See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ - วิกิพีเดีย

พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้ต้องการเก็บกวาด ตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไขรูปแบบ เพิ่มแหล่งอ้างอิง ใส่หมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือภาษาที่ใช้ ในส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนด้วยกัน เพื่อให้ได้ตามมาตรฐานวิกิพีเดียไทย
คุณสามารถช่วยแก้ไขได้ โดยการตรวจสอบและปรับปรุงบทความนี้

กรุณาเปลี่ยนไปใช้ป้ายข้อความอื่น เพื่อระบุสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ หรือแก้ไข
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วิธีแก้ไขหน้าพื้นฐาน คู่มือการเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย เมื่อบทความนี้ได้รับการแก้ไขตามนโยบายแล้ว ให้นำป้ายนี้ออก

  • การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2495

เนื่องด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2495 ให้กระทรวงกลาโหมจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การทหาร (Military Museum) ของทั้ง 3 กองทัพขึ้น เพื่อจัดเป็นประวัติศาสตร์และแสดงวิวัฒนาการในทางการทหารของประเทศไทยในอดีตและปัจจุบัน จึงได้ออกคำสั่งกระทรวงกลาโหม(พิเศษ) ที่ 50/19491ลงวันที่ 26 กันยายน 2495 ตั้งคณะกรรมการพิจารณาจัดตั้งพิพิธภัณฑ์การทหาร เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ให้เป็นผลสมความมุ่งหมาย

    • คณะกรรมการตามคำสั่ง กห.(พิเศษ) ที่ 50/19491 ประกอบด้วย
      • 1. พล.อ.หลวงเสนาณรงค์ ปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นประธานกรรมการ
      • 2. พล.ท.จิร วิชิตสงคราม ที่ปรึกษาการทหาร เป็นรองประธานกรรมการ
      • 3. พล.อ.ท.เพิ่ม ลิมปิสวัสสดิ์ เจ้ากรม ชอ.เป็นประธานกรรมการ
      • 4. พล.ต.สุรพล สุรพลพิเชตถ รองผู้อำนวยการศึกษาและวิจัย สธ.กลาโหม เป็นกรรมการ
      • 5. พล.ร.ต.เอกไชย อิศรางกูร ณ อยุธยา ร.น. เจ้ากรม ยศ.ทร.เป็นกรรมการ
      • 6. พ.อ.ขุนเสนาทิพ ผบ.รร.นายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นกรรมการ
      • 7. น.อ.พล สุวรรณประเทศ ร.น. รองเจ้ากรม สพ.เป็นกรรมการ
      • 8. พ.อ.เกียรติ บุรกสิกร เสธ.กรมสรรพาวุธ ทบ.เป็นกรรมการ
      • 9. ผู้แทนกรมศิลปากร หลวงบริบาลบุรีภัณฑ ์(ตามที่ได้ตกลงกับกรมศิลปากรแล้ว) เป็นกรรมการ

โดยให้คณะกรรมการนี้มีหน้าที่พิจารณากำหนดโครงการและงบประมาณซึ่งเกี่ยวกับการจัดหาสถานที่การก่อสร้างอาคาร ตลอดจนการรวบรวมจัดหาบรรดาสรรพสิ่งต่าง ๆ เพื่อที่จะนำมาประกอบ การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทหารนี้ขึ้น ด้วยเหตุนี้ทางราชการเห็นเป็นการสมควรที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศขึ้น ดังนั้นในปี พ.ศ. 2495 กองทัพอากาศได้ออกคำสั่งกองทัพอากาศ (พิเศษ) ที่ 288/18709 ลงวันที่ 8 กันยายน 2495 เรื่อง ให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ (จอมพลอากาศ ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ) และได้ตั้งคณะกรรมการดำเนินการรุ่นแรก มี 5 ท่าน

    • คณะกรรมการดำเนินการรุ่นแรก มี 5 ท่านประกอบด้วย
      • 1. พลอากาศโท เพิ่ม ลิมปิสวัสดิ์ เป็นประธานกรรมการ
      • 2. พลอากาศตรี หลวงกร โกสียกาจ เป็นกรรมการ
      • 3. พลอากาศตรี เจือ ปุญยโสนี เป็นกรรมการ
      • 4. พลอากาศตรี มนัส เหมือนทางจีน เป็นกรรมการ
      • 5. นาวาอากาศเอก นักรบ บิณษรี เป็นกรรมการ

มีหน้าที่พิจารณาดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการชุดนี้ได้วางรากฐานพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ โดยมุ่งหมายจัดหายุทธภัณฑ์และสันติภัณฑ์ทุกประเภท ตามยุคตามสมัย เป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน เช่น เครื่องบิน เครื่องยนต์ วิทยุ อาวุธ และอุปกรณ์อื่น ๆ มารวบรวมไว้

  • สถานที่ตั้งอาคารพิพิธภัณฑ์ครั้งแรก พ.ศ. 2495

ในครั้งแรกได้ใช้โรงงานช่างอากาศที่ 3 (โรงงานการซ่อม ชอ.โรงสังกะสีแบบแฮงการ์) ซึ่งอยู่ฝั่งตะวันตกของสนามบินดอนเมือง เป็นสถานที่ตั้งแสดงพัสดุพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว ในขณะเดียวกัน ทางกระทรวงกลาโหม มีความประสงค์ที่จะจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทหาร เพื่อประโยชน์ในการศึกษาและเป็นประวัติศาสตร์ของทหาร โดยได้ตั้งกรรมการประกอบด้วยผู้แทน 3 เหล่าทัพ พิจารณาดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทหาร ในการนี้กองทัพอากาศ ได้ให้เจ้ากรมช่างอากาศ (พล.อ.ท.เพิ่ม ลิมปิสวัสดิ์) เป็นผู้แทนของ ทอ.ไปร่วมประชุม ซึ่งคณะกรรมการได้เสนอของบประมาณค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น ประมาณ 30 ล้านบาท เป็นค่าซื้อที่ดิน 10 ล้านบาท ค่าตกแต่งที่ดิน 5 ล้านบาท ค่าก่อสร้างอาคารแต่ละกองทัพ ๆ ละ 5 ล้านบาท กระทรวงกลาโหมพิจารณาแล้วเห็นพ้องต้องกับคณะกรรมการ จึงได้เสนอเรื่องตามหนังสือกระทรวงกลาโหมที่ 4208/2497 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2497 ให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วแจ้งว่า ไม่สามารถจะหาเงินมาจ่าให้ได้ในขณะนั้น เนื่องจากเงินของประเทศอยู่ในระยะที่ขาดแคลน อาจจะมีความจำเป็นจะต้องใช้เงินเพื่อรับสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ กระทรวงการคลัง จึงเห็นสมควรที่จะระงับเรื่องนี้ไว้ก่อน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้ประชุมปรึกษาลงมติเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2497เห็นชอบด้วย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ การจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ทหารจึงได้ระงับไว้ก่อน

  • การปรับปรุงพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ เมื่อ พ.ศ. 2501 - 2502

ในปี พ.ศ. 2501 กองทัพอากาศได้มีคำสั่งกองทัพอากาศ (เฉพาะ) ที่ 86/01 ลงวันที่ 22 ตุลาคม 2501 เรื่องให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ (สมัยจอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ) ได้จัดตั้งกรรมการขึ้นใหม่อีกคณะหนึ่ง เพื่อดำเนินการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ของ กองทัพอากาศจากชุดก่อนคือ

      • 1. พล.อ.ท.เพิ่ม ลิมปิสวัสดิ์ เป็นประธานกรรมการ
      • 2. พล.อ.ต.เจือ ปุญยโสนี เป็นกรรมการ
      • 3. พล.อ.ต.สวน สุขเสริมเป็นกรรมการ
      • 4. พล.อ.ต.พิชิต บุญยเสนา เป็นกรรมการ
      • 5. น.อ.เอกชัย มุสิกบุตร เป็นกรรมการ
      • 6. น.อ.วิทย์ แก้วสถิตย์ เป็นกรรมการ
      • 7. น.อ.วีระ อุมนานนท์ เป็นกรรมการ

คณะกรรมการได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ซึ่งกำหนดไว้ทำนองเดียวกันกับคำสั่ง ทอ. (พิเศษ) ที่ 288/18709 คณะกรรรมการชุดนี้ได้ดำเนินการขอสถานที่โรงเก็บกระสุนวัตถุระเบิดของกรมสรรพวุธทหารอากาศ ซึ่งอยู่ติดกับพิพิธภัณฑ์อีก 1 โรง เพื่อใช้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์เพิ่มเติม เพราะรวบรวมพัสดุพิพิธภัณฑ์ได้มากขึ้น และผู้บัญชาการทหารอากาศได้อนุมัติแล้วในด้านการจัดหาวัสดุพิพิธภัณฑ์ คณะกรรมการได้ขอความร่วมมือจากส่วนราชการต่าง ๆ ที่มีวัสดุพิพิธภัณฑ์ ให้ทำบัญชีรายงานวัสดุซึ่งมีทั้ง วัสดุจริง ภาพถ่าย ตลอดจนเอกสารต่าง ๆ พร้อมทั้งประวัติ แบบ ชนิด สมรรถนะ ชื่อบริษัทผู้ผลิตหรือสั่งซื้อ ปีที่ประจำการ ชื่อผู้บริจาค ให้แก่กองทัพอากาศ ราคาและอื่น ๆ และรวบรวมวัสดุเอกสารเหล่านั้นไว้ก่อน เมื่อมีสถานที่เก็บแล้วทางพิพิธภัณฑ์จึงจะขอรับมาเก็บต่อไป การดำเนินการพิพิธภัณฑ์ในระยะนี้ฝากให้อยู่ในความดูแลของกรมช่างอากาศ

  • การโอนกิจการพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ

ในปี พ.ศ. 2502 กองทัพอากาศได้มีคำสั่งที่ 20025/02 ให้โอนสถานที่และพัสดุพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศไปขึ้นอยู่กับ แผนกตำนานและสถิติ กองเสมียนตรา กรมสารบรรณทหารอากาศ ซึ่ง จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้มาทำพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ เป็นทางการ เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2502

  • พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ ได้รับความสนใจ

กิจการพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศได้เจริญขึ้นตามลำดับ ได้มีผู้สนใจเข้าชมเป็นจำนวนมากโดยเฉพาะในวันสำคัญของทางราชการ เช่น วันเด็ก วันกองทัพไทย วันแสดงกิจการบิน กองทัพอากาศ ได้เปิดพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนเข้าชม ปรากฏว่าได้รับความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ นับว่าได้ผลสมความมุ่งหมายของทางราชการเป็นอย่างยิ่ง

พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ นอกจากเป็นที่รวบรวมพัสดุพิพิธภัณฑ์อันหาค่าเปรียบมิได้ในทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังได้มีโอกาสอันสำคัญในการช่วย เชื่อมสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ กล่าวคือ ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เสด็จเยือนประเทศ สหรัฐอเมริกา พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เมื่อปี พ.ศ. 2503 นั้น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า วชิราลงกรณ์ (สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์) ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรเครื่องบินเมืองแคลร์มอนต์ รัฐแคลิฟอร์เนีย หัวหน้าพนักงานผู้รักษาพิพิธภัณฑ์แห่งนั้น ได้ทูลเกล้า ฯ ถวายพระบรมฉายาลักษณ์และสมุดภาพเครื่องบินต่าง ๆ พร้อมกับทูลขอพระราชทานเครื่องบินแบบ สปิตไฟร์ ซึ่งกองทัพอากาศไทย เคยมีไว้ประจำการ ไปไว้ในพิพิธภัณฑ์เมืองแคลร์มอนต์ เนื่องจากได้ทราบว่ามีเครื่องบินชนิดนี้เก็บไว้ที่จังหวัดต่าง ๆ ในประเทศไทยหลายแห่ง สำนักเลขาธิการได้ติดต่อผ่านกระทรวงกลาโหม สอบถามมายังกองทัพอากาศว่ามีพอจัดให้ได้หรือไม่ กองทัพอากาศแจ้งไปว่าเครื่องแบบนี้ได้ปลด ประจำการแล้ว มีเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ พร้อมที่จะมอบให้ 1 เครื่อง เป็นชนิดไม่ติดอาวุธและอยู่ในสภาพเรียบร้อย การอนุมัติอยู่ใน อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ซึ่งได้อนุมัติและนำทูลเกล้าถวายเพื่อพระราชทานแก่พิพิธภัณฑ์เครื่องบินเมืองแคลร์มอนต์ต่อไป นับว่า ได้สนองฝ่าละอองธุรีพระบาทล้นเกล้าล้นกระหม่อม ในการเผยแพร่เกียรติคุณ และขื่อเสียงของชาติไทยในต่างแดนอีกด้วย

  • การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ พ.ศ. 2505

ในปี พ.ศ. 2505 กองทัพอากาศได้มีคำสั่งกองทัพอากาศ (เฉพาะ) ที่ 113/05 ลงวันที่ 27 กันยายน 2505 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงและขยายกิจการพิพิธภัณฑ์ ทอ.(พล.อ.อ.บุญชู จันทรุเบกษา เป็นผู้บัญชาการทหารอากาศ) ต่อจากกรรมการชุดก่อน คณะกรรมการตามคำสั่งนี้ประกอบด้วย

      • 1. จก.ยศ.ทอ. เป็นประธานกรรมการ
      • 2. จก.ส.ทอ. เป็นกรรมการ
      • 3. จก.สพ.ทอ. เป็นกรรมการ
      • 4. จก.พธ.ทอ. เป็นกรรมการ
      • 5. จก.ชย.ทอ. เป็นกรรมการ
      • 6. จก.สบ.ทอ. เป็นกรรมการ
      • 7. รอง จก.ชอ. เป็นกรรมการ
      • 8. พล.อ.ต.สดับ ธีระบุตร เป็นกรรมการ
      • 9. พล.อ.ต.ชูศักดิ์ ชุติวงศ์ เป็นกรรมการ
      • 10. หก.สม.สบ.ทอ. เป็นกรรมการและเลขานุการ

โดยให้ ผช.เสธ.ทอ.ฝ่ายยุทธบริการ เป็นที่ปรึกษาของคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดใหม่นี้ มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ ในหลักใหญ่ 2 ประการ คือ

      • 1. วางแผนและดำเนินการทั้งปวงในอันที่จะปรับปรุงและขยายกิจการพิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ ให้เหมาะสมและทันสมัย
      • 2. จัดหายุทธภัณฑ์ สันติภัณฑ์ทุกประเภท ตามลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน และอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร

สถานที่เก็บรักษาและตั้งแสดงคงใช้โรงงานการซ่อม ชอ.ตามเดิม ต่อมาในปี 2509 ได้ รับมอบอาคารเพิ่มเติมอีก 4 หลัง ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกัน

  • สถานที่อาคารพิพิธภัณฑ์หลังใหม่ พ.ศ. 2512

ด้วยกองทัพอากาศมีความจำเป็นต้องมอบพื้นที่บริเวณที่ตั้งอาคารพิพิธภัณฑ์เดิม (โรงงานกรมช่างอากาศที่ 3) ให้ใช้ประโยชน์ในกิจการบิน พาณิชย์ กองทัพอากาศจึงได้พิจารณาสร้างอาคาร พิพิธภัณฑ์ใหม่ ตั้งอยู่ด้านขวาของถนนพหลโยธิน (เมื่อเดินทางเข้ากรุงเทพ ฯ) ห่างจากกรุงเทพ ฯ (อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ) ประมาณ 24 กิโลเมตร และเยื้องกับโรงเรียนนายเรืออากาศ ได้เริ่มสร้างเมื่อ วันที่ 26 มีนาคม 2511 แล้วเสร็จเมื่อ วันที่ 15 พฤศจิกายน 2511 สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน 6,635,000.- บาท (หกล้านหกแสนสามหมื่นห้าพันบาทถ้วน) และได้ทำพิธีเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2512 ได้เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -