ภาษีอากร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษีอากร คือสิ่งที่รัฐบาลบังคับเก็บจากราษฎร เพื่อใช้เป็นประโยชน์ส่วนรวม โดยไม่ได้มีสิ่งตอบเเทนโดยตรงแก่ผู้เสียภาษีอากร หรืออีกความหมาย คือ เงินได้หรือทรัพยากร ที่เคลื่อนย้ายจากเอกชนไปสู่รัฐบาล เเต่ไม่รวมถึงการกู้ยืมหรือขายสินค้า หรือให้บริการในราคาทุนโดยรัฐบาล วัตถุประสงค์ในการเก็บภาษี เพื่อหารายได้ให้พอกับค่าใช้จ่ายของรัฐบาล เพื่อการกระจายรายได้ เพื่อควบคุมการบริโภคของประชาชน เพื่อการชำระหนี้สินของรัฐบาล หรือสนองนโยบายธุรกิจ เเละการคลังของรัฐบาล ประเภทภาษีอากร เเบ่งเป็นภาษีอากรทางตรง เเละภาษีทางอ้อม ซึ่งกฎหมายที่ทางรัฐบาลใช้ในการเรียกเก็บภาษี คือ ประมวลรัษฎากร
ลักษณะของภาษีอากรที่ดี รัฐธรรมนูญเกือบทุกฉบับมักบัญญัติให้ประชาชนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ ในการบัญญัติกฎหมายภาษีอากรที่ดีนั้น มีหลักการบางประการที่ควรคำนึงถึง เพื่อให้ประชาชนมีความสมัครใจในการเสียภาษีอากร และให้กฎหมายดังกล่าวใช้บังคับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภาษีอากรที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
- มีความเป็นธรรม
- มีความแน่นอน และชัดเจน
- มีความสะดวก
- มีประสิทธิภาพ
- มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ
- อำนวยรายได้
- มีความยืดหยุ่น
โครงสร้างของกฎหมายภาษีอากร กฎหมายภาษีอากรทุกฉบับ มีหัวข้ออันเป็นโครงสร้างของกฎหมายฉบับนั้นๆ ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 6 หัวข้อด้วยกัน คือ
- ผู้มีหน้าที่เสียภาษีอากร
- ฐานภาษีอากร
- อัตราภาษีอากร
- การประเมินการจัดเก็บภาษีอากร
- การอุทธรณ์ภาษีอากร
- เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม และโทษ
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
- หนังสือ ภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร 2549 รวบรวมและเรียบเรียงโดย กลุ่มนักวิชาการภาษีอากร
ภาษีอากร เป็นบทความเกี่ยวกับ เศรษฐศาสตร์ การเงิน ธุรกิจ หรือ การค้า ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ภาษีอากร ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |