See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
วัดโพธิ์ผักไห่ - วิกิพีเดีย

วัดโพธิ์ผักไห่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้เข้าข่ายว่าอาจละเมิดลิขสิทธิ์ ซึ่งเนื้อหาอาจคัดลอกมาจากแหล่งข้อมูลอื่น โปรดช่วยกันตรวจสอบลิขสิทธิ์
หากคุณเป็นผู้เขียนต้นฉบับเดิมและต้องการเผยแพร่ในวิกิพีเดีย ให้เขียนคำอธิบายในหน้า"อภิปราย" ของหน้านี้และเมื่อแจ้งเสร็จให้นำป้ายนี้ออก
หากคุณเป็นผู้คัดลอกมาลงแต่ไม่ได้เป็นผู้เขียนเอง ให้ศึกษาวิธีเขียนอย่างไรไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ หากคุณรู้ว่าบทความนี้คัดลอกจากแหล่งใดแหล่งหนึ่ง ให้ใส่ป้ายละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อรอการลบแทนที่
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายวิกิพีเดีย ลิขสิทธิ์ และปัญหาลิขสิทธิ์
ประวัติวัดโพธิ์ผักไห่

สภาพฐานะและที่ตั้งวัด

วัดโพธิผักไห่ เป็นพระอารามหลวงชั้น....... ชนิด...... แบบมหานิกาย

อยู่ในเขตการปกครองของคณะสงฆ์ตำบลผักไห่   ตั้งอยู่ทิศตะวันออกตกริมแม่น้ำน้อย 

ทางราชการใช้ว่าตำบลผักไห่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


การเดินทางไปยังวัดนี้ได้ ๑ ทาง ๑. ก. เดินทางโดยรถยนต์ ไปตามถนนสายอยุธยา – เสนา อยู่ตรงข้ามกับเทศบาลตำบลผักไห่ ข. เดินทางโดยรถยนต์ ไปตามถนนสายอยุธยา – บางบาล - ผักไห่ ค. เดินทางโดยรถยนต์ ไปตามถนนสายสุพรรณ – ป่าโมก แยกขวาเข้าอำเภอผักไห่ ผ่านวัดหน้าโคก และตลาดอำเภอผักไห่ ประมาณ ๖ กิโลเมตร

เนื้อที่และที่ดินธรณีสงฆ์

วัดโพธิผักไห่มีเนื้อที่จำนวน ๔๗ ไร่ ๒ งาน ๘๓ ตารางวา มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดิน

( โฉนดที่ดิน สค.๑ เลขที่ ๔๑, กับโฉนดที่  ๙๗๓๔  โฉนดที่ ๑๐๓๗๙ , โฉนดที่ ๑๒๐๒๗ )

บริเวณที่ตั้งของวัดโพธิผักไห่ ในปัจจุบัน มีอาณาเขต ดังนี้ ๑. ทิศเหนือยาว จดที่เอกชนและที่สุขาภิบาล ๒. ทิศใต้ยาว จดโรงเลื้อยจักรโหมวเฮ็งหลี ต.ตาลาน ๓. ทิศตะวันออก ยาวประมาณ ๗ เส้น จดแม่น้ำผักไห่ ๔. ทิศตะวันตก ยาว จดที่สุขาภิบาล กับที่เอกชน

ที่ธรณีสงฆ์ มี ๑ แปลง มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ประมาณ ๖ ไร่ แปลงที่ ๑ ที่ตำบลผักไห่ อำเภอผักไห่ จังหวัด พระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่จำนวนประมาณ ๖ ไร่


ลักษณะพื้นที่โดยทั่วไปของบริเวณที่ตั้งวัด เป็นที่ราบลุ่ม , พื้นที่ราบเสมอกันทั้งวัด ลักษณะคล้ายปากชนาง ทิศตะวันออกตกริมแม่น้ำ ยาว ๗ เส้นตลอดหน้าวัด ทั้งทิศเหนือและทิศใต้ หักเป็นมุมเป็นเหลี่ยมสอบเข้าจนถึงหลังวัด ที่เป็นเส้นตรงขนานไปกับถนนประจำตำบลประมาณ ๑ เส้นเศษ

หลักฐานการตั้งวัด

๑. ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด ประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๒๖ ในยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ฯ ตอนต้น หรืออย่างสูงขึ้นไปกว่านั้นก็อยู่ในตอนปลายอยุธยา ๒. ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ. ๒๓๒๕ - ๒๓๒๖ เนื้อที่กว้าง ๑๒.๐๐ เมตร ยาว ๒๔.๐๐ เมตร และได้ประกอบพิธีผูกพัทธสีมา

ประวัติความเป็นมา

๑. ความเป็นมาของชื่อวัด คงเรียกกันเป็นสามัญว่า “ วัดโพธิ์ ” มาแต่เดิม และต่อมาได้นำชื่อตำบลมาต่อท้าย เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๐ ยุคเจ้าอาวาสรูปที่ ๑๒ เมื่อสมเด็จพระวันรัต ( เฮง เขมจารี ) เป็นเจ้าคณะมณฑล ได้มาตรวจการณ์คณะสงฆ์ ได้มีบัญชาให้เติมชื่อตำบลเข้าข้างท้าย จึงได้เรียกกันอย่างเป็นทางการว่า

“ วัดโพธิผักไห่  ”  ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน  ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีกเลย

๒. ผู้สร้าง จากการสอบถามผู้เฒ่า อายุตั้งแต่ ๘๐ -๙๐ ปี ( ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ) ได้ความว่า เมื่อเกิดมาก็ได้เห็นวัดนี้มาแต่ก่อนแล้ว ก็เป็นเหตุให้ไม่พบหลักฐานปรากฏแต่อย่างใด จึงเรียกได้ว่าเป็นวัดที่มีมาแต่โบราณ ๓. การสร้างและพัฒนาวัด เดิมมีกุฏิอยู่ไม่กี่หลังปลูกอยู่ริมแม่น้ำ มาถึงยุคท่านเจ้าอาวาสรูปที่ ๑๒ พระครูพิสิษฐ์สังฆการ ท่านได้รื้อย้ายขึ้นมาวงแผนผังตั้งรูปใหม่ ให้มีสนามหน้าวัด กุฏิวางเป็นสองแถวตามแนวแม่น้ำ อยู่ห่างจากตลิ่งประมาณ ๑ เส้นเศษ ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้

โบราณวัตถุ ปูชนียวัตถุที่สำคัญของวัด ๑. พระเจดีย์ทรงโบราณ สัญนิฐานตามรูปทรง และศิลปะคาดว่าสร้างในสมัยอยุธยา ตอนปลาย มุมย่อไม้ ๑๒ องค์ใหญ่หน้าพระอุโบสถ ได้ถูกซ่อมใหญ่มาแล้วถึง ๓ ครั้ง ตามข้อพิสูจน์ ดังนี้ - จากการเขียนบอกเล่าของเจ้าอาวาสที่ดำรงตำแหน่ง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๐ ท่านได้สอบถามบุคคลสำคัญ อยู่คนหนึ่ง คือ คุณแม่พวง ยุติศรี เศรษฐินีบ้านผักไห่ ซึ่งเป็นผู้อุปถัมภ์บำรุงวัดนี้มาตลอดตระกูลของท่าน ซึ่งท่านได้เล่าให้กับหลวงพ่อเจ้าอาวาสฟังว่า “ ตั้งแต่ฉันเกิดมาพอจำความได้ เจดีย์องค์นี้ได้ถูกซ่อมมาครั้งหนึ่งแล้ว ” ซึ่งนับได้ว่าเป็นครั้งแรก ( เมื่อสอบถามนั้นท่านอายุได้ ๘๒ ปีแล้ว ) - ครั้งที่ ๒ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๖๗ ยุคท่านเจ้าอาวาสรูปที่ ๑๒ คือท่านพระครูพิสิษฐ์สังฆการ เกิดลมพายุใหญ่พัดยอดเจดีย์หักลงมาประมาณ ๕ – ๖ เมตร ท่านได้ถือโอกาสซ่อมโดยทุบปูนเก่าออกถือปูนใหม่หมดทั้งองค์ และต่อยอดขึ้นไว้ตามรูปเดิม - ครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ เนื่องจากการซ่อมครั้งที่ ๒ ฉาบไว้ด้วยปูนขาวธรรมดาจึงเก่ากะเทาะเร็ว จึงได้มีการทุบปูนเก่าออก ใช้ปูนซีเมนต์ถือใหม่หมดทั้งองค์ กับได้ทุบกำแพงเก่าที่ ก่ออิฐถือปูนทึบธรรมดาออก เปลี่ยนรูปใหมี ดังปรากฏจนทุกวันนี้

๒. พระอุโบสถ สร้างเมื่อ ๒๔๕๖ แล้วเสร็จและฉลองเมื่อวันที่ ๘- ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นการสร้างหลังที่สอง ลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมแบบทรงโรง วัดโดยยาว ๒๒ เมตร กว้าง ๘ เมตร ลักษณะทั่วไป ยกพื้นสูง ๑.๖๕ เมตร คอนกรีต ก่ออิฐอัดแรง หลังคาลด ๓ ชั้นมีมุขหัวท้าย มุงกระเบื้องเคลือบสี ช่อฟ้าปูนปั้น ปิดกระจก พื้นภายในเทคอนกรีตหนา ๔ นิ้วฟุต ปูทับด้วยไม้มะค่าโมงแทนกระเบื้อง ส่วนมุขหน้าและมุขหลังปูด้วยกระเบื้องหินอ่อนของที่ยังเหลือมาจากอุโบสถหลังก่อน ระหว่างประตูด้านหน้าพระอุโบสถทำซุ้มตู้กระจก ประดิษฐ์ฐานหลวงพ่อ ม้วน

- พระอุโบสถหลังเก่า เป็นพระอุโบสถทรงโบราณขนาดเล็กมาก ตั้งอยู่บนพื้นดิน ไม้ได้ยกพื้นสูง มีประตูออกเฉพาะด้านหน้าด้านเดียว มีระเบียงยื่นออกไปด้านหน้า ใช้เสาไม้รับ ๒ ต้น มุงด้วยกระเบื้องดินเผา พระประธานเนื้อหินทรายปัจจุบันประดิษฐาน อยู่หน้าพระอุโบสถ เรียวกว่า “ หลวงพ่อเฒ่า ” เพราะพอกปูนมาแต่เดิม สาเหตุจากการที่ต้องรื้อเพื่อปลูกทดแทนใหม่ มี ๒ ประการคือ ๑. ถูกภัยธรรมชาติ คือถูกฟ้าผ่าลงที่หลังคา ด้านตะวันตก จึงเป็นเหตุให้ เสาปูนแตก สะเทือนผนังร้าวหมดทั้งหลัง ยี่งกว่านั้น ผนังด้านหน้าและด้านหลังแตกร้าวลงมาจนถึงกรอบประตู ขนาดแขนลอดได้ เป็นที่น่าจะเกิดอันตราย จึงต้องรื้อออกหมดทั้งหลัง ผนังด้านข้างเอียงออกจนเกือบสุดขื่อไม้ ๒. เมื่อรื้ออออกทั้งหลังพบว่า ก่ออิฐเป็นผนังขึ้นมาโดยไม่ได้ตอกเสาเข็มเลข แม้แต่ต้นเดียว ซึ่งในการสร้างมีคุณแม่พวง ยุติศรี เป็นเจ้าภาพใหญ่ บริจาคทรัพย์จำนวน ๑๐๐ ชั่งเศษในขณะนั้น รวมทั้งสร้างพระประธาน พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร ขึ้นมาใหม่ เพื่อประดิษฐ์ฐานอยู่ในพระอุโบสถ มีเรื้องแปลกประหลาดที่ผู้เฒ่าผู้แก่ได้เล่าให้ฟังว่า ในพระอุโบสถหลังนี้มี “ ปรอท” คือถ้าใครเข้าไปทำเสียงดังในพระอุโบสถ เช่นตบมือ หรือพูดเสียงดัง ๆ จะเกิดเป็นเสียง เกร่า ๆ ก้องไปทั้งหลัง ทั้งนี้มีความเชื่อกันว่าด้วยอำนาจปรอทกรอ ที่คนโบราณทำซ่อนไว้ภายในโบสถ์นั่นเอง - พระประธานในอุโบสถ เป็นเนื้อโลหะหล่อปิดทอง ลักษณะพระปางมารวิชัย ซึ่งมีหน้าตักกว้าง ๑.๙๐ เมตร สูงสุดพระรัศมี ๒.๕๐ เมตร - พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร เนื้อโลหะหล่อปิดทองปางยืนประนมมือ ขนาดสูง ๑.๖๐ เมตร ทั้งสององค์ - พระพุทธรูปยืนสมัยอยุธยา ปางห้ามสมุทร ศิลปะ พูลหลวง และสมัยอยุธยา ราว ๒ เมตร รอการบูรณะ ๒. ศาลาการเปรียญ มีลักษณะเป็นทรงโบราณ มีความกว้าง ๑๔.๐๐ เมตร ยาว ๒๒.๐๐ เมตร สร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๘ ลักษณะทั่วไป สร้างด้วยไม้ เสาไม้แต้ทั้งสำรับ จำนวน ๓๒ ต้น เสาประธาน ขนาด ๖ กำกึ่ง สำเรียง

 ๔ กำกึ่ง  ทรงโบราณ  มีมุขท้ายเรียกว่า “ มุขประเจิด ” 

แกะสลักลายฉลุรูปเสด็จมหาวิเนตรสกรรม อย่างสวย งามมาแต่เดิม หลังคาลด ๓ ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสี ช่อฟ้าของเก่าใช้ ไม้ปิดกระจก ปูพื้นกระดานไม้สัก ทั้งหลัง ยกอาศน์สงฆ์สูง ด้านหลังใส่ฝาลูกฟักเป็น ของเก่า อีก ๓ ด้านติดประตูเล็กยืด มีศาลาสกัดหัวท้าย ศาลาใหญ่ ด้านละ ๑ หลัง ยาวเท่ากับส่วนกว้างของศาลาใหญ่ มีชานด้านหน้าศาลาใหญ่กว้าง ๖.๐๐ เมตร - มีศาลาคอนกรีตตรีมุข เป็นศาลาน้ำหน้าศาลาการเปรียญสะพานคอนกรีตต่อถึงบันไดลงแม่น้ำน้อย

๓.หอสวดมนต์ หอสวดมนต์ กว้าง ๑๐.๐๐ เมตรยาว ๑๖.๐๐ เมตร มีลักษณะเป็นไม้รางลิ้น สร้างเสร็จเมื่อพ.ศ. ๑๔๘๑ นางไหม นางพัก ปิติพัฒน์ เป็นเจ้าภาพผู้สร้าง ลักษณะทั่วไป เป็นทรงโบราณ เสาไม้แต้เหลากลม ทั้งสำรับยำพื้นภายในเสาประธาน ระเบียงลดรอบตัวมุง กระเบื้องเคลือบสี ช่อฟ้าปูนปิดกระจก ปูพื้นด้วยไม้เนื้อแข็ง


- กุฏิจำนวน ๑๐ หลัง หลังที่ ๑ กว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๑๔.๕๐ เมตร

      ลักษณะทั่วไป เป็นกุฏิไม้เสริมเหล็ก  ฝาก่อด้วยกระเบื้องซีแพ็ก  มุงกระเบื้องเคลือบสี  ช่อฟ้าบนปั้นปิดกระจก  ภายในกั้นเป็นห้อง ๆ หลังละ ๕ ห้อง  สร้างเสร็จแล้ว   แล้ว  ๒  หลัง   และยังส้รางตอ่ไปอีกจนเต็มตามแผนผัง นอกนั้นเป็นกุฏิ ๓   ห้องของเก่า   ทรงไทยโบราณ  ได้ทำการบูรณะซ่อมแซมหรือรื้อส้รางใหม่หมดทั้งหลังรวม ๓  หลังใช้เงินจำนวน   ๙๐๐,๐๐๐   บาทเศษที่สร้างพึงสำเร็จอีก   ๑ หลัง   เป็นกุฎิคอนกรีตเสริมเหล็ก   ๓   ห้อง มุงกระเบื้องเคลือบสี   ช่อฟ้าปูนปิดป้นกระจกพื้นเท

คอนกรีตแล้วปูปาเก้ทับอีกชั้นหนึ่ง ๔. วิหารหลวงพ่อทันใจ เป็นพระพุทธรูป ศิลปเชียงแสน สิงห์ ๑ หน้าตักกว้าง ๓๙ นิ้ว สร้างเมื่อ วันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ . ๒๕๕๐ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุพุทธสาวก , เส้นเกษาพระเถระสำคัญ, ปรอทสำเร็จ,พระยันต์มงคลต่าง ถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธ์ด้วยวิธีกรรม และกุศลจิตร่วมศรัทธาอันแรงกล้า คือ แล้วเสร็จในวันเดียว ถือกันว่า จะอธิฐานขอสิ่งใด ๆ จะเกิดขึ้นผลโดยทันใจ

กำหนดการสร้าง เริ่มด้วย เวลา ๐๑.๓๙ นาฬิกา บวงสรวงและลงมือปั้นพระพุทธรูป “ หลวงพ่อทันใจ ” ณ.บริเวณ ลานหน้าพระอุโบสถ ในเวลา ๙.๓๙ บวงสรวงเทพยาดา ปู่เขาเจ้าวัดเพื่อการพุทธาภิเษก พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ พร้อมกับสวดนพเคราะห์ เสริมดวงชะตา ต่อคณะศรัทธาและสาธุชนผู้มาร่วมงาน

เวลา ๑๑.๐๐ นาฬิกา ถวายภัตราหารเพล  คณะผ้าป่าและสาธุชนร่วมรับประทานอาหารเวลา

เวลา ๑๓.๐๐ นาฬิกา ทอดผ้าป่าสามัคคี เวลา ๑๔.๓๙ นาฬิกา เริ่มพิธีพุทธาภิเษก โดยพระเดชพระคุรพระสุนทรธรรมานุวัตร ( หลวงพ่อละเอียด วัดไผ่ล้อมบางบาล ) พระสงฆ์สวดจตุรวรรคเจริยพระพุทธมนต์ พระเถรานุเถระจำนวน ๕ รูป นั่งปรกเสกวัตถุมงคล และพระพุทธรูป “ หลวงพ่อทันใจ ” คณะสงฆ์นั่งปรก ๑. พระสุนทรธรรมมานุวัตร ( หลวงพ่อละเอียด ) ๒. พระสมบูรณ์ จริยธรรม ( หลวงพ่อแม้น วัดหน้าต่างนอก ) ๓. พระทองหยิบ ปัชโชโต ( หลวงพ่อทองหยิบ วัดบ้านกลาง ) ๔. หลวงพ่อสม ( วัดโพธิทอง ) ๕. พระครูปลัดก่อเกียรติ อินทวีโร

เมื่อเวลา ๑๗.๓๙ นาฬิกา เป็นเวลาที่องค์พระพุทธรูป”หลวงพ่อทันใจ” เสร็จ ก็ทำพิธีดับเทียนชัย ภายในวิหารมีสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ พระพุทธบาท พระพุทธบาท คาดว่าอยู่ในสมัยอยุธยา หรือต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งมีน้ำหนักมากราว ๗๐๐ – ๘๐๐ กิโลกรัม หน้าความกว้าง ๘๐ เซนติเมตร ยาว ๑.๘๐ เมตร เศษ



๕. พระอุปคุต

       พระอุปคุตนี้ได้มีคณะของอาจารย์ ฐานะวัตร   ปิยาภิมุข  ซึ่งเป็นศิษย์ของพระพิจารย์  วิจารโณ  ได้จัดคณะผ้าป่ามาเมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน  พ.ศ. ๒๕๕๐  ซึ่งตรงกับวันพุธ จึงได้มีการตักบาตรพระอุปคุต  โดยการตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งในเวลาตอนกลางคืน  เนื่องจาก มีประวัติแบบ

ย่อว่า เป็นวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ตรงกับคืนวันพุธเป็นประ เพณีที่มีมานานนับพันปีแล้ว พระอุปคุตนั้นท่านมีชื่อว่า พระกีสะนะ อุปคุตากระ เชื่อกันว่าผู้ใดได้ตักบาตร พระอุปคุตผู้นั้นจะมีความสุขความเจริญตลอดชีวิต จากยาจกจะเป็นเศรษฐี จากไม่มีความสุขก็จะมีความสุข ใครปรารถนาอย่างใด ก็จะสมใจในสิ่งที่ตัวปรารถนาทุกประการ ประเพณีนี้เป็นการสืบสานวัฒนธรรมแห่งการทำบุญ ตามแบบล้านนาโบราณ เชื่อกันว่าในคืนวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ พระอุปคุตจะขึ้นมาจากน้ำโปรดเฉพาะบุคลด้วยการไปขอบิณฑบาต ในเวลากลางคืน เพราะท่านมักจะเข้ามาบัติในน้ำที่สะดือทะเล การที่ท่านพึ่งอออกมาจากสมาบัติก็จะทำให้มีอานิสงส์สูงมาก ผู้ใดได้ทำบุญด้วยนั้น บุญก็จะส่งผลให้โดยฉับพลันเป็นปัจจุบัน และกุศลนี้ยังสามารถเปลี่ยนแปลง ทั้งชีวิตให้ไปสู่ทางที่ดีได้ในเรื่องนี้ได้ปรากฏแม้ในปับสาของโบราณอายุนับพันปี กล่าวถึงการตักบาตรพระอุปคุตนี้ จะกระทำเฉพาะตอนกลางคือนของวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำเท่านั้น บางปีที่จะไม่มีตรงกันเลย บางปีก็มีตรงกันหนึ่งครั้ง บางปีก็ตรงกันสองครั้ง จึงนับได้ว่าเป็นบุญที่ทำได้ยากมาก จากการที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในวันงาน ตักบาตรพระอุปคุตนันได้มีคณะศิษย์ของพระอาจารย์ มาเป็นจำนวนมาก จนเนืองแน่นศาลาการเปรียญนั้นแทบจะไม่มีที่ยืนก็ว่าได้ ทุกคนที่มากันนั้นหน้าตาอิ่มเอมกับการที่ได้ร่วมทำบุญ ซึ่งนอกจากการตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ถวายพระอุปคุตตามประเพณีแล้ว ยังมีการสวดนพเคราะห์ให้กับญาติโยมที่มีจิตศรัทธาในวันนั้นด้วยเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ และเสริมบารมีให้กับตนเองอีด้วย พระพุทธรูปในวิหารคต ด้านทิศเหนือ ประกอบด้วย ๑. พระพุทธรูปสมัยอยุธยา ปางมารวิชัย ศิลปะ ขนมต้ม ๑ องค์ ๒. พระพุทธรูปอยุธยาตอนต้น ศิลปอู่ทอง หน้าหนุ่ม ๓. พระพุทธรูปสมัยอยุธยา ปางมารวิชัย เป็นหินทราย ศิลปอู่ทอง ๔. พระพุทธรูปปางห้ามสมุทร ศิลปอยุธยาตอนต้น ๓ ถอด สูงประมาณ ๑.๕๐ เมตร


               เมื่อประมาณก่อน ๒๔๖๐  ได้มีเจ้านายชั้นราชนิกูล  เคยเสด็จผ่านมาประทับ  และได้สร้างประวัติไว้กับวัดนี้โดยย่อดังนี้


๑. เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชการที่ ๕ ได้เสด็จประพาสลำน้ำน้อยมาประทับแรม และได้ ทรงมีศรัทธาบริจาคทรัพ์สร้างสะพานน้ำหน้าวัดถวายไว้ เป็นสะพานไม้เนื้อแข็ง เมื่อหมดอายุผุพังก็ต้องรื้อออก และสร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กขึ้นใช้แทนจนปัจจุบัน ๒. กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดิสกุล ก็ได้เคยเสด็จประพาสลำน้ำน้อยมาประทับแรมที่วัดนี้ และได้นำพระพุทธรูปปางห้ามญาต สมัยอยุธยา ที่พระกรชำรุดหักทั้งสองข้างลงไปซ่อมพระกรและปิดทองให้ใม่ ส่งคืนขึ้นมาพร้อมกับต้นเทียนทองเหลืองหล่อ ถวายไว้ตามเดิม ที่แท่นพระได้จารึกพระนามของท่านไว้เป็นหลักฐานด้วย ยังรักษาไว้ทั้งสองอย่าง


ข้อมูลทั่วไป ปัจจุบันวัดโพธิผักไห่มีเจ้าอาวาสชื่อ พระครูภัทรโพธิธรรม นามเดิม แสวง ฉายา ภทฺรธมฺโม ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔ งานด้านการปกครอง มีพระภิกษุสงฆ์ ในพรรษา จำนวน ๑๑ รูป มีพระนักธรรม จำนวน ๗ รูป คือ ๑. พระครูภัทรโพธิธรรม ฉายา ภทฺรธมฺโม อายุ ๘๐ ปี พรรษา ๒๙ นักธรรมเอก ๒. พระสมุห์วัชรินทร์ ฉายา ธมมปช อายุ ๔๙ ปี พรรษา ๒๗ นักธรรมเอก ๓. พระพิจารย์ ฉายา วิจารโณ อายุ ๕๐ ปี พรรษา ๖ นักธรรมเอก ๔. พระอนันตชัย ฉายา อนันตชโย อายุ ๒๙ ปี พรรษา ๕ นักธรรมโท ๕. พระประสาน ฉายา ฐิตสมปน อายุ ๕๒ ปี พรรษา ๑๖ นักธรรมโท ๖. พระประสิทธิ์ ฉายา โนปภาโต อายุ ๖๓ ปี พรรษา ๑๒ นักธรรมตรี ๗. พระครูก่อเกียรติ ฉายา อินทวิโร อายุ ๕๔ ปี พรรษา ๓๓ นักธรรมตรี


การรับพระราชทานผ้าพระกฐินต้น ๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๔ เมื่อวันที่ ๗ กันยายน ๒๕๒๔ พ.ต.อ. อุภัย สุนทรศารทูล ได้ทำหนังสือยื่นทางสำนักราชเลขาธิการ เพื่อนำความขึ้นกราบ บังคมทูลพระกรุณาอัญเชิญเสด็จ ฯ พระบาทสำเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินต้น ณ วัดโพธิผักไห่ ตามคำวิงวอนเรียกร้องของประชาชนชาวอำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


รายชื่อเจ้าอาวาสจากอดีต จนถึงปัจจุบัน

1. หลวงพ่อแก้ว 2. หลวงพ่อเกิด 3. หลวงพ่อเปี่ยม 4. หลวงพ่อช่วย 5. หลวงพ่อชุ่ม 6. หลวงพ่อพรม 7. หลวงพ่อสอน 8. หลวงพ่อทอง 9. หลวงพ่อพระสมุห์ฉิม เจ้าคณะตำบลวัดผักไห่ 10. หลวงพ่อพราย 11. หลวงพ่อปั่น 12. พระครูพิสิษฐ์สังฆการ ปุณฺณโก ( พูน พินิจกิจ ) เจ้าคณะอำเภอผักไห่ ครองวัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๕๙ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๐ 13. พระครูบวรสังฆกิจ ธมฺมปาโล ครองวัดตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๐ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๒ 14. พระอธิการวีระ เขมวีโร ครองวัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๒ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๓ 15. พระพระครูภัทรโพธิธรรม.ครองวัดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๓ จนถึง ปัจจุบัน

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ http://watpopakhai.tripod.com/


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -