ภาษากันนาดา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ಕನ್ನಡ (ภาษากันนาดา) kannaḍa กัณณฑฺ |
||||
---|---|---|---|---|
พูดใน: | รัฐกรณาฏกะ, อินเดีย | |||
จำนวนผู้พูด: | 64 ล้านคน [1] | |||
อันดับ: | 27[2] | |||
ตระกูลภาษา: | ดราวิเดียน ภาษากลุ่มดราวิเดียนใต้ ภาษากลุ่มทมิฬ-กันนาดา ಕನ್ನಡ (ภาษากันนาดา) |
|||
ระบบการเขียน: | อักษรกันนาดา | |||
สถานะทางการ | ||||
ภาษาทางการใน: | รัฐกรณาฏกะ, อินเดีย | |||
องค์กรควบคุม: | องค์กรทางวิชาการและรัฐบาลของรัฐกรณาฏกะ | |||
รหัสภาษา | ||||
ISO 639-1: | kn | |||
ISO 639-2: | kan | |||
ISO 639-3: | kan | |||
|
||||
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา |
ภาษากันนาดา(ಕನ್ನಡ ) เป็นภาษากลุ่มดราวิเดียนที่สำคัญภาษาหนึ่ง ใช้พูดทางภาคใต้ของอินเดีย เป็นภาษาราชการของรัฐกรณาฏกะ เขียนด้วยอักษรกันนาดา เช่นเดียวกับภาษาท้องถิ่นอื่นๆในรัฐกรณาฏกะ ได้แก่ ภาษาตูลู ภาษาโกทวะ และภาษากอนกานีที่เขียนด้วยอักษรกันนาดาเช่นกัน ภาษากันนาดาได้รับอิทธิพลด้านคำศัพท์จากภาษาสันสกฤตเช่นเดียวกับภาษากลุ่มดราวิเดียนอื่นๆ วรรณคดีรุ่นแรกๆที่เขียนด้วยภาษานี้คือ กาวิราชมาร์กา ของกษัตริย์นริปาตุงา
[แก้] ประวัติและพัฒนาการ
พัฒนามาจากภาษาดราวิเดียนยุคแรกเริ่มทางใต้ โดยมีพัฒนาการแยกออกจากภาษาแรกเริ่มนี้ในยุคเดียวกับภาษาทมิฬ จากหลักฐานทางโบราณคดี การเขียนทางการค้าของภาษานี้เริ่มเมื่อราว 1500-1600 ปีมาแล้ว การพัฒนาในระยะแรกเป็นเช่นเดียวกับภาษาดราวิเดียนอื่นๆและเป็นอิสระจากภาษาสันสกฤต ในยุคต่อมาจึงได้อิทธิพลทางด้านคำศัพท์และวรรณคดีจากภาษาสันสกฤตเช่นเดียวกับภาษาเตลุกุ ภาษามาลายาลัม และอื่นๆ จารึกภาษากันนาดาพบครั้งแรกในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อราว พ.ศ. 313 [3][4] ศิลาจารึกภาษากันนาดาที่สมบูรณ์ชิ้นแรกคือ ศิลาศาสนะ เขียนด้วยภาษากันนาดาโบราณ รวมทั้งจารึกหัลมิที , อายุราว พ.ศ. 93 [5] จารึกภาษากันนาดาพบในอินเดียราว 40,000 ชิ้น และพบนอกรัฐกรณาฏกะด้วย เช่นที่ รัฐอานธรประเทศ รัฐมหาราษฏระ รัฐทมิฬนาดู รวมทั้งในรัฐมัธยประเทศและรัฐอุตตรประเทศด้วย
[แก้] ไวยากรณ์
ภาษากันนาดามีการผันคำ คำนามมี 3 เพศ คือ เพศชาย เพศหญิง ไม่มีเพศ การผันคำจะผันตามเพศ จำนวน และกาล
[แก้] อ้างอิง
- ^ http://webtools.uiuc.edu/blog/view?blogId=25&topicId=494&count=1&ACTION=VIEW_TOPIC_DIALOGS&skinId=286
- ^ http://encarta.msn.com/media_701500404/Languages_Spoken_by_More_Than_10_Million_People.html
- ^ คำว่าIsila พบในจารึกสมัยพระเจ้าอโศก หมายถึง "ขว้างลูกศร" เป็นคำภาษากันนาดา แสดงว่าภาษากันนาดามีใช้ในช่วงเวลานั้น (Dr. D.L. Narasimhachar in Kamath 2001, p5)
- ^ Staff reporter. Declare Kannada a classical language. The Hindu, Friday, May 27, 2005 ข้อมูลวันที่ 2006-11-25. The Hindu.
- ^ A report on Halmidi inscription, Muralidhara Khajane. Halmidi village finally on the road to recognition. The Hindu, Monday, Nov 03, 2003 ข้อมูลวันที่ 2006-11-25. The Hindu.
|
|
---|---|
ภาษาราชการ (ส่วนกลาง) |
ภาษาฮินดี • ภาษาอังกฤษ |
ภาษาราชการของรัฐ | ภาษากอกบอรอก • ภาษากอนกานี • ภาษากันนาดา • ภาษาคุชราต • ภาษาแคชเมียร์ • ภาษาโดกรี • ภาษาเตลูกู • ภาษาทมิฬ • ภาษาเนปาลี • ภาษาเบงกาลี • ภาษาโบโด • ภาษาปัญจาบ • ภาษามราฐี • ภาษามาลายาลัม • ภาษามณีปุริ • ภาษาไมถิลี • ภาษาสันตาลี • ภาษาสันสกฤต • ภาษาสินธี • ภาษาอัสสัม • ภาษาอูรดู • ภาษาโอริยะ |