See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
Vim - วิกิพีเดีย

Vim

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้มีชื่อเป็นภาษาอื่น หรือใช้อักษรในภาษาอื่น เนื่องจากต้องการคงไว้ตามต้นฉบับ
Vim
ภาพ:Vimlogo.png

ผู้พัฒนา: แบรม มูลีนาร์ และคนอื่น ๆ
รุ่นล่าสุด: 7.0 / 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ระบบปฏิบัติการ: ลีนุกซ์, แมคโอเอสเท็น, ยูนิกซ์, ไมโครซอฟท์วินโดวส์
ประเภท: เอดิเตอร์
ลิขสิทธิ์: ให้ผู้ใช้บริจาคเพื่อสาธารณะกุศล
เว็บไซต์: http://www.vim.org

Vim หรือ วิม ย่อมาจาก Vi IMproved เป็นซอฟต์แวร์เสรี สำหรับเอดิเตอร์สำหรับแก้ไขไฟล์ข้อความ ใช้แทนโปรแกรม vi ที่มีอยู่เดิม สามารถทำงานบนระบบปฏิบัติการหลาย ๆ ตัว Vim พัฒนาโดย แบรม มูลีนาร์ (Bram Moolenaar) ออกเผยแพร่เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2534 นับแต่นั้นมา ก็มีการเพิ่มเติมขีดความสามารถให้กับ Vim ความสามารถหลายอย่างออกแบบมาให้เป็นประโยชน์ในการแก้ไขซอร์สโค้ดโปรแกรม Vim ในปัจจุบันถือเป็นโปรแกรมเอดิเตอร์หนึ่งในสองตัวที่เป็นที่นิยมของโปรแกรมเมอร์ อีกตัวคือ Emacs

เนื้อหา

[แก้] เรียนรู้การใช้ Vim

Vim ถือเป็นโปรแกรมที่เรียนรู้ยากตัวหนึ่ง แต่ถ้าผู้ใช้จับหลักการพื้นฐานได้ ก็สามารถใช้งานได้คล่องตัวขึ้นมาก เพื่อช่วยให้เรียนรู้เร็วขึ้น จึงมีโปรแกรมสอนวิธีใช้ Vim โดยการพิมพ์คำสั่ง vimtutor บนบรรทัดคำสั่งในยูนิกซ์ หรือคลิกบนไอคอน Vim tutor บนวินโดวส์ นอกจากนี้ภายใน Vim เองก็มีคู่มือการใช้งานโดยละเอียดซึ่งปรากฏบนจอโดยการพิมพ์คำสั่ง :help user-manual ภายใน Vim

ผู้ใช้ยังสามารถอ่าน ระบบขอความช่วยเหลือ โดยการพิมพ์คำสั่ง :help

[แก้] โหมดการแก้ไข

วิธีการติดต่อกับผู้ใช้ใน Vim มีหลายโหมดการทำงาน การกดปุ่มบนแป้นพิมพ์จะให้ผลลัพธ์แตกต่างกันขึ้นอยู่กับโหมดการทำงานในปัจจุบัน ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนไปมาระหว่างโหมดโดยให้แป้นพิมพ์ เหมาะกับผู้ที่สามารถพิมพ์สัมผัสได้ ไม่เหมือนกับเอดิเตอร์หลายตัวที่ต้องใช้เมาส์หรือเลือกคำสั่งในเมนูในการใช้งาน

Vim มีโหมดพื้นฐานอยู่ 6 โหมด และแยกย่อยจากโหมดพื้นฐานได้อีก 5 โหมด

[แก้] โหมด normal

โหมด normal เป็นโหมดที่สามารถพิมพ์คำสั่งต่าง ๆ เช่นเพื่อเคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์ ลบข้อความ เป็นต้น เวลาเริ่มต้นโปรแกรม Vim จะเข้ามาอยู่ในโหมดนี้

Vim เป็นโปรแกรมที่ใช้งานได้มีประสิทธิผลก็มาจากคำสั่งที่หลากหลายในโหมดนี้ ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการลบทั้งบรรทัดที่ตำแหน่งเคอร์เซอร์ ก็ใช้คำสั่ง dd ถ้าต้องการลบทั้งบรรทัดปัจจุบันและบรรทัดถัดไป ก็ใช้คำสั่ง dj โดยที่ d หมายถึงลบ ส่วน j เป็นปุ่มที่ใช้ในการเลื่อนเคอร์เซอร์ลง แทนที่จะใช้คำสั่ง dj ยังสามารถใช้คำสั่ง 2dd (หมายถึงทำคำสั่ง dd สองครั้ง) ก็ได้ เมื่อผู้ใช้เรียนรู้คำสั่งการเคลื่อนที่เคอร์เซอร์ต่าง ๆ และวิธีการนำคำสั่งมารวมกัน ก็สามารถใช้งานได้รวดเร็วกว่าเอดิเตอร์แบบที่ไม่มีโหมด

เมื่ออยู่ในโหมดนี้ สามารถเข้าไปในโหมด insert สำหรับแทรกข้อความได้หลายทาง เช่น ใช้ปุ่ม a (หมายถึง append หรือพิมพ์ต่อท้าย) หรือ i (หมายถึง insert หรือพิมพ์แทรก)

[แก้] โหมดย่อย operator-pending

โหมดนี้เป็นโหมดย่อยของโหมด normal เมื่อผู้ใช้ป้อนคำสั่งและโปรแกรม Vim รอผู้ใช้เคลื่อนย้ายเคอร์เซอร์เพื่อให้คำสั่งสมบูรณ์ Vim ยังสามารถรับคำสั่งแทนการขยับเคอร์เซอร์ (เรียกว่า text object) เช่น aw หมายถึง คำ (word) as หมายถึง ประโยค (sentense) ap หมายถึงย่อหน้า (paragraph) ตัวอย่างการใช้เช่น คำสั่ง d2as จะลบประโยคปัจจุบันและประโยคถัดไป

[แก้] โหมดย่อย insert normal

เป็นอีกโหมดย่อยของโหมด normal Vim จะเข้าโหมดนี้เมื่อผู้ใช้กดปุ่ม control-o ขณะอยู่ในโหมด insert Vim จะเข้ามาอยู่ในโหมด normal แต่จะรับเพียงคำสั่งเดียวแล้วกลับไปยังโหมด insert โดยอัตโนมัติ

[แก้] โหมด visual

ในโหมดนี้เวลาเลื่อนเคอร์เซอร์จะทำให้ข้อความถูกไฮไลต์ตาม จนกว่าจะใส่คำสั่งเพื่อจัดการกับข้อความที่ถูกเลือกนั้น สามารถใช้คำสั่ง text object ในโหมดนี้ได้ด้วย

[แก้] โหมดย่อย insert visual

เข้าโหมดนี้จากโหมด insert โดยกดปุ่ม control-o จะเข้าโหมดนี้เพื่อเลือกข้อความ เมื่อเลือกเสร็จจะกลับไปโหมด insert ตามเดิม

[แก้] โหมด select

คล้ายกับการเลือกข้อความในไมโครซอฟท์วินโดวส์ สามารถใช้ปุ่มลูกศรหรือเมาส์เลือกข้อความ แต่เมื่อพิมพ์ตัวอักษรลงไป ข้อความเดิมที่ถูกเลือกจะถูกลบทิ้งไป และ Vim จะเข้าสู่โหมด insert พร้อมทั้งแทรกตัวอักษรที่เพิ่งพิมพ์เข้าไป

[แก้] โหมดย่อย insert select

เข้าสู่โหมดนี้โดยการใช้เมาส์ลากบนข้อความ หรือใช้ปุ่มลูกศรร่วมกับปุ่ม shift เมื่อเลือกเสร็จ Vim จะกลับไปโหมด insert

[แก้] โหมด insert

โหมดนี้ ข้อความต่าง ๆ ที่พิมพ์เข้าไป จะไปปรากฏอยู่ในข้อมูลไฟล์ เป็นโหมดที่ผู้ใช้คุ้นเคยเมื่อใช้โปรแกรมเอดิเตอร์อื่น ๆ

เวลาจะออกจากโหมด insert ไปยังโหมด normal ให้กดปุ่ม ESC

[แก้] โหมดย่อย replace

โหมดนี้เป็นโหมด insert แบบพิเศษ แทนที่จะไปแทรกในเอกสาร ตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไปจะไปทับของเก่า

[แก้] โหมด command-line

ในโหมด command-line สามารถพิมพ์คำสั่งหนึ่งบรรทัด ซึ่งอาจเป็นคำสั่ง (ขึ้นต้นบรรทัดด้วยตัวอักษร :) ค้นหา (ขึ้นต้นด้วย / หรือ ?) หรือ คำสั่ง filter (ขึ้นต้นด้วย !)

[แก้] โหมด ex

เหมือนโหมด command-line แต่สามารถพิมพ์คำสั่งได้เรื่อย ๆ จนกว่าจะใส่คำสั่ง visual

[แก้] โหมด evim

เป็นโหมดพิเศษสำหรับ GUI โดย Vim จะจำลองตัวเองเหมือนกับเอดิเตอร์อื่นที่ไม่มีโหมด เอดิเตอร์จะเริ่มทำงานในโหมด insert ผู้ใช้สามารถใช้เมนู เมาส์ ปุ่มควมคุมบนแป้นพิมพ์ เช่น ปุ่มลูกศร สามารถเข้าโดยการพิมพ์ evim บนบรรทัดคำสั่งในยูนิกซ์ หรือ คลิกบนไอคอน evim ในวินโดวส์

[แก้] ความสามารถที่เพิ่มจาก vi

Vim สามารถทำงานจำลองได้ใกล้เคียงกับ vi และยังมีขีดความสามารถุเพิ่มเติมเช่น

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Vim เป็นบทความเกี่ยวกับ ซอฟต์แวร์ หรือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ Vim ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -