พ่าเก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวไทพ่าเก เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาอาศัยอยู่ที่ประเทศอินเดีย โดยอพยพเข้าทางทิวเขาปาดไก่ ทางตอนเหนือของประเทศพม่าปัจจุบัน ถิ่นเดิมของชาวไทพ่าเกอยู่ที่เมืองเมาหลวง ต่อมาได้ติมตามกษัตริย์อาหมมาอยู่ที่เมืองกอง (โมกอง) บริเวณถ้ำผาใหญ่ และผานั้นเป็นผาอันเก่าแก่มาก จึงได้ชื่อว่า ชาวไทพ่าเก ถึงปี พ.ศ. 2358 จึงอพยพข้ามทิวเขาปาดไก่จึงอพยพสู่เมืองนุนสวนคำ ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่รัฐอรุณาจัลประเทศ ต่อมาถูกน้ำท่วมบ้านเรือนเสียหาย จึงอพยพมาอยู่ริมลำน้ำจิก ครั้งอังกฤษเข้ามาปกครองเมืองนุนสวนคำ จึงย้ายไปอยู่ริมแม่น้ำทิหิงจนถึงปัจจุบัน
เนื้อหา |
[แก้] หมู่บ้านไทพ่าเกใต้
หมู่บ้านไทพ่าเกใต้ ตั้งอยู่ในตำบลชัยปุระ ชาวไทพ่าเกใต้เป็นกลุ่มคนไทในอินเดียที่พูดภาษาไทได้ และใช้ในชีวิตประจำวันด้วย ชาวไทพ่าเกใต้นับถือพระพุทธศาสนา
[แก้] การแต่งกายของชาวพ่าเกใต้
ชาวพ่าเกใต้ ผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่นลาย ผู้ชายนุ่งโสร่งแบบพม่า หรือมิฉะนั้นก็จะนุ่งโจงกระเบนขาว หรือที่เรียกว่า ผ้าโธตีแบบฮินดู
[แก้] บ้านเรือนของชาวพ่าเกใต้
ที่หมู่บ้านพ่าเกใต้ มีลักษณะบ้านแตกต่างจากบ้านของชาวไทอาหมในโกหาติ คือเป็นแบบไทยในชนบท คือปลูกแบบยกพื้นมีใต้ถุนสูง มีนอกชานนอยู่นอกบ้าน ตัวบ้านทำด้วยไม้จริง และไม้ไผ่
[แก้] หมู่บ้านไทพ่าเกเหนือ
ชาวบ้านที่นั้นยังพูดภาษาไทพ่าเกอยู่ แต่คำเก่าเริ่มสูญไปเรื่อยๆ ส่วนคำใหม่ก็ไม่มีใครคิดขึ้น จึงมีภาษาอัสสัมมิส ภาษาพม่า และภาษาอังกฤษ ปะปนอยู่มาก และในวันข้างหน้าภาษาไทที่นี้อาจจะดับสูญไปก็ได้ เพราะภาษาไทพ่าเกจะมีชีวิตต่อไปได้ ภาษามักต้องขยายตัวเพิ่มคำขึ้นในภาษา ถ้าสร้างเองไม่ทัน หรือไม่เหมาะก็มักต้องยืมภาษาอื่นแต่ถ้าไม่มีการสร้างใหม่ ไม่นานก็จะกลายเป็นภาษาตาย และเลิกใช้กันในที่สุด
[แก้] ทอฝ้าย
คนไทในพ่าเกเหนือเก่งแต่การทอผ้าฝ้าย แต่ทอไหมไม่เป็น และไม่สันทัดในการเลี้ยงไหม ซึ่งต่างจากชาวไทอาหมที่ทอผ้าไหมเก่งมาก
[แก้] สังคมของไทพ่าเกเหนือ
ความเป็นสังคมเครือญาติของไทพ่าเกเหนือมีสูงมาก กับคนที่มาเยี่ยม ทั้งหมดจะถือว่าเป็นญาติพี่น้อง จึงเรียกแขกว่า "ปี่หน่อง" ผู้หญิงที่นั่นจะไม่ร่วมรับประทานอาหารพร้อมผู้ชายเพราะต้องคอยดูแลให้ผู้ชายรับประทานอาหารก่อน
[แก้] อ้างอิง
- ประวัติศาสตร์ชนชาติไท ของกัญญา ลีลาลัย
|
|
---|---|
ภาษาไหล-เกยัน | หลี • เจียมาว • เกลาว • ลาติ • ลาติขาว • จาเบียว • ลาคัว • ลาฮา |
ภาษาคำ-ไท | เบ • แสก • ลักเกีย • อ้ายจาม • ต้ง • คัง • มู่หลาม • เหมาหนาน • สุย |
กลุ่มภาษาคำ-ไท > กลุ่มภาษาไท
|
|
กลุ่มเชียงแสน | ไทดำ • ไทยวน (ล้านนาไทย) • ไทขาว • ไทยสยาม • ไทฮ่างตง • ไทแดง • พวน • ตูลาว |
กลุ่มลาว-ผู้ไท | ลาว • ญ้อ • ผู้ไท • ไทยอีสาน |
กลุ่มไทพายัพ | อาหม • อ่ายตน • คำตี่ • คำยัง • พ่าเก • ไทขึน • ไทใหญ่ (ฉาน) • ไทลื้อ • ไทเหนือ |
กลุ่มอื่นๆ | ปายี • ไทถาน • ไทยอง • ไทหย่า |
ภาษาไต(อื่นๆ) | จ้วง • นุง • ต่าย (โท้) • ตุรุง • นาง • ปูยี |
|
|
---|---|
ชมกลุ่มหลัก | อดิ • มิสมี |
ชนกลุ่มน้อย | Aka • Apa Tani • Ashing • Bori • Chikum Dui • Chugpa • Deori • Digaru • Gallong • Hill Miri • Khamba • ขำติ (คำตี่) • คำยัง • Khowa • Lhoba • Lishipa • ลีซอ • Padam • Palibo • พ่าเก • เมมบา • มอนปา • มิจิ • Mikir • มินยอง • มิจู • Mishing • นาคา • Nishi • นอคเต • Nga • Ran • เชอร์ดุกเปน • Singpho • Sulung • ทักปา • ทังซา • Tutsa • หวั่นชู • Zekhring |