แพกเกตสวิตชิง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
packet switching (แพกเกตสวิตชิง) ใช้ในการติดต่อสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายดิจิตอลความเร็วสูง แพกเกตสวิตชิง เป็นเทคนิคในการหาเส้นทางให้กับแต่ละ แพกเกตที่มีจุดหมายปลายทางต่างกัน ปลายทาง คือ DTE( Data Terminal Equipment ) อุปกรณ์ที่ช่วยถ่ายทอดข่าวสารคือ DCE ( Data Communication Equipment )
Layerของ การทำงานของ แพกเกตสวิตชิง จำทำหน้าที่จัดหาเส้นทาง จากเส้นทาง(ต้นทาง) ไปยังเส้นทาง(ปลายทาง) Packet Switching สามารถนำไปใช้ได้กับเครื่อง ATM และสามารถนำไปใช้กับ โทรศัพท์มือถือได้ด้วยบริการที่เรียกว่า GPRS สำหรับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายแพ็กเก็จสวิตชิ่ง ข้อมูลจะถูกส่งออกไปทีละแพ็กเก็จเรียง ลำดับตามกันถ้ามีข้อผิดพลาดในแพ็กเก็จขึ้นทำให้การส่งข้อมูลในเครือข่ายแพ็กเก็จสวิตชิ่งสามารถ ทำงาน ได้เร็วมากจนดูเหมือนกับไม่มีการเก็บกักข้อมูลเลยสวิตชิ่งนั้นก็จะทำการร้องขอให้สวิตชิ่ง ก่อนหน้านั้นส่งเฉพาะแพ็กเก็จที่มีความผิดพลาดนั้นมาให้ใหม่ และไม่จำเป็นจะต้องรอให้ผู้ส่งทำ การส่งข้อมูลมาให้ครบทุกแพ็กเก็จแล้วจึงค่อยส่งข้อมูลไป Packet Switching นั้นมีประสิทธิภาพมากในการสื่อสาร การสื่อสารแบบเป็น Packet Switching มีประสิทธิภาพสูงทั้งในด้านกระบวนการทำงาน และการติดต่อระหว่างเครื่อง Server ทั้งสองเครื่อง
Packet Switching ข้อมูลทั้งหมดจะถูกแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ เรียกว่า Packet แล้วทำการเพิ่มส่วนรายละเอียดที่จะบอกถึงลำดับของส่วนย่อยและ ผู้รับปลายทาง แล้วส่งไปยังทุกๆเส้นทางโดยกระจัดกระจายแยกกันไปโดย จะมีอุปกรณืที่แยกและตรวจสอบว่าสายที่จะส่งไปนั้นว่างถ้าว่างจึงส่งไป เมื่อส่วนย่อยของสารข้อมูลทั้หมดมาถึงปลายทางฝั่งผู้รับก็จะนำมารวมกันเป็นข่าวสารชิ้นเดียวกัน
การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายแพ็กเก็จสวิตชิ่ง ข้อมูลจะถูกส่งออกไปทีละแพ็กเก็จเรียงตามลำดับ ภายในการส่งข้อมูลในเครือข่ายแพ็กเก็จสวิตชิ่ง สามารถทำงานได้รวดเร็วมากจนเหมือนกับไม่มีการเก็บข้อมูลเลย ก้าเกิดผิดพลาดจะปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ Layer ที่สูงกว่าจัดการให้ และจะไม่รอให้ผู้ส่งทำการส่งข้อมูลให้ครบทุกแพ็กเก็จก่อนค่อยส่งข้อมูลไป
แพกเกตสวิตชิงใช้หลักการ Store&Forword การรับส่งข้อมูลจะเรียกหน่วยย่อยว่า "Packet" โดยจะทำงานแบบไม่ต้องรอให้ "message" ครบทั้งหมดก่อนค่อยส่งข้อมูลออกไป ทั่วไปแล้ว แต่ละ แพกเกตจะมีความยาวประมาณ 64Byte(512 bits) ต่อหนึ่ง Packet ซึ่งเป็นข้อดีเพราะว่าแต่ละ แพกเกตมีขนาดเล็ก ทำให้ชุมสายใช้เวลาน้อยในการส่งแต่ละแพกเกตส่งผลให้การ รับ-ส่ง แพกเกตเป็นไปได้อย่างรวดเร็วมากเหมาะกับการทำงาน On-Line ตลอดเวลาหรือ interactive ตลอดเวลา
แต่ละ packet จะมีโครงสร้าง่ายๆ ประกอบไปด้ยส่วนที่ถูกเพิ่มเติม(Packer Overhead) และส่ยนที่เป็นข้อมูลของผู้ใช้งาน (User Date) ส่วน Packer Overhead ประกอบด้วยข้อมูลเกียวกับ Address (ฝั่งปลายทาง)ซึ่งแต่ละ node หรือแต่ละชุมสายที่ใช้งานรับส่งข้อมูลจำเป็นจะต้องใช้ ข้อมูลนี้ตลอดการรับส่ง
เทคโนโลยีของ Packet Switching Time Domain Multiplexing ระบบ TDM เป็นการมัลติเพล็กซ์ที่แต่ละช่องสัญญาณมีแบนด์วิดธ์แบบคงที่ (Fixed Bandwidth)ซี่งจะใช้ งานได้ดีมากสำหรับการรับส่งที่ต้องการอัตราบิตที่ต่อเนื่อง (Continous Bit Rate : CBR) เช่น traditional voice and video แต่ถ้าจะใช้งานกับข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีทราฟฟิกเป็นแบบ bursty traffic (ทราฟฟิกที่มีขนาดไม่คงที่คืออาจจะมีการเปลี่ยนแปลงขนาดอย่างฉับพลัน)
ประโยชน์ของ Packet Switching • รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูง และใช้เวลาในการส่งน้อยาเหมาะสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย LAN หลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกันเช่น WAN • มีความผิดพลาดในการรับส่งข้อมูลน้อยมากๆ • สามารถลดคอมพิวเตอร์ใหเมีขนาดเล็กลง และสามารถกระจายศูนย์กลาง ประมวลผลได้ • สามารถรองรับการเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่องค์กรใช้งาน เช่น ICP/IP • ควบคุมค่าใช้จ่ายได้คงที่แน่นอน • รับประกันความรวดเร็วในการส่งข้อมูล (Committed Information Rate – CIR)
สรุป... การรส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายแพ็กเก็จสวิตชิ่งนั้น ขนาดของของข้อมูลถูกจำกัดขนาด จึงต้องแบ่งบล็อกข้อมูลออกเป็นแพ็กเก็จ (Packet)ทั้งนี้เพื่อให้มีขนาดเล็กลง และให้สถานี สวิตช์สามารถเก็บกักข้อมูลไว้ในหน่วยความจำ (Buffer)ชั่วคราวได้โดยไม่ต้องใช้ดิสก์สำรอง
เครือข่ายแพ็กเก็จสวิตชิ่งเป็นการรวมเอาข้อดีของเครือข่ายทั้งสองมารวมกัน คือ เครือข่ายเซอร์กิต (Circuit Switching) สวิตช์และเครือข่ายแมสเสจต์สวิตช์ (Message Switching)เข้าด้วยกัน และกำจัดข้อเสียของเครือข่ายทั้งสองชนิดนี้ด้วย แต่ ลักษณะทั่วไปแล้วเครือข่ายแพ็กเก็จสวิตชิ่งจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับเครือข่ายแมดเสดสวิตช์มากกว่า
สำหรับการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายแพ็กเก็จสวิตชิ่ง ข้อมูลจะถูกส่งออกไปทีละแพ็กเก็จเรียง ลำดับตามกันโดยใช้วิธี (Store-and-forward)ถ้ามีข้อผิดพลาดในแพ็กเก็จขึ้น สวิตชิ่งนั้นก็จะทำการร้องขอให้สวิตชิ่งก่อนหน้านั้นส่งเฉพาะแพ็กเก็จที่มีความผิดพลาดนั้นมาให้ ใหม่ ไม่จำเป็นจะต้องรอให้ผู้ส่งทำการส่งข้อมูลมาให้ครบทุกแพ็กเก็จแล้วจึงค่อยส่งข้อมูลไป ให้สถานีอื่นต่อไป การทำงานแบบนี้จะทำให้การส่งข้อมูลในเครือข่ายแพ็กเก็จสวิตชิ่งสามารถ ทำงาน ได้เร็วมากจนดูเหมือนกับไม่มีการเก็บกักข้อมูลเลย ลักษณะอย่างหนึ่งที่สำคัญมากสำหรับเครือข่ายแพ็กเก็จสวิตชิ่ง คือ การเลือกการจัดวงจร (เส้นทาง) ของข้อมูลเป็นแบบวงจรเสมือน ( Virtual Circuit) และแบบวงจรดาต้าเกรม ( Datagram Circuit)
แพกเกตสวิตชิง เป็นบทความเกี่ยวกับ การสื่อสาร และโทรคมนาคม ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ แพกเกตสวิตชิง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |