See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
ไดโนเสาร์ในประเทศไทย - วิกิพีเดีย

ไดโนเสาร์ในประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เนื้อหา

[แก้] ธรณีวิทยาประเทศไทยที่เกี่ยวข้อง

เนื่องจากไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ในช่วงมหายุคเมโซโซอิก ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์จึงอยู่ในชั้นของหินตะกอนที่สะสมตัวกันในช่วงนี้ ซึ่งในประเทศไทย หินที่มีอายุดังกล่าวพบอยู่ทั่วไปในบริเวณที่ราบสูงโคราช และพบอยู่เป็นแห่งๆ ในภาคเหนือและภาคใต้ หินบริเวณที่ราบสูงโคราชนั้น เรียกว่า กลุ่มหินโคราช ซึ่งแบ่งออกเป็นหมวดหินย่อยๆ ได้อีก 6 หมวด คือ

  • หมวดหินน้ำพอง (มีอายุ 200 ล้านปี)
  • หมวดหินภูกระดึง (มีอายุ 190-150 ล้านปี)
  • หมวดหินพระวิหาร (มีอายุ 140 ล้านปี)
  • หมวดหินเสาขัว (มีอายุ 130 ล้านปี)
  • หมวดหินภูพาน (มีอายุ 120 ล้านปี)
  • หมวดหินโคกกรวด (มีอายุ 100 ล้านปี)

[แก้] ประวัติการค้นพบ

การค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นได้ไม่นาน โดยในปี พ.ศ. 2519 กรมทรัพยากรธรณีได้ค้นพบโครงกระดูกขนาดใหญ่ในเขตอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งผลการวิจัยขณะนั้นทราบเพียงว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด มีความยาวประมาณ 15 เมตร นับว่าเป็นรายงานการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 และ พ.ศ. 2525 ได้มีการสำรวจที่บริเวณภูเวียงอีกทำให้พบกระดูกส่วนต่างๆ ของไดโนเสาร์และสัตว์อื่นๆ เป็นจำนวนมากอยู่ในชั้นหิน จึงนับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์อย่างจริงจัง

[แก้] ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในประเทศไทย

ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ที่ถูกค้นพบในประเทศไทย สามารถแยกออกเป็นหมวดหมู่ได้ดังนี้

[แก้] ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในยุคไทรแอสสิก

  • พ.ศ. 2550 ได้สำรวจพบพบชิ้น ส่วนไดโนเสาร์ในพื้นที่ อ.ภูกระดึง จ.เลย ได้ขุดชิ้นส่วนกระดูกไดโนเสาร์ส่วนขา สันหลังจำนวนกว่า 10 ชิ้นที่อยู่ในสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ คาดว่าเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อในยุคไทรแอสสิก อายุประมาณ 210 ล้านปี โดยเจอที่ชั้นกลุ่มหินน้ำพองห่างจากภูกระดึงประมาณ 6 กม.[1]

[แก้] ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในยุคไทรแอสสิกตอนปลาย

  • ในปี พ.ศ. 2535 กรมทรัพยากรธรณีสำรวจพบกระดูกสะโพกส่วนหน้าของไดโนเสาร์โพรซอโรพอด ที่ชั้นหินทรายสีแดงของหมวดหินน้ำพอง ในเขตอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุประมาณ 200 ล้านปี นับเป็นโครงกระดูกไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และนับเป็นการพบซากดึกดำบรรพ์โพรซอโรพอดเป็นครั้งแรกในภูมิภาคนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับฟอสซิลชนิดนี้จากแหล่งต่างๆ ทั่วโลก พบว่าโพรซอโรพอดของไทยมีขนาดใหญ่ แข็งแรง อาจยาวถึง 8 เมตร

[แก้] ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในยุคจูแรสสิก

  • ในปี พ.ศ. 2539 คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศสได้พบแหล่งซากดึกดำบรรพ์ฟันไดโนเสาร์ที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ในชั้นหินของหมวดหินภูกระดึง อายุประมาณ 150-190 ล้านปี เป็นฟันของไดโนเสาร์เทอโรพอด ไดโนเสาร์ซอโรพอด และไดโนเสาร์สเทโกซอร์ ซึ่งเป็นการพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์สเทโกซอร์ครั้งแรกในประเทศไทย
  • ซากดึกดำบรรพ์คอมพ์ซอกนาธัส
คอมพ์ซอกนาธัสเป็นไดโนเสาร์ที่มีขนาดตัวเล็กที่สุด แต่เดิมพบเฉพาะในบริเวณประเทศเยอรมนี และประเทศฝรั่งเศส สำหรับในประเทศไทยพบซากดึกดำบรรพ์คอมพ์ซอกนาธัสที่บริเวณประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกค้นพบเป็นกระดูกชิ้นเล็กๆ สองชิ้น มีรูกลวงตรงกลางคล้ายกระดูกนกหรือกระดูกไก่ หลังการตรวจสอบพบว่าเป็นกระดูกขาหลังท่อนล่างชิ้นหนึ่ง และเป็นกระดูกขาหน้าชิ้นบนอีกชิ้นหนึ่ง ของไดโนเสาร์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับคอมพ์ซอกนาธัสที่พบในแคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี

[แก้] ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียส

มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในยุคครีเทเชียสเป็นจำนวนมากในประเทศไทย ซึ่งจำแนกออกได้ดังนี้

[แก้] การค้นพบรอยเท้าไดโนเสาร์

พบในชั้นหินของหมวดหินพระวิหาร อายุประมาณ 140 ล้านปี บริเวณที่พบมี 4 แห่ง ได้แก่

  • บริเวณลานหินป่าชาด อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
พบรอยเท้าไดโนเสาร์ซึ่งทำให้ทราบว่าเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ เดินด้วยขาหลัง เคลื่อนไหวว่องไว มีขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังพบรอยเท้าไดโนเสาร์พวกคาร์โนซอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่า
พบรอยเท้าไดโนเสาร์เทอโรพอดขนาดใหญ่ มีรอยเท้ากว้าง 26 ซม. ยาว 31 ซม. รวมทั้งพวกออร์นิโธพอดและซีลูโรซอร์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็ก รอยเท้ากว้าง 14 ซม. ยาว 13.7 ซม.
พบรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่พวกคาร์โนซอร์ รอยเท้ากว้าง 40 ซม. ยาว 45 ซม.
พบรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดย่อม แต่ยังไม่ได้ศึกษารายละเอียด

[แก้] ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์บริเวณแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูเวียง

มีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์หลายชนิดในชั้นหินของหมวดหินเสาขัว บริเวณแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูเวียง ดังนี้

สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส ในแสตมป์
สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส ในแสตมป์
ซากดึกดำบรรพ์สยามโมไทรันนัส ถูกค้นพบที่บริเวณหินลาดยาว อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2536 โดยพบกระดูกสันหลังหลายชิ้นโผล่ออกมาจากชั้นดินทรายสีแดงของหินหมวดเสาขัว ต่อมาพบกระดูกสะโพกด้านซ้าย และกระดูกส่วนหางอีกหลายชิ้นเรียงต่อกัน หลังจากที่คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศสได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดแล้วก็พบว่า เป็นไดโนเสาร์ตระกูลใหม่ของไทย จึงได้ตั้งชื่อว่า สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis)
ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน
ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน
ซากดึกดำบรรพ์ภูเวียงโกซอรัส ถูกค้นพบที่บริเวณประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วยกระดูกสันหลังส่วนคอ 3 ชิ้น กระดูกสันหลังส่วนกลางตัว 4 ชิ้น กระดูกซี่โครงหลายชิ้น กระดูกสะบักซ้ายและส่วนปลายสะบักขวา กระดูกต้นขาหน้าซ้าย บางส่วนของกระดูกแขน กระดูกสะโพกทั้งสองข้าง กระดูกต้นขาทั้งสองข้าง และกระดูกหน้าแข้งซ้าย ลักษณะของกระดูกที่พบบอกได้ว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอดขนาดใหญ่ มีขนาดใกล้เคียงกับ คัมมาราซอรัส ที่ถูกค้นพบในทวีปอเมริกาเหนือ แต่ไม่เหมือนกันทีเดียว จึงอัญเชิญพระนามาภิไธย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาตั้งเป็นชื่อใหม่ว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosauraus sirindhornae)
สยามโมซอรัส สุธีธรนิ ในแสตมป์
สยามโมซอรัส สุธีธรนิ ในแสตมป์
  • ซากดึกดำบรรพ์ สยามโมซอรัส สุธีธรนิ
ซากดึกดำบรรพ์สยามโมซอรัส พบเพียงแค่ฟัน ที่บริเวณประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยฟันที่ค้นพบมีลักษณะเป็นแท่งกรวยปลายแหลม มีสันเล็กๆ ยาวตลอดฟัน ซึ่งต่างจากฟันของไดโนเสาร์เทอโรพอดทั่วไป ที่แบน และมีรอยหยัก สันนิษฐานว่าสยามโมซอรัสเป็นเทอโรพอดที่มีลักษณะปากคล้ายสัตว์เลื้อยคลานพวกกินปลา หรือเพลสซิโอซอร์ และได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายวราวุธ สุธีธร ผู้ค้นพบ ว่า สยามโมซอรัส สุธีธรนิ (Siamosaurus suteethorni)
  • ซากดึกดำบรรพ์คาร์โนซอร์
ซากดึกดำบรรพ์คาร์โนซอร์ พบเพียงแค่ฟัน ที่บริเวณประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น โดยฟันที่ค้นพบมีลักษณะแบน ปลายแหลม โค้งงอเล็กน้อยคล้ายมีดโค้ง ที่ขอบมีรอยหยักเหมือนมีดหั่นเนื้อ ฟันลักษณะนี้เป็นฟันของไดโนเสาร์กินเนื้อขนาดใหญ่พวกเทอโรพอด ซึ่งคาดว่าเป็นไดโนเสาร์คาร์โนซอร์

จากการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์เป็นจำนวนมากที่แหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ภูเวียงนี่เอง ทำให้บริเวณนี้ถูกประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ ภูเวียง ในปี พ.ศ. 2535 และเป็นอุทยานไดโนเสาร์แห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

[แก้] ซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์อื่นๆ
ซิตตาโคซอรัส สัตยารักษ์กิ ในแสตมป์
ซิตตาโคซอรัส สัตยารักษ์กิ ในแสตมป์
  • ซากดึกดำบรรพ์ซิททาโคซอรัส
ซิตตาโคซอรัส เป็นไดโนเสาร์ปากนกแก้วชนิดหนึ่ง แต่เดิมพบเฉพาะในบริเวณประเทศจีน ประเทศมองโกเลีย และไซบีเรีย สำหรับในประเทศไทยพบซากดึกดำบรรพ์ซิททาโคซอรัสที่จังหวัดชัยภูมิ ในชั้นหินของหมวดหินโคกกรวด ซึ่งประกอบด้วย ส่วนที่เป็นกะโหลกด้านซ้าย และกรามล่างด้านขวาที่มีฟันครบ และได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ นายนเรศ สัตยารักษ์ ผู้ค้นพบ ว่า ซิตตาโคซอรัส สัตยารักษ์คิ (Psittacosaurus sattayaraki)
  • ซากดึกดำบรรพ์อิกธิโอซอร์
ดร.จงพันธ์ จงลักษมณี นักโบราณชีววิทยาของกรมทรัพยากรธรณี ได้พบฟอสซิลของอิกธิโอซอร์ ขนาดตัวยาวเพียง 20 ซม. ในหินปูนยุคไทรแอสสิกตอนปลาย ที่เขาทอง จังหวัดพัทลุง อิกธิโอซอร์ที่พบตัวนี้มีวิวัฒนาการอยู่ในช่วงปรับตัวเพื่อใช้ชีวิตในทะเลยังไม่สมบูรณ์ดี แขนทั้งสองข้างยังเปลี่ยนเป็นใบพายไม่สมบูรณ์นัก รูปร่างและโครงสร้างของกะโหลกยังเหลือร่องรอยของการสืบทอดจากสัตว์บกอยู่มาก
ฟอสซิลของอิกธิโอซอร์ชิ้นนี้นั้บเป็นอิกธิโอซอร์ที่โบราณมาก แตกต่างไปจากพวกที่เคยพบมาแล้ว จึงได้ชื่อใหม่ว่า "ไทยซอรัส จงลักษมณี" (Thaisaurus chonglakmanii) เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ค้นพบ

[แก้] อ้างอิง

  • บทความจากกรมทรัพยากรธรณี
  • เสริมสกุล โทณะวณิก, 'ไดโนเสาร์และสัตว์ดึกดำบรรพ์ในประเทศไทย, สุวีริยาสาส์น, 2540. ISBN 9748265682.
  1. ^ http://www.bangkokbiznews.com/2007/10/16/WW55_5507_news.php?newsid=192671

[แก้] หนังสืออ่านเพิ่มเติม

  • วราวุธ สุธีธร, ไดโนเสาร์ของไทย, ฝ่ายเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมทรัพยากรธรณี, 2545. ISBN 9740125999.


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -