เส้นประสาทสมอง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เส้นประสาทสมอง (อังกฤษ: Cranial nerves) เป็นเส้นประสาทที่ออกมาจากสมองโดยตรง ซึ่งต่างจากเส้นประสาทไขสันหลังที่ออกมาจากแต่ละส่วนของไขสันหลัง จัดอยู่ในระบบประสาทนอกส่วนกลาง มีทั้งหมด 12-13 คู่ ตั้งแต่เส้นประสาทสมองเส้นที่ 3 เป็นต้นไปออกมาจากก้านสมอง เส้นประสาทสมองทั้งหมดยกเว้นคู่ที่ 10 และ 11 ทำหน้าที่ในระบบสั่งการและรับความรู้สึกจากบริเวณศีรษะและคอ เส้นประสาทสมองแตกต่างจากเส้นประสาทในระบบประสาทนอกส่วนกลางอื่นๆ ตรงที่เส้นประสาทสมองจะแบ่งออกเพื่อทำหน้าที่เฉพาะหนึ่งๆ หรือน้อยๆ ในบริเวณกว้าง แต่เส้นประสาทนอกส่วนกลางจะแยกออกเพื่อเลี้ยงบริเวณที่ต่างกัน (segmental innervation)
เนื้อหา |
[แก้] รายชื่อเส้นประสาทสมอง
เส้นประสาทสมองทั้ง 12 คู่สามารถเรียกเป็นชื่อย่อโดยใช้คำว่า "Cranial nerve" หรือ "CN" แล้วตามด้วยเลขโรมันแสดงลำดับที่ของเส้นประสาทคู่นั้น ลำดับที่จะเรียงตามตำแหน่งของนิวเคลียสในก้านสมอง เช่น เส้นประสาทสมองเส้นที่ 3 (CN III หรือ เส้นประสาทกล้ามเนื้อตา) ออกจากก้านสมองในตำแหน่งที่สูงกว่าเส้นประสาทสมองเส้นที่ 12 (CN XII หรือ เส้นประสาทกล้ามเนื้อลิ้น) เพราะจุดเริ่มต้นของเส้นประสาทสมองเส้นที่ 12 จะอยู่ต่ำกว่าของเส้นประสาทสมองเส้นอื่นๆ
# | ชื่อ | นิวเคลียส | หน้าที่ |
0 | เส้นประสาทสมองเส้นที่ 0 (Cranial nerve zero) (การใช้ว่า CN0 ยังไม่ได้รับการยอมรับ) [1] |
ออลแฟกทอรี ไตรโกน (olfactory trigone) , มีเดียล ออลแฟกทอรี ไจรัส (medial olfactory gyrus) , และ ลามินา เทอร์มินาลิส (lamina terminalis) |
ยังเป็นที่ถกเถียงกันในปัจจุบัน งานวิจัยล่าสุดแสดงให้เห็นว่าเส้นประสาทนี้มีบทบาทในการค้นหาตรวจจับฟีโรโมน[2][3] |
I | เส้นประสาทรับกลิ่น หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 1 หรือ ฆานประสาท (Olfactory nerve) |
แอนทีเรียร์ ออลแฟกทอรี นิวเคลียส (Anterior olfactory nucleus) | นำความรู้สึกเกี่ยวกับกลิ่น |
II | เส้นประสาทตา หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 2 หรือ เส้นประสาทการเห็น หรือ จักษุประสาท (Optic nerve) |
แลเทอรัล เจนิคูเลต นิวเคลียส (Lateral geniculate nucleus) | นำข้อมูลการรับภาพไปยังสมอง |
III | เส้นประสาทกล้ามเนื้อตา หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 3 (Oculomotor nerve) |
ออกคิวโลมอเตอร์ นิวเคลียส (Oculomotor nucleus) , เอดิงเงอร์-เวสท์ฟัล นิวเคลียส (Edinger-Westphal nucleus) | สั่งการกล้ามเนื้อลีเวเตอร์ แพลพีบรี ซุพีเรียริส (levator palpebrae superioris) , ซุพีเรียร์ เรกตัส (superior rectus) , มีเดียล เรกตัส (medial rectus) , อินฟีเรียร์ เรกตัส (inferior rectus) , และ อินฟีเรียร์ ออบลีก (inferior oblique) ซึ่งทั้งหมดเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวลูกตา |
IV | เส้นประสาททรอเคลียร์ หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 4 (Trochlear nerve) |
ทรอเคลียร์ นิวเคลียส (Trochlear nucleus) | สั่งการกล้ามเนื้อซุพีเรียร์ ออบลีก (superior oblique muscle) ซึ่งทำหน้าที่กลอกตาลงล่าง กลอกตาออกด้านนอก และกลอกตาเข้าด้านใน |
V | เส้นประสาทไทรเจมินัล หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 5 (Trigeminal nerve) |
ปรินซิปัล เซนซอรี ไทรเจมินัล นิวเคลียส (Principal sensory trigeminal nucleus) , สไปนัล ไทรเจมินัล นิวเคลียส (Spinal trigeminal nucleus) , มีเซนเซฟาลิก ไทรเจมินัล นิวเคลียส (Mesencephalic trigeminal nucleus) , ไทรเจมินัล มอเตอร์ นิวเคลียส (Trigeminal motor nucleus) | รับความรู้สึกจากใบหน้าและสั่งการกล้ามเนื้อในการเคี้ยว (muscles of mastication) |
VI | เส้นประสาทแอบดิวเซนต์ หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 6 (Abducens nerve) |
แอบดิวเซนต์ นิวเคลียส (Abducens nucleus) | สั่งการกล้ามเนื้อแลเทอรัล เรกตัส (lateral rectus) ซึ่งทำหน้าที่กลอกตาออกทางด้านนอก |
VII | เส้นประสาทเฟเชียล หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 7 (Facial nerve) |
เฟเชียล นิวเคลียส (Facial nucleus) , ซอลิเทรี นิวเคลียส (Solitary nucleus) , ซุพีเรียร์ แซลิเวรี นิวเคลียส (Superior salivary nucleus) | สั่งการกล้ามเนื้อในการแสดงสีหน้า (muscles of facial expression) และกล้ามเนื้อสเตปีเดียส (stapedius) รับความรู้สึกพิเศษเกี่ยวกับรสชาติจากด้านหน้า 2 ส่วน 3 ของลิ้น และสั่งการต่อมน้ำลาย (ยกเว้นต่อมพาโรติด) และต่อมน้ำตาให้หลั่ง |
VIII | เส้นประสาทหู หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 8 หรือ เส้นประสาทการได้ยิน หรือ โสตประสาท (Vestibulocochlear nerve or auditory-vestibular nerve or statoacustic nerve) |
เวสทิบิวลาร์ นิวเคลียส (Vestibular nuclei) , คอเคลียร์ นิวเคลียส (Cochlear nuclei) | รับความรู้สึกเกี่ยวกับเสียง การหมุน และแรงโน้มถ่วง (ซึ่งสำคัญในการทรงตัวและการเคลื่อนไหว) |
IX | เส้นประสาทลิ้นคอหอย หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 9 (Glossopharyngeal nerve) |
นิวเคลียส แอมบิกิวอัส (Nucleus ambiguus) , อินฟีเรียร์ แซลิเวรี นิวเคลียส (Inferior salivary nucleus) , ซอลิเทรี นิวเคลียส (Solitary nucleus) | รับรสชาติจากด้านหลัง 1 ส่วน 3 ของลิ้น สั่งการต่อมพาโรติดให้หลั่ง และสั่งการกล้ามเนื้อสไตโลฟาริงเจียส (stylopharyngeus) ซึ่งจำเป็นในการรับความรู้สึกสัมผัส ความเจ็บปวด และอุณหภูมิ ความรู้สึกจะถูกส่งไปยังทาลามัสด้านตรงข้ามและไฮโปทาลามิก นิวเคลียสบางอัน |
X | เส้นประสาทเวกัส หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 10 (Vagus nerve) |
นิวเคลียส แอมบิกิวอัส (Nucleus ambiguus) , ดอร์ซัล มอเตอร์ เวกัล นิวเคลียส (Dorsal motor vagal nucleus) , ซอลิเทรี นิวเคลียส (Solitary nucleus) | เลี้ยงกล้ามเนื้อส่วนใหญ่ของกล่องเสียงและคอหอย ให้เส้นประสาทพาราซิมพาเทติกไปยังอวัยวะในช่องอกและช่องท้องเกือบทั้งหมดไปจนถึงส่วนโค้งของลำไส้ใหญ่ใต้ม้าม (splenic flexure) และรับความรู้สึกพิเศษเกี่ยวกับรสชาติจากฝาปิดกล่องเสียง (epiglottis) หน้าที่หลักคือควบคุมกล้ามเนื้อในการออกเสียง อาการหากเส้นประสาทนี้เสียไปคือ การกลืนลำบาก (dysphagia) |
XI | เส้นประสาทแอกเซสซอรี หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 11 (Accessory nerve or cranial accessory nerve or spinal accessory nerve) |
นิวเคลียส แอมบิกิวอัส (Nucleus ambiguus) , สไปนัล แอกเซสซอรี นิวเคลียส (Spinal accessory nucleus) | ควบคุมกล้ามเนื้อของคอและทำหน้าที่ทับซ้อนกับของเส้นประสาทเวกัส ตัวอย่างของอาการหากเส้นประสาทนี้เสียไปคือ ไม่สามารถยักไหล่ หมุนหรือขยับศีรษะได้ยาก และ velopharyngeal insufficiency) |
XII | เส้นประสาทกล้ามเนื้อลิ้น หรือ เส้นประสาทสมองเส้นที่ 12 (Hypoglossal nerve) |
ไฮโปกลอสซัล นิวเคลียส (Hypoglossal nucleus) | สั่งการกล้ามเนื้อของลิ้นและกล้ามเนื้อลิ้นอื่นๆ มีความสำคัญในการกลืน [การสร้างโบลัส bolus formation] และการออกเสียง |
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- Examination of the cranial nerves - University of Toronto Medicine
- Norman/Georgetown cranialnerves
- CN Medical Notes on rahulgladwin.com
- Information about the Cranial Nerves
[แก้] อ้างอิง
- ^ Fuller GN, Burger PC. "Nervus terminalis (cranial nerve zero) in the adult human." Clin Neuropathol 9, no. 6 (Nov-Dec 1990) : 279-283.
- ^ Merideth, Michael. "Human Vomeronasal Organ Function." Oxford Journals: Chemical Senses, 2001.
- ^ Fields, R. Douglas. "Sex and the Secret Nerve." Scientific American Mind, February 2007.
[แก้] บรรณานุกรม
- มีชัย ศรีใส. ประสาทกายวิภาคศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: เยียร์บุ๊คพับลิชเชอร์, 2546.