See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
เหมืองแม่เมาะ - วิกิพีเดีย

เหมืองแม่เมาะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

พระราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนพฤกษชาติแม่เมาะ
พระราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนพฤกษชาติแม่เมาะ
สายพานลำเลียง ได้รับการคลุมปิดตลอดแนว
สายพานลำเลียง ได้รับการคลุมปิดตลอดแนว

เหมืองแม่เมาะ ตั้งอยู่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นเหมืองถ่านหินลิกไนต์ ซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

[แก้] เหมืองแม่เมาะก่อนปี 2470

กิจการเหมืองลิกไนต์ เริ่มเมื่อปี 2460 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ด้วยกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ทรงมีพระประสงค์จะสงวนป่าไม้ จึงโปรดให้ทำการสำรวจหาเชื้อเพลิงอย่างอื่น เพื่อนำเอามาใช้แทนฟืนสำหรับหัวรถจักรไอน้ำของรถไฟ โดยว่าจ้างชาวต่างประเทศ ให้มาดำเนินการสำรวจในระยะแรก ต่อมาระหว่างปี 2464 - 2466 ได้ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศให้มาสำรวจอีก ปรากฏว่าพบถ่านลิกไนต์ ที่ "แม่เมาะ" จังหวัดลำปางและที่"คลองขนาน" จังหวัดกระบี่

เมื่อประทานบัตรสัมปทาน ซึ่งรัฐบาลได้อนุญาตให้บริษัทเอกชนเปิดการทำเหมืองลิกไนต์ที่ "บ้านดอน" จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมดอายุลงในเดือนกุมภาพันธ์ 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงมีพระบรมราชโองการถึงเจ้าพระยาพลเทพ ให้สงวนแหล่งถ่านหินที่มีอยู่ในประเทศไว้ เพื่อให้ทางราชการเป็นผู้ดำเนินงานเท่านั้น โดยมีใจความว่า

ด้วยประทานบัตร์บ่อถ่านศิลาที่บ้านดอน ซึ่งอนุญาตให้แก่บริษัทบ่อถ่านศิลาสยามจำกัด ทำนั้น, ได้หมดสิ้นไปแล้ว ฉันเห็นว่าถึงเวลาอันสมควรที่จะดำริรวบรวม บ่อถ่านศิลาในพระราชอาณาจักร ไว้สำหรับรัฐบาลทำเอง เพราะจะเปนประโยชน์แก่บ้านเมืองต่อไปหาน้อยไม่ เพราะฉนั้น ต่อไปให้สงวนบ่อถ่านศิลาที่บ้านดอน, ที่แขวงเมืองกระบี่ และที่แม่เมาะ ไว้สำหรับรัฐบาลตรวจทำ ถ้ามีผู้ใดมาขอประทานบัตร์หรือสิทธิใดๆ ในเขตต์ทั้งหลายที่กล่าวแล้ว จงแจ้งให้ทราบว่า เปนที่ๆรัฐบาลสงวนไว้ใช้ราชการ

ประชาธิปก ปร.
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2470 พระที่นั่งอัมพรสถาน

[แก้] เหมืองแม่เมาะหลังปี 2470

หลังจากได้มีพระบรมราชโองการออกไปแล้วนั้น ในปี 2493 กรมโลหกิจ (กรมทรัพยากรธรณี) ได้ดำเนินการสำรวจไปจนถึงปี 2496 จึงพบแหล่งถ่านลิกไนต์มีแนวชั้น ติดต่อกันยาวไปตามลำห้วยในแอ่งแม่เมาะ ต่อมาในปี 2497 รัฐบาลได้ตราพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การพลังงานไฟฟ้าลิกไนต์ เพื่อดำเนินกิจการลิกไนต์ให้บังเกิดผลอย่างจริงจัง จึงทำการก่อสร้างโรงจักรแม่เมาะ ขนาดกำลังผลิต 12,500 กิโลวัตต์ ใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง มีพิธีเปิดโรงไฟฟ้า เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2503

ต่อมาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2503 รัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งการลิกไนต์ โดยโอนกิจการและทรัพย์สินขององค์การพลังงานไฟฟ้าลิกไนต์ มาเป็นของการลิกไนต์ กำหนดให้มีหน้าที่ผลิตและจำหน่ายถ่านลิกไนต์ วัตถุเคมีจากลิกไนต์ และพลังงานไฟฟ้าจากลิกไนต์ มีอำนาจดำเนินการในเขตท้องที่จังหวัดลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ และตาก จนกว่าการไฟฟ้ายันฮีจะขยายกิจการไปถึงจังหวัดนั้น ๆ และเขตท้องที่ในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทั้งหมด

เมื่อรัฐบาลได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยรวมกิจการของการลิกไนต์ การไฟฟ้ายันฮี และการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าด้วยกัน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 กฟผ. จึงได้รับโอนภาระหน้าที่ของทั้ง 3 องค์การมาดำเนินการทั้งหมด

ปัจจุบันเหมืองแม่เมาะได้ทำการขุดขนถ่านจำนวนประมาณ 15-17 ล้านตัน ส่งให้เครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าหน่วยที่ 4 ถึง 13 จำนวน 9 หน่วย ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และจ่ายไปยังจังหวัดต่าง ๆ

[แก้] การดำเนินกิจการ

ทางเข้า พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา (เหมืองแม่เมาะ) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทางเข้า พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา (เหมืองแม่เมาะ) เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
อาคารนันทนาการ
อาคารนันทนาการ
ทุ่งบัวตองแม่เมาะ
ทุ่งบัวตองแม่เมาะ

หลังจากที่มีปัญหาด้านมลพิษทางฝุ่นควันในปี พ.ศ. 2527 ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในนามของเหมืองแม่เมาะ และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ดำเนินการรักษาและควบคุมมาตรฐานด้านมลพิษอย่างเคร่งครัด ในส่วนของเหมือง ได้ทำการติดตั้งหลังคาคลุมสายพานลำเลียงไว้ตลอดแนว พร้อมทั้งมีการฉีดพรมน้ำในสายพานลำเลียงและหน้างานเป็นระยะๆ เพื่อให้ความชื้นเป็นตัวลดการกระจายของฝุ่นละออง โดยผลจากสถานีตรวจสอบคุณภาพอากาศ ซึ่งติดตั้งไว้โดยรอบจำนวน 13 สถานีนั้น ได้รายงานผลออกมาต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ในระดับที่เป็นที่น่าพอใจ คือมีคุณภาพอากาศในทุกๆด้าน ดีกว่าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และมีคุณภาพอากาศใกล้เคียงกับเขตเมืองลำปาง นอกจากมีการฉีดน้ำพรมหน้างานแล้ว ยังมีการปลูกต้นไม้และเพิ่มพท้นที่สีเขียวโดยรอบ เพื่อเป็นแนวกันฝุ่น ไม่ให้ลอยออกไปในย่านที่อยู่อาศัยใกล้เคียงด้วย

[แก้] สถานที่สำคัญในบริเวณเหมือง

นอกจากกลุ่มอาคารที่ทำการ และโรงซ่อมบำรุงเครื่องมือหนักต่างๆที่ใช้ในการทำเหมือง แล้วนั้น เหมืองแม่เมาะยังประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจ และเป็นพื้นที่สีเขียวให้กับเหมือง ซึ่งประกอบด้วย

[แก้] พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนต์ศึกษา (เหมืองแม่เมาะ)

ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าสวนพฤกษชาติ เป็นอาคารชั้นเดียว เป็นศูนย์นิทรรศการถาวร จัดแสดงเรื่องเกี่ยวกับธรณีวิทยาของประเทศไทย และเน้นในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจังหวัดลำปางโดยตรง ประกอบด้วยส่วนจัดแสดง 4 ส่วนคือ

  1. โถงกลาง จัดแสดงวีดิทัศน์นำเรื่องก่อนการเข้าชม เป็นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับถ่านหินในประเทศไทย
  2. ห้องธรณีวิทยา จัดแสดงวีดิทัศน์ภาพยนตร์สามมิติ เรื่องกำเนิดโลกและกำเนิดถ่านหิน และ มีนิทรรศการเกี่ยวกับธรณีวิทยา และฟอซซิลที่พบในบริเวณพื้นที่เหมืองแม่เมาะ
  3. ห้องผลิตไฟฟ้า จัดแสดงแบบจำลอง ขั้นตอนตั้งแต่เริ่มทำเหมืองจนผลิตออกมาเป็นกระแสไฟฟ้า
  4. ห้องเฉลิมพระเกียรติ จัดแสดงภาพ และวีดิทัศน์ เกียวกับกิจการถ่านหิน และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

[แก้] สวนพฤกษชาติ

ตั้งอยู่บริเวณฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของบ่อเหมือง เป็นที่ตั้งของศาลาชมวิว และลานสไลเดอร์หญ้าขนาดใหญ่ ซึ่งประชาชนในพื้นที่มักมาพักผ่อนหย่อนใจกันที่นี่ โดยสวนพฤกษชาติแห่งนี้ จะมีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนดอกไม้ลงแปลงตามฤดูกาล และจะมีงานเทศกาลท่องเที่ยวแม่เมาะขึ้นที่นี่ในเดือน พฤศจิกายน ของทุกปี ยกเว้นเมื่อปี 2549 ไม่ได้มีการจัดงานที่สวนพฤกษชาติ เนื่องจากฝนที่ตกลงมาต่อเนื่องก่อนหน้านั้น ได้ทำให้พื้นดินชื้นแฉะมาก จึงต้องย้ายไปจัดที่ทุ่งบัวตองแทน

[แก้] อาคารนันทนาการและสนามกอล์ฟ

อยู่ในบริเวณใกล้กลับศูนย์พิพิธภัณฑ์ฯ เป็นอาคารใหม่ที่เพิ่งจะสร้างเสร็จในปี 2549 ในแบบสถาปัตยกรรมล้านนาประยุกต์ เป็นที่ตั้งของห้องจัดเลี้ยงและสโมสร ซึ่งย้ายมาจากบริเวณใกล้เคียงและได้ปรับปรุงให้ดีขึ้นมา

[แก้] ทุ่งบัวตอง

ทุ่งบัวตองนี้อยู่บนภูเขาสูงทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นภูเขาเทียมที่เกิดจากการนำดิน และกากถ่านหินจากเหมืองมาถมไว้ โดยมีแผนพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวถาวร ด้วยการสร้างศาลาชมวิว พร้อมลานกิจกรรมด้านบนยอดดอย และปลูกบัวตองในบริเวณลาดเขารอบๆดอย เพื่อให้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและเป็นพื้นที่สีเขียว


[แก้] อ้างอิง


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -