See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
เรียลลิตี้โชว์ - วิกิพีเดีย

เรียลลิตี้โชว์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาพจากรายการบิ๊ก บราเธอร์
ภาพจากรายการบิ๊ก บราเธอร์

เรียลลิตี้โชว์ (reality show อ่านว่า รีอัลลิตี้) เป็นรายการโทรทัศน์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งมักจะดำเนินไปโดยใช้สถานการณ์จริง และไม่มีการเขียนบท คัดเลือกผู้ร่วมรายการจากผู้ชมทางบ้าน ซึ่งจะต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ที่ทางทีมงานได้จัดเตรียมเอาไว้ ผู้เข้าร่วมรายการจะต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและฝ่าฟันอุปสรรคต่างๆ รายการโทรทัศน์เช่นนี้ เริ่มมาช้านานแล้ว แต่เพิ่งจะนิยมอย่างแพร่หลายเมื่อราว พ.ศ. 2543 (โดยเฉพาะจากรายการ Expedition Robinson)

นักวิจารณ์บางท่านเห็นว่า การใช้คำว่าเรียลลิตี้โชว์นี้ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะรายการโทรทัศน์แบบนี้จำนวนมากให้ผู้เข้าร่วมแข่งขันไปอยู่ในสถานที่หรือสถานการณ์ที่แปลกแตกต่างไปจากการใช้ชีวิตจริง จึงไม่น่าจะถือว่าเป็นชีวิตจริงของพวกเขา จากการวิจัยของ Nielsen Media Research พบว่ารายการเช่นนี้มีสัดส่วนถึงร้อยละ 56 ของรายการโชว์ทางโทรทัศน์ของอเมริกา (ทั้งรายการทางเคเบิลทีวี และรายการจากสถานีโทรทัศน์ปกติ) และยังมีสัดส่วนเป็นร้อยละ 69 ของรายการโชว์ทางโทรทัศน์ทั่วโลก (ทั้งรายการทางเคเบิลทีวี และรายการจากสถานีโทรทัศน์ปกติ)

เนื้อหา

[แก้] ประวัติรายการเรียลลิตี้โชว์

เกิดขึ้นประมาณปี ค.ศ. 1973 ชื่อรายการ An American Family เป็นรายการเก็บภาพชีวิตความเป็นอยู่ของครอบครัว William C. Loud มีผู้ชมถึง 10 ล้านคน จนเมื่อปี ค.ศ. 1994 เรียลลิตี้โชว์ก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก และได้รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ของเอ็มทีวี ที่ชื่อ “The Real World” นำคน 7 คนที่มีบุคลิกต่างกันมาอยู่ร่วมกัน ที่รายการซีซั่นที่ 3 ของรายการนี้ประสบความสำเร็จเพราะเกิดความขัดแย้งที่รุนแรงระหว่าง Pedro Zamora เกย์ผู้ติดเชื้อ HIV กับ Puck อาชีพ Messenger และ Pedro ได้เสียชีวิตในที่สุด และนี่คือจุดเริ่มต้นของเรียลลิตี้โชว์ในยุคต่อมา

[แก้] ประเภทของเรียลลิตี้โชว์

เรียลลิตี้โชว์ประเภทกึ่งสารคดี 
จะมีลักษณะนำเสนอชีวิตส่วนต่างๆ ไม่มีบทพูด ไม่ใช่ลักษณะของเกม ตัวอย่างรายการดังเช่น MTV's Laguna Beach: The Real Orange County
เรียลลิตี้โชว์ประเภทอยู่ในสภาพแวดล้อมพิเศษ 
จะมีลักษณะการสร้างสภาพแวดล้อมพิเศษให้คนมาอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนั้นด้วยกัน เช่น Temptation Island, The Real World และ Solitary
เรียลลิตี้โชว์ของดารา คนดัง 
จะเผยชีวิตของดาราดัง ชีวิตประจำวันต่างๆ เช่น The Osbournes (ครอบครัวออสบอร์น), Newlyweds (เจสสิก้า ซิมพ์สัน และ นิค ลาเช่) ในที่นี่รวมถึงลักษณะรายการที่อยู่ในสภาพแวดล้อมเฉพาะ เช่น ไฮโซบ้านนอก,ด้ายใจ(เป็นรายการ Reality Variety ซึ่งมีครอบครัวหนึ่งมาขอเล่น Reality โดยการพาคุณแม่ของบ้านไปพักร้อน แล้วคุณพ่อและคุณลูกต้องอยู่กันเอง) เป็นต้น
เรียลลิตี้โชว์ของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน 
จะเผยลักษณะการทำงานต่างๆ ของผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆเช่น COPS และ The Restaurant เป็นต้น
เรียลลิตี้เกมโชว์ 
เป็นการแข่งขันเพื่อชิงรางวัล โดยมีโจทย์ต่างๆ ตามคอนเซ็บต์ของรายการ เช่น บิ๊ก บราเธอร์, ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย, เซอร์ไวเวอร์, อัจฉริยะข้ามคืน, อัจฉริยะยกบ้าน, So You Think You Can Dance และ อเมริกันไอดอล เป็นต้น
เรียลลิตี้โชว์ประเภทหางาน 
มีรางวัลเป็นงานที่ต้องการ เช่น The Apprentice, อเมริกาส์ เน็กซ์ ท็อป โมเดล และ Hell's Kitchen เป็นต้น
เรียลลิตี้โชว์ประเภทกีฬา 
นำส่วนประกอบกีฬามาเป็นคอนเซ็บต์หลัก เช่น The Contender (รายการนี้ผู้เข้าแข่งขันที่ตกรอบคนนึงฆ่าตัวตายหลังถูกคัดออก)
เรียลลิตี้โชว์ประเภทปรับปรุงตัวเอง /แปลงโฉม 
มีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงตัวเอง เช่นการผ่าตัด การลดน้ำหนัก ให้ตัวเองดีขึ้น เช่น Extreme Makeover, Queer Eye For The Straight Guy, The Swan, The Biggest Loser และ Celebrity Fit Club เป็นต้น
เรียลลิตี้โชว์ประเภทนัดบอด 
จะนำผู้เข้าแข่งขันที่ไม่รู้จักกัน มานัดบอด ตามเงื่อนไขต่างๆ รายการประเภทนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในช่องเอ็มทีวี เช่น Dis-missed Wanna Comein และ พรหมลิขิต บทที่ 1 (รายการนี้ก่อนตอนจบจะออกอากาศได้ถูกทางช่องแบนเพราะมีเนื้อหาไม่เหมาะสมแก่เด็กและเยาวชน)[รายการนี้ตอนออกอากาศยังไม่มีการจัดประเภทรายการจากกรมประชาสัมพันธ์]
เรียลลิตี้โชว์ประเภททอล์คโชว์ 
อาจจะเป็นส่วนหนึ่งของรายการ โดยนำผู้ร่วมรายการมาสัมภาษณ์ เช่น The Jerry Springer Show
เรียลลิตี้โชว์ประเภทซ่อนกล้อง (Hidden Camera) 
จะซ่อนกล้องไม่ให้ผู้ร่วมรายการรู้ตัว โดยอาจสร้างสถานการณ์ต่างๆ เช่น Candid Camera หรือ อาจจะรวมถึง MTV Punk'd
เรียลลิตี้โชว์ประเภทคนหาตัวจริง 
จะมีผู้เข้าแข่งขัน 1 คน และที่เหลือจะมีนักแสดงที่คัดเลือกมา ให้ผู้เข้าแข่งขันได้ใช้ชีวิตกับคนเหล่านั้นและหาตัวจริงตามลักษณะคอนเซ็บต์รายการ ตัวอย่างเช่น Boy Meets Boy และ Joe Millionaire เป็นต้น

[แก้] รายการเรียลลิตี้โชว์ในไทย

โดยมาก รายการเรียลลิตี้โชว์ มักจะออกอากาศในช่วงเวลาไพรม์ไทม์ ซึ่งเป็นเวลาทองของสถานีต่างๆ ทำให้มีความนิยมมาก โดยเฉพาะบุคคลที่อยู่ในวัยเรียนจนถึงวัยทำงานที่นอนดึก ให้ได้ติดตามกัน แต่ก็มีบางรายการที่ออกอากาศในช่วงกลางวันเช่นกัน

ซึ่งตอนนั้นได้ใช้รูปแบบรายการของเซอร์ไวเวอร์ (Survivor) แต่รูปแบบของของการเล่นเกมส์จะเปลี่ยนทุก season ใน season ที่ 3 จึงได้เสียงตอบรับที่ไม่ดีในด้านการดำเนินเกมส์ที่ใช้วิธีของทางทหาร สร้างความกดดันทั้งผู้เล่นเกมส์และคนดู จนคนดูไม่สามารถรับได้ จึงได้ยุติลงในที่สุด
  • เกมคนจริง Survivor ในประเทศไทย ได้ออกอากาศทางฟรีทีวี และทางเคเบิลทีวี โดยลิขสิทธิ์ทางฟรีทีวี เป็นลิขสิทธิ์ของกันตนา(ฉาย season 1, 2 ทางช่อง 5 เวลา 19.30 น.- 20.00น. และ season 5 ทางช่อง 9 เวลา 22.00 น. เมื่อต้นปี พ.ศ. 2546) ส่วนลิขสิทธิ์ทางเคเบิลทีวี คือ ยูบีซี (ฉาย season 1-ล่าสุด ทางช่อง UBC series และมีการออกอากาศซ้ำหลายรอบ)
  • เดอะสตาร์ ค้นฟ้าคว้าดาว ออกอากาศทางสถานีโมเดิร์นไนน์ทีวี (ช่อง 9) ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา
  • รักแท้บทที่ 1 ออกอากาศทางสถานีกองทัพบกช่อง5 ในปี พ.ศ. 2548 (วันศุกร์ เวลา 20.30 น.)ผลิตรายการโดย แกรมมี่ เทเลวิชั่น
เป็นเรียลลิตี้ประเภทนัดบอด แต่เนื่องด้วยจากกระแสวิจารณ์ทางสังคม ที่ตีความเนื้อหาของรายการผิดเพี้ยนไปจากเดิม จึงถูกยุติบทบาทลงไปในไม่กี่เดือน
  • ทรู อะคาเดมี แฟนเทเชีย ออกกาศทางเคเบิลทีวี ทาง UBC ช่อง 20 ซึ่งทาง UBC ได้ซื้อลิขสิทธิ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และได้ออกอากาศทางฟรีทีวีตั้งแต่ season 2 โดย season 2 ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปี พ.ศ. 2548 และเมื่อขึ้น season ที่ 3 ได้ออกกาศทางสถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ทีวี ในปี พ.ศ. 2549 โดยโมเดิร์นไนท์ทีวีได้ออกอากาศซีซั่นที่ 3, 4 และ 5 เป็นรายการเรียลลิตี้โชว์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย
  • UBC Human Resource
  • บิ๊ก บราเธอร์ โดยเริ่มออกอากาศครั้งแรก วันที่ 2 เมษายน 2547 ทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี และทางเคเบิล ทางUBC ช่อง 16 (ตลอด 24 ชม.) จนรายการจบ
เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างมากถึงเรื่องที่ทางรายการกล้าอนุญาตให้ ประธานแฟนคลับรายการจัดกิจกรรมพาสมาชิกชมรมบิ๊กบราเธอร์ แฟนคลับถึง 50 คน นำเข้าไปชมภารกิจของผู้แข่งขัน ได้ถึงในบ้าน ในการแข่งขันทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งแม้รายการบิ้กบราเธอร์ ที่ได้ลิขสิทธ์ในประเทศต่างๆ ก็ไม่เคยเปิดบ้านให้แฟนคลับได้เข้าไป เพราะตลอดเวลาในบ้านบิ้กบราเธอร์ เป็นการออกอากาศแบบเรียลไทม์ (ซึ่งมีความเสี่ยงสุงมาก หากมีแฟนคลับหัวรุนแรงแสดงออกอะไรที่ไม่เหมาะสม)
เป็นที่กล่าวถึงกันอย่างมาก เนื่องจากพฤติกรรมของ คชาภา ตันเจริญ (มดดำ) ซึ่งเป็นคนเปิดเผยและค่อนข้างตรง ทำให้บางครั้งเรื่องราวเกิดขึ้นเพียงคนๆ เดียว เช่น เกือบเผาบ้าน หรือแม้แต่วีนใส่ทีมงาน และอีกอย่าง เนื่องด้วยไฮโซบ้านนอก เป็น เรียลลิตี้โชว์แบบเฟค (ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตจริง แต่ทีมงานกับผู้เข้าแข่งขัน ต่างรู้เรื่องราวกันเป็นอย่างดีโดยที่ผู้ชมทางบ้านไม่รู้ว่า นี่คือ การสมรู้ร่วมคิดกันของทีมงานกับผู้เข้าแข่งขัน) ทำให้ถูกวิจารณ์และทำให้ความหมายของคำว่า เรียลลิตี้โชว์ ในไทย แปลความหมายผิดเพี้ยนไปจากเดิม
  • ตัวจริง ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2549
  • The Arsenal Dream ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2549 (วันอาทิตย์ เวลา 13.00 น.โดยประมาณ)
เนื่องจากได้เวลาในช่วงบ่าย ประกอบกับการขาดเรื่องประชาสัมพันธ์ ทำให้เรตติ้งรายการไม่กระเตื้องขึ้น
  • Thailand Next Top Model ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปี พ.ศ. 2548 ผู้ที่ซื้อลิขสิทธิ์ก็คือ ซอนญ่า คูลลิ่ง
มีการกล่าวถึงเรื่องการดำเนินเกมส์ที่ขาดสีสัน ด้านอารมณ์ ทำให้ผู้เข้าแข่งขันมีลักษณะไปในทางเดียวกัน กล่าวคือ ไม่มีความริษยาหรือโกรธแค้นกลั่นแกล้งกัน ทำให้ความนิยมของรายการไม่กระเตื้องขึ้น
ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ ทาง BEC Tero ไม่ได้ประชาสัมพันธ์หรือป้อนงานให้ ทำให้ไม่สามารถติดตามผลงานได้ว่าพวกเธอมีผลงานในวงการบันเทิงในด้านใดบ้าง
  • M Thailand ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อปลายปี พ.ศ. 2548 ถึง ต้นปี พ.ศ. 2549 (วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 22.00 น. โดยประมาณ)
มีการกล่าวถึงกันมาก เนื่องจากว่ากันว่ารูปแบบรายการได้ลอกเนื้อหามาจาก Thailand's Perfect Man โดยทาง BEC Tero ได้ชิงตัดหน้าขโมยความคิด นำมาทำเป็นรูปแบบเกมส์เรียลลิตี้โชว์ก่อน และอีกสาเหตุหนึ่งมาจาก การวิจารณ์ผู้เข้าแข่งขันในรอบคัดเลือก จนไปสร้างความกดดันให้คนดูและผู้เข้าแข่งขัน รวมไปถึง การใช้ไอเดียของรายการ Manhunt ในการซ่อนทีมงานไปปะปนในหมู่ผู้เข้าแข่งขัน ทำให้ถูกพูดถึงในแง่การวิจารณ์เป็นอย่างมาก และด้วยการดำเนินรายการของ BEC Tero ที่ไม่มีการโต้แย้งของผู้เข้าแข่งขัน ทำให้เรตติ้งรายการค่อนข้างทรงตัวจนจบการแข่งขัน
ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ เนื่องด้วยทาง BEC Tero ไม่ได้ประชาสัมพันธ์หรือป้อนงานให้กับผู้เข้าแข่งขันคนอื่นๆ นอกจากผู้ชนะเลิศของรายการ ทำให้ไม่สามารถติดตามผลงานของผู้เข้าแข่งขันคนอื่นๆ ได้ว่าใครไปมีอาชีพในวงการบันเทิงในด้านใดบ้าง
  • Thailand's Perfect Man ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปี พ.ศ. 2549 (ต้นเดือนกุมภาพันธ์-ปลายเดือนมิถุนายน ทุกวันอังคาร เวลา 23.00 น.) และทาง Chic Channel ของ UBC
หลังจากที่ M Thailand ได้ชิงตัดหน้าออกอากาศไปก่อน ทำให้ Thailand's Perfect Man (TPM) ที่ดำเนินบริหารงานโดย เมทินี กิ่งพโยม ได้นำรายการไปเสนอทางไอทีวี และได้ปรับเนื้อหาของเกมส์ จนมีความลงตัวในหลายด้านๆ และไม่มีการสร้างความกดดันให้กับคนดูมากเกินไป แต่ถึงกระนั้นเรตติ้งของรายการก็ไม่ได้กระเตื้องขึ้น จนกระทั่งได้นำการเดินแบบในชุดว่ายน้ำมานำเสนอ จนทำให้เรตติ้งของรายการเพิ่มขึ้นประกอบกับความขัดแย้งของผู้เข้าแข่งขันในช่วงการแข่งขัน ทำให้เนื้อหามีความน่าติดตามมากยิ่งขึ้น
ส่วนในด้านผลงานของผู้แข่งขันหลังจบเกมส์ ได้มีการประชาสัมพันธ์ติดต่อจากสปอนเซอร์หลัก (ธนาคารไทยพาณิชย์, ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, กันตนา ฯลฯ) ทำให้มีงานป้อนเข้ามาเป็นระยะ ซึ่งเป็นการดำเนินงานของ เมทินี กิ่งพโยม
  • อัจฉริยะข้ามคืน ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เริ่มออกอากาศในปี พ.ศ. 2549 จนถึงปี พ.ศ. 2551
  • Evo Challenge คนเก่ง เกมนักขับ ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในปี พ.ศ. 2549 ดำเนินการผลิตโดย กันตนา (ออกอากาศต่อจาก Thailand's Perfect Man ประมาณ 1 เดือน ทุกวันอังคาร เวลา 23.00 น. )
รูปแบบของรายการได้ใช้รูปแบบของรายการเซอร์ไวเวอร์ ผสมกับเทคนิคการขับรถยนต์ในสถานการณ์ทุกรูปแบบ แต่เนื่องจากรูปแบบรายการที่ไม่ชัดเจนและใช้รูปแบบของเซอร์ไวเวอร์ มากถึง 70% ทำให้เรตติ้งรายการไม่กระเตื้องขึ้น ซึ่งผู้ชนะได้รับรถยนต์มิตซูบิชิ และเงินรางวัล 1 ล้านบาท
  • ซีซ่า ทางสายฝันสู่ดวงดาว ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2549 โดยมี มณีนุช เสมรสุต (ครูอ้วน) เป็นผู้บริหารรายการ รายการเป็นรูปแบบแข่งขันร้องเพลงสำหรับเด็ก
  • The Singer ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ในปี พ.ศ. 2550 เป็นรายการรูปแบบแข่งขันร้องเพลง โดยมี พุทธธิดา ศิระฉายา เป็นผู้บริหารรายการ
  • อัจฉริยะยกบ้าน ออกอากาศทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 ในปี พ.ศ. 2551

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -