มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (อังกฤษ: University of Cambridge) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1209 เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับสองของสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ในเมืองเคมบริดจ์ อังกฤษ ได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลก เป็นมหาวิทยาลัยลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุด ในบรรดามหาวิทยาลัยทั้งหลายในโลก กล่าวคือ 81 รางวัล
เนื้อหา |
[แก้] ประวัติ
ในปี ค.ศ. 1209 ผู้ก่อตั้งเป็นกลุ่มคณาจารย์และนักศึกษาที่ย้ายมาจาก มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ตำนานกล่าวว่าเดิมทีนักศึกษาและครูอาจารย์ในอ๊อกซฟอร์ดทะเลาะเบาะแว้งกับชาวบ้านชาวเมืองอ๊อกซฟอร์ดอย่างรุนแรง จนมีชาวบ้านคนหนึ่งถูกจับแขวนคอตาย คณาจารย์และนักศึกษากลุ่มหนึ่งกลัวความผิดเลยพากันหนีไปที่เมืองเล็ก ๆ ริมฝั่ง แม่น้ำแคม แล้วรวมตัวกันสอนจนเกิดเป็นมหาวิทยาลัยขึ้นมา สถานที่แรกที่มีการเรียนการสอนเกิดขึ้นคือ Peterhouse ซึ่งเป็นวิทยาลัย (college) แรกของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ระบบการเรียนการสอนของเคมบริดจ์จึงคล้ายกับของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด นักศึกษาและครูอาจารย์ของสองมหาวิทยาลัยนี้เรียกรวมๆ ว่า พวก อ๊อกซบริดจ์
ต่อมา เคมบริดจ์ได้ขยายตัวและรับนักศึกษาเพิ่มขึ้นจึงมีการจัดตั้งวิทยาลัยเพิ่มขึ้น จนปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ประกอบด้วย 31 วิทยาลัย ระบบวิทยาลัยนี้มีลักษณะคล้ายบ้านของนักเรียนในหนังสือ แฮรี่ พอตเตอร์ คือ พอเข้าอาศัยที่ไหนแล้วก็ไม่เปลี่ยน (ยกเว้นตอนเปลี่ยนระดับการศึกษา อาจขอเปลี่ยนได้) แม้นักเรียนจากแต่ละวิทยาลัยจะเรียนร่วมกันใน คณะ/สาขาต่างๆ, แต่จะมีระบบติว (supervision) แยกจากกัน นักเรียนแต่ละวิทยาลัยจะแข่งขันกัน ทั้งด้านการเรียน และกิจกรรม, ทุกวิทยาลัยจะมีประเพณีของตัวเอง มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ของตัวเอง มีสีและสัญลักษณ์ของตัวเอง และ มีทรัพย์สินอาคารบ้านเรือนของตัวเอง (เช่น สระว่ายน้ำ สนามสควอช ที่ให้เช่าริมฝั่งแม่น้ำ Thame หอศิลป์ โบสถ์ อาคารธุรกิจ หุ้นในประเทศต่าง ๆ ฯลฯ) ดังนั้น วิทยาลัยของเคมบริดจ์หลาย ๆ แห่ง จึงมีฐานะร่ำรวย และชอบที่จะแข่งขันกันว่าใครจะให้ความสะดวกแก่เด็กตัวเองได้มากกว่ากัน หรือจ้างอาจารย์หรือ Fellow ที่มีชื่อเสียงมาเป็นที่ปรึกษาด้านวิชาการให้วิทยาลัยของตน อาจารย์มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ส่วนใหญ่ก็จะมีวิทยาลัยสังกัด แต่เวลาสอน ก็สอนเด็กทุกวิทยาลัย ฐานะทางการเงินของวิทยาลัยนี้จะตรงข้ามกับตัวมหาวิทยาลัย ที่ยังต้องพึ่งพิงรายได้จากรัฐ และค่าเล่าเรียนจากนักเรียน
[แก้] เกียรติภูมิของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นหนึ่งในหลายๆ สถาบันการศึกษาในโลกที่ได้รับการจับตามอง ระหว่างที่ประเทศโลกเสรีพยายามพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อป้องกันประเทศ เมื่อเกิดภัยคุกคามจากเยอรมนีซึ่งมี อด๊อฟ ฮิตเลอร์ เป็นผู้นำ ระหว่างนี้ มหาวิทยาลัยหลายแห่ง มีการเคลื่อนไหวทางวิชาการอย่างคึกคัก เพราะรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณการวิจัยเป็นจำนวนมหาศาล อาทิเช่น มหาวิทยาลัยปารีส มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด มหาวิทยาลัยมอสโกสเตท มหาวิทยาลัยเบอร์ลิน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยเยล สถาบันเอ็มไอที ฯลฯ มหาวิทยาลัยเหล่านี้จึงแข่งขันกันอยู่ในที บางทีก็มีการดึงเอาคณาจารย์จากกันไปโดยเพิ่มเงินเดือนให้สูงกว่าก็มี
เมื่อเทียบกับหลายมหาวิทยาลัยในโลก เคมบริดจ์ได้เปรียบทางวิทยาศาสตร์อยู่มาก เพราะรากฐานทางวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยนี้เข้มแข็งมาช้านาน ดังนั้น ตั้งแต่อดีตจวบจนยุคปัจจุบัน นอกจากจะได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นเยี่ยมในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของอังกฤษแล้ว ยังเป็นมหาวิทยาลัยลัยที่มีผู้ได้รางวัลโนเบลสูงที่สุดในโลก กล่าวคือมีถึง 80 รางวัล เพราะความมีชื่อเสียงในด้านการวิจัยนี้เอง ในระยะหลัง เคมบริดจ์ได้รับการช่วยเหลือสนับสนุนด้านเงินทุนจากหลายหน่วยงาน เช่น EPSRC และ Gates Foundation ทำให้เคมบริดจ์มีสถานะการเงินที่ดีกว่ามหาวิทยาลัยในอังกฤษอื่นๆ หลายแห่ง
ที่จริงแล้ว มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกที่จัดตั้งสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย แต่บังเอิญว่างานวิจัยส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ซึ่งสมัยก่อนนั้น ยังไม่มีการนำไปใช้เชิงพาณิชย์เท่าใดนัก จึงขยายตัวสู้สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ดซึ่งเกิดทีหลัง แต่มีปริมาณงานวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์มากกว่าไม่ได้ แต่ระยะหลัง สำนักพิมพ์ของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ก็เริ่มพัฒนาขึ้นอย่างมาก เห็นได้จากปริมาณงานทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ซึ่งมีเพิ่มขึ้น
ในปี พ.ศ. 2548 (ค.ศ. 2005) วารสาร The Times Higher Education Supplement ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์มีคะแนนรวมเป็นอันดับ 3 ของโลก โดยแบ่งเป็น: อันดับ 1 ของยุโรปในคะแนนรวม, เป็นอันดับ 1 ของโลกด้านวิทยาศาสตร์, เป็นอันดับ 6 ของโลกทางด้านเทคโนโลยี, อันดับ 2 ของโลกทางด้านชีวเวช, อันดับ 8 ของโลกด้านสังคมศาสตร์ และ อันดับ 3 ของโลกด้านศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์
ในปี พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) วารสาร The Times Higher Education Supplement ได้อันดับมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ให้มีคะแนนรวมเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
[แก้] วิทยาลัยในสังกัดมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
(ตัวเลขข้างท้าย คือปี ค.ศ. ที่ก่อตั้ง)
- ไครส์ท คอลเลจ Christ's College, 1505
- เชอร์ชิลล์ คอลเลจ Churchill College, 1960
- แคลร์ คอลเลจ Clare College, 1326
- แคลร์ ฮอลล์ Clare Hall, 1965
- คอร์ปัส คริสตี้ คอลเลจ Corpus Christi College, 1352
- ดาร์วิน คอลเลจ Darwin College, 1964
- ดาว์นิ่ง คอลเลจ Downing College, 1800
- เอมมานูเอล คอลเลจ Emmanuel College, 1584
- ฟิสวิลเลิ่ยม คอลเลจ Fitzwilliam College, 1966
- เกอร์ตั้น คอลเลจ Girton College, 1869
- กอนวิลล์ แอนด์ คีย์ส์ คอลเลจ Gonville and Caius College, 1348
- โฮเมอตั้น คอลเลจ Homerton College, 1976
- ฮิวจ์ส ฮอลล์ Hughes Hall, 1885
- จีซัส คอลเลจ Jesus College, 1497
- คิงค์ คอลเลจ King's College, 1441
- ลูซี่ คาเวนดิช คอลเลจ Lucy Cavendish College, 1965
- มอจ์ดลิ่น คอลเลจ Magdalene College, 1428
- นิว ฮอลล์ New Hall, 1954
- นิวแน่ม คอลเลจ Newnham College, 1871
- เพมโบรค คอลเลจ Pembroke College, 1347
- พีเตอร์เฮาร์ท คอลเลจ Peterhouse, 1284
- ควีนส คอลเลจ Queens' College, 1448
- โรบินสัน คอลเลจ Robinson College, 1979
- เซนท์ แคทเธอรีนส์ คอลเลจ St Catharine's College, 1473
- เซนท์ เอดมันด์ส คอลเลจ St Edmund's College, 1896
- เซนท์ จอห์น คอลเลจ St John's College, 1511
- ซิลวิ่น คอลเลจ Selwyn College, 1882
- ซิดนี่ ซัสเซกส์ คอลเลจ Sidney Sussex College, 1596
- ทรินิที้ คอลเลจ Trinity College, 1546
- ทรินิที้ ฮอลล์ Trinity Hall, 1350
- วูลฟ์สัน คอลเลจ Wolfson College, 1965
ในจำนวนวิทยาลัยทั้งหมดนี้ มี 3 วิทยาลัยที่รับเฉพาะนักศึกษาหญิงเท่านั้น (นิวแน่ม คอลเลจ, ลูซี่ คาเวนดิช คอลเลจ, และ นิว ฮอลล์) และ 4 วิทยาลัยที่รับเฉพาะนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา (แคลร์ ฮอลล์, ดาร์วิน คอลเลจ, วูลฟ์สัน คอลเลจ, และ เซนท์ เอดมันด์ส คอลเลจ)
[แก้] ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ผลิตนักวิจัย ได้รางวัลโนเบล 81 รางวัล มากกว่ามหาวิทยาลัยทุกแห่งในโลก ส่วนมากเป็นนักวิทยาศาสตร์เพราะมหาวิทยาลัยเน้นทางนี้มากกว่าสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ศิษย์เก่าชาวต่างประเทศที่มีชื่อเสียงก็มีจำนวนมาก
- Abdus Salam (St' John) - โนเบล, ทฤษฎี Electroweak
- Alan Hodgkin (Trinity) - โนเบลการแพทย์
- แอลัน ทัวริง (Alan Turing) (King's)- บิดาแห่งวิทยาการคอมพิวเตอร์
- Amartya Sen (Trinity) - โนเบลเศรษฐศาสตร์
- Archibald vivian Hill (Trinity) - โนเบลการแพทย์
- Arthur Cayley (Trinity) - สร้างระบบเมตริกส์
- Augustus De Morgan (Trinity) - นักตรรกศาสตร์
- Austen Chamberlain (Trinity) - โนเบลสันติภาพ
- A. A. Milne (Trinity) - ประพันธ์ Winnie the Pooh
- เบอร์ทรันด์ รัสเซลล์ (Bertrand Russell) (Trinity) - นักคณิตศาสตร์
- Brian Josephson (Trinity) - โนเบลฟิสิกส์, semiconductors
- ชาลส์ ดาร์วิน (Chales Darwin) (Christ's) - นักชีววิทยา
- Charles Glover Barkla - โนเบล, รังสีเอกซ์
- ชาร์ลส แบบเบจ (Charles Babbage) (Trinity) - นักคณิตศาสตร์/คอมพิวเตอร์
- Charles Rolls (Trinity) - ตั้งบริษัท Rolls-Royce
- C. S. Lewis (Magdalene) - นักประพันธ์
- Douglas Adams (St' John) - นักประพันธ์
- Emma Thompson (Newnham)- นักแสดงรางวัลออสการ์
- Ernest Rutherford (Trinity) - โนเบลเคมี, บิดาแห่งนิวเคลียร์ฟิสิกส์
- Sir Francis Bacon (Trinity) - นักปราชญ์ (นักวิทยาศาสตร์ นักประพันธ์ นักกฎหมาย)
- Francis Crick (Gonville and Caius) - โนเบล, ค้นพบดีเอ็นเอ
- Frederick Sanger (St' John) - โนเบล 2 ครั้ง, โครงสร้างโมเลกุล
- Godfrey Harold Hardy (Trinity) - นักคณิตศาสตร์
- Harold Abrahams (Gonville and Caius) - นักกีฬาโอลิมปิค (ชีวิตถูกสร้างเป็นหนังเรื่อง Chariots of Fire)
- Henry Cavendish (Peterhouse) - นักฟิสิกส์
- Henry Dunster (Magdalene) - ประธานคนแรกของ มหาวิทยาลัย Harvard, สหรัฐอเมริกา
- Henry Hallett Dale (Trinity) - โนเบลการแพทย์
- Isaac Barrow (Trinity) - นักคณิตศาสตร์
- ไอแซก นิวตัน (Isaac Newton) (Trinity) - นักฟิสิกส์
- James Chadwick (Gonville and Caius) - โนเบล, ค้นพบนิวตรอน
- James Clerk Maxwell (Trinity) - นักฟิสิกส์
- James D. Watson (Clare)- โนเบล, ค้นพบดีเอ็นเอ
- Jawaharlal Nehru (Trinity) - นายกรัฐมนตรีคนแรกของอินเดีย
- John Cockcroft (Churchill)- โนเบล, แยกอะตอม
- John Harvard (Emmanuel) - ตั้ง มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด, สหรัฐอเมริกา
- John Pople (Trinity) - โนเบลเคมี
- John Maynard Keynes (King's) - นักเศรษฐศาสตร์
- John Wallis (Emmanuel)
- J.J. Thomson - โนเบล, ค้นพบอิเล็คตรอน
- Lord Byron (Trinity) - นักประพันธ์
- Lord Burghley (St' John) - นักการเมือง/ที่ปรึกษาหลักของ Queen Elizabeth I
- Lord Rayleigh - โนเบล, ค้นพบอาร์กอน
- Martion Ryle (Trinity) - โนเบลการแพทย์
- Maurice Wilkes - นักคอมพิวเตอร์ (EDSAC)
- Maurice Wilkins - โนเบล, โครงสร้างดีเอ็นเอ
- Max Perutz - โนเบล, โครงสร้างโปรตีน
- Niels Bohr (Trinity) - โนเบล, กลศาสตร์ควอนตัม
- Oliver Cromwell (Sidney Sussex) - นักการเมือง/Lord of Protector
- Osborne Reynolds - นักคณิตศาสตร์
- Owen Willans Richardson - โนเบล, Thermionic
- พอล ดิแรก (Paul Dirac) (St' John) - โนเบล, กลศาสตร์ควอนตัม
- Rajiv Gandhi (Trinity) - นายกรัฐมนตรีอินเดีย
- สตีเฟ่น ฮอว์คิง (Stephen Hawking) (Gonville and Caius) - นักฟิสิกส์
- Subramanyan Chandrasekhar (Trinity) - โนเบล, โครงสร้างดาราศาสตร์
- Sylvia Plath (Newnham) - กวี
- Ted Hughes (Pembroke) - กวี
- Walter Gilbert (Trinity) - โนเบลเคมี
- William Harvey (Gonville and Caius) - การแพทย์
- William Lawrence Bragg (Trinity) - โนเบล, การรักษาด้วยรังสีเอกซ์. ตอนอายุ 25 ปี
- William Thomson, 1st Baron Kelvin (Peterhouse) - นักฟิสิกส์ ผู้สร้างหน่วย Kelvin สำหรับการวัดอุณหภูมิ
[แก้] ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียงชาวไทย
- พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
- พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์
- พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ (น.ม.ส)
- ศ. ม.ล. จิรายุ นพวงศ์
- บุญมา วงศ์สวรรค์
- พชร อิสรเสนา
- ศ. ดร. เจตนา นาควัชระ
- ดร. สุเมธ ชุมสาย ณ อยุธยา
- ศ. ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์
- ดร. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
- ม.ล. เสรี ปราโมช
- อานันท์ ปันยารชุน
- สมเถา สุจริตกุล
- มล.มานิต ชุมสาย ฯ
- เสฐียรพงษ์ วรรณปก
- ศ.ดร. ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์
- ศ. จรัญ ภักดีธนากุล
- ศ. รังสรรค์ ธนะพรพันธ์
- ศ. ดร. ผาสุก พงษ์ไพจิตร