องความเอียงของวงโคจรที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก (เมื่อเทียบกับวงโคจรที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์) ทำให้ดวงจันทร์อาจผ่านไปด้านล่างหรือด้านบนของเงาดังกล่าว ด้วยเหตุนี้จันทรุปราคาจึงจะไม่เกิดขึ้นทุกครั้งที่พระจันทร์เต็มดวง
เมื่อพระจันทร์เต็มดวง มักเป็นอุปสรรคแก่การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ เพราะแสงที่สว่างไสว จากดวงจันทร์นั้น จะสว่างข่มแสงดวงดาวต่างๆ ในท้องฟ้าทำให้มองเห็นได้ยากและไม่ชัดเจนเท่ากันวันเดือนมืด
วันเพ็ญ เป็นบทความเกี่ยวกับ ดาราศาสตร์ หรือ จักรวาลวิทยา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ วันเพ็ญ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ดาราศาสตร์ |