อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ประเภท | อุทยานแห่งชาติทางทะเล |
ที่ตั้ง | ตำบลเกาะพระทอง อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ประเทศไทย (ที่ทำการฯ ตั้งอยู่ที่ตำบลคุระ) |
เนื้อที่ | 84,375 ไร่ (135 ตร.กม.)[1] |
จัดตั้ง | 9 กรกฎาคม 2524 |
นักท่องเที่ยว | 13,510[2] (ปีงบประมาณ 2549) |
ผู้ดำเนินการ | สำนักอุทยานแห่งชาติ |
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ตั้งชื่อตามพระยาสุรินทราชา (นกยูง วิเศษกุล) เทศาเมืองภูเก็ต ผู้ค้นพบเกาะ เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดพังงา มีลักษณะเป็นหมู่เกาะในทะเลอันดามัน อยู่ติดกับชายแดน ไทย - พม่า มีพื้นที่ประมาณ 84375 ไร่ ประกอบด้วยเกาะ 5 เกาะ คือ เกาะสุรินทร์เหนือ เกาะสุรินทร์ใต้ เกาะไข่ (เกาะตอรินลา) เกาะกลาง (เกาะปาจุมบา) เกาะรี (เกาะสต๊อก) และ 1 กองหินปริ่มน้ำ คือกองหินริเชลิว เป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2524 มีแนวปะการังสมบูรณ์ เหมาะสำหรับชมปะการังน้ำตื้น โดยกองหินริเชริว เหมาะสำหรับดำน้ำลึก เป็นแหล่งสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติใต้ทะเล มีปลาหลายชนิด มีโอกาสพบฉลามวาฬ ช่วงเวลาที่เหมาะกับการท่องเที่ยว คือ เดือนพฤษจิกายนถึง เดือนเมษายน
หมู่เกาะสุรินทร์ จะเป็นเกาะที่วางตัวอยู่ในกลุ่มอ่าวขนาดใหญ่ ดังนั้นจึงสามารถที่จะเป็น ที่บังคลื่นลมได้ดี ทั้งสองฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน จึงเป็นแหล่งกำเนิดแนวปะการังน้ำตื้น ที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย
[แก้] อ้างอิง
- ^ อุทยานแห่งชาติ จากธรรมชาติ สู่เขตอนุรักษ์, สำนักอุทยานแห่งชาติ, กรุงเทพฯ, 2545, 49
- ^ สถิติข้อมูลนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ - กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์สวรรค์แห่งทะเลอันดามัน
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ เป็นบทความเกี่ยวกับ อาคาร หรือ สถานที่สำคัญ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |