ภาษายิดดิช
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษายิดดิช ייִדיש yidish |
||
---|---|---|
เสียงอ่าน: | /ˈjidiʃ/ | |
พูดใน: | สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ลิทัวเนีย, รัสเซีย, อิสราเอล, ยูเครน, มอลโดวา, เบลารุส, เบลเยียม, เยอรมนี, แคนาดา, บราซิล, อาร์เจนตินา, เม็กซิโก, ออสเตรเลีย และ อื่นๆ | |
จำนวนผู้พูด: | 3 ล้านคน[1] | |
ตระกูลภาษา: | อินโด-ยูโรเปียน ภาษากลุ่มเยอรมัน ภาษากลุ่มเยอรมันตะวันตก ภาษากลุ่มเยอรมันสูง ภาษายิดดิช |
|
ระบบการเขียน: | อักษรฮีบรูดัดแปลง | |
สถานะทางการ | ||
ภาษาทางการใน: | เขตปกครองตนเองชาวยิวออบลาสต์ ในรัสเซีย(de jure เท่านั้น); ภาษาทางการของชนกลุ่มน้อยในสวีเดน, เนเธอร์แลนด์, และ มอลโดวา | |
องค์กรควบคุม: | no formal bodies; YIVO de facto |
|
รหัสภาษา | ||
ISO 639-1: | yi | |
ISO 639-2: | yid | |
ISO 639-3: | มีหลากหลาย: yid — ภาษายิดดิช (ทั่วไป) ydd — ภาษายิดดิชตะวันออก yih — ภาษายิดดิชตะวันตก |
|
หมายเหตุ: บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากลปรากฏอยู่ คุณอาจต้องการไทป์เฟซที่รองรับยูนิโคดเพื่อการแสดงผลที่สมบูรณ์ | ||
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมภาษา |
ภาษายิดดิช (ภาษายิดดิช: ייִדיש, yidish, = "Jewish") เป็นภาษากลุ่มเยอรมัน มีผู้พูดทั่วโลก 3 ล้านคนเขียนด้วยอักษรฮีบรู กำเนิดจากวัฒนธรรมอาสเกนาซี ที่พัฒนาขึ้นเมื่อราวพ.ศ. 1500ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก และแพร่กระจายไปยังประเทศอื่นด้วยการอพยพ ในครั้งแรกเรียกภาษานี้ว่า loshn-ashkenaz (ภาษาอาสเกนาซี) ในด้านการใช้ ภาษานี้เรียก mame-loshn (สำเนียงแม่) เพื่อให้ต่างจากภาษาฮีบรูและภาษาอราเมอิกที่เรีกว่า loshn-koydesh (สำเนียงศักดิ์สิทธิ์) คำว่า”ยิดดิช” เริ่มใช้เมื่อราว พ.ศ. 2300 แบ่งเป็นสองสำเนียงคือยิดดิชตะวันตกกับยิดดิชตะวันออก สำเนียงตะวันออกยังคงใช้อยู่ในปัจจุบัน ต่างจากสำเนียงตะวันตกที่มีอิทธิพลจากภาษากลุ่มสลาฟ
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
วัฒนธรรมอาสเกนาซีมีรากฐานในช่วงพ.ศ. 1500 ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก ชื่อนี้มาจาก Ashkenaz ชื่อของชาวยิวในยุคกลางในเขตที่ปัจจุบันอยุ่ในประเทศเยอรมัน ชนกลุ่มนี้เข้ากับชาวคริสต์ในเยอรมันไม่ได้สนิท ดินแดนนี้รวมถึงตอนเหนือของฝรั่งเศสไปจนถึงขอบเขตชาวยิวเชื้อสายสเปนที่กินพื้นที่เข้ามาถึงฝรั่งเศสตอนใต้ ต่อมาเขตนี้ได้ขยายออกไปทางตะวันออกด้วย
ภาษาแรกของชาวยิวในยุโรปคือภาษาอราเมอิก (Kast, 2004) ซึ่งเป็นภาษาของชาวยิวในปาเลสไตน์และเมโสโปเตเมีย ในสมัยโรมัน ชาวยิวในโรมและอิตาลีใต้ใช้ภาษากรีก ซึ่งต่อมาได้มีอิทธิพลต่อภาษายิดดิชด้วย ผู้พูดในอาสเกนาซีได้รับอิทธิพลจากภาษาเยอรมันจนถือว่าเป็นสำเนียงของภาษาเยอรมัน
[แก้] หลักฐานการเขียน
หลักฐานเก่าสุดเป็นหนังสือภาษาฮีบรูในพ.ศ. 1815 ซึ่งมีคำจากภาษาเยอรมันปนอยู่น้อย คำจากภาษาเยอรมันเริ่มเข้ามามากในช่วงพ.ศ. 1900 – 2000
[แก้] การใช้ในทางโลก
ภาษายิดดิชตะวันตกมีการใช้น้อยลงในช่วง พ.ศ. 2300 ซึ่งเนื่องมาจากการที่ผู้พูดภาษาเยอรมันมองว่าภาษายิดดิชเป็นภาษาที่ถูกบิดเบือน และจากการฟื้นตัวขึ้นอีกครั้งของภาษาฮีบรู ทำให้ภาษายิดดิชตะวันตกเหลือใช้แต่ในผู้ที่สนิทกันเท่านั้น ในทางตะวันออกที่ส่วนใหญ่ชาวยิวยังเป็นทาส ยิดดิชเป็นคำที่นักวิชาการใช้แสดงถึงความเป็นยิว ในช่วง พ.ศ. 2433 – 2453 จัดเป็นยุคทองของวรรณกรรมยิดดิช ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับการพัฒนาของภาษาฮีบรูใหม่ เพื่อใช้เป็นภาษาพูดและคำบางคำมีอิทธิพลต่อภาษายิดดิช
[แก้] พุทธศตวรรษที่ 25
ในช่วงพ.ศ. 2443 ภาษายิดดิชปรากฏชัดในฐานะของภาษาหลักในยุโรปตะวันออก มีการใช้ในวรรณคดีและภาพยนตร์มาก เป็นภาษาราชการภาษาหนึ่งของรัฐไบโลรัสเซียในโซเวียต การศึกษาของชาวยิวในหลายประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ใช้ภาษายิดดิชมากขึ้น (โดยเฉพาะในโปแลนด์) มีการตั้งสมาคมวิทยาศาสตร์ยิดดิช เมื่อ พ.ศ. 2468 และเป็นภาษากลางของชาวยิวในยุโรปตะวันออก ซึ่งปฏิเสธลัทธิไซออนิสต์ และต้องการรักษาวัฒนธรรมยิวไว้ในยุโรป ส่วนภาษาฮีบรูสมัยใหม่เป็นภาษาหลักของชาวยิวในขบวนการไซออนิสต์
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 มีผู้พูดภาษายิดดิชราว 11 – 13 ล้านคน (Jacobs, 2005) การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวลดจำนวนผู้พูดภาษายิดดิชลงไปมาก งานทางวิชาการและศาสนาที่ใช้ภาษายิดดิชถูกทำลาย ผู้พูดภาษายิดดิชรอดชีวิตเพียงราวล้านคน (ส่วนใหญ่อยู่ในอเมริกา) และจากความเข้มงวดในการใช้ภาษาเดียวของขบวนการไซออนิสต์ทำให้ผู้พูดภาษายิดดิชลดจำนวนลง เหมือนที่ภาษายิดดิชตะวันตกเคยเป็นมาก่อน
ในปัจจุบัน ภาษายิดดิชเป็นภาษาของชนส่วนน้อยในมอลโดวา และสวีเดน แต่จำนวนผู้พูดยังมีรายงานที่แตกต่างกัน ข้อมูลล่าสุดเท่าที่หาได้คือ
- อิสราเอล 215,000 คน (6% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2529)
- สหรัฐ 178,945 คน (2.8% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2543) ในจำนวนนี้ อายุมากกว่า 65 ปีมี 72,885 คน และอายุต่ำกว่า 18 ปีมี 39,245 คน
- อดีตรัฐในสหภาพโซเวียต 29,998 คน (13% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2545)
- มอลโดวา 17,000 คน (26% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2532)
- ยูเครน 3,213 คน (3.1%ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2544)
- เบลารุส 1,979 คน (7.1% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2542)
- ลัตเวีย 825 คน (7.9% ของชาวยิวทั้งหมด)
- ลิทัวเนีย570 คน (14.2% ของชาวยิวทั้งหมด)
- เอสโตเนีย 124 คน (5.8% ของชาวยิวทั้งหมด)
- แคนาดา 19,295 คน (5.5% ของชาวยิวทั้งหมด; ข้อมูล พ.ศ. 2544)
- โรมาเนีย 951 คน (16.4% ของชาวยิวทั้งหมด)
ภาษายิดดิชมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในพุทธศตวรรษนี้ ผู้พูดในอิสราเอลจะยืมคำจากภาษาฮีบรู ส่วนผู้พูดในสหรัฐและอังกฤษจะยืมคำจากภาษาอังกฤษทำให้การสื่อสารระหว่างผู้พูดภาษายิดดิชที่อยู่คนละประเทศทำได้ยากขึ้น
[แก้] ชุมชนทางศาสนา
ชุมขนชาวฮาเรคิมใช้ภาษายิดดิชในพิธีกรรมทางศาสนา แม้ว่าจะพูดภาษาฮีบรูได้ และสนับสนุนให้บุตรหลานเรียนภาษายิดดิช มีการแปลคัมภีร์เป็นภาษายิดดิชด้วย
[แก้] อ้างอิง
- ^ Yiddish, Eastern, on Ethnologue. Accessed online 17 October 2006.
- Baumgarten, Jean (transl. and ed. Jerold C. Frakes), Introduction to Old Yiddish Literature, Oxford University Press, Oxford, 2005, ISBN 0-19-927633-1.
- Birnbaum, Solomon, Yiddish - A Survey and a Grammar, Toronto, 1979
- Fishman, David E., The Rise of Modern Yiddish Culture, University of Pittsburgh Press, Pittsburgh, 2005, ISBN 0-8229-4272-0.
- Fishman, Joshua A. (ed.), Never Say Die: A Thousand Years of Yiddish in Jewish Life and Letters, Mouton Publishers, The Hague, 1981, ISBN 90-279-7978-2 (in Yiddish and English).
- Frakes, Jerold C., Early Yiddish Texts 1100-1750, Oxford University Press, Oxford, 2004, ISBN 0-19-926614-X.
- Herzog, Marvin, et.al. ed., YIVO, The Language and Culture Atlas of Ashkenazic Jewry, 3 vols., Max Niemeyer Verlag, Tubingen, 1992-2000, ISBN 3-484-73013-7.
- Jacobs, Neil G. Yiddish: a Linguistic Introduction, Cambridge University Press, Cambridge, 2005, ISBN 0-521-77215-X.
- Katz, Dovid, Words on Fire: The Unfinished Story of Yiddish, Basic Books, New York, 2004, ISBN 0-465-03728-3.
- Kriwaczek, Paul, Yiddish Civilization: The Rise and Fall of a Forgotten Nation, Weidenfeld & Nicolson, London, 2005, ISBN 0-297-82941-6.
- Lansky, Aaron, Outwitting History: How a Young Man Rescued a Million Books and Saved a Vanishing Civilisation, Algonquin Books, Chapel Hill, 2004, ISBN 1-56512-429-4.
- Liptzin, Sol, A History of Yiddish Literature, Jonathan David Publishers, Middle Village, NY, 1972, ISBN 0-8246-0124-6.
- Shandler, Jeffrey, Adventures in Yiddishland: Postvernacular Language and Culture, University of California Press, Berkeley, 2006, ISBN 0-520-24416-8.
- Weinreich, Uriel. College Yiddish: an Introduction to the Yiddish language and to Jewish Life and Culture, 6th revised ed., YIVO Institute for Jewish Research, New York, 1999, ISBN 0-914512-26-9 (in Yiddish and English).
- Weinstein, Miriam, Yiddish: A Nation of Words, Ballantine Books, New York, 2001, ISBN 0-345-44730-1.
- Wex, Michael, Born to Kvetch: Yiddish Language and Culture in All Its Moods, St. Martin's Press, New York, 2005, ISBN 0-312-30741-1.
- Wexler, Paul, Two-Tiered Relexification in Yiddish: Jews, Sorbs, Khazars, and the Kiev-Polessian Dialect, Berlin, New York, Mouton de Gruyter, 2002, ISBN 3-11-017258-5.
- [Katz, Hirshe-Dovid] 1992. Code of Yiddish spelling ratified in 1992 by the programmes in Yiddish language and literature at Bar Ilan University, Oxford University Tel Aviv University, Vilnius University. Oxford: Oksforder Yidish Press in cooperation with the Oxford Centre for Postgraduate Hebrew Studies. (כלל–תקנות פון יידישן אויסלייג. 1992. אקספארד: אקספארדער צענטער פאר העכערע העברעאישע שטודיעס) ISBN 1-897744-01-3