วิศวกรรมทรัพยากรธรณี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิศวกรรมทรัพยากรธรณี เป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรมศาสตร์ โดยจะผลิตวิศวกรที่สอดคล้องกับสภาพแว้ดล้อมของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป ในด้านการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรณี ที่ใช้เชื่อเพลิงในการผลิตพลังงานให้แก่อุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ ถ่านหิน และเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ซื่งครอบคลุมถึงทรัพยากรแร่โลหะ แร่อุตสาหกรรม หิน รวมไปถึงทรัพยากรน้ำบาดาล
[แก้] การศึกษา
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี ได้จัดให้มีกลุ่มวิชาเพิ่มเติมจากสาขาวิศวกรรมเหมืองแร่เดิม รวมถึงการปรับปรุงเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบไปด้วย 3 กลุ่มวิชาหลัก
- กลุ่มวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่
- กลุ่มวิชาวิศวกรรมทรัพยากร
- กลุ่มวิชาวิศวกรรมอุทกวิทยา
[แก้] แนวทางในการประกอบอาชีพ
วิศวกร สาขาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี สามารถขอรับบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ระดับภาคีวิศวกร ซึ่งสามารถทำงานได้ตามข้อบังคับของสภาวิศวกรว่าด้วยมาตราฐานการประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ พ.ศ. 2546 ใน 3 ลักษณะ คือ งานควบคุมการสร้างและการผลิต งานพิจารณาและตรวจสอบ และงานอำนวยการใช้ ถ้าตามประเภทงานแบ่งได้ 4 ประเภท คือ การทำเหมืองแร่ งานวิศวกรรมที่มีการใช้ระเบิด การแยกวัสดุต่างๆออกจากของที่ใช้แล้วโดยกรรมวิธีแต่งแร่ และ การแต่งแร่
โดยสามารถทำในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล และส่งเสริมอุตสหกรรมการพัฒนาทรัพยากรธรณี ได้แก่ กรมอุตสหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสหกรรม กรมเชื้อเพลิงพลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังสามารถทำงานในหน่วยงานรัฐวิสหกิจและบริษัทที่ผลิตวัตถุดิบที่ได้จากทรัพยากรต่างๆรวมถึงอุตสหกรรมพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น
- กลุ่มแร่เชื่อเพลิง เช่น ถ่านหิน ซึ่งหน่วยงานที่สำคัญ เช่น เหมืองถ่านหินแม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- กลุ่มแร่อุตสาหกรรมก่อสร้าง เช่น เหมืองหินปูน ของบริษัทผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศ เหมืองยิปซั่ม เหมืองหิน สำหรับหินก่อสร้าง หินอ่อน และหินประดับ
- กลุ่มแร่อุตสาหกรรมเซรามิก แก้ว กระจก เช่น เหมืองดินขาว เหมืองแร่เฟลด์สปาร์ ทรายแก้ว
- กลุ่มแร่อุตสาหกรรมอัญมญีและเครื่องประดับ เช่น เหมืองแร่ทองคำ เหมืองพลอย
- กลุ่มอุตสาหกรรมปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ เช่น เหมืองแร่โปแตช เป็นต้น
นอกจากนี้ วิศกรสาขาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี ยังสามารถทำงานได้ ในอุตสหกรรมเกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ หรือรีไซเคิล ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นอุตสาหกรรมที่จำเป็นและมีความสำคัญในอนาคต เช่น หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาในการรีไซเคิล บริษัทกำจัดกากอุตสหกรรม บริษัทคัดแยกและหมุนเวียนโลหะจากเศษทิ้งต่างๆ เช่น เศษทิ้งจากอุตสหกรรม เครื่องประดับ อุตสกรรมอิเล็คทรอนิก เป็นต้น โดยใช้เทคโนโลยีในการแต่งแร่ เข้าประยุกต์ใช้ในอุตสหกรรมดังกล่าว
วิศวกรรมทรัพยากรธรณี เป็นบทความเกี่ยวกับ วิชา ความรู้ และศาสตร์ต่างๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ วิศวกรรมทรัพยากรธรณี ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |