มหาสมุทรใต้
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาสมุทรทั้ง 5 ของโลก |
มหาสมุทรใต้ (Southern Ocean) เป็นมหาสมุทรที่อยู่ล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ของโลก และเป็นที่สุดท้ายที่องค์การอุทกศาสตร์สากล (International Hydrographic Organization) นิยามให้เป็นมหาสมุทรเมื่อปี พ.ศ. 2543 แม้ว่าจะเป็นที่ยอมรับกันมาก่อนหน้านั้นในหมู่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการสมุทรศาสตร์นานแล้ว โดยในอดีต มหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย มีขอบเขตไกลลงไปถึงทวีปแอนตาร์กติกา
มหาสมุทรใต้มีรูปร่างเป็นวงกลมล้อมรอบทวีปแอนตาร์กติกา นับจากละติจูด 60° ใต้ ลงไปถึงชายฝั่งแอนตาร์กติกา อย่างไรก็ตาม นิยามนี้ไม่ได้ใช้ตรงกันทั่วโลก ในประเทศออสเตรเลีย มหาสมุทรใต้ยังรวมถึงพื้นที่ที่เป็นผืนน้ำระหว่างชายฝั่งทางใต้ของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์กับทวีปแอนตาร์กติกา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแผนที่ชายฝั่งของเกาะทัสมาเนียและออสเตรเลียใต้ ที่ระบุพื้นที่นั้นว่าเป็น มหาสมุทรใต้ แทนที่จะเป็น มหาสมุทรอินเดียปัจุบันไม่ค่อยเป็นที่ยอมรับกันของคนทั่วไป
[แก้] พื้นที่
- รวม: 20,327,000 ตร.กม.
- หมายเหตุ: รวม ทะเลอะมันด์เซน (Amundsen Sea) ทะเลเบลลิงส์เฮาเซน (Bellingshausen Sea) บางส่วนของช่องแคบเดรก (Drake Passage) ทะเลรอสส์ (Ross Sea) ส่วนเล็ก ๆ ของทะเลสโกเชีย (Scotia Sea) ทะเลเวดเดลล์ (Weddell Sea) และแควน้อยใหญ่อื่น ๆ
[แก้] แนวชายฝั่ง
17,968 กิโลเมตร
[แก้] ภูมิอากาศ
อุณหภูมิของทะเลเปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง 10 ถึง -2 องศาเซลเซียส พายุหมุนเคลื่อนตัวสู่ทิศตะวันออกไปรอบ ๆ ทวีป และมักมีความรุนแรงเนื่องจากอุณหภูมิที่ต่างกันมากระหว่างน้ำแข็งกับมหาสมุทรเปิด พื้นที่จากละติจูด 40° ใต้ลงไปถึงวงกลมแอนตาร์กติก มีค่าเฉลี่ยของความเร็วลมสูงที่สุดในโลก ในฤดูหนาว มหาสมุทรใต้จะหนาวเย็นจนเป็นน้ำแข็ง แผ่ไกลออกไปถึงละติจูด 65° ใต้ ของมหาสมุทรแปซิฟิก และ 55° ใต้ ของมหาสมุทรแอตแลนติก ทำให้อุณหภูมิพื้นผิวเฉลี่ยลดลงต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส กระแสลมจากในแผ่นดินที่พัดต่อเนื่องสู่ชายฝั่งบางแห่ง ทำให้ชายทะเลนั้นปราศจากน้ำแข็งตลอดทั้งฤดูหนาว
มหาสมุทรใต้ เป็นบทความเกี่ยวกับ แม่น้ำ ภูเขา หรือสถานที่ทางภูมิศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ มหาสมุทรใต้ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |