รัฐสิกขิม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
รัฐสิกขิม (เทวนาครี: सिक्किम; ภาษาทิเบต: འབྲས་ལྗོངས་; Sikkim) คือรัฐหนึ่งทางตอนเหนือของประเทศอินเดีย มีพื้นที่ทางตะวันตกติดต่อกับประเทศเนปาล ทางทิศเหนือติดต่อกับเขตปกครองตนเองทิเบต และประเทศจีน และทางทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศภูฏาน แต่เดิมสิกขิมเป็นรัฐเอกราช มีขนาดใหญ่กว่าเดลีเล็กน้อย ปกครองโดยราชวงศ์นัมเยล ด้วยความป็นรัฐเอกราชเล็ก ๆ อาจถูกบั่นทอนจากจีนซึ่งยึดทิเบตได้ เมื่ออินเดียได้รับเอกราช สิกขิมจึงยอมอยู่ใต้เอกราชเดียวกับอินเดียเมื่อ 30 กว่าปีก่อน อดีตประชากรส่วนใหญ่ของที่นี้เป็นชาวเลปชาซึ่งมีเชื้อสายเป็นชาวทิเบต แต่ปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวเนปาลี ประมาณร้อยละ 75 ของประชากร
[แก้] ประวัติ
ก่อนศตวรรษที่ 18 ประชากรส่วนใหญ่ในสิกขิมส่วนใหญ่เป็นชาวเลปชา ซึ่งอพยพมาจากทิเบตในศตวรรษที่ 8 ชาวเผ่ารุ่นแรกๆจะเป็นชนเผ่านัมกยาลสืบเชื้อสายจากชาวมินยักในทิเบต ในปี พ.ศ. 1811 (ค.ศ. 1268) เจ้าชายแห่งนัมกยาล นามว่า คเย บุมซา ได้เสด็จไปช่วยสร้างวัดนิกายศักยะขึ้นในทิเบต และทรงผูกมิตรกับชาวเลปชา นามว่าเตกงเท็ก เมื่อเตกงเท็กเสียชีวิต ชาวเลปชาจึงได้ยกคุรุตาชี โอรสองค์ที่ 4 ขึ้นเป็นช็อกยัล (กษัตริย์)ในปี พ.ศ. 2185 (ค.ศ. 1642) จนถึงในปี พ.ศ. 2243 (ค.ศ. 1700) ภูฏานได้รุกรานสิกขิม ช็อกยัลจึงได้เสด็จลี้ภัยไป และได้สร้างวัดขึ้นที่เปมารยังเซ และตาชีดิง ทรงคิดประดิษฐ์อักษรเลปชาขึ้น ก่อนที่จะถูกลอบปลงพระชนม์ ในปี พ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) โดยตามคำบัญชาของเจ้าหญิงเปย์ วอมกโม ผู้ภักดีต่อภูฏาน
ในต้นศตวรรษที่ 19 บริษัทอีสต์อินเดีย ได้เข้ามาบุกเบิกเทือกเขาหิมาลัยเพื่อเป็นทางผ่านเพื่อทำการค้ากับทิเบต ในปี พ.ศ. 2357 (ค.ศ. 1814) อังกฤษทำสงครามกับเนปาล สิกขิมได้ช่วยอังกฤษ เพื่อเป็นการตอบแทน อังกฤษจึงยกเขตเตรายของเนปาลเป็นการตอบแทนในปี พ.ศ. 2359 (ค.ศ. 1816) ต่อมาพระเจ้าซุกฟุด นัมกยัลก็ทรงมอบเขาดาร์จีลิงให้อังกฤษทำรีสอร์ตเพื่อแสดงไมตรี แต่ไม่นานความสัมพันธ์เริ่มเกิดปัญหาเมื่ออังกฤษยึดเขตเตรายคืน และตั้งตนเป็นผู้อารักขาอาณาจักรแห่งนี้ นับจากศตวรรษที่ 18 นี้ ได้มีชาวเนปาลจำนวนมากอพยพเข้าอาณาจักรนี้จนเป็นประชากรส่วนใหญ่ร้อยละ 75
หลังได้รับเอกราช รัฐบาลอินเดียได้ทำข้อตกลงกับช็อกยัลว่า สิกขิมจะรวมกับอินเดียในระดับหนึ่งเท่านั้น ครั้นปี พ.ศ. 2518 (ค.ศ. 1975) รัฐสภาสิกขิมได้ออกเสียงให้สิกขิมรวมอยู่กับอินเดีย สถาบันกษัตริย์จึงถูกยกเลิก ปัจจุบันสิกขิมจึงมีสถานะเพียงรัฐๆหนึ่งของอินเดีย
[แก้] ประชากร
ในปัจจุบันประชากรในรัฐสิกขิมนับถือศาสนาฮินดูเป็นส่วนใหญ่ ถึง 60.9 % รองมาคือ พุทธศาสนา 28.1 % ศาสนาคริสต์ 6.7 % และศาสนาอิสลาม 1.4 %
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
สิกขิมแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 เขต ได้แก่
- สิกขิมเหนือ
- สิกขิมใต้
- สิกขิมตะวันออก
- สิกขิมตะวันตก
|
|
---|---|
รัฐ | กรณาฏกะ • เกรละ • กัว (โคอา) • คุชราต • ฉัตติสครห์ • ชัมมูและกัศมีร์ • ฌาร์ขัณฑ์ • ตริปุระ • ทมิฬนาฑู • นาคาแลนด์ • เบงกอลตะวันตก • ปัญจาบ • พิหาร • มณีปุระ • มหาราษฏระ • มิโซรัม • เมฆาลัย • มัธยประเทศ • ราชสถาน • สิกขิม • หรยาณา • หิมาจัลประเทศ • อรุณาจัลประเทศ • อานธรประเทศ • อุตตราขัณฑ์ • อุตตรประเทศ • โอริสสา • อัสสัม |
ดินแดนสหภาพ | จัณฑีครห์ • ดาดราและนครหเวลี • ดามันและดีอู • เดลี • พอนดิเชอร์รี • ลักษทวีป • หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ |
รัฐสิกขิม เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ รัฐสิกขิม ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |