พระยาชลยุทธโยธินทร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ หรือ กัปตัน ริเชอลิเออ (ชื่อจริง: อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ, André du Plésis de Richelieu) อดีตผู้บัญชาการทหารเรือของกองทัพเรือสยาม เป็นรองผู้บัญชาการการรบของไทยในวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2436 และเป็นผู้ออกแบบป้อมพระจุลจอมเกล้า
ในปี พ.ศ. 2428 กัปตันริเชอลิเออ เป็นผู้ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง ป้อมพระจุลจอมเกล้า บริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา ตำบลแหลมฟ้าผ่า อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ใช้ป้อมปืนแบบทันสมัยล่าสุดจากประเทศอังกฤษ ที่มีชื่อว่า "ปืนเสือหมอบ" ก่อสร้างแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2436 ทำการทดลองยิงครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2436 ก่อนวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 เพียงเดือนเศษ
กัปตันริเชอลิเออ เป็นชาวเดนมาร์ก เชื้อสายฝรั่งเศส เข้ามารับราชการในกองทัพเรือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2418 เป็นผู้บังคับกองเรือ พิทยัมรณยุทธ (Regent) ที่ภูเก็ต
ในปี พ.ศ. 2430 กัปตันริเชอลิเออ ร่วมหุ้นกับ กัปตันอัลเฟรด จอห์น ลอฟตัล หรือ พระนิเทศชลที เปิดบริษัททำการเดินรถราง เป็นครั้งแรก เส้นทางจากตำบลบางคอแหลม ผ่านถนนเจริญกรุง ไปสิ้นสุดที่ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นรถรางสายแรกในเอเชีย ต่อมาในปี พ.ศ. 2437 ได้พัฒนาเป็นรถรางเดินด้วยไฟฟ้า เริ่มเดินรถครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2437 ก่อตั้งบริษัทไฟฟ้าสยาม ทำการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า นอกจากนี้ท่านยังเป็นก่อตั้งบริษัทรถไฟปากน้ำ เปิดดำเนินการรถไฟสายกรุงเทพ-สมุทรปราการ ขนส่งผู้โดยสารและสินค้า ระยะทาง 21 กิโลเมตร เป็นสายแรก เมื่อ พ.ศ. 2436
ในช่วงวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 กัปตันริเชอลิเออ เป็นผู้นำทหารเรือชาวเดนมาร์ก เข้าร่วมรบต่อสู้กับกองเรือฝรั่งเศส ที่ปากน้ำ ทั้งที่กงสุลเดนมาร์กมีคำสั่งไม่ให้ชาวเดนมาร์กเข้ายุ่งเกี่ยวในการศึกครั้งนี้ ขณะนั้นท่านมียศเป็น พลเรือจัตวา ตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารเรือ ภายหลังการรบ ท่านได้รับพระราชทานยศเป็น พลเรือตรี พระยาชลยุทธโยธินทร์ และต่อมาได้เลื่อนตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ ดำรงตำแหน่งระหว่างวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2443 - 29 มกราคม พ.ศ. 2444 กราบบังคมทูลลาออกจากราชการ เพื่อเดินทางกลับประเทศเดนมาร์ก [1]
เมื่อครั้ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป พระยาชลยุทธโยธินทร์ รับหน้าที่กัปตันเรือพระที่นั่งทุกครั้ง
[แก้] เกร็ด
- หินริเชริว (Richelieu Rock) ปะการังใต้น้ำบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา มาจากชื่อของกัปตันริเชอลิเออ
[แก้] อ้างอิง
- ณัฐนันท์ สอนพรินทร์, เจาะลึก สมาคมลับ กับการปฏิวัติโลก, อมรินทร์บุ๊ค 2550, ISBN 978-974-7489-88-0
|
||
---|---|---|
ทหารเรือวังหน้า | ||
ทหารเรือวังหลวง | ||
กระทรวงทหารเรือ กองทัพเรือ |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ · พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม · พระยาชลยุทธโยธินทร์ · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครราชสีมา · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร · พระยาปรีชาชลยุทธ์ (วัน จารุภา) · พระยาวิชิตชลธี (ทองดี สุวรรณพฤกษ์) · สินธุ์ กมลนาวิน · พระยาวิจารณจักรกิจ · หลวงพลสินธวาณัติก์ (เปล่ง พลสินธ์ สมิตเมฆ) · หลวงยุทธศาสตร์โกศล · หลวงชำนาญอรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) · สวัสดิ์ ภูติอนันต์ · ครรชิตพล อาภากร · จรูญ เฉลิมเตียรณ · ถวิล รายนานนท์ · กมล สีตกะลิน · เฉิดชาย ถมยา · สงัด ชลออยู่ · อมร ศิริกายะ · กวี สิงหะ · สมุทร์ สหนาวิน · สมบูรณ์ เชื้อพิบูลย์ · ประพัฒน์ จันทวิรัช · นิพนธ์ ศิริธร · ธาดา ดิษฐบรรจง · ประพัฒน์ กฤษณจันทร์ · วิเชษฐ การุณยวนิช · ประเจตน์ ศิริเดช · วิจิตร ชำนาญการณ์ · สุวัชชัย เกษมศุข · ธีระ ห้าวเจริญ · ประเสริฐ บุญทรง · ทวีศักดิ์ โสมาภา · ชุมพล ปัจจุสานนท์ · สามภพ อัมระปาล · สถิรพันธุ์ เกยานนท์ |
พระยาชลยุทธโยธินทร์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ พระยาชลยุทธโยธินทร์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |