See also ebooksgratis.com: no banners, no cookies, totally FREE.

CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
พระแม่มารีและพระบุตร - วิกิพีเดีย

พระแม่มารีและพระบุตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลิงก์ข้ามภาษาที่แทรกในบทความนี้ ผู้เขียนอาจใส่ไว้เพื่อความสะดวกสำหรับผู้อ่านและผู้ร่วมปรับปรุงแก้ไขบทความ ให้โยงไปถึงบทความที่เกี่ยวข้องในภาษาอื่นเพื่อการตรวจสอบหรืออ่านเพิ่มเติม เนื่องจากคำ หรือวลีนั้นๆ ยังไม่มีคำแปลหรือคำอธิบายที่เหมาะสมในภาษาไทย เมื่อหมดความจำเป็นแล้ว ลิงก์ข้ามภาษาจะถูกตัดออกหรือเปลี่ยนเป็นข้อความที่ไม่มีลิงก์แทน ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานวิกิพีเดียไทย

พระแม่มารีและพระบุตร หรือ มาดอนน่าและพระบุตร (ภาษาอังกฤษ: Madonna and Child; ภาษาอิตาลี: Madonna col Bambino) เป็นรูปสัญลักษณ์ (Icon) ที่สำคัญที่สุดรูปหนึ่งในคริสต์ศาสนาซึ่งเป็นรูปของพระแม่มารีและพระเยซูเมื่อยังทรงพระเยาว์

“พระแม่มารีและพระบุตร” โดย ฟิลลิปโป ลิปปี (Filippo Lippi)
“พระแม่มารีและพระบุตร” โดย ฟิลลิปโป ลิปปี (Filippo Lippi)

เนื้อหา

[แก้] ที่มาและประวัติ

มาดอนน่า ในภาษาอิตาลียุคกลางหมายถึงสตรีผู้สูงศักดิ์หรือมีความสำคัญ และเป็นคำที่ใช้เรียกแทนรูปสัญลักษณ์ของแมรีผู้เป็นพระมารดาของพระเยซู คำว่า “Madonna” แปลว่า “My Lady” ซึ่งเป็นการเน้นความใกล้ชิดของผู้เคร่งครัดซึ่งเปรียบได้กับภาษาฝรั่งเศสว่า “Madonna” ซึ่งแปลว่า “Our Lady” ชื่อที่ใช้นี้เป็นการแสดงถึงความนิยมของ “ลัทธินิยมพระแม่มารี” และการแพร่หลายของภาพวาดของมารีที่สร้างเพื่อสนองความต้องการของ “ลัทธินิยมพระแม่มารี” ในยุคกลาง คำว่า “Madonna” กลายมาเป็นที่ยอมรับกันในหลายภาษาในทวีปยุโรป

หลังจากที่มีความขัดแย้งกันในความเหมาะสมของตำแหน่งของมารีในนามของ “พระมารดาของพระเจ้า” (ภาษากรีก: Theotokos) ทางสภาอิฟิซัสครั้งที่ 1 (First Council of Ephesus) ก็ยอมรับตำแหน่งของพระแม่มารีว่าเป็น “พระมารดาของพระเจ้า” รูปสัญลักษณ์รูปแรกของพระแม่มารีและพระบุตรวาดเมื่อ ค.ศ. 431 เป็นภาพเขียนบนผนังทึ่เก็บศพแบบรังผึ้งพริสซิลลา (Catacomb of Priscilla) ซึ่งเป็นที่เก็บศพใต้ดินสำหรับชาวยิวและผู้นับถือศาสนาคริสต์ที่กรุงโรม ซึ่งเป็นรูปพระเยซูทรงดูดพระเต้าของพระแม่มารีขณะเดียวกันก็ทรงมองมาทางผู้ดูรูป[1]

ต่อมาก็มีการสร้างรูปสัญลักษณ์ของพระแม่มารีและพระบุตรกันมากทางจักรวรรดิโรมันตะวันออกถึงแม้ว่าจะได้รับความกดดันจากลัทธิการทำลายรูปสัญลักษณ์ซึ่งไม่ยอมรับการสร้างหรือการบูชาสัญลักษณ์ทางวัตถุ และรูปที่สร้างก็ถือว่าเป็น “รูปต้องห้าม” (Idol) รูปที่สร้างในสมัยนี้ยังเป็นรูปลักษณะที่คล้ายคลึง และซ้ำๆ กัน

เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปาอกาเปตุสที่ 1เสด็จไปเยี่ยมกรุงเยรุซาเล็มเมื่อปี ค.ศ. 536 ก็ถูกกล่าวหาว่าไม่ทรงเห็นด้วยกับการบูชารูป “พระแม่มารีและพระบุตร” และการแสดงรูปของพระแม่มารีภายในวัด[2] ภาพเขียนที่นิยมกันทางตะวันออกจะเป็นภาพแสดงให้เห็นพระแม่มารีนั่งบัลลังก์และบางทีก็สวมมงกุฏไบเซนไทน์ประดับมุกโดยมีพระเยซูทรงนั่งบนพระเพลา[3]

รูป “พระแม่มารีและพระบุตร” ทางตะวันตกสมัยยุคกลางตอนต้นก็ทำแบบศิลปะไบแซนไทน์อย่างใกล้เคียง จนมาถึงคริสต์ศตวรรษที่ 12 และ 13เมื่อลัทธินิยมพระแม่มารีเป็นเผยแพร่กันในทวีปยุโรป การสร้างรูป “พระแม่มารีและพระบุตร” ก็เริ่มมีแบบที่ต่างจากเดิมหลายแบบตามความต้องการของแต่ละลัทธินิยม รูปสมัยแรกจะเป็นพระแม่มารีนั่งบัลลังก์และพระเยซูจะทรงแสดงกิริยาอย่างผู้ใหญ่เช่นยกพระหัตถ์ขึ้นเพื่อประทานพร ในสมัยกอธิค และสมัยเรอเนซองส์ องค์ประกอบของรูปจะเป็นพระแม่มารีนั่งมีพระเยซูบนพระเพลา หรือในอ้อมแขน ต่อมาในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 ภาพเขียนแบบอิตาลีก็จะมีพระแม่มารีและพระบุตรและนักบุญจอห์นแบ็พทิสต์นั่งมอง

รูปปั้นปลายสมัยกอธิคของพระแม่มารีและพระบุตรอาจจะเป็นรูปพระแม่มารีทรงยืนโดยมีพระเยซูอยู่ในอ้อมแขน รูปสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงทั่วไปจะแตกต่างจากที่ใช้เป็นการส่วนตัว แบบหลังจะเล็กกว่าและออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับความเคร่งครัดของผู้บูชาภายในห้องสวดมนต์เล็กๆ เช่นภาพพระแม่มารีทรงเลี้ยงพระเยซูด้วยนม (Madonna Litta) ซึ่งแบบนี้ส่วนใหญ่จะใช้เป็นการบูชาเป็นส่วนตัว

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Victor Lasareff, "Studies in the Iconography of the Virgin" The Art Bulletin 20.1 (March 1938, pp. 26-65) p 27f. (“การศึกษารูปสัญลักษณ์ของพระแม่มารี” โดยวิคเตอร์ ลาซาเรฟ)
  2. ^ m. Mundell, "Monophysite church decoration" Iconoclasm (Birmingham) 1977, p 72.
  3. ^ As in the fresco fragments of the lower Basilica di San Clemente, Rome: see John L. Osborne, "Early Medieval Painting in San Clemente, Rome: The Madonna and Child in the Niche" Gesta 20.2 (1981), pp. 299-310.

[แก้] ข้อมูลเพิ่มเติม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] สมุดภาพ

ภาษาอื่น


aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -