See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ไทยออยล์ - วิกิพีเดีย

ไทยออยล์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยโรงกลั่นน้ำมันอยู่ที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ปัจจุบันบริษัท มีกำลังการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ประมาณ 220,000 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นประมาณร้อยละ 21 ของกำลังการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมทั้งหมดในประเทศ นอกจากนี้ ยังประกอบธุรกิจอื่นผ่านการถือหุ้นในบริษัทต่างๆ ซึ่งประกอบธุรกิจผลิตไฟฟ้า ธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ธุรกิจการผลิตพาราไซลีน และธุรกิจขนส่งน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี

[แก้] ประวัติบริษัท

  • ปี 2504 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดตั้งขึ้น โดยได้เข้าทำสัญญาจัดสร้าง และประกอบกิจการโรงกลั่นน้ำมันที่อำเภอศรีราชาในรูปแบบการสร้าง-บริหาร-โอน (Build-Operate-Transfer : BOT) เป็นระยะเวลายี่สิบปีจากกระทรวงอุตสาหกรรม
  • ปี 2507 บริษัทเริ่มดำเนินกิจการโรงกลั่นน้ำมัน เมื่อการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันหน่วยแรก (TOC-1) แล้วเสร็จ ด้วยกำลังการกลั่นน้ำมันดิบจำนวน 35,000 บาร์เรลต่อวัน พร้อมใช้หน่วยแตกโมเลกุล ด้วยสารเร่งปฏิกิริยา (Fluidized Catalytic Cracking Unit)
  • ปี 2510 บริษัทได้รับอนุมัติจากรัฐบาลในการขยายโรงกลั่นน้ำมัน
  • ปี 2513 บริษัทสามารถเพิ่มกำลังการกลั่นน้ำมันอีก 30,000 บาร์เรลต่อวัน โดยการสร้างโรงกลั่นน้ำมันหน่วยที่สอง (TOC-2) พร้อมหน่วยแตกโมเลกุลด้วยความร้อน (Thermal Cracking Unit) ทำให้บริษัทฯ มีกำลังการกลั่นน้ำมันรวมทั้งสิ้น 65,000 บาร์เรลต่อวัน
  • ปี 2524 ครบอายุของสัมปทานใน ในวันที่ 18 กันยายน 2524 บริษัทฯ ได้ทำการโอนคืนทรัพย์สินของบริษัท ซึ่งได้แก่กรรมสิทธิ์ในที่ดินและโรงกลั่นน้ำมัน TOC-1 และ TOC-2 ให้แก่กระทรวงอุตสาหกรรม ตามเงื่อนไขในสัญญาจัดสร้างและประกอบกิจการ
  • ปี 2532 หลังจากที่บริษัทได้ทำการติดตั้งหน่วยแตกโมเลกุล ด้วยสารเร่งปฏิกิริยาโดยใช้ไฮโดรเจนร่วม (Hydrocracking Complex) และหน่วยผลิตอื่น ๆแล้ว ทำให้บริษัทมีกำลังการกลั่นน้ำมันเพิ่มขึ้น จาก 65,000 บาร์เรลต่อวันเป็น 90,000 บาร์เรลต่อวัน
  • ปี 2535 วันที่ 11 กันยายน บริษัทได้ทำการซื้อทรัพย์สินโรงกลั่นน้ำมันทั้งหมดที่บริษัทเช่าอยู่ คือโรงกลั่นน้ำมัน TOC-1 และ TOC-2 จากกระทรวงอุตสาหกรรม และได้เข้าทำสัญญาเช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์เป็นระยะเวลา 30 ปี สิ้นสุดวันที่ 10 กันยายน 2565
  • ปี 2536 ภายหลังจากการขยายกิจการโรงกลั่นน้ำมันครั้งที่ 2 เป็นที่เรียบร้อย โรงกลั่นน้ำมันของบริษัทฯ กลายเป็นโรงกลั่นน้ำมันเดี่ยว (Single-Site) ที่ใหญ่ที่สุด และเป็นโรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refinery) ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศ ด้วยกำลังการกลั่นน้ำมันดิบถึง 190,000 บาร์เรลต่อวัน
  • ปี 2537 บริษัทได้เพิ่มกำลังการผลิตของหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ (Crude Distillation Unit) ให้มีกำลังการกลั่นน้ำมันอีก 15,000 ต่อวัน
  • ปี 2538 วันที่ 6 มกราคม บริษัททำพิธีเปิดหน่วยกลั่นที่ 4 (TOC-4) พร้อมวางศิลาฤกษ์หน่วยไฮโดรแครกเกอร์ หน่วยที่ 2 โดยมีคุณชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี
  • ปี 2540 วันที่ 28 พฤศจิกายน บริษัทมีโอกาสได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนิน ทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์โรงไฟฟ้า พลังงานความร้อนร่วม และโรงงานผลิตสารพาราไซลีน ตลอดจนทรงเปิดโรงกลั่นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน
  • ปี 2541 ผลจากการที่รัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 ทำให้หนี้เงินกู้ต่างประเทศของบริษัท ในมูลค่าเงินบาทเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งภาวะวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลกระทบให้ความต้องการใช้น้ำมันลดลง บริษัทประสบปัญหาทางการเงิน และมีความจำเป็นต้องประกาศพักชำระหนี้อย่างเป็นทางการ รวมทั้งจัดประชุมเจ้าหนี้เพื่อขอเจรจาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในเดือนพฤศจิกายน
  • ปี 2543 ศาลล้มละลายกลางได้อนุมัติแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทในเดือนมีนาคม และต่อมาในเดือนเมษายน บริษัทได้บรรลุข้อตกลงในสัญญาหลักในการปรับโครงสร้างหนี้
  • ปี 2544 วันที่ 11 มกราคม บริษัทสนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยร่วมมือกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา นำร่องผลิตแก๊สโซฮอล์ เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ของพลังงานไทย ภายใต้โครงการ “ จำหน่ายแก๊สโซฮอล์ เพื่อประชาชน ”
  • ปี 2546 นำร่องผลิตน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำ (350 ส่วนในล้านส่วน) เพื่อรองรับข้อกำหนดคุณภาพน้ำมันดีเซลใหม่ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ต้นปี 2547
  • ปี 2547 เดือนเมษายน บริษัทฯ ได้จัดหาเงินกู้ยืมใหม่ (Refinance) ซื้อหนี้คืนและแลกเปลี่ยนหนี้เงินกู้ยืมระยะยาวเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในทางการเงิน และลดต้นทุนเงินกู้ยืมในอัตราสะท้อนสินเชื่อที่แข็งแกร่งขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้แล้ว ในเดือนมิถุนายน บริษัทฯ ชำระหนี้ก่อนกำหนดประมาณ 100 ล้านเหรียญสหรัฐ วันที่ 9 สิงหาคม บริษัทได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) วันที่ 20 ตุลาคม บริษัทลงนามในสัญญาซื้อหุ้น บจ.ไทยพาราไซลีนและ บมจ.ไทยลู้บเบสจากผู้ถือหุ้นรายอื่น ส่งผลให้บริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดในบริษัททั้งสอง วันที่ 26 ตุลาคม บริษัทฯ เข้าจดทะเบียนเพื่อทำการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เป็นวันแรก ราคาเปิดที่ 42 บาทต่อหุ้น สูงกว่าราคาจอง (32 บาทต่อหุ้น) ร้อยละ 31 วันที่ 16 ธันวาคม บริษัทลงนามในสัญญาซื้อขายหุ้น บจ.ผลิตไฟฟ้าอิสระ ร้อยละ 24 จากบริษัท ยูโนแคล เอเชีย แปซิฟิก เวนเจอร์ส ส่งผลให้บริษัทฯ ถือหุ้นใน บจ.ผลิตไฟฟ้าอิสระทั้งสิ้นร้อยละ 55
  • ปี 2548 บริษัทประสบความสำเร็จในการเสนอขายหุ้นกู้ในตลาดต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ สิงคโปร์ ฮ่องกง และกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม – 1 มิถุนายน ด้วยวงเงินรวม 350 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 14,000 ล้านบาท) และบริษัท มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ยังได้ประกาศให้หุ้นกู้ของบริษัทฯ ได้เครดิตเฉพาะกาลหุ้นกู้สกุลเงินดอลลาร์ที่ระดับ (P) Baa1 ซึ่งเทียบเท่ากับ BBB+ ขณะที่ S&P ได้จัดลำดับความน่าเชื่อถือของบริษัทฯ ไว้ที่ BBB

[แก้] ธุรกิจและผลิตภัณฑ์

ปัจจุบันไทยออยล์ประกอบธุรกิจต่างๆ ได้แก่

  • ธุรกิจการกลั่น
    • ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป
      • น้ำมันชนิดเบา (Light-Distillate) 33% ได้แก่ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) , Mixed Xylenes, น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว (ULG) ออกเทน 91, 95
      • น้ำมันชนิดกลาง (Middle Distillate) 56% ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน (Jet) , น้ำมันก๊าด (Kerosene) , น้ำมันดีเซล
      • น้ำมันชนิดหนัก (Heavy Oil) 11% ได้แก่ น้ำมันเตา, ยางมะตอย และกำมะถันเหลว

บริษัทรับน้ำมันดิบตะวันออกกลาง 75% เอเชียตะวันออก 5% และจากแหล่งในประเทศ (น้ำมันดิบเพชร, น้ำมันดิบปัตตานี และคอนเดนเสทจากอ่าวไทย) 20%

  • ธุรกิจปิโตรเคมี บริษัทผลิตสารพาราไซลีน 289,000 ตันต่อปี แต่หลังจากเปลี่ยนสารเร่งปฏิกิริยาเคมีเมื่อต้นปี 2548 ก็สามารถเพิ่มการผลิตเป็น 348,000 ตันต่อปี ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขยายกำลังการผลิตขั้นที่ 2 เป็น 407,000 ตันต่อปี
  • ธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน บริษัทผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานขนาด 270,000 ตันต่อปี ยางมะตอย 400,000 ตันต่อปี และผลิตผลพลอยได้อื่นๆ 270,000 ตันต่อปี ปัจจุบันกำลังดำเนินโครงการปรับปรุง ประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มผลกำไร (Hydrocarbon Management) และเตรียมแผนการลงทุน เพื่อผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานกลุ่มที่ 2 และ 3 ซึ่งมีคุณภาพและมูลค่าสูงขึ้น
  • ธุรกิจขนส่ง
    • ไทยออยล์มารีน (TOM)
    • ท่อส่งปิโตรเลียมไทย (THAPPLINE)
  • ธุรกิจการผลิตไฟฟ้า
    • ไทยออยล์เพาเวอร์ (TP)
    • ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPT)

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -