สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (Thailand Cultural Centre Station, ชื่อย่อ CUL) เป็นสถานีรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล บนถนนรัชดาภิเษก บริเวณทิศใต้ของสามแยกเทียมร่วมมิตรตัดถนนวัฒนธรรม ด้านหน้าอาคารไทยประกันชีวิต ในพื้นที่แขวงดินแดง เขตดินแดง และแขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร
สถานีแห่งนี้เป็นชุมทางรถไฟฟ้าในทิศทางจากสถานีห้วยขวาง แยกเข้าสู่ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้ามหานคร ซึ่งอยู่บนระดับพื้นดิน และในอนาคตจะเป็นสถานีเชื่อมต่อโดยตรงกับโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม (บางกะปิ-บางบำหรุ) ซึ่งได้สร้างชั้นชานชาลารองรับไว้แล้ว
ก่อนหน้าที่จะมีการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้ามหานครนั้น สถานีแห่งนี้ใช้ชื่อว่า "สถานีเทียมร่วมมิตร" ตามชื่อทางแยกและถนนที่ตัดถนนรัชดาภิเษกบริเวณที่ตั้งสถานี แต่ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อ "สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย" ในภายหลัง โดยที่ตั้งสถานีนั้นมีระยะห่างจากศูนย์วัฒนธรรมฯ เพียง 200 เมตรเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงกลับไม่มีถนนเข้าสู่ศูนย์วัฒนธรรมฯ โดยตรง ผู้โดยสารเมื่อขึ้นจากสถานีแล้วจะต้องเดินอ้อมไปยังแยกเทียมร่วมมิตรและเดินมาตามถนนวัฒนธรรม รวมระยะทางกว่า 600 เมตรจากทางเข้า-ออกสถานีหมายเลข 1 จึงไม่สะดวกเท่าที่ควร และผู้โดยสารส่วนมากก็จำเป็นต้องใช้บริการรถแท็กซี่ หรือรถมอเตอร์ไซค์รับจ้างเข้าสู่ศูนย์วัฒนธรรมฯ
เนื้อหา |
[แก้] รายละเอียดของสถานี
สีสัญลักษณ์ของสถานี ใช้สีน้ำเงินตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา หมายถึงเป็นสถานีเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีส้ม (ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต)[1]
รูปแบบของสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 27 เมตร ยาว 358 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 20 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบกลาง (Station with Central Platform)มีทางเข้า-ออก 4 ทาง ได้แก่
- ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, ลานจอดรถ ใกล้สามแยกเทียมร่วมมิตร
- รัชดาภิเษกซอย 8, อาคารจอดแล้วจร
- ดิ เอสพละนาด, สถานทูตจีน, รัชดาภิเษกซอย 5
- อาคารอาร์เอสทาวเวอร์, อาคารไทยประกันชีวิต, จัสโก้, คาร์ฟูร์ และ โรบินสัน
การจัดพื้นที่ในตัวสถานี แบ่งเป็น 4 ชั้น ประกอบด้วย
- ชั้นศูนย์การค้า เมโทรมอลล์
- ชั้นออกบัตรโดยสาร
- ชั้นชานชาลาในอนาคต เตรียมไว้สำหรับรถไฟฟ้ามหานครสายสีส้ม ซึ่งจะเชื่อมต่อในทิศทางตั้งฉากกันกับรถไฟฟ้าในปัจจุบัน
- ชั้นชานชาลา สำหรับรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน
รถโดยสารประจำทางที่ผ่านสถานีนี้ ได้แก่ สาย 73, 73ก, 98, 136, 137, 157, 163, 172 , 179, 185, 206, 514, 517, 528 และ 529
[แก้] สิ่งอำนวยความสะดวก
- พื้นที่จอดรถ 2 จุด ได้แก่อาคารจอดแล้วจร ความจุ 200 คัน และลานจอดรถ 30 คัน
- ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ทางเข้า-ออกหมายเลข 1 (ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย)
[แก้] สถานที่สำคัญใกล้เคียง
- โรงละครเมืองไทย รัชดาลัยเธียเตอร์ (ภายในศูนย์การค้า ดิ เอสพละนาด)
- ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
- สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
- องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
- สยามนิรมิต
- สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเกาหลีประจำประเทสไทย (สถานทูตเกาหลีใต้)
- สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย
[แก้] ห้างสรรพสินค้าและอาคารสำนักงานโดยรอบ
- คาร์ฟูร์ สาขารัชดาภิเษก
- สยามจัสโก้ สาขารัชดาภิเษก
- ดิ เอสพละนาด
- ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขารัชดาภิเษก
- อาคารไทยประกันชีวิต
- อาคารอาร์เอสทาวเวอร์
- อาคารทรู ทาวเวอร์
[แก้] เหตุการณ์สำคัญในอดีต
วันที่ 17 มกราคม 2548 เวลา 9.30 น. หลังจากเปิดบริการรถไฟฟ้าใต้ดินได้เพียง 3 เดือน ก็เกิดอุบัติเหตุรถเปล่าจากศูนย์ซ่อมบำรุงถอยรถมาชนหัวขบวนรถไฟฟ้าอีกขบวนซึ่งบรรทุกผู้โดยสารกว่า 700 คนและกำลังจอดรับส่งผู้โดยสารภายในสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ปลายทางหัวลำโพง ทำให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 100 คน แต่ไม่มีผู้เสียชีวิต
สาเหตุเกิดจากรถไฟฟ้าใต้ดินขบวนหนึ่งเสียบริเวณทางโค้ง (เป็นบริเวณที่สับราง) ก่อนถึงทางลาดขึ้นสู่ระดับพื้นดินเข้าสู่ศูนย์ซ่อมบำรุง ทางศูนย์ฯ ได้ส่งรถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่งมาช่วยลากรถขึ้นจากอุโมงค์ แต่เนื่องจากรถเสียอยู่บริเวณที่สับรางจึงไม่สามารถลากรถได้ ทางศูนย์ฯ จึงสั่งให้พนักงานขับปล่อยเบรกลมออกเพื่อให้รถพ้นออกไปจากบริเวณที่สับราง ปรากฏว่าตัวรถได้ไหลกลับลงไปในสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ในขณะเดียวกันกับที่มีรถไฟฟ้าอีกขบวนหนึ่งมุ่งหน้าสถานีพระราม 9 ได้จอดรับผู้โดยสารอยู่ในสถานี ทำให้รถไฟฟ้าที่มีผู้โดยสารถูกรถไฟฟ้าที่เสียดังกล่าวไหลมาชนและมีผู้บาดเจ็บหลายราย หลังจากเหตุการณ์นั้นทางบริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BMCL) ก็ได้ออกคำสั่งให้หยุดบริการรถไฟฟ้าใต้ดินถึง 2 สัปดาห์ เพื่อฟื้นฟูสภาพขบวนรถไฟฟ้าและชานชาลาที่เกิดเหตุ
[แก้] อ้างอิง
- ^ จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548
สถานีก่อนหน้า | ขบวนรถไฟ | สถานีต่อไป | ||
---|---|---|---|---|
สถานีพระราม 9 | รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย) |
สถานีห้วยขวาง |
|
|
---|---|
รายชื่อสถานี | หลักสอง · บางแค · ภาษีเจริญ · เพชรเกษม 48 · บางหว้า · บางไผ่ · ท่าพระ · บางกอกใหญ่ · สนามไชย · วังบูรพา · วัดมังกรกมลาวาส · หัวลำโพง · สามย่าน · สีลม · ลุมพินี · คลองเตย · ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ · สุขุมวิท · เพชรบุรี · พระราม 9 · ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย · ห้วยขวาง · สุทธิสาร · รัชดาภิเษก · ลาดพร้าว · พหลโยธิน · สวนจตุจักร · กำแพงเพชร · บางซื่อ · เตาปูน · บางโพ · บางอ้อ · บางพลัด · สิรินธร · บรมราชชนนี · บางขุนนนท์ · พรานนก · พาณิชยการธนบุรี · ท่าพระ |
ดูเพิ่ม | รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล · โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง · กรุงเทพมหานคร · สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร |
แนวเส้นทางโดยคร่าว | สี่แยกลำสาลี (บางกะปิ) · โรงพยาบาลรามคำแหง · สนามราชมังคลากีฬาสถาน · มหาวิทยาลัยรามคำแหง · ถนนประดิษฐ์มนูธรรม · ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า รฟม. · สถานีรถไฟฟ้าศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย · ถนนประชาสงเคราะห์ (พร้อมพรรณ) · ศาลาว่าการ กทม.2 · โรงพยาบาลทหารผ่านศึก · ถนนวิภาวดีรังสิต · สามเหลี่ยมดินแดง · อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ · สี่แยกตึกชัย · สะพานอุภัยเจษฏุทิศ (ใกล้ รพ.รามาธิบดี) · พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน · สวนสัตว์ดุสิต · ถนนราชวิถี · ซังฮี้ · สะพานกรุงธนบุรี · ถนนสิรินธร · บางบำหรุ |
ดูเพิ่ม | รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม · โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง · กรุงเทพมหานคร · สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร |