See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
องเมียว - วิกิพีเดีย

องเมียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาพ:Shinto priests.jpg
องเมียวจิค่อยๆ ลดบทบาทจากนักเวทย์ มาเป็นนักบวชศาสนาชินโตในปัจจุบัน

องเมียวโด (「陰陽道」 Onmyōdō?) หรือในประเทศไทยนิยมเรียกว่า องเมียว คือ รูปแบบวิชาเวทมนตร์โบราณแขนงหนึ่งในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีรากฐานมาจากโหราศาสตร์และลัทธิเต๋าในประเทศจีน

เนื้อหา

[แก้] วิถีแห่งองเมียว

องเมียวจิผู้พลังเหนือธรรมชาติ
องเมียวจิผู้พลังเหนือธรรมชาติ
องเมียวจิและชิคิงะมิ (เทพบริวาร) จากภาพยนตร์เรื่อง Onmyoji
องเมียวจิและชิคิงะมิ (เทพบริวาร) จากภาพยนตร์เรื่อง Onmyoji
วิถีแห่งองเมียวมีบทบาทสำคัญในการ์ตูนญี่ปุ่นหลายเรื่อง
วิถีแห่งองเมียวมีบทบาทสำคัญในการ์ตูนญี่ปุ่นหลายเรื่อง

คาดว่าเข้ามาสู่ญี่ปุ่นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ก่อนจะผสมผสานเข้ากับความเชื่อ วิถีชีวิต ขนบประเพณีของชาวญี่ปุ่นจนมีรูปแบบเฉพาะตัว โดยเชื่อว่าสรรพสิ่งประกอบด้วยธาตุทั้งห้า อันได้แก่ ดิน น้ำ ไฟ ไม้ และหล็ก และมีพลังเป็นบวกหรือลบ (หยิน-หยาง) ที่จะสร้างความสมดุลให้เกิดความรุ่งเรือง หรืออาจต่อต้านกันจนเกิดหายนะได้ ผู้ที่ศึกษาความสัมพันธ์ดังกล่าวอย่างถ่องแท้ย่อมหยั่งรู้และนำพลังธรรมชาติมาเป็นอำนาจของตนได้ รูปแบบเวทมนตร์นั้นมีทั้งการทำพิธีปัดเป่าโรคภัย พิธีบูชาเทพยดา การปลุกเสกยันต์ เครื่องราง การควบคุมภูตผี ตลอดจนการสาปแช่ง เป็นต้น ซึงเป็นลักษณะความเชื่อของศาสนาชินโต ทั้งหมดล้วนแล้วแต่มีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวญี่ปุ่นในช่วงเวลานั้นอย่างยิ่ง เช่น การเพาะปลูกซึ่งพึ่งพาการทำนายสภาพอากาศ การประกอบพิธีเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชผลต่างๆ ตลอดจนการทำพิธีปัดเป่าสิ่งอัปมงคลที่ทำให้เกิดเภทภัยต่างๆ โดยเฉพาะการทำนายโชคชะตาตามตำราอี้จิง ซึ่งถือเป็นวิชาทำนายอีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป

เป็นเวลาหลายศตวรรษที่องเมียวค่อยๆ ลดบทบาทเรื่องเวทมนตร์และผสมผสานเข้าเป็นส่วนหนึ่งกับศาสนาชินโต ทว่าปัจจุบัน พิธีกรรมสำคัญหลายพิธีกรรมยังจำเป็นต้องให้นักพรตองเมียวเป็นผู้ประกอบพิธีอยู่

นอกจากนี้ชาวญี่ปุ่นยังได้ถ่ายทอดตำนาน เรื่องเล่า และความเชื่อเกี่ยวกับองเมียวไว้หลายวิธีทั้งการเล่าสืบต่อกันมา การบันทึก เช่นในหนังสือคอนจาคุโมโนกาตาริ (Konjaku Monogatarishū) ที่รวบรวมเรื่องราวบางตอนซึ่งเกี่ยวข้องกับองเมียวไว้ หรือการนำองเมียวไปใช้ในการสร้างการ์ตูนหรือภาพยนตร์หลายต่อหลายเรื่อง ซึ่งนอกจากจะให้ความบันเทิงแล้ว ยังเป็นการประยุกต์ที่น่าสนใจ เพราะนำความทันสมัยมาใช้อนุรักษ์วัฒนธรรมโบราณอันสะท้อนความเป็นญี่ปุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ


[แก้] พลังและธาตุ

หยิน-หยาง
แผนผังแสดงความสัมพันธ์และความหมายของธาตุทั้งห้า
แผนผังแสดงความสัมพันธ์และความหมายของธาตุทั้งห้า

หยิน-หยาง (yin-yang) พลังซึ่งคู่กัน หากเท่ากันจึงจะสร้างความสมดุล เช่น บวก-ลบ ชาย-หญิง พระอาทิตย์-พระจันทร์ ร้อน-หนาว กลางวัน-กลางคืน เป็นต้น (สิ่งแรกในแต่ะคู่คือหยาง อีกสิ่งคือหยิน) ภาพวงกลมสีขาว - ดำ คือ สัญลักษณ์ของคู่พลัง และเป็นสัญลักษณ์ของลักธิเต๋าเช่นกัน

ธาตุทั้งห้า ความสัมพันธ์ของธาตุทั้งห้าถือเป็นหลักสำคัญขององเมียว นอกจากนี้ ฮวงจุ้ย ตำราแพทย์จีนโบราณ และศาสตร์ต่างๆ ของประเทศแถบตะวันออกจำนวนมากล้วนมีพื้นฐานมาจากความสัมพันธ์นี้ ซึ่งอธิบายได้ว่า ทุกสิ่งจะมีธาตุเจ้าเรือนของตน หากจัดความสัมพันธ์ให้ถูกต้องย่อมนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ รุ่งเรือง โดยน้ำดับไฟ ไฟหลอมเหล็ก เหล็กตัดไม้ ไม้ทำลายดิน และดินกั้นน้ำ


[แก้] องเมียวจิ ผู้ฝึก องเมียว

ภาพ:Abesho abenoseimei birth.jpg
หินจารึกสุสานอาเบโนะ เซย์เมย์

องเมียวจิ (Onmyoji) นักพรตผู้ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ตามวิถีแห่งองเมียว อยู่ในชุดแขนเสื้อยาว สวมหมวกทรงสูง นักพรตองเมียวที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดได้แก่ อาเบโนะ เซย์เมย์

อาเบโนะ เซย์เมย์ (Abeno Seimei) นักพรตองเมียวที่มีชื่อเสียงที่สุดในสมัยเฮอัน มีชีวิตในช่วงปี 921 - 1005 ตำนานเล่าว่ามารดาของท่านคือสุนัขจิ้งจอก (ชาวญี่ปุ่นถือว่าสุนัขจิ้งจอกเป็นสัตว์ที่มีเวทมนตร์) แรกเริ่มท่านศึกษาโหราศาสตร์จากอาจารย์คาโมโนะ ทาดะยุกิ (Kamono Tadayuki) ต่อมาจึงขึ้นรับตำแหน่งผู้นำขององเมียวซึ่งขึ้นตรงต่อราชสำนัก ท่านสร้างชื่อเสียงจากการใช้วิชาองเมียวในการทำนายภัยพิบัติทางธรรมชาติ

[แก้] คำว่า "องเมียว"

คำว่า องเมียว (陰陽) ในภาษาญี่ปุ่น เขียนเหมือนกับคำว่า "หยินหยาง" (陰陽) ในภาษาจีน ซึ่งมีความหมายเหมือนกันคือศาสตร์เกี่ยวกับโหราศาสตร์และศาสตร์ของเต๋า ในประเทศญี่ปุ่น ใช้ คำว่า องเมียวโด (คันจิ: 陰陽道, ฮิรางานะ: おんみょうどう ,โรมะจิ: Onmyōdō) ซึ่งหมายถึง วิชาเกี่ยวกับองเมียว (โดย "โด" หมายถึงวิชา เหมือน ยูโด หรือ เคนโด) และ องเมียวจิ (คันจิ: 陰陽師, ฮิรางานะ: おんみょうじ, โรมะจิ: Onmyōji) คือ บุคคลที่ฝึกฝนวิชาองเมียว นอกจากนี้ คำอ่านคำว่า องเมียวโด (陰陽道) ในภาษาญี่ปุ่นเขียนที่เขียนในตัวอักษรคันจิสามารถอ่านได้สองแบบคือ องเมียวโด และ องโยโด (おんようどう, โรมะจิ: On'yōdō) และเช่นเดียวกับ องเมียวจิ กับ องโยจิ

[แก้] ดูเพิ่ม


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -