See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) - วิกิพีเดีย

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้ต้องการการจัดรูปแบบข้อความ การจัดหน้า การแบ่งหัวข้อ
การจัดลิงก์ภายใน และหรือการจัดระเบียบอื่น ๆ

คุณสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้! โดยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน จากนั้นจัดรูปแบข้อความ จัดหน้า แบ่งหัวข้อ ทำลิงก์ภายในสำหรับคำสำคัญ หรือจัดระเบียบอื่น ๆ ให้เหมาะสม
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การแก้ไขหน้า การแก้ไขหน้าพื้นฐาน บทความคัดสรร และ นโยบายวิกิพีเดีย

สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) –สทน. (Thailand Institute of Nuclear Technology (TINT) ) ก่อตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2504 โดยมีภารกิจหลัก คือ ศึกษาวิจัย และพัฒนา ตลอดจนเผยแพร่ความรู้และสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์ รวมถึงการกำกับดูแลการใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในประเทศ จนกระทั่งวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2505 จึงมีการนำเครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัยมาติดตั้ง ณ อาคารปฏิกรณ์ปรมาณู สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ถ.วิภาวดีรังสิต ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาวิจัยและพัฒนาการนำพลังงานนิวเคลียร์มาใช้ในการพัฒนาประเทศชาติอย่างจริงจัง เพื่อให้งานควบคุมและกำกับดูแล กับงานวิจัยพัฒนาและการนำนิวเคลียร์ไปใช้ประโยชน์แยกออกจากกันอย่างชัดเจน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจึงได้ก่อตั้งสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน. เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2549 ซึ่งเป็นหน่วยงานที่แยกออกมาจากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ โดยจัดตั้งตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2549

ปัจจุบัน สทน.มีอาคารสำนักงานทั้งหมด 3 แห่ง คือ สำนักงานในกรุงเทพฯ ถนนวิภาวดีรังสิต แห่งที่สอง คือ ศูนย์ฉายรังสีอาหาร คลอง 5 จังหวัดปทุมธานี และแห่งที่สาม ศูนย์วิจัยองครักษ์ ตั้งอยู่ที่ อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก

ภารกิจของสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ หรือ สทน. แบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ส่วนแรก คือ การวิจัยและพัฒนา เทคโนโลยีนิวเคลียร์ ส่วนที่สอง คือ ให้บริการ เผยแพร่ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ของประเทศ

ด้านการวิจัยและพัฒนานั้น สทน.มุ่งมั่นที่จะเป็น Center of Excellent ศูนย์ความเป็นเลิศ ในทางวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีนิวเคลียร์สำหรับประชาชน จึงได้แบ่งงานวิจัยออกเป็น 4 ด้านหลัก คือ

1.การวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุข เป็นการใช้เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณูวิจัย เพื่อผลิตไอโซโทปรังสีสารประกอบติดฉลากรังสีสำหรับการตรวจวินิจฉัย และรักษาโรค เช่น สารประกอบไอโอดีน-131ใช้ตรวจรักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ สารประกอบเทคนีเซียม-99 เอ็ม หลายชนิด ใช้ตรวจอวัยวะภายใน เช่น กระดูก ปอด ไต และสารประกอบซาแมเรียม-153 มีรังสีบีตาที่สามารถทำลายเซลล์มะเร็งในกระดูก ใช้บรรเทาความเจ็บปวดให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งกระดูกระยะสุดท้าย

2. การวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพและการเกษตร ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์พืช โดยใช้เทคนิคการฉายรังสี ซึ่งจะมีสารต้นกำเนิดรังสีแกมมาที่ชื่อว่า โคบอลต์ – 60 ปัจจุบันนี้มีผลิตผลทางการเษตรที่สามารถปรับปรุงพันธุ์ได้สำเร็จ เช่น ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เมื่อฉายรังสี ก็จะเหนียวขึ้น กลายเป็นข้าวเหนียวหอมมะลิ การฉายรังสีเมล็ดพันธุ์แตงโมเพื่อทำให้แตงโมเถาสั้นลง การฉายรังสีเพื่อปรับปรุงพันธุ์กระเจี๊ยบเขียว ให้กลายเป็นกระเจี๊ยบเขียวห้าเหลี่ยม ที่มีความต้านทานโรค และการฉายรังสีบัวหลวงสีเหลือง ซึ่งมีต้นกำเนิดอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้สามารถปลูกในประเทศไทยได้ สำเร็จเป็นแห่งแรกของเอเซีย นอกจากนี้ยังมีการกำจัดแมลงศัตรูพืชด้วยเทคนิคการฉายรังสีเพื่อทำให้แมลงเป็นหมัน โดยการนำแมลงในขณะเป็นดักแด้มาฉายรังสี แล้วปล่อยเข้าสู่วงจรตามธรรมชาติ เมื่อแมลงที่ผ่านการฉายรังสีเติบโตขึ้นและทำการผสมพันธุ์กับแมลงในธรรมชาติก็จะไม่สามารถแพร่พันธุ์ได้อีก สามารถลดจำนวนแมลงที่เป็นศัตรูพืชได้ มีการกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีนี้ในหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนครนายก และ จังหวัดจันทบุรี และการถนอมอาหารด้วยการฉายรังสี เช่น ผลไม้เพื่อการส่งออก

3. การวิจัยด้านวัสดุศาสตร์และอุตสาหกรรม สามารถนำประโยชน์ของรังสีมาใช้ในการปรับปรุงคุณสมบัติของวัสดุ เช่น การฉายรังสีสายไฟ เพื่อให้ฉนวนทนความร้อนมากขึ้น เมื่อเกิดไฟฟ้าลัดวงจร สายไฟก็จะไม่หลอมละลาย การเตรียมวัสดุปิดแผลสดจากไฮโดรเจล เพื่อช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

4. การวิจัยด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย โดยการนำเอาองค์ความรู้ที่ได้มาตรวจสอบสารกัมมันตรังสีต่างๆ ในธรรมชาติ เช่น ยูเรเนียม และในร่างกายมนุษย์ก็มีสารกัมมันตรังสีอยู่ด้วยเช่นกัน ขณะนี้ได้มีการจัดตั้งห้องปฏิบัติการไอโซโทปโฮโดรโลจี้ เป็นการใช้เทคโนโลยีไอโซโทปในการศึกษาอัตราการไหลของน้ำบาดาล การหาแหล่งที่มาของน้ำบาดาล เพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรน้ำ


ด้านงานบริการ สทน.จะทำงานแบบ Solution base คือ พิจารณาจากปัญหาของประชาชนเป็นหลัก แล้วใช้ความเชี่ยวชาญของเราที่เน้นทางด้านนิวเคลียร์ การนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไปสร้างประโยชน์ช่วยแก้ปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างแท้จริง และยั่งยืน ส่วนที่สอง คือ งานด้านบริการ โดยปัจจุบัน สทน.มีศูนย์บริการทั้งสิ้น 5 ศูนย์ได้แก่

1.ศูนย์บริการเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ให้บริการวิเคราะห์ ทดสอบ สอบเทียบทางเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เช่น การวิเคราะห์องค์ประกอบแร่ และองค์ประกอบของธาตุในตัวอย่างของ น้ำ ดิน และอากาศ การตรวจวัดปริมาณรังสีในสินค้าส่งออก รวมทั้งออกเอกสารรับรองให้กับผู้รับบริการ การผลิตเครื่องวัดรังสี และ บริการตรวจซ่อมเครื่องมือวัดรังสี ให้บริการตรวจสอบความผิดปกติโครงสร้างภายในหอกลั่นน้ำมันโดยไม่ต้องหยุดเดินเครื่อง และตรวจสอบโดยไม่ทำลายในการตรวจสอบรอยร้าว รอยเชื่อมของโครงการโลหะต่างๆ

2.ศูนย์ฉายรังสีอาหาร ให้การบริการฉายรังสีผลิตภัณฑ์อาหาร และผลิตผลการเกษตร เช่น เครื่องเทศ สมุนไพร ผลไม้ ผลิตภัณฑ์อาหารทะเล และแหนม นอกจากนั้นศูนย์ฉายรังสีแห่งนี้ยังช่วยส่งเสริมการส่งออกด้วยการให้บริการฉายรังสีผลไม้ 6 ชนิด ได้แก่ มะม่วง ลำไย เงาะ ลิ้นจี่ สัปปะรด และมังคุด เพื่อให้สามารถส่งออกไปขายยังสหรัฐอเมริกาได้

3.ศูนย์ไอโซโทปรังสี ให้บริการผลิตสารไอโซโทปรังสี จัดส่งให้โรงพยาบาล และสถาบันต่างๆ 25 แห่งรวมทั้งบริการฉายรังสีผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์

4.ศูนย์ฉายรังสีอัญมณี ให้บริการฉายรังสีอัญมณีเพื่อเพิ่มมูลค่า เช่น การเปลี่ยนสีของพลอยโทแพซ จากไม่มีสี ให้เป็นสีฟ้าสวยงามทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น 5-30 เท่า

5.ศูนย์จัดการกากกัมมันตรังสี รับริการจัดการกากกัมมันตรังสี รับจัดการกากกัมมันตรังสีจากทั่วประเทศ เช่น จากโรงพยาบาลที่ใช้กัมมันตรังสีในการตรวจรักษาโรค หรือสารรังสีจากโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

นอกจากศูนย์บริการทั้ง 5 แห่งแล้ว สทน.ยังให้บริการด้านวิชาการแก่บุคคลโดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ เช่น การป้องกันรังสี เทคโนโลยีการตรวจสอบโดยไม่ทำลาย การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สนับสนุนการเรียนการสอนด้านนิวเคลียร์ร่วมกับสถาบันการศึกษา ในอนาคตอันใกล้นี้ สทน. เตรียมแผนการดำเนินงานติดตั้งเครื่องอิเล็กตรอนบีม และเครื่องโคบอลต์ – 60 เพื่อฉายรังสีอัญมณี ทำให้สามารถฉายรังสีอัญมณีได้มากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าของการส่งออกอัญมณีให้สูงขึ้นเป็นอันดับสี่ของโลก

นอกจากภารกิจหลักที่ได้กล่าวไปแล้ว สทน.ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานความร่วมมือทางวิชาการและกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับพลังงาน และเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อสันติ ทั้งในประเทศและต่างประเทศโดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ

1.ทบวงการปรมาณูระหว่างประเทศ หรือ IAEA (International Atomic Energy Agency) เป็นองค์กรหนึ่งในสหประชาชาติที่ทำหน้าที่พัฒนา ส่งเสริมและสนับสนุนการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในทางสันติ ซึ่งมีสมาชิกอยู่ 137 ประเทศซึ่งประเทศไทยเป็ยสมาชิกลำดับที่ 58 ของ IAEA 2.RCA (Regional Co-operative Agency Agreement) เป็นการร่วมมือกันด้านนิวเคลียร์ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 17 ประเทศ 3.FNCA (Forum for Nuclear Cooperation in Asia) เป็นการร่วมมือด้านนิวเคลียร์ในเชิงลึกเพื่อทำการศึกษาวิจัยเฉพาะเรื่อง มีประเทศสมาชิกอยู่10 ประเทศ นอกจากนี้ ยังมีการลงนามสัญญาความร่วมมือกันระหว่างประเทศ เช่น ประเทศไทยกับประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น และ ประเทศไทย กับประเทศเกาหลี เป็นต้น และเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการเรียนรู้ ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี สทน.ยังมุ่งส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรทางด้านเทคโนโลยีนิวเคลียร์อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมให้หน่วยงานอื่นทั้งจากภาครัฐและเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีนิวเคลียร์ สำหรับทิศทางในอนาคตนั้น สทน. มีความมุ่งมั่นที่จะวิจัย พัฒนา องค์ความรู้ด้านนิวเคลียร์ และนำความรู้ต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพพลานามัย ตลอดจนผลักดันให้มีการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไปใช้ประโยชน์ให้กว้างขวาง เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อประเทศชาติ และประชาชนต่อไป

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -