ยาสุจิโร โอสุ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยาสุจิโร่ โอสุ | |
ผู้กำกับ - ยาสุจิโร่ โอสุ |
|
เกิด | 12 ธันวาคม ค.ศ. 1903 ฟูคางาวา โตเกียว ญี่ปุ่น |
เสียชีวิต | 12 ธันวาคม ค.ศ. 1963 |
คู่สมรส | none |
ผลงานเด่น | Tokyo Monogatari (1953) |
ยาสุจิโร่ โอสุ (「小津 安二郎」 Ozu Yasujirō?) (12 ธันวาคม ค.ศ. 1903 - 12 ธันวาคม ค.ศ. 1963) เป็นผู้กำกับชาวญี่ปุ่นที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สุดคนหนึ่ง เนื้อเรื่องในหนังของเขามักจะเกี่ยวข้องกับการแต่งงาน สังคมชนชั้นกลางในเมือง ความห่างเหินระหว่างชาวเมืองและชาวชนบท การมองโลกที่แตกต่างระหว่างเด็ก-ผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่-คนชรา
เนื้อหา |
[แก้] ชีวิตในวัยเด็ก
โอสุเกิดที่ ฟูคางาวา โตเกียว เมื่ออายุได้ 10 ปี เขาถูกส่งไปอาศัยอยู่ที่บ้านของพ่อของเขาพร้อมกับแม่และพี่น้องของเขาที่เมืองมัสสุซากะ ซึ่งเป็นเมืองที่เขาใช้ชีวิตช่วงวัยเยาว์เป็นส่วนใหญ่ ได้รับการศึกษาในโรงเรียนกินนอน แต่เขากลับเอาเวลาว่างส่วนใหญ่ไปดูหนังที่โรงหนังแถวบ้านแทนที่จะไปเรียน โอสุไปเป็นอาจารย์อยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะกลับโตเกียวในปี ค.ศ. 1923 และเข้าทำงานกับบริษัท Shochiku Film Company
[แก้] ช่วงแรกของการทำงาน
ตอนที่โอสุได้เข้าไปที่ Shochiku ช่วงแรกๆนั้นได้เป็นผู้ช่วยผู้กำกับภาพ หลังจากนั้นอีก 3 ปีก็ได้เป็นผู้ช่วยผู้กำกับ และได้กำกับหนังเรื่องแรก ชื่อ Zange no Yaiba ("The Sword of Penitence") ในปี 1927 หลังจากนั้นโอสุก็กำกับหนังต่อมาเรื่อยๆถึง 53 เรื่อง
ช่วงแรกของการกำกับหนังจะเป็นหนังสั้นแนวตลกขำขันเสียส่วนใหญ่ แต่หลังจาก ค.ศ.1930 หนังของเขาก็เริ่มมีเนื้อหาที่เข้มข้นขึ้น หนังเรื่อง His Umarete wa mita keredo ("I Was Born, But…", 1932) เป็นหนังตลกที่แฝงเนื้อหาเอาไว้เกี่ยวกับความคิดอ่านของเด็กๆที่มีต่อบุคคลรอบข้าง เป็นหนังเรื่องแรกที่ได้รับเสียงตอบรับทั้งรายได้ และนักวิจารณ์ภาพยนตร์ในขณะนั้น
หนังมีเสียงในฟิล์มเรื่องแรกของโอสุคือเรื่อง Hitori Musuko (Only Son)
[แก้] ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1937 บริษัทภาพยนตร์โชชิคุเริ่มไม่พอใจกับผลงานของโอสุเนื่องจากหนังของเขาทำรายได้ไม่ดีนัก ถึงแม้หนังจะได้รางวัลและรับเสียงตอบรับทางบวกจากนักวิจารณ์มากมาย เมื่อโอสุอายุ 34 ปี เข้าได้ไปเป็นทหารรับใช้องค์จักรพรรดิ และได้ไปประจำการเป็นทหารราบ ที่ประเทศจีนในสงคราม Second Sino-Japanese
หลังจากปลดประจำการแล้ว โอสุกลับมากำกับหนังใหม่เรื่อง Toda-ke no Kyodai("Brothers and Sisters of the Toda Family", 1941) ซึ่งเป็นหนังทำเงินและได้เสียงตอบรับในทางบวก เนื้อเรื่องในหนังเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่มีต่อพ่อกับลูกที่จากกันไปเป็นเวลานาน
ในปี ค.ศ. 1943 โอสุเริ่มเขียนเกี่ยวกับหนังแนวทหารเพื่อใช้เป็นโฆษณาชวนเชื่อในพม่า แต่เขากลับถูกส่งไปที่สิงคโปร์ ซึ่งช่วงเวลานั้นเอง เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการดูหนังฝั่งอเมริกา ซึ่งในตอนนั้นหนังอเมริกันถูกแบนในญี่ปุ่นหมด จากหนังสือชีวประวัติโอสุของ Donald Richie หนังอเมริกันที่โอสุชอบมากคือเรื่อง ซิติเซน เคน ของ ออร์สัน เวลส์
[แก้] หลังสงครามโลก
หนังของโอสุช่วงหลังสงครามโลกได้รับการตอบรับค่อนข้างดีแทบทุกเรื่อง อาทิ Banshun ("Late Spring", 1949) ,Tokyo Monogatari ("Tokyo Story", 1953) (ซึ่ง Tokyo Story นักวิจารณ์และผู้ที่ชื่นชอบดูหนังหลายคน ยกย่องให้เป็นหนัง masterpiece ของเขา) , และเรื่องต่อๆมา Ochazuke no Aji ("The Flavour of Green Tea Over Rice", 1952), Soshun ("Early Spring", 1956), Higanbana ("Equinox Flower", 1958 ), Ukikusa ("Floating Weeds", 1959) and Akibiyori ("Late Autumn", 1960)
หนังของโอสุส่วนใหญ่จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างครอบครัวญี่ปุ่นสมัยเก่ากับครอบครัวยุคใหม่ และความกดดันในครอบครัว หนังของโอสุในยุคหลังจะเน้นธีมแนวนี้แทบทุกเรื่อง ซึ่งปรากฏได้เด่นชัดในหนังเรื่อง Tokyo Story ของเขา สังเกตได้ว่าในหนังเรื่องนี้จะพูดถึงความรับผิดชอบในบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนในครอบครัว และความแตกต่างด้านการใช้ชีวิตในเมืองกับชนบท การละทิ้งคนชราเพื่อมาปักหลักสร้างครอบครัวในเมืองหลวง
โอสุชอบใช้นักแสดงหน้าเดิมๆ อย่าง Chishu Ryu,เซ็ตซึโกะ ฮาระเรียกได้ว่าหนังของเขามีตัวละครเดิมๆอยู่แทบทุกเรื่อง เพียงแต่เปลี่ยนบทบาทและหน้าที่ของนักแสดงเท่านั้นเอง และมักร่วมงานกับผู้กำกับภาพคู่หู Yuharu Atsuta ส่วนเรื่องการเขียนบทนั้นในระยะหลัง เมื่องานของเขาเริ่มเป็นที่รู้จักแล้ว โอสุก็ร่วมงานกับ Kogo Noda มาตลอด และแทบไม่เคยร่วมเขียนบทกับคนอื่นเลย
หนังเรื่องสุดท้ายที่เขากำกับคือ Sanma no aji ("An Autumn Afternoon", 1962) ซึ่งเป็นภาพยนตร์สีเพียงไม่กี่เรื่องที่เขาถ่ายทำ และตายจากไปด้วยโรคมะเร็งเมื่ออายุ 60 ปี ในวันเกิดของเขาพอดี สุสานของโอสุฝังอยู่ที่วัดเอ็นกะกูจิ คามาคุระ(Engaku-ji , Kamakura)
[แก้] สไตล์ของโอสุ
หนังของเขามีเทคนิคการถ่ายแนว minimalist ในระยะหลังที่มีเสียงในฟิล์ม โอสุมักจะวางกล้องไว้นิ่งๆ ขนาบกับพื้นเสื่อ (ภาษาภาพยนตร์เรียกว่า Tatami shot) และใช้เลนส์ความยาวมาตรฐานอยู่เสมอ ทิ้งกฏการแพนกล้อง 180องศา และจะไม่ขยับกล้องไปไหนเลย โอสุปฏิเสธเทคนิคการซูมเข้าออก การเฟดภาพและทรานซิชั่นต่างๆซึ่งหนังในสมัยนั้นนิยมใช้กันมาก และในระหว่างที่ตัวละครมีบทสนทนาจะถ่ายไปที่ตัวละครตรงๆ แทนที่จะใช้การถ่ายผ่านไหล่ผู้ฟัง(Over the shoulder shot)
[แก้] รายชื่อหนังของโอสุ
ปัจจุบันนี้มีหนังเพียงแค่ 33 เรื่อง เท่านั้นที่ยังหลงเหลือมาถึงทุกวันนี้ จากทั้งหมด 53 เรื่อง
- Days of Youth (1929,学生ロマンス 若き日)
- Walk Cheerfully (1930,朗かに歩め)
- I Flunked But... (1930,落第はしたけれど)
- That Night's Wife (1930,その夜の妻)
- The Lady and The Beard (1931)
- Tokyo Chorus (1931,東京の合唱)
- I Was Born, But... (1932,大人の見る繪本 生れてはみたけれど)
- Where Now Are The Dreams Of Youth (1932,靑春の夢いまいづこ)
- Woman of Tokyo (1933,東京の女)
- Dragnet Girl (1933)
- Passing Fancy (1933)
- A Mother Should be Loved (1934) (no complete prints known to exist)
- A Story of Floating Weeds (1934, 浮草物語)
- An Inn in Tokyo (1935)
- The Only Son (1936, ひとり息子)
- What Did the Lady Forget? (1937,淑女は何を忘れたか)
- Brothers and Sisters of the Toda Family (1941,戸田家の兄妹)
- There Was a Father (1942, 父ありき)
- Record of a Tenement Gentleman (1947,長屋紳士録)
- A Hen in the Wind (1948,風の中の牝鶏)
- Late Spring (1949, 晩春)
- The Munakata Sisters (1950, 宗方姉妹)
- Early Summer (1951,麥秋)
- Tea Over Rice (1952,お茶漬けの味)
- Tokyo Story (1953, 東京物語)
- Early Spring (1956, 早春)
- Tokyo Twilight (1957, 東京慕色)
- Equinox Flower (1958, 彼岸花)
- Good Morning (1959, お早よう)
- Floating Weeds (1959, 浮草)
- Late Autumn (1960), 秋日和)
- The End of Summer (1961, 小早川家の秋)
- An Autumn Afternoon (1962, 秋刀魚の味)
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- A Yasujiro Ozu Resource
- ชีวประวัติ โอสุ ยาสุจิโร่ ที่เว็บไซต์ IMDb
- Profile at Japan Zone
- Yasujiro Ozu's JMDb Listing (in Japanese)
- Directions for finding Yasujiro Ozu's grave at Engaku-ji
- Peter Bradshaw, The Guardian, June 10, 2005, "The quiet master"