ภาษาเตลูกู
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เตลูกู తెలుగు เตลุกุ |
||||
---|---|---|---|---|
พูดใน: | ประเทศอินเดีย | |||
ภูมิภาค: | รัฐอานธรประเทศ และรัฐใกล้เคียง | |||
จำนวนผู้พูด: | 66 ล้านเป็นภาษาแม่, 80 ล้านทั้งหมด | |||
อันดับ: | 13–17 (ภาษาแม่); ใกล้เคียงกับภาษาเกาหลี ภาษาเวียดนาม ภาษามราฐี และ ภาษาทมิฬ | |||
ตระกูลภาษา: | ดราวิเดียน กลาง เตลูกู เตลูกู |
|||
สถานะทางการ | ||||
ภาษาทางการใน: | อินเดีย | |||
องค์กรควบคุม: | ไม่มี | |||
รหัสภาษา | ||||
ISO 639-1: | te | |||
ISO 639-2: | tel | |||
ISO 639-3: | tel | |||
|
||||
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา |
ภาษาเตลูกู (Telugu తెలుగు) อยู่ในภาษากลุ่มดราวิเดียน แต่มีอิทธิพลพอสมควรจากภาษาดลุ่มอินโด-อารยันภายใต้ตระกูล อินโด-ยุโรเปียนและเป็นภาษาราชการของรัฐอานธรประเทศ (Andhra Pradesh) ของอินเดีย ภาษาเตลูกูเป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่มีผู้พูดมากที่สุด เป็นภาษาที่พูดเป็นอันดับ 2 รองจากภาษาฮินดี และเป็นหนึ่งใน 22 ภาษาราชการของอินเดีย เขียนด้วยอักษรเตลุกุ
ชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เรียกภาษาเตลูกูว่า ภาษาอิตาลีของโลกตะวันออก (Italian of the East) เนื่องจากทุกคำในภาษาเตลูกูลงท้ายด้วยเสียงสระ แต่เชื่อว่านักสำรวจชาวอิตาลี นิกโกโล ดา คอนติ (Niccolò Da Conti) ได้คิดวลีนี้ในคริสต์ศตวรรษที่ 15
เนื้อหา |
[แก้] ไวยากรณ์
ในภาษาเตลุกุจะเรียงประโยคจาก กรรตะ కర్త (ประธาน), กรรมะ కర్మ (กรรม) และ กริยะ క్రియ (กริยา) ภาษาเตลุกุมีการใช้ วิภักถิ విభక్తి (บุพบท)ด้วย
Telugu | రాముడు (ระมุทุ) బంతిని (พันตินิ) కొట్టాడు(โกทตะทุ) |
ตรงตัว | รามะ ลูกบอล ตี |
ความหมาย | "รามะตีลูกบอล" |
[แก้] การผันคำ
ภาษาเตลุกุเป็นภาษารูปคำติดต่อซึ่งมีการเติมพยางค์ที่แน่นอนที่ท้ายคำเพื่อแสดงการก
การกเครื่องมือ | Ramunito | రామునితో | (తో; to) |
การกกรรมรอง | Ramuniki | రామునికి | (కి; ki or కు; ku) |
การกคำนาม | Ramudininchi | రాముడినుంచి | (నుంచి; nunchi) |
การกแสดงความเป็นเจ้าของ | Ramuni | రాముని | (ని; ni) |
การต่อคำเช่นนี้ใช้กับคำนามทุกชนิดทั้งในรูปเอกพจน์และพหูพจน์ ตารางต่อไปนี้แสดงการกอื่นๆในภาษาเตลุกุ
[แก้] การกแสดงตำแหน่ง
การก | การใช้ | ภาษาไทย | ตัวอย่างภาษาเตลุกุ |
---|---|---|---|
แสดงความใกล้เคียง | ตำแหน่งใกล้เคียง | ใกล้/ที่/โดย บ้าน | ఇంటి/పక్క /ɪŋʈɪprakːa/ |
แสดงการอยู่ข้างใน | อยู่ข้างในบางสิ่ง | ข้างในบ้าน | ఇంట్లో /ɪŋʈloː/ |
แสดงตำแหน่ง | ตำแหน่ง | ที่/บน/ใน บ้าน | ఇంటిదగ్గర /ɪŋʈɪd̪agːara/ |
แสดงการอยู่ข้างบน | บนพื้นผิว | บนด้านบนของบ้าน | ఇంటిపై /ɪŋʈɪpaj/ |
[แก้] การกแสดงการเคลื่อนที่
การก | การใช้ | ภาษาไทย | ตัวอย่างภาษาเตลุกุ |
---|---|---|---|
แสดงการเข้าหา | เคลื่อนเข้าไปใกล้บางสิ่ง | ไปที่บ้าน | ఇంటికి /ɪŋʈɪkɪ/, ఇంటివైపు /ɪŋʈɪvajpu/ |
แสดงการออกจาก | เคลื่อนจากพื้นผิว | จากด้านบนของบ้าน | ఇంటిపైనుంచి /ɪŋʈɪnɪɲcɪ/ |
แสดงการเริ่มต้น | แสดงจุดเริ่มต้นของการเคลื่อนที่ | เริ่มจากบ้าน | ఇంటినుంచి /ɪŋʈɪnɪɲcɪ/ (ఇంటికెల్లి /ɪŋʈɪkelːɪ/ ในบางสำเนียง) |
แสดงการอยู่ข้างนอก | อยู่ข้างนอกบางสิ่ง | อยู่นอกบ้าน | ఇంటిలోనుంచి /ɪŋʈɪnɪɲcɪ/ (ఇంట్లకెల్లి /ɪŋʈlakelːɪ/ ในบางสำเนียง) |
แสดงการเข้าไป | เคลื่อนที่เข้าไปในบางสิ่ง | เข้าไปในบ้าน | ఇంటిలోనికి /ɪŋʈɪloːnɪkɪ/ (ఇంట్లోకి /ɪŋʈloːkɪ/) |
แสดงการเคลื่อนที่ข้างบน | เคลื่อนที่บนพื้นผิว | ไปบนบ้าน | ఇంటిపైకి /ɪŋʈɪpajkɪ/ |
แสดงการสิ้นสุด | แสดงจุดสิ้นสุดของการเคลื่อนที่ | ไกลเท่ากับบ้าน | ఇంటివరకు /ɪŋʈɪvaraku/ |
[แก้] แสดงการจัดเรียงประโยค
การก | การใช้ | ภาษาไทย | ตัวอย่างภาษาเตลุกุ |
---|---|---|---|
แสดงแนวโน้ม | กรณีทั่วไป ทุกสถานการณ์ ยกเว้นเป็นประธาน | กังวลเกี่ยวกับบ้าน | ఇంటిగురించి /ɪŋʈɪgurɪɲcɪ/ |
[แก้] การกความสัมพันธ์
การก | การใช้ | ภาษาไทย | ตัวอย่างภาษาเตลุกุ |
---|---|---|---|
แสดงการใช้ประโยชน์ | สำหรับ | สำหรับบ้าน | ఇంటికోసం /ɪŋʈɪkoːsam/ (ఇంటికొరకు /ɪŋʈɪkoraku/) |
แสดงเหตุผล | เพราะ เพราะว่า | เพราะบ้าน | ఇంటివలన /ɪŋʈɪvalana/ |
แสดงส่วนร่วม | เป็นส่วนหนึ่งของบางสิ่ง | กับบ้าน | ఇంటితో /ɪŋʈɪt̪oː/ |
แสดงการครอบครอง | การครอบครองบางสิ่งโดยตรง | ถูกเป็นเจ้าของโดยบ้าน | ఇంటియొక్క /ɪŋʈɪjokːa/ |
[แก้] การเชื่อมคำอย่างซับซ้อน
ตัวอย่างที่แสดงมาทั้งหมดเป็นการเชื่อคำเพียงระดับเดียว ภาษาเตลุกุมีการเชื่อมคำโดยใช้ปัจจัยหลายตัวเชื่อมต่อกับตำเพื่อให้เกิดคำที่ซับซ้อนขึ้นได้ ตัวอย่างเช่น อาจเติมทั้ง "నుంచి; นินชิ - จาก" และ "లో; โล - ใน" เข้ากับคำนามเพื่อหมายถึงภายใน เช่น "రాములోనుంచి; รามุโลนินชิ - จากข้างในของรามะ" หรือตัวอย่างการเชื่อมต่อ 3 ระดับ: "వాటిమధ్యలోనుంచి; vāṭimadʰyalōninchi - จากในระหว่างพวกเขา"
[แก้] คำสรรพนามที่ครอบคลุม/ไม่ครอบคลุม
ภาษาเตลุกุมีสรรพนาม "เรา" 2 คำ คือรวมผู้ฟัง (మనము; มะนะมุ)กับไม่รวมผู้ฟัง (మేము; เมมุ) เช่นเดียวกับภาษาทมิฬและภาษามาลายาลัม แต่ลักษณะนี้ไม่พบในภาษากันนาดาสมัยใหม่
[แก้] คำศัพท์
ภาษาเตลุกุมีรากศัพท์ที่มาจากภาษาในกลุ่มดราวิเดียนเอง โดยมากเป็นศัพท์ที่ใช้เกี่ยวกับเรื่องทั่วไปหรือในชีวิตประจำวัน เช่น తల; ตะละ (หัว), పులి; ปุลิ (เสือ), ఊరు; อูรุ (เมือง) อย่างไรก็ตาม ภาษาเตลุกุมีศัพท์จากภาษาสันสกฤตและภาษาปรากฤตปนอยู่มาก อิทธิพลที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การที่กษัตริย์ศตวหนะให้ใช้ภาษาปรากฤตเป็นภาษาราชการแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะพูดภาษาเตลุกุ
[แก้] ระบบการเขียน
บทความหลัก:อักษรเตลุกุ
เชื่อกันว่าอักษรเตลุกุได้รับอิทธิพลจากอักษรพราหมีสมัยอโศก และใกล้เยงกับอักษรจาลุกยะที่พ่อค้าจากอินเดียนำไปเผยแพร่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลายเป็นต้นแบบของอักษรในบริเวณดังกล่าวรวมทั้งอักษรไทย อักษรจามและอักษรบาหลี ความคล้ายคลึงระหว่างอักษรเตลุกุกับอักษรเหล่านี้ยังพบได้ในปัจจุบัน
อักษรเตลุกุเขียนจากซ้ายไปขวา หน่วยย่อยของการเขียนคือพยางค์ แต่ละพยางค์ประกอบด้วยสระ (อัชชุหรือสวระ) และพยัญชนะ (หัลลุหรือวยันชัน) พยัญชนะที่เรียงกันเป็นกลุ่ม บางตัวมีรูปต่างไปจากเดิม พยัญชนะมีทั้งรูปบริสุทธิ์ที่ไม่มีเสียงสระและรูปที่มีเสียงอะ เมื่อรวมสระกับพยัญชนะ สระจะเป็นเครื่องหมายติดกับพยัญชนะเรียก มาตรัส ซึ่งมีรูปร่างต่างจากสระปกติ
อักษรเตลุกุมีทั้งหมด 60 เครื่องหมาย เป็นสระ 16 ตัว ตัวเปลี่ยนสระ 3 ตัว พยัญชนะ 41 ตัว มีการเว้นช่องว่างระหว่างคำ เมื่อจบประโยคจะจบด้วยเส้นเดี่ยว (ปุรนา วิรมะ)หรือเส้นคู่ (กีรฆา วิรมะ)
|
|
---|---|
ภาษาราชการ (ส่วนกลาง) |
ภาษาฮินดี • ภาษาอังกฤษ |
ภาษาราชการของรัฐ | ภาษากอกบอรอก • ภาษากอนกานี • ภาษากันนาดา • ภาษาคุชราต • ภาษาแคชเมียร์ • ภาษาโดกรี • ภาษาเตลูกู • ภาษาทมิฬ • ภาษาเนปาลี • ภาษาเบงกาลี • ภาษาโบโด • ภาษาปัญจาบ • ภาษามราฐี • ภาษามาลายาลัม • ภาษามณีปุริ • ภาษาไมถิลี • ภาษาสันตาลี • ภาษาสันสกฤต • ภาษาสินธี • ภาษาอัสสัม • ภาษาอูรดู • ภาษาโอริยะ |