See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
อำเภอเวียงสา - วิกิพีเดีย

อำเภอเวียงสา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อำเภอเวียงสา
แผนที่จังหวัดน่าน เน้นอำเภอเวียงสา
ข้อมูลทั่วไป
อักษรไทย อำเภอเวียงสา
อักษรโรมัน Amphoe Wiang Sa
จังหวัด น่าน
รหัสทางภูมิศาสตร์ 5507
รหัสไปรษณีย์ 55110
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 1894.893 ตร.กม.
ประชากร 70,342 คน (พ.ศ. 2005)
ความหนาแน่น 37.1 คน/ตร.กม.
ที่ว่าการอำเภอ
พิกัด 18°35′54″N, 100°44′24″E

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดน่าน ห่างจากจังหวัดน่านเป็นระยะทาง 20 กม. มีพื้นที่ประมาณ 1,931 ตร.กม

[แก้] ประวัติ

ตามตำนานที่ไม่มีประวัติที่ทางราชการจัดทำขึ้นแต่อย่างใด เพียงแต่ได้มีนรุ่นเก่า และอดีตข้าราชการรุ่นเก่า ๆ เล่าสืบต่อกันมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งสอดคล้องกับหลักฐานสำคัญทางโบราณวัตถุ และปูชนียวัตถุ ซึ่งพอจะเป็นที่ยืนยันและเชื่อถือได้ กล่าวว่า "อำเภอเวียงสา" เดิมชื่อ "เวียงป้อ - เวียงพ้อ หรือ เมืองพ้อ - เมืองป้อ" เพราะตำนานเล่าว่า ถ้าหากมีเหตุการณ์ร้ายแรงอันใดเกิดขึ้น มักเรียกผู้คนที่มีไม่มากนักตามบริเวณนั้น มาป้อ (รวม) กัน ที่ปากสา (ปากแม่น้ำสาที่ไหลลงสู่แม่น้ำน่าน) ซึ่งต่อไปนี้จะใช้คำว่า "เวียงป้อ" แทนชื่อเรียก อำเภอเวียงสาในอดีต ที่ระบุในตำนานหรือหลักฐานที่สำคัญ ๆ ต่อไป

เวียงป้อ เป็นเมืองที่อยู่ทางทิศใต้ของนครน่าน ระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร แรกตั้งครั้งใด นานเท่าไรไม่ปรากฏ อาจจะมีมาตั้งแต่เมืองป้อยุคหิน เพราะมีหลักฐานปรากฏ เช่น แหล่งผลิตเครื่องมือหิน เครื่องปั้นดินเผา เครื่องใช้ต่าง ๆ ที่ขุดพบ และอีกหลายแห่งที่ยังไม่ได้สำรวจ ตลอดถึงหลักฐานความเจริญรุ่งเรืองในอดีต ปรากฏหลักฐานซากวัดร้างต่าง ๆ เช่น

  • วัดบุญนะ สถานที่ตั้งตลาดสุดสุขาภิบาลกลางเวียง
  • วัดต๋าโล่ง อยู่ห่างจากวัดผาเวียง ไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 4 กิโลเมตร
  • วัดมิ่งเมือง สถานที่ตั้งสำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอเวียงสา
  • วัดป่าแพะน้อย อยู่ห่างจากวัดวิถีบรรพต ไปทางทิศตะวันตก 1 กิโลเมตร
  • วัดสะเลียม อยู่ห่างจากวัดสะเลียมใหม่ (ตำบลยาบหัวนา) 800 เมตร
  • วัดหินล้อม อยู่ห่างจากวัดสะเลียมใหม่ (ตำบลยาบหัวนา) 2 กิโลเมตร

เวียงป้อ เป็นหัวเมืองประเทศราช ขึ้นตรงต่อนครน่าน พงศาวดารน่านได้บันทึกไว้ พ.ศ. 2139 สมัยพระเจ้าเจตบุตรพรหมินทร์ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 31 ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2103 - 2134) ได้เสด็จเวียงป้อ มีใจความตอนหนึ่งของ กล่าวไว้ว่า "่จุลศักราช ได้ 985 เดือน 8 ลง 3 ค่ำ ท่านก็เสด็จลงไปอยู่เมืองพ้อ ไปสร้างวัดดอนแท่นไว้ ได้อภิเษกสามีเจ้าขวา หื้อเป็นสังฆราชแล้ว........."

กล่าวถึงพระยาหน่อเสถียรไชยสงคราม เจ้าผู้ครองนครน่าน ลำดับที่ 35 ได้ทราบตำนานวัดพระธาตุแช่แห้ง มีศรัทธาแรงกล้า จึงบูรณะซ่อมแซมและต่อเติมศาสนสถานแห่งนี้ และกล่าวถึงเจ้าเวียงป้อ ไว้ตอนหนึ่งว่า "ปีเต่าสง้า สร้างบ่อน้ำและโรงอาบ เว็จกุฎิหื้อสมเด็จสังฆราชเจ้าเมืองพ้อ มาเป็นหัวหน้าอยู่ เป็นเค้าเป็นประธานแก่ช่างไม้ทั้งหลาย..."

เหตุการณ์ที่ระบุเจ้าเวียงป้อเป็นช่างใหญ่นั้น แสดงว่า เวียงป้อ เป็นเมืองที่ขึ้นตรงต่อนครน่านราว พ.ศ. 2123 - 2127

พ.ศ. 2243 - 2251 เมืองน่าน และเมืองประเทศราชถูกกองทัพพม่าเผาทำลายเสียหาย ทั้งเมืองวัดวาอาราม ผู้คนถูกเข่นฆ่าจำนวนมาก ชาวน่านแตกตื่นหนีภัยสงครามเข้าอยู่ซ่อนในป่า ในถ้ำทิ้งเมืองร้าง ผลกระทบอันนี้ เมืองป้อ ก็ได้รับเช่นกันดังในพงศาวการนครน่าน ตอนที่ 4 ว่าด้วยเมืองน่านคราวเป็นจราจลความว่า "ปีกาเม็ด จุลศักราช ได้ 1096 ตัว เถินวัน 14 ค่ำ ทัพพม่าครั้งเถิงเมืองแล้วก็กระทำอันตรายแก่เมืองรั้วเมืองทั้งมวล คือ จุดเผาม้างพระพุทธรูป....วัดวาอาราม ศาสนาธรรม พระพุทธเจ้าที่จุดเผาเสี้ยง จะดาไว้แด่แผ่นดินนั้นแล ชาวบ้านชาวเมืองทั้งหลายก็ตายกันเป็นอันมานัก หันแล"

พ.ศ. 2247 - 2251 หัวเมืองต่าง ๆ ขาดผู้ครองเมือง กองทักแกวและกองทัพลาว บุกเข้ากวาดต้อนผู้คนนครน่านและเวียงป้อด้วย ต่อมา พ.ศ. 2322 นครน่านขาดผู้ครองนคร จึงมีผลกระทบต่อเมืองป้อ จากฝ่ายพม่าเข้ามากวาดต้อนผู้คนไปไว้เมืองเชียงแสน ทั้งเมืองให้ไปเมืองร้างจึงเป็นยุคที่เสื่อมโทรมอย่างยิ่ง พงศาวดารของเมืองน่าน ได้กล่าวไว้ตอนนี้ว่า "ในยามนั้น เมืองลานนาไทย ก็บ่เที่ยงสักบ้านสักเมืองแล ดังเมืองน่านเรา เปนอันว่างเปล่า ห่างสูญเสียห้าท้าวพระยาบ่ได้แล" ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าเวียงป้อเป็นเมืองร้าง นานถึง 15 ปี อำเภอเวียงสา ขณะที่ยังไม่ได้สร้างเป็นเมืองหรือเวียงนั้น ได้ถูกสร้างขึ้นเป็นเมือง หรือเวียง โดยเจ้าผู้ครองนครน่านชื่อ "เจ้าฟ้าอัตถาวรปัญโญ" เมื่อ พ.ศ. 2340 คือหลังจากสร้างกรุงเทพมหานคร ได้เพียง 15

จนมีการ ใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ. 116 (พ.ศ. 2440) มีฐานะเป็นเมือง หรือเรียกตามภาษาภาคเหนือว่า "เวียง" และมีชื่อว่า " เวียงป้อ " มีผู้ครองเมือง ซึ่งเป็นเชื้อสายของเจ้าผู้ครองนครน่านชื่อว่า "เจ้าอินต๊ะวงษา" แต่ประชาชนนิยมศึกษาว่า "เจ้าหลวงเวียงสา"

[แก้] ที่ตั้ง

อำเภอเวียงสา ตั้งอยู่ใต้ของจังหวัดน่าน อยู่ห่างจากจังหวัดน่านเป็นระยะทาง 25 กิโลเมตร โดยมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101(แพร–น่าน) อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ เป็นระยะทาง 643 กิโลเมตร

ที่ตั้งของเวียงป้อ นอกจากจะตั้งอยู่ที่ราบระหว่างดอยต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นเมืองที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน แม่น้ำสา แม่น้ำว้า แม่น้ำแหง แม่น้ำปั้ว แม่น้ำสาคร ตลอดถึงสายน้ำน่าน สายน้ำว้าเดิม ที่เปลี่ยนเส้นทางเดินกลายสภาพเป็นหนองน้ำ ซึ่งมีอยู่มากมาย ชาวบ้านเรียกว่า "น้ำครก" และสายธารอื่น ๆ อีกมากมายที่ไหลลงสู่แม่น้ำน่าน จึงทำให้เวียงป้อ ที่เป็นเมืองเล็ก ๆ มีความอุดมสมบูรณ์

เวียงป้อ เป็นเมืองที่อยู่ใกล้นครน่าน ผลกระทบและอิทธิพลด้านต่าง ๆ มักได้รับพร้อมกันกับนครน่าน และเนื่องจากการเดินทางติดต่อโดยทางบก ใช้เวลาเดินทางเท้าประมาณ 6 - 8 ชั่วโมง ถ้าหากขี่ม้าเร็วก็จะประมาณ 2 - 3 ชั่วโมง การเดินทางติดต่อทางน้ำ ใช้เวลาประมาณ 5 - 6 ชั่วโมง

[แก้] อ้างอิง


อำเภอในจังหวัดน่าน ตราประจำจังหวัดน่าน
อำเภอ:

เมืองน่าน - แม่จริม - บ้านหลวง - นาน้อย - ปัว - ท่าวังผา - เวียงสา - ทุ่งช้าง -
เชียงกลาง - นาหมื่น - สันติสุข - บ่อเกลือ - สองแคว - ภูเพียง - เฉลิมพระเกียรติ

อำเภอเวียงสา เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ อำเภอเวียงสา ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย
ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -