ฮอร์โมน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮอร์โมน (อังกฤษ: hormone มาจากภาษากรีกที่ว่าhormanแปลว่าเคลื่อนไหว ) คือผู้นำส่งสารเคมีจากเซลล์ หนึ่งหรือกลุ่มของเซลล์ไปยังเซลล์อื่นๆ สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ (multicellular organism) ทั้งมนุษย์สัตว์และพืชสามารถผลิต ฮอร์โมน ได้ที่ ต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) โมเลกุลของฮอร์โมนจะถูกปล่อยโดยตรงยังกระแสเลือด ของเหลวในร่างกายอื่นๆ หรือเนื้อเยื้อใกล้เคียง หน้าที่ของฮอร์โมน คือการส่งสัญญาณให้ทำงานหรือหยุดทำงาน เช่น
- กระตุ้นหรือยับยั้งการเจริญเติบโต
- กระตุ้นหรือยับยั้งโปรแกรมการสลายตัวของเซลล์
- กระตุ้นหรือยับยั้งระบบภูมิคุ้มกัน
- ควบคุม กระบวนการสร้างและสลาย (metabolism) และเตรียมพร้อมสำหรับบทบาทใหม่ๆ เช่น การต่อสู้ หนี หรือ กำหนดช่วงเวลาของชีวิตเช่น วัยรุ่น วัยมีครอบครัวมีลูกหลานไว้สืบสกุล และวัยทอง
เนื้อหา |
[แก้] สรีรวิทยาของ ฮอร์โมน
อัตราการผลิตฮอร์โมนจะถูกควบคุมโดยระบบ ภาวะธำรงดุล (Homeostasis) ซึ่งจะเป็นแบบผลป้อนกลับทางลบ (negative feedback) ระบบควบคุม ภาวะธำรงดุลของฮอร์โมนจะมีส่วนของการผลิตที่ขึ้นกับ กระบวนการสร้างและสลาย (metabolism) ของฮอร์โมนเป็นตัวกำหนดที่สำคัญ
การหลั่ง ฮอร์โมน ถูกกระตุ้นหรือยับยั้ง โดย
- ฮอร์โมน อื่น (กระตุ้น หรือ ปล่อย ฮอร์โมน)
- ความเข็มข้นของไออนในพลาสมา หรือสารอาหาร และการเชื่อมต่อกับ กลอบูลิน (globulin)
- นิวรอน (Neuron) และบทบาททางจิตใจ
- การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม เช่น แสงและอุณหภูมิ
ฮอร์โมนกลุ่มพิเศษได้แก่ โทรฟิกฮอร์โมน (trophic hormone) มีบทบาทกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนในต่อมไร้ท่ออื่น เช่น ไทรอยด์ - สติมูเลติ่ง ฮอร์โมน (thyroid-stimulating hormone (TSH)) มีบทบาทเกี่ยวกับการเจริญเติบโต และกระตุ้นฮอร์โมนอื่นของต่อมไทรอยด์
ล่าสุดพบสารประกอบใหม่ที่อยู่ในกลุ่มฮอร์โมน ชื่อ "ฮอร์โมนหิว" ("Hunger Hormones") ซึ่งประกอบด้วย
- กรีลิน (ghrelin)
- โอรีซิน (orexin )
- พีวายวาย 3-36 (PYY 3-36)
- และ แอนตาโกนิสต์ ของมันชื่อ เลปติน (leptin)
Human-hormone.jpg
ฮอร์โมนต่อมไร้ท่อในมนุษย์ |
Hormone target-1.gif
ฮอร์โมนและการทำงานที่เซลล์เป้าหมาย |
Steroidhormone.gif
การทำงานของสเตอรอยด์ฮอร์โมนในเซลล์ |
[แก้] ประเภทของ ฮอร์โมน
ฮอร์โมนของสัตว์มีกระดูกสันหลังแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้:
- ฮอร์โมน อนุพันธ์ของอะมีน (Amine-derived hormone) เป็นอนุพันธ์ของ กรดอะมิโน ไทโรซีน และ ทริปโตแฟน (tryptophan) ตัวอย่าง เช่น แคทีคอลามีน (catecholamine) และ ไทโรซีน (thyroxine)
- เปปไทด์ฮอร์โมน (Peptide hormone) ประกอบด้วยโซ่ของ กรดอะมิโน ตัวอย่าง เช่น เปปไทด์ฮอร์โมน เล็กอย่าง TRH และ วาโซเพรสซิน เปปไทด์ประกอบด้วยโซ่ กรดอะมิโน ที่ต่อกันเป็นโมเลกุลของ โปรตีน ตัวอย่าง โปรตีนฮอร์โมน ได้แก่ อินสุลิน และโกรว์ทฮอร์โมน
- สเตอรอยด์ฮอร์โมน (Steroid hormone) เป็นอนุพันธ์จาก คอเลสเตอรอล (cholesterol) แหล่งผลิตในร่างกายได้แก่ เปลือกต่อมหมวกไต (adrenal cortex) และ ต่อมบ่งเพศ (gonad) ตัวอย่างเช่น
- สเตอรอยด์ฮอร์โมน คือ เทสโตสเตอโรน และ คอร์ติโซน
- สเตอรอลฮอร์โมน (Sterol hormone) เช่น แคลซิตริออล
- ลิพิด และ ฟอสโฟลิพิด มี ฮอร์โมน ดังนี้
- ลิพิดเช่น กรดไลโนเลนิก (linoleic acid)
- ฟอสโฟลิพิด เช่น กรดอาแรคคิโดนิก (arachidonic acid)
- อีไอโคซานอยด์ (eicosanoid) เช่น โปรสตาแกลนดิน (prostaglandin)
[แก้] อะมีน ฮอร์โมน
ฮอร์โมน อนุพันธ์ของอะมีน:
- อะดรีนาลีน (adrenaline or epinephrine)
- โดพามีน (dopamine)
- มีลาโทนิน (melatonin (N-acetyl-5-methoxytryptamine))
- นอร์อะดรีนาลีน (noradrenaline or norepinephrine)
- เซอโรโทนิน (serotonin (5-HT)
- ไทโรซีน (thyroxine (T4)
- ไตรไอโอโดไทโรนีน (triiodothyronine (T3)
[แก้] เปปไทด์ ฮอร์โมน
เปปไทด์ ฮอร์โมน:
- แอนตี้มูลเลอเรียน ฮอร์โมน (AMH, mullerian inhibiting factor หรือ ฮอร์โมน)
- อะดิโปเนกติน (adiponectin และ Acrp30)
- อะดริโนคอร์ติโคโทปิก ฮอร์โมน (adrenocorticotropic hormone-ACTH, corticotropin)
- แองกิโอเทนซิโนเจน และ แองกิโอเทนซิน
- แอนตี้ไดยูรีติก ฮอร์โมน (ADH, vasopressin, arginine vasopressin, AVP)
- เอเทรียล-เนตริยูรีติก เปปไทด์ (ANP, atriopeptin)
- แคลซิโทนิน (calcitonin)
- คอลีซีสโตคินิน (cholecystokinin-CCK)
- คอร์ติโคโทรปิน-รีลีสซิ่ง ฮอร์โมน (CRH)
- อัริโทรพอยอีติน (EPO)
- ฟอลลิเคิล สติมูเลติง ฮอร์โมน (FSH)
- แกสตริน (gastrin)
- กลูคากอน (glucagon)
- โกนาโดโทรปิน-รีลีสซิ่ง ฮอร์โมน (GnRH)
- โกรวท์ ฮอร์โมน-รีลีสซิ่ง ฮอร์โมน (GHRH)
- ฮูแมน คอริโอนิก โกนาโดโทรปิน (hCG)
- โกรวท์ ฮอร์โมน (GH or hGH)
- อินสุลิน (insulin)
- อินสุลิน-ไลค์ โกรวท์ แฟคเตอร์ (IGF, also somatomedin)
- เลปติน (leptin)
- ลูทีอิไนซิ่ง ฮอร์โมน (LH)
- มีลาโนไซต์ สติมูเลติง ฮอร์โมน (MSH or α-MSH)
- นิวโรเปปไทด์ วาย (neuropeptide Y)
- ออกซิโตซิน (oxytocin)
- พาราไทรอยด์ ฮอร์โมน (PTH)
- โปรแลกติน (PRL)
- เรนิน (renin)
- เซครีติน (secretin)
- โซมาโตสแตติน (somatostatin)
- ทรอมโบพอยอีติน (thrombopoietin)
- ไทรอยด์-สติมูเลติง ฮอร์โมน (TSH)
- ไทโรโทรปิน-รีลีสซิ่ง ฮอร์โมน (TRH)
[แก้] สเตอรอยด์ และ สเตอรอล ฮอร์โมน
สเตอรอยด์ ฮอร์โมน:
- กลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid)
- คอร์ติโซน (cortisol)
- มิเนอรัลโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoid)
- อัลโดสเตอโรน (aldosterone)
- เซ็กซ์ สเตอรอยด์ (Sex steroid)
- แอนโดรเจน (Androgen)
- เทสโตสเตอโรน (testosterone)
- ดีไฮโดรอิพิแอนโดรสเตอโรน (dehydroepiandrosterone-DHEA)
- ดีไฮโดรอิพิแอนโดรสเตอโรนซัลเฟต (dehydroepiandrosterone sulfate-DHEAS)
- แอนโดรสตินิไดโอน (androstenedione)
- ไดไฮโดรเทสโตสเตอโรน (dihydrotestosterone-DHT)
- เอสโทรเจน (Estrogen)
- เอสตาไดออล (estradiol)
- โปรเจสตาเจน (Progestagen)
- โพรเจสเทอโรน (progesterone)
- โปรเจสติน (Progestins)
- แอนโดรเจน (Androgen)
สเตอรอล ฮอร์โมน:
- ไวตามิน ดี อนุพันธ์
- แคลซิไตรออล (calcitriol)
[แก้] ลิพิด ฮอร์โมน
ลิพิด และ ฟอสโฟลิพิด ฮอร์โมน (อีไอโคซานอยด์) :
- โปรสตาแกลนดิน (prostaglandin)
- ลิวโคไตรอีน (leukotriene)
- โปรสไซคลิน (prostacyclin)
- ทรอมโบเซน (thromboxane)
[แก้] ดูเพิ่ม
- endocrine system
- neuroendocrinology
- plant hormones or plant growth regulators
- autocrine signalling
- paracrine signalling
- cytokine
- growth factor
- hormone disruptor
[แก้] อ้างอิง
- Henderson J. Ernest Starling and 'Hormones': an historical commentary. J Endocrinol 2005;184:5-10. PMID 15642778.
|
|
---|---|
กายวิภาคศาสตร์ (Anatomy) • กำเนิดสิ่งมีชีวิต (Origin of life) • จีโนมิกส์ (Genomics) • จุลชีววิทยา (Microbiology) • ชีวเคมี (Biochemistry) • ชีววิทยาของการเจริญ (Developmental biology) • ชีววิทยาของเซลล์ (Cell biology) • ชีววิทยาดวงดาว (Astrobiology) • ชีววิทยาทางทะเล (Marine biology) • ชีววิทยามนุษย์ (Human biology) • ชีววิทยาระบบ (Systems biology) • ชีววิวัฒนาการ (Evolutionary biology) • ชีวสถิติศาสตร์ (Biostatistics) • ชีวสารสนเทศศาสตร์ (Bioinformatics) • นิเวศวิทยา (Ecology) • บรรพชีวินวิทยา (Paleontology) • ปรสิตวิทยา (Parasitology) • ประสาทวิทยาศาสตร์ (Neuroscience) • พยาธิวิทยา (Pathology) • พฤกษศาสตร์ (Botany) • พันธุศาสตร์ (Genetics) • โภชนาการ (Nutrition) • ระบาดวิทยา (Epidemiology) • วิทยาภูมิคุ้มกัน (Immunology) • สรีรวิทยา (Physiology) • สัตววิทยา (Zoology) • อณูชีววิทยา (Molecular biology) • อนุกรมวิธาน (Taxonomy) |
ฮอร์โมน เป็นบทความเกี่ยวกับ การแพทย์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ฮอร์โมน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |